หน้าแรก
คอมมูนิตี้
ห้อง
แท็ก
คลับ
ห้อง
แก้ไขปักหมุด
ดูทั้งหมด
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
แท็ก
แก้ไขปักหมุด
ดูเพิ่มเติม
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
{room_name}
{name}
{description}
กิจกรรม
แลกพอยต์
อื่นๆ
ตั้งกระทู้
เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก
เว็บไซต์ในเครือ
Bloggang
Pantown
PantipMarket
Maggang
ติดตามพันทิป
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้
เกี่ยวกับเรา
กฎ กติกา และมารยาท
คำแนะนำการโพสต์แสดงความเห็น
นโยบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
สิทธิ์การใช้งานของสมาชิก
ติดต่อทีมงาน Pantip
ติดต่อลงโฆษณา
ร่วมงานกับ Pantip
Download App Pantip
Pantip Certified Developer
[SR] วันชาติรัฐฉาน
กระทู้รีวิว
เที่ยวต่างประเทศ
มาชมภาคต่อของรีวิวอีกครั้งครับ
วันชาติรัฐฉานถือกำเนิดเมื่อปี 1947 หรือ พ.ศ. 2490 เมื่อมีการประชุมหารือกันระหว่างเจ้าฟ้าไทใหญ่ที่ปกครองเมืองต่างๆ และตัวแทนประชาชน และมีมติว่า รัฐฉานจะไม่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษอีกต่อไป แล้วเจ้าฟ้า 7 ท่าน และตัวแทนประชาชนอีก 7 ท่านร่วมกันลงนามออกแถลงการณ์จัดตั้งสภาสหพันธรัฐฉานขึ้นในวันที่ 7 กพ. 2490 ซึ่งถือเป็นวันชาติรัฐฉานตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พร้อมกับกำหนดให้มีธงชาติรัฐฉาน เป็นผืนธงสีเหลือง-เขียว-แดง และมีวงกลมสีขาวอยู่ตรงกลาง
สำหรับคนไทยยุคปัจจุบัน เมื่อได้เห็นภาพการบวงสรวงบูชาไหว้ศาลสมเด็จพระนเรศวรฯ ของทหารไทใหญ่ ถือเป็นเรื่องน่าประหลาดใจยิ่ง ว่าเหตุใดชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะทหารไทใหญ่ จึงได้เคารพนับถือสมเด็จพระนเรศวรฯ บุรพกษัตริย์นักรบอย่างหนักแน่นมั่นคงเช่นนี้
ทั้งที่สมเด็จพระนเรศวรฯ เป็นกษัตริย์ไทยและเสด็จสวรรคตล่วงผ่านไปแล้วถึง ๔๐๐ ปี! พันเอกเจ้ายอดศึกผู้นำกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ยุคปัจจุบัน ตอบคำถามสั้นๆ ถึงที่มาทางประวัติศาสตร์อันทำให้ทหารไทใหญ่นับถือสมเด็จพระนเรศวรฯ อย่างที่สุดว่า
"พระนเรศวรฯ กับเจ้าคำก่ายน้อยเจ้าฟ้าของไทใหญ่ ท่านเป็นเพื่อนกัน มีจุดมุ่งหมายเหมือนกัน คือต้องการรบพม่า ต้องการขับไล่พม่าออกจากแผ่นดินไทยและแผ่นดินไทใหญ่ คนไทใหญ่ถือว่าถ้าพระนเรศวรฯ ยังอยู่ ไทใหญ่จะไม่ลำบากอย่างนี้ เพราะท่านมีนโยบายปราบพม่าให้หมดสิ้น คนไทใหญ่ทุกคนรู้เรื่องนี้ ผมศึกษาประวัติศาสตร์ ได้รู้ และเชื่อถือมาก ทหารไทใหญ่ทุกคนเชื่อเพราะรู้ประวัติศาสตร์ ผมอธิบายให้ฟังทุกคน"
"เจ้าคำก่ายน้อย" ที่พันเอกเจ้ายอดศึกกล่าวถึง คือเจ้าฟ้าวีรบุรุษคนหนึ่งของชาวไทใหญ่ ผู้เป็นสหายร่วมรบมากับสมเด็จพระนเรศวรฯ มีปรากฏในประวัติศาสตร์ที่คนไทใหญ่รับรู้มายาวนาน ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับชนกลุ่มน้อย ตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะกับมอญ กะเหรี่ยง ไทใหญ่นั้น มีความแนบแน่นลึกซึ้ง มอญ กะเหรี่ยง ไทใหญ่ คือ "ชาวด่าน" ที่คอยป้องกันขอบขัณฑสีมาจากการรุกรานของพม่า หลักฐานทางไทใหญ่กล่าวย้ำถึงสัมพันธภาพแน่นแฟ้นนี้ว่า จนแม้ไทใหญ่ที่ถูกกุมตัวเป็นเชลยอยู่กลางเมืองพม่าเอง ก็พร้อมจะแข็งขืนไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจพม่า แต่มาฝักฝ่ายอยู่กับฝ่ายไทยซึ่งเป็นเชื้อชาติเดียวกัน ดังที่ "เคอแสน" นักประวัติศาสตร์ชาวไทใหญ่บันทึกไว้ในบทความ "สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและเจ้าคำก่ายน้อยแห่งไทใหญ่" ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนสิงหาคม ๒๕๔๕ ว่า ครั้งที่กษัตริย์บุเรงนองยกทัพเข้ามาตีเมืองไทย ลาว เชียงใหม่ เชียงห่ม ในปี พ.