ประกันสังคมปลอบผู้ใช้แรงงาน ไม่นำเงินไปซื้อพันธบัตรให้ รบ.จ่ายจำนำข้าวแน่ เหตุนำไปลงทุนหมดแล้วตามแผนการลงทุนปี 2557 และไม่มีสภาพคล่องพอจะซื้อเพิ่ม หากซื้อจริงต้องประเมินความเสี่ยงและผลตอบแทน ยันไม่มีการกดดันให้ซื้อ ด้าน คสรท.ชี้ซื้อพันธบัตรอาจมีผลผูกพันรัฐบาลชุดใหม่ ขัด กม.
วันนี้ (10 ก.พ.) นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) กล่าวถึงกรณีนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แนะนำให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และสำนักงานประกันสังคม (สปส.) พิจารณาอย่างรอบคอบกรณี กระทรวงการคลังจะปรับเปลี่ยนรูปแบบการระดมทุน โดยให้ 3 องค์กรเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อระดมทุนใช้จ่ายในโครงการรับจำนำข้าวนั้นขัดต่อกฎหมายหรือไม่ว่า ยืนยันว่าไม่มีการทาบทามหรือการกดดันจากทางรัฐบาลให้ สปส.ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่กระทรวงการคลังเตรียมจะออกพันธบัตรเพื่อนำเงินไปใช้ในโครงการรับจำนำข้าว เนื่องจากทางบอร์ด สปส.ได้อนุมัติแผนการลงทุนในปี 2557 ไปเรียบร้อยแล้ว
“การลงทุนของ สปส.ต้องอยู่ภายใต้ระเบียบของบอร์ด สปส.ในรูปแบบไตรภาคี 3 คือ นายจ้าง ลูกจ้างและรัฐบาล โดยร้อยละ 90 ของเงินลงทุนจำนวน 1.1 ล้านล้านบาท เป็นเงินออมของผู้ประกันตนจำนวน 11 ล้านคน ซึ่ง สปส.ได้นำไปลงทุนแล้วทั้งหมด กองทุนจึงไม่มีสภาพคล่องมากอย่างที่เข้าใจกัน อย่างไรก็ตาม การจะเข้าไปลงทุนซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มจะต้องมีการประเมินความเสี่ยงว่ามีมากน้อยเพียงใด ผลตอบแทนมีความคุ้มค่าหรือไม่ รวมถึงเงินลงทุนที่ สปส.มีอยู่ว่ามีเพียงพอหรือไม่ ซึ่งขณะนี้ สปส.ได้นำเงินไปลงทุนในรูปแบบต่างๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาลไปแล้วถึงร้อยละ 70-80 ตามแผนการลงทุนที่ได้วางไว้เมื่อปลายปี 2556 เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีเงินเหลือเพียงพอที่จะไปซื้อพันธบัตรเพิ่มเติมได้อีก” ปลัดกระทรวงแรงงานกล่าว
ด้าน นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า พี่น้องแรงงานไม่เห็นด้วยกับการนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เพราะมีความเสี่ยง ยิ่งเป็นเงินของลูกจ้าง ภาครัฐ และภาคเอกชน รวมทั้งไม่ทราบว่าพันธบัตรนี้เป็นภาระผูกพันกับรัฐบาลใหม่หรือไม่ เนื่องจากการเข้าซื้อพันธบัตรนั้น ระยะเวลาในการซื้อคืนก็อีก 2-3 ปี ซึ่งเป็นเรื่องของรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารงานแล้ว เรื่องนี้จะกลายเป็นภาระผูกพันกับรัฐบาลชุดใหม่หรือไม่ จะขัดต่อมาตรา 181 (4) หรือไม่ เพราะรัฐบาลชุดนี้เป็นแค่รัฐบาลรักษาการ และกฎหมายก็ไม่ได้ให้อำนาจรัฐบาลรักษาการกระทำการใดๆ ที่เป็นภาระผูกพัน หากรัฐบาลชุดนี้ไม่ได้กลับมาแล้วจะทำอย่างไร ใครจะเป็นคนจัดการเงินส่วนนี้
“ก่อนหน้านี้ทางพี่น้องผู้ใช้แรงงานได้เดินทางไปถาม นายจีรศักดิ์ และนางอำมร เชาวลิต เลขาธิการ สปส. ทั้งสองคนตอบชัดเจนว่าไม่ได้จะนำเงินในส่วนนี้ไปให้ทางรัฐบาล ซึ่งหากมีการนำเงินไปลงทุนในพันธบัตรจริงทางผู้ใช้แรงงานก็ต้องไปทวงถามอีกครั้งว่าเพราะเหตุใด” นายชาลีกล่าว
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000016046
รบ.หน้าแหก! รีดเลือด สปส. เจอสวนลงทุนหมดตัวแล้ว บ่จี๊ซื้อพันธบัตรจ่ายจำนำข้าว
วันนี้ (10 ก.พ.) นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) กล่าวถึงกรณีนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แนะนำให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และสำนักงานประกันสังคม (สปส.) พิจารณาอย่างรอบคอบกรณี กระทรวงการคลังจะปรับเปลี่ยนรูปแบบการระดมทุน โดยให้ 3 องค์กรเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อระดมทุนใช้จ่ายในโครงการรับจำนำข้าวนั้นขัดต่อกฎหมายหรือไม่ว่า ยืนยันว่าไม่มีการทาบทามหรือการกดดันจากทางรัฐบาลให้ สปส.ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่กระทรวงการคลังเตรียมจะออกพันธบัตรเพื่อนำเงินไปใช้ในโครงการรับจำนำข้าว เนื่องจากทางบอร์ด สปส.ได้อนุมัติแผนการลงทุนในปี 2557 ไปเรียบร้อยแล้ว
“การลงทุนของ สปส.ต้องอยู่ภายใต้ระเบียบของบอร์ด สปส.ในรูปแบบไตรภาคี 3 คือ นายจ้าง ลูกจ้างและรัฐบาล โดยร้อยละ 90 ของเงินลงทุนจำนวน 1.1 ล้านล้านบาท เป็นเงินออมของผู้ประกันตนจำนวน 11 ล้านคน ซึ่ง สปส.ได้นำไปลงทุนแล้วทั้งหมด กองทุนจึงไม่มีสภาพคล่องมากอย่างที่เข้าใจกัน อย่างไรก็ตาม การจะเข้าไปลงทุนซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มจะต้องมีการประเมินความเสี่ยงว่ามีมากน้อยเพียงใด ผลตอบแทนมีความคุ้มค่าหรือไม่ รวมถึงเงินลงทุนที่ สปส.มีอยู่ว่ามีเพียงพอหรือไม่ ซึ่งขณะนี้ สปส.ได้นำเงินไปลงทุนในรูปแบบต่างๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาลไปแล้วถึงร้อยละ 70-80 ตามแผนการลงทุนที่ได้วางไว้เมื่อปลายปี 2556 เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีเงินเหลือเพียงพอที่จะไปซื้อพันธบัตรเพิ่มเติมได้อีก” ปลัดกระทรวงแรงงานกล่าว
ด้าน นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า พี่น้องแรงงานไม่เห็นด้วยกับการนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เพราะมีความเสี่ยง ยิ่งเป็นเงินของลูกจ้าง ภาครัฐ และภาคเอกชน รวมทั้งไม่ทราบว่าพันธบัตรนี้เป็นภาระผูกพันกับรัฐบาลใหม่หรือไม่ เนื่องจากการเข้าซื้อพันธบัตรนั้น ระยะเวลาในการซื้อคืนก็อีก 2-3 ปี ซึ่งเป็นเรื่องของรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารงานแล้ว เรื่องนี้จะกลายเป็นภาระผูกพันกับรัฐบาลชุดใหม่หรือไม่ จะขัดต่อมาตรา 181 (4) หรือไม่ เพราะรัฐบาลชุดนี้เป็นแค่รัฐบาลรักษาการ และกฎหมายก็ไม่ได้ให้อำนาจรัฐบาลรักษาการกระทำการใดๆ ที่เป็นภาระผูกพัน หากรัฐบาลชุดนี้ไม่ได้กลับมาแล้วจะทำอย่างไร ใครจะเป็นคนจัดการเงินส่วนนี้
“ก่อนหน้านี้ทางพี่น้องผู้ใช้แรงงานได้เดินทางไปถาม นายจีรศักดิ์ และนางอำมร เชาวลิต เลขาธิการ สปส. ทั้งสองคนตอบชัดเจนว่าไม่ได้จะนำเงินในส่วนนี้ไปให้ทางรัฐบาล ซึ่งหากมีการนำเงินไปลงทุนในพันธบัตรจริงทางผู้ใช้แรงงานก็ต้องไปทวงถามอีกครั้งว่าเพราะเหตุใด” นายชาลีกล่าว
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000016046