คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ไปอ่านเจอมา ... น่าจะเป็นประโยชน์
๑. รถเกิดอุบัติเหตุ มาจากสาเหตุที่ผู้ขับขี่ขับโดยประมาท ฯ แม้จะถือว่ารถเป็นสิ่งของหรือทรัพย์สินที่พิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาที่พนักงานสอบสวนจะใช้อำนาจยึดได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา ๘๕ ก็ตาม แต่การจะใช้อำนาจยึดสิ่งของหรือทรัพย์สินไว้จนกว่า ”คดีจะถึงที่สุด” จะต้องเป็นสิ่งของหรือทรัพย์สิน ที่ผู้ต้องหามีเจตนาใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งมีความจำเป็นจะต้องนำไปใช้เป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดแห่งคดีในชั้นศาล หรือเพื่อขอต่อศาลให้ริบตาม ป.อาญา มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๔ หรือตามกฎหมายอื่น เป็นต้น (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๗๓/๒๔๙๒)
๒ รถที่เกิดอุบัติเหตุ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ยึดไว้แล้ว ก็สามารถที่จะถ่ายรูป และให้ช่างและหรือพยานผู้ชำนาญการจากพิสูจน์หลักฐาน ทำการตรวจสภาพรถแล้วสอบปากคำเป็นพยานประกอบสำนวนได้ เมื่อเสร็จแล้วก็ควรจะคืนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองรถไปตามเวลาอันสมควร ซึ่งไม่น่าจะเกิน ๓- ๗ วัน เหตุที่ต้องคืนเพราะเป็นคดีประมาทและเมื่อสอบสวนเสร็จแล้วก็ไม่ต้องสรุปสำนวนมีความเห็นเสนอต่อพนักงานอัยการขอให้ริบรถดังกล่าวอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลหรือความจำเป็นอันใดจะต้องยึดไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด เมื่อไม่มีความจำเป็นแล้ว ก็ไม่ต้องนำเอามาตรา ๘๕/๑ มาบังคับใช้
๓. การที่กรมตำรวจได้มีบันทึกสั่งการเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ สรุปความว่า กรณีผู้กระทำความผิดกฎหมายจราจร มาตรา ๗๘ คือ ชนแล้วหลบหนี ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถมาขอรับรถคืนภายใน ๖ เดือน การใช้ดุลพินิจพิจารณาให้คืนรถของกลางจะต้องปรากฏหลักฐานว่าเจ้าของฯ ไม่ได้ช่วยเหลือผู้ขับขี่ให้หลบหนี และได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อบรรเทาผลร้ายที่ผู้ขับขี่ได้ก่อการละเมิดแก่ผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตแล้ว ฟังดูเหมือนจะต้องการผดุงความยุติธรรมให้แก่ประชาชนผู้ถูกละเมิด แต่ก็ไม่มีบทบัญญัติใดแห่งกฎหมายให้อำนาจ ตร.ไปใช้อำนาจกำหนดแนวทางเช่นว่านั้น ถ้าการกระทำของเจ้าของรถเป็นความผิดอาญาเพราะมีส่วนช่วยเหลือให้ผู้ขับขี่พ้นการจับกุม เจ้าพนักงานก็ชอบที่จะดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่ได้อยู่แล้ว แต่จะไปกำหนดเสมือนว่าให้บุคคลที่ไม่ได้กระทำละเมิดต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดของบุคคลอื่นซึ่งอาจจะไม่มีความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติกัน จะให้รับฟังว่าชอบคงไม่สนิทใจ ประกอบกับได้รับเรื่องร้องเรียนบ่อยครั้งว่า มีพนักงานสอบสวนบางคนสอบสวนล่าช้าและยึดหน่วงรถของกลางในคดีดังกล่าวไว้เพื่อเรียกรับเงิน ทั้งที่ผู้ต้องหาที่ชนแล้วหลบหนีก็มอบตัวต่อพนักงานสอบสวนแล้ว ภายหลังเกิดเหตุผ่านไปได้ไม่นาน โดยอ้างบันทึกสั่งการของ ตร. และมาตรา ๘๕/๑ แห่ง ป.วิ.อาญา
๑. รถเกิดอุบัติเหตุ มาจากสาเหตุที่ผู้ขับขี่ขับโดยประมาท ฯ แม้จะถือว่ารถเป็นสิ่งของหรือทรัพย์สินที่พิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาที่พนักงานสอบสวนจะใช้อำนาจยึดได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา ๘๕ ก็ตาม แต่การจะใช้อำนาจยึดสิ่งของหรือทรัพย์สินไว้จนกว่า ”คดีจะถึงที่สุด” จะต้องเป็นสิ่งของหรือทรัพย์สิน ที่ผู้ต้องหามีเจตนาใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งมีความจำเป็นจะต้องนำไปใช้เป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดแห่งคดีในชั้นศาล หรือเพื่อขอต่อศาลให้ริบตาม ป.อาญา มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๔ หรือตามกฎหมายอื่น เป็นต้น (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๗๓/๒๔๙๒)
๒ รถที่เกิดอุบัติเหตุ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ยึดไว้แล้ว ก็สามารถที่จะถ่ายรูป และให้ช่างและหรือพยานผู้ชำนาญการจากพิสูจน์หลักฐาน ทำการตรวจสภาพรถแล้วสอบปากคำเป็นพยานประกอบสำนวนได้ เมื่อเสร็จแล้วก็ควรจะคืนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองรถไปตามเวลาอันสมควร ซึ่งไม่น่าจะเกิน ๓- ๗ วัน เหตุที่ต้องคืนเพราะเป็นคดีประมาทและเมื่อสอบสวนเสร็จแล้วก็ไม่ต้องสรุปสำนวนมีความเห็นเสนอต่อพนักงานอัยการขอให้ริบรถดังกล่าวอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลหรือความจำเป็นอันใดจะต้องยึดไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด เมื่อไม่มีความจำเป็นแล้ว ก็ไม่ต้องนำเอามาตรา ๘๕/๑ มาบังคับใช้
๓. การที่กรมตำรวจได้มีบันทึกสั่งการเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ สรุปความว่า กรณีผู้กระทำความผิดกฎหมายจราจร มาตรา ๗๘ คือ ชนแล้วหลบหนี ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถมาขอรับรถคืนภายใน ๖ เดือน การใช้ดุลพินิจพิจารณาให้คืนรถของกลางจะต้องปรากฏหลักฐานว่าเจ้าของฯ ไม่ได้ช่วยเหลือผู้ขับขี่ให้หลบหนี และได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อบรรเทาผลร้ายที่ผู้ขับขี่ได้ก่อการละเมิดแก่ผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตแล้ว ฟังดูเหมือนจะต้องการผดุงความยุติธรรมให้แก่ประชาชนผู้ถูกละเมิด แต่ก็ไม่มีบทบัญญัติใดแห่งกฎหมายให้อำนาจ ตร.ไปใช้อำนาจกำหนดแนวทางเช่นว่านั้น ถ้าการกระทำของเจ้าของรถเป็นความผิดอาญาเพราะมีส่วนช่วยเหลือให้ผู้ขับขี่พ้นการจับกุม เจ้าพนักงานก็ชอบที่จะดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่ได้อยู่แล้ว แต่จะไปกำหนดเสมือนว่าให้บุคคลที่ไม่ได้กระทำละเมิดต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดของบุคคลอื่นซึ่งอาจจะไม่มีความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติกัน จะให้รับฟังว่าชอบคงไม่สนิทใจ ประกอบกับได้รับเรื่องร้องเรียนบ่อยครั้งว่า มีพนักงานสอบสวนบางคนสอบสวนล่าช้าและยึดหน่วงรถของกลางในคดีดังกล่าวไว้เพื่อเรียกรับเงิน ทั้งที่ผู้ต้องหาที่ชนแล้วหลบหนีก็มอบตัวต่อพนักงานสอบสวนแล้ว ภายหลังเกิดเหตุผ่านไปได้ไม่นาน โดยอ้างบันทึกสั่งการของ ตร. และมาตรา ๘๕/๑ แห่ง ป.วิ.อาญา
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 10
ขอไม่เชื่อได้มั้ย ไม่รู้หรอกเรื่องกฏหมายเเต่ชนเขาจนเจ็บเข้าห้องไอซียู
คุณเเค่ไม่มีรถใช้ยังรู้สึกว่าลำบาก เเล้วครอบครัวเขาล่ะ เกิดเขาเป็นเสาหลักของบ้านเเล้วเป็นอะไรไปเเล้วครอบครัวเขาจะเป็นยังไง
ตัวเอง(เข้าใจว่าเป็นเพื่อนคุณ) ขับรถชนคนลงไปดูสักนิดก็ไม่ขับหนีไปได้ตั้งสามสี่กิโล ตำรวจไม่ตามจะจอดป่าว
อ้างว่าตกใจ เราว่ามันได้สติตั้งเเต่ห้ามกันไม่ให้ลงไปดูเค้าเเล้วม้างงงง
ประทานโทษ ถ้าเป็นคุณเองโดนชนลงไปกองเจ็บหนักอยู่บนถนนเเล้วเค้าขับหนีไป
ไม่เเม้เเต่จะมาดูว่าเป็นตายร้ายดียังไงยังจะคิดว่าเค้าตกใจไหม
คนเราถ้าใจมันยังมีศีลธรรมอยู่บ้างอย่างน้อยมันก็ต้องลงไปดูคนเจ็บก่อน อย่างน้อยพามาวางข้างถนนนไม่ให้รถเหยียบซ้ำ
หรือโทรเรียกรถพยาบาลให้เฉยๆก็ได้หากไม่กล้าเคลื่อนย้ายเพราะเกรงจะเป็นอันตรายต่อคนเจ็บ
ขอโทษที่เห็นต่างเเต่สงสารคนเจ็บจริงๆ. โดนชนเเล้วหนีไม่รับผิดชอบ ไม่เเม้เเต่จะเเสดงความเห็นใจ กรรมนะคุณ
คุณเเค่ไม่มีรถใช้ยังรู้สึกว่าลำบาก เเล้วครอบครัวเขาล่ะ เกิดเขาเป็นเสาหลักของบ้านเเล้วเป็นอะไรไปเเล้วครอบครัวเขาจะเป็นยังไง
ตัวเอง(เข้าใจว่าเป็นเพื่อนคุณ) ขับรถชนคนลงไปดูสักนิดก็ไม่ขับหนีไปได้ตั้งสามสี่กิโล ตำรวจไม่ตามจะจอดป่าว
อ้างว่าตกใจ เราว่ามันได้สติตั้งเเต่ห้ามกันไม่ให้ลงไปดูเค้าเเล้วม้างงงง
ประทานโทษ ถ้าเป็นคุณเองโดนชนลงไปกองเจ็บหนักอยู่บนถนนเเล้วเค้าขับหนีไป
ไม่เเม้เเต่จะมาดูว่าเป็นตายร้ายดียังไงยังจะคิดว่าเค้าตกใจไหม
คนเราถ้าใจมันยังมีศีลธรรมอยู่บ้างอย่างน้อยมันก็ต้องลงไปดูคนเจ็บก่อน อย่างน้อยพามาวางข้างถนนนไม่ให้รถเหยียบซ้ำ
หรือโทรเรียกรถพยาบาลให้เฉยๆก็ได้หากไม่กล้าเคลื่อนย้ายเพราะเกรงจะเป็นอันตรายต่อคนเจ็บ
ขอโทษที่เห็นต่างเเต่สงสารคนเจ็บจริงๆ. โดนชนเเล้วหนีไม่รับผิดชอบ ไม่เเม้เเต่จะเเสดงความเห็นใจ กรรมนะคุณ
แสดงความคิดเห็น
โดนตำรวจยึดรถ ทำไงดีคะ