ศ. ๒๑๐๘ นั้น "เจ้าฟ้าไทใหญ่และทหารไทใหญ่ที่ถูกจับเป็นเชลยอยู่ในเมืองหงสาวดีนั้นถือโอกาสจุดไฟเผาหอ, วังในเมืองหงสาวดีเสียหาย จนกระทั่งพวกอำมาตย์ของพม่าต้องหนีไปอยู่ที่ "เมืองทละ" การเผาหอ, วัง ในครั้งนี้เจ้าฟ้าไตย (ไทใหญ่) ให้เหตุผลว่า เพราะพม่าทำการรุกรานนำทัพเข้าตีเมืองพี่เมืองน้องของไตย หลังจากบุเรงนองทราบข่าวจึงรีบยกทัพกลับเมืองหงสาวดีทันที และจับเจ้าฟ้าไตยและคนไตยหมื่นกว่าคนทำการเผาทั้งเป็นที่เมืองหงสาวดี"
และ "เคอแสน" ยังกล่าวไว้อีกด้วยว่า สมเด็จพระนเรศวรฯ คือบุรพกษัตริย์ที่รวบรวมก่อตั้งอาณาจักรไทใหญ่ โดยที่สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงปรึกษากับเจ้าคำก่ายน้อย เจ้าฟ้าไทใหญ่ เพื่อจะสร้างกองทัพราชอาณาจักรไทย-ไทใหญ่ ให้เข้มแข็งถาวรต่อไปในวันข้างหน้า โดยทางไทใหญ่นั้นเจ้าคำก่ายน้อยรับอาสาที่จะเจรจากับเจ้าฟ้าไทใหญ่ทุกเมือง ในปี พ.ศ. ๒๑๔๓ สมเด็จพระนเรศวรฯ มีรับสั่งให้เจ้าคำก่ายน้อยนำกำลังทหารส่วนหนึ่งเข้าไปเมืองปั่น เมืองนาย ยองห้วย ไปจนถึงภาคกลาง และเจ้าฟ้าไทใหญ่ทุกเมืองพร้อมกันจัดตั้งเป็นพระราชอาณาจักรขึ้น โดยมีสมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงเป็นผู้นำ ส่วนช่วงที่สมเด็จพระนเรศวรฯ เสด็จขึ้นไปสวรรคตที่เมืองหางหลวง ในแผ่นดินรัฐฉาน ประวัติศาสตร์ไทใหญ่ระบุว่า ในครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรฯ ได้ทรงยกทัพขึ้นไปช่วยเจ้าคำก่ายน้อย ที่กำลังทำศึกกับทหารจีนและทหารพม่าซึ่งรุกรานเมืองไทใหญ่ แต่สมเด็จพระนเรศวรฯ สวรรคตเสียก่อน เจ้าคำก่ายน้อยจึงสู้รบต่อไปเพียงลำพัง และสิ้นพระชนม์กลางสนามรบที่เมืองแสนหวี ในปี พ.ศ. ๒๑๔๘ หลังการสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรฯ ไม่นานนัก
กับการสวนสนามครับแถวทหารไทใหญ่เดินสวนผ่านผมไป ชุดนี้แบกอาวุธประจำกายที่หนักเหมือนกัน ด้านหลังก็คุ้มกันเพียบ
พี่เสือนั่งเหงา
สาวงามเมืองไต
พี่คนนี้นำหนังมาฉายให้พี่น้องไทยใหญ่ดูมาจากกรุงเทพครับ
ทริปนี้หลายๆสิ่งหลายๆอย่าง รู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้างอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน..ก็คงเหมือนๆชีวิตผู้คนที่รัฐฉาน ที่เฝ้ามองดวงตะวันในแต่ละวัน..เฝ้ารอเอกราช..และเฝ้ารอ..วันที่รัฐฉานจะเป็นไท อีกครั้ง..ประทับใจและสวยงามทั้งชีวิตความเป็นอยู่และบรรยากาศของขุนเขา ดวงตะวัน และบรรยากาศงานอิสรภาพของพวกเค้า เรื่องราวทริปไตแลง..คงจบลง เพียงเท่านี้ ลาก่อนรัฐฉานอีกไม่นานเราคงกลับมาคาราวะท่าน
ชื่อสินค้า:
ดอยไตแลง
คะแนน:
**SR - Sponsored Review : ผู้เขียนรีวิวนี้ไม่ได้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง แต่มีผู้สนับสนุนสินค้าหรือบริการนี้ให้แก่ผู้เขียนรีวิว โดยที่ผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนอื่นใดในการเขียนรีวิว
▼
กำลังโหลดข้อมูล...
▼
แสดงความคิดเห็น
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
สารคดี the lost princess เจ้าฝ่ายเหนือเก่า ทำเพื่ออะไร หรือคิดว่าเชียงใหม่อยู่ไทยไม่ดีแล้วถ้าไปอยู่พม่าดีกว่า
1 ถ้าเชียงใหม่ไปอยู่พม่า ปัจจุบันเป็นแค่ชนกลุ่มน้อย เช่นว้า ฉาน ไทยใหญ่ 2 พม่าส่งทัพเจ้าตองอูมาแค่สามหมื่น เชียงใหม่ยังยันหลายเดือน รอทัพกรุงเทพเลย ถึงจะไล่พม่าได้สงครามเก้าทัพ จะตั
สมาชิกหมายเลข 7965808
หมากว้าต้องกังวลไหม? เหมือนไทยกำลังถูก Check
ผมรู้สึกว่ามันซับซ้อนกว่าที่คิดนะและคู่กรณีอาจจะลามเป็น ตัดมาดอว์ + ว้า โดยเฉพาะว้าใต้ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่ากลุ่มว้าอยู่ในรัฐฉานซึ่งรัฐฉานมีกลุ่มอิทธิพลอยู่หลายกลุ่มเช่น กลุ่มไทใหญ่ของเจ้ายอ
เด็กอ้วนในความฝัน
หนังสมเด็จพระนเรศวร มีฉากที่กล่าวหา พระมหาธรรมราชา ไปเข้ากับพม่า คราวเสียกรุงครั้งที่ 1 เพื่ออะไร
คือในตอนนั่น พระมหาธรรมราชา เจ้าเมืองพิษณุโลก 1. พม่ายุคบุเรงนอง มี มอญ ไทยใหญ่ เชียงใหม่ รวมกัน ศักยภาพ ทั้ง 4 เมือง พิษณุโลก ไม่เสมอก็แพ้ ถ้าตัวต่อตัว แบบนี้ จะให้พิษณุ ออก
สมาชิกหมายเลข 7965808
ืทำไมสมเด็จพระเอกาทศรถไม่ทรงดำเนินนโยบายขยายอำนาจต่อเนื่องจากยุคสมเด็จพระนเรศวรครับ
เรียนสอบถามครับ สมัยสมเด็จพระนเรศวรนั้น รัฐอยุธยาดำเนินนโยบายขยายอำนาจไปทั่วสารทิศเพื่อปลดแอกจากอำนาจของหงสาวดี แล้วยังพยายามแย่งชิงเอาเมืองออกทั้งปวงที่เคยสวามิภักดิ์หงสาวดีมาเป็นฝ่ายของอยุธยาอีกด้ว
digimontamer
กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 8 มกราคม
กระทรวงวัฒนธรรม จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 8 มกราคม วันพุธที่ 8 มกราคม 2568 เ
อาคุงกล่อง
เทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย แหล่งท่องเที่ยวไร้ชื่อแต่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์
สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งซึ่งช่วงโควิดนี้ผมได้มีโอกาสมาทำงานที่แห่งนี้รวมๆก็เกือบสองปีแล้ว เป็นสถานที่ที่ผมชอบมากแล้วก็แอบงงว่าทำไมคนแทบไม่รู้จักกันเลย ทั้งที่มีสถานที่ท่อ
BathManJPG
ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเผ่าไท ทั้งมวลประชาชนชาวไทใหญ่ จัดพิธีวางดอกไม้จันทร์
กองทัพกู้ชาติแห่งรัฐฉานกว่าพันคน ร่วมแสดงความจงรักภักดี ร่วมพิธีถวายดอกไม้จันทน์ถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ 9 ณ ฐานที่มั่นดอยไตแลง ใกล้ปางมะผ้า แม่ฮ่องสอน (26 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ท.จายยี่
Skyforce
ธงสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ธงจุฬาภรณ์ ธงจ.ภ
ธงประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี แบบถูกต้องตามพระราชพิธี แบบที่๑ ลักษณะ : ธงสีส้มหรือสีแสด ตราพระนามาภิไธยย่อ จ.
สมาชิกหมายเลข 7455329
ไทใหญ่ดูเป็นชนกลุ่มน้อย minority ในกัมพูชา แต่ทำไมวัฒนธรรมจึงโดดเด่น เป็นกระแสหลักได้คะ
ซึ่งมันทำให้วัฒนธรรมบางส่วนของกัมพูชา ดูคล้ายล้านนามาก (ในรัฐฉานไม่ทราบค่ะ) เวลาถ่ายภาพออกมา เพราะค้าขายจนร่ำรวยรึเปล่าคะ หรือวัฒนธรรมกระแสหลักของกัมพูชา ถูกทำลายลงไปจากสงครามกลางเมืองไปแล้ว (จริง ๆ
อวัยวะชิ้นนั้น
❤️🙏 ๒๘ ธันวาคม “วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” 🙏❤️ วันคล้ายวันปราบดาภิเษก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
❤️🙏 ๒๘ ธันวาคม “วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” 🙏❤️ วันคล้ายวันปราบดาภิเษก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เพื่อเทิดพระเกียรติวีรกษัตริย์ผู้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทยจากพม่า และเป็นพระมห
สมาชิกหมายเลข 4962221
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
เที่ยวต่างประเทศ
บนสุด
ล่างสุด
อ่านเฉพาะข้อความเจ้าของกระทู้
หน้า:
หน้า
จาก
แชร์ : 2
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ยอมรับ
[SR] วันชาติรัฐฉาน
วันชาติรัฐฉานถือกำเนิดเมื่อปี 1947 หรือ พ.ศ. 2490 เมื่อมีการประชุมหารือกันระหว่างเจ้าฟ้าไทใหญ่ที่ปกครองเมืองต่างๆ และตัวแทนประชาชน และมีมติว่า รัฐฉานจะไม่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษอีกต่อไป แล้วเจ้าฟ้า 7 ท่าน และตัวแทนประชาชนอีก 7 ท่านร่วมกันลงนามออกแถลงการณ์จัดตั้งสภาสหพันธรัฐฉานขึ้นในวันที่ 7 กพ. 2490 ซึ่งถือเป็นวันชาติรัฐฉานตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พร้อมกับกำหนดให้มีธงชาติรัฐฉาน เป็นผืนธงสีเหลือง-เขียว-แดง และมีวงกลมสีขาวอยู่ตรงกลาง
สำหรับคนไทยยุคปัจจุบัน เมื่อได้เห็นภาพการบวงสรวงบูชาไหว้ศาลสมเด็จพระนเรศวรฯ ของทหารไทใหญ่ ถือเป็นเรื่องน่าประหลาดใจยิ่ง ว่าเหตุใดชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะทหารไทใหญ่ จึงได้เคารพนับถือสมเด็จพระนเรศวรฯ บุรพกษัตริย์นักรบอย่างหนักแน่นมั่นคงเช่นนี้
ทั้งที่สมเด็จพระนเรศวรฯ เป็นกษัตริย์ไทยและเสด็จสวรรคตล่วงผ่านไปแล้วถึง ๔๐๐ ปี! พันเอกเจ้ายอดศึกผู้นำกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ยุคปัจจุบัน ตอบคำถามสั้นๆ ถึงที่มาทางประวัติศาสตร์อันทำให้ทหารไทใหญ่นับถือสมเด็จพระนเรศวรฯ อย่างที่สุดว่า
"พระนเรศวรฯ กับเจ้าคำก่ายน้อยเจ้าฟ้าของไทใหญ่ ท่านเป็นเพื่อนกัน มีจุดมุ่งหมายเหมือนกัน คือต้องการรบพม่า ต้องการขับไล่พม่าออกจากแผ่นดินไทยและแผ่นดินไทใหญ่ คนไทใหญ่ถือว่าถ้าพระนเรศวรฯ ยังอยู่ ไทใหญ่จะไม่ลำบากอย่างนี้ เพราะท่านมีนโยบายปราบพม่าให้หมดสิ้น คนไทใหญ่ทุกคนรู้เรื่องนี้ ผมศึกษาประวัติศาสตร์ ได้รู้ และเชื่อถือมาก ทหารไทใหญ่ทุกคนเชื่อเพราะรู้ประวัติศาสตร์ ผมอธิบายให้ฟังทุกคน"
"เจ้าคำก่ายน้อย" ที่พันเอกเจ้ายอดศึกกล่าวถึง คือเจ้าฟ้าวีรบุรุษคนหนึ่งของชาวไทