ทีนี้ เรามาลองอ่าน และวินิจฉัย ปัจฉิมโอวาท ของพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้กันครับ
สำหรับประโยชน์สูงสุดในพระศาสนานี้ คือการอบรมเจริญปัญญาเพื่อการดับกิเลสจนหมดแต่ก่อนจะถึงการดับกิเลสนั้นยังอีกยาวไกลมาก ต้องเริ่มตั้งแต่กุศลจิต ความเห็นถูกความเข้าใจถูกเสียก่อน ดังนั้นกุศลจิตจึงสำคัญในชีวิตประจำวัน ถ้าเราจะเสื่อมจากกุศล เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ไม่สมควรทำ เพราะกุศลจิตคือประโยชน์ของเรา แม้ว่าประโยชน์ของผู้อื่นจะมากเพียงใด เราก็ไม่ควรเสียประโยชน์คือกุศลของตน
ขณะที่จิตเป็นไปใน ทาน ศีล ภาวนา...ขณะนั้น คือขณะที่เป็นประโยชน์ เพราะขณะนั้น ไม่เบียดเบียนทั้งตนเอง และ บุคคลใด ๆ เลย.
เพราะ กุศลธรรม มีแต่คุณ ไม่มีโทษแก่ผู้ใดเลย...พระศาสดา จึงทรงสรรเสริญการเจริญกุศลทุกประการจึงกล่าวได้ว่า...เป็นประโยชน์ตน และ ประโยชน์ผู้อื่น.
..................................................................................................................................................................................
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย
อตฺตทตฺถมภิญฺญาย สทตฺถปสุโต สิยา.
บุคคลไม่ควรพร่าประโยชน์ของตน เพราะประโยชน์ของผู้อื่น แม้มาก รู้จักประโยชน์ของตนแล้ว พึงขวนขวายในประโยชน์ของตน.
(พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๓๗.
คำว่า ประโยชน์ หมายถึง ผลที่บุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติจะได้รับ ในที่นี้หมายถึง ความดี หรือกุศลกรรมที่บุคคลได้กระทำและบำเพ็ญไว้แล้วได้รับประโยชน์นั้น ๆ มี ๒ อย่าง คือ ๑. ประโยชน์ของตนเอง ๒. ประโยชน์ของผู้อื่น ตามความหมายของสุภาษิตนี้ หมายถึง การให้รู้จักประโยชน์ของตนเอง แล้วรีบขวนขวายกระทำประโยชน์นั้นให้ถึงพร้อม
ประโยชน์ในปัจจุบัน ๔ อย่าง คือ
๑. อุฏฐานสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยความหมั่นในการประกอบกิจการ
๒. อารักขสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยการรักษาทรัพย์ที่หามาได้แล้ว
๓. กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี
๔. สมชีวิตา ความเลี้ยงชีวิตสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาได้
.
อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ
สุทนฺโต วต ทเมถ อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม.
ถ้าสอนผู้อื่นฉันใด พึงทำตนฉันนั้น ผู้ฝึกตนดีแล้ว ควรฝึกผู้อื่น ได้ยินว่า ตนแลฝึกได้ยาก.
(พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๓๖.
สำหรับผู้ที่มีหน้าที่หรือมีความรับผิดชอบต้องคอยบอกคอยสอน คอยแนะนำพร่ำสอนผู้อื่นอยู่เป็นประจำ หรือแม้แต่ไม่ได้มีหน้าที่เป็นกิจลักษณ์ หากแต่ว่าในชีวิตของเรานั้น คงต้องมีบ้างบางโอกาสที่ต้องให้คำแนะนำผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นครูอาจารย์ที่สอนอยู่ในโรงเรียนหรือในมหาวิทยาลัยก็ดี หรือจะเป็นพระภิกษุสามเณรที่ต้องคอยเทศน์คอยสอนฆราวาสญาติโยมก็ดี หรือจะเป็นพ่อเป็นแม่ที่ต้องคอยแนะนำพร่ำสอนบุตรธิดาก็ดี ย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องสอนผู้อื่นอยู่เป็นนิตย์
ทำตัวให้ดีก่อน แล้วค่อยสอนผู้อื่น
อตฺตานเมว ปฐมํ ปฏิรูเป นิเวสเย
อถญฺญมนุสาเสยฺย น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต.
บัณฑิต พึงตั้งตนไว้ในคุณธรรมอันสมควรก่อน สอนผู้อื่นภายหลัง จึงไม่มัวหมอง.
(พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๓๖.
อันธรรมดาบัณฑิตชน พึงตั้งตนไว้ในฐานะอันชอบ ประกอบด้วยคุณธรรม กระทำตัวให้เหมาะสม อบรมตนให้เป็นสัตบุรุษ สร้างความบริสุทธิ์ผ่องใสให้ตนเอง ยำเกรงต่อบาป ซึมซับเอาความดี ทุกทิพาราตรีกาล
คำว่า “สัตบุรุษ” นั้น แปลว่า ผู้สงบ คือสงบระงับจากอกุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวง สงบจากบาปธรรมทั้งหลายทั้งปวง ถ้าจะเรียกให้เข้าใจกันง่าย ๆ ก็คือ “คนดี”
คุณธรรมที่จะทำให้คนเป็นสัตบุรุษได้นั้น มีอยู่ ๗ ประการ คือต้องเป็นผู้รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้ประชุมชน และรู้บุคคล
หลวงพี่สุวิท บอกว่า พระพุทธเจ้าสั่งไว้ว่า "ประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน ให้ถึงพร้อม" หลวงพี่ ก็เลยมาร่วมม๊อบ
ทีนี้ เรามาลองอ่าน และวินิจฉัย ปัจฉิมโอวาท ของพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้กันครับ
สำหรับประโยชน์สูงสุดในพระศาสนานี้ คือการอบรมเจริญปัญญาเพื่อการดับกิเลสจนหมดแต่ก่อนจะถึงการดับกิเลสนั้นยังอีกยาวไกลมาก ต้องเริ่มตั้งแต่กุศลจิต ความเห็นถูกความเข้าใจถูกเสียก่อน ดังนั้นกุศลจิตจึงสำคัญในชีวิตประจำวัน ถ้าเราจะเสื่อมจากกุศล เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ไม่สมควรทำ เพราะกุศลจิตคือประโยชน์ของเรา แม้ว่าประโยชน์ของผู้อื่นจะมากเพียงใด เราก็ไม่ควรเสียประโยชน์คือกุศลของตน
ขณะที่จิตเป็นไปใน ทาน ศีล ภาวนา...ขณะนั้น คือขณะที่เป็นประโยชน์ เพราะขณะนั้น ไม่เบียดเบียนทั้งตนเอง และ บุคคลใด ๆ เลย.
เพราะ กุศลธรรม มีแต่คุณ ไม่มีโทษแก่ผู้ใดเลย...พระศาสดา จึงทรงสรรเสริญการเจริญกุศลทุกประการจึงกล่าวได้ว่า...เป็นประโยชน์ตน และ ประโยชน์ผู้อื่น.
..................................................................................................................................................................................
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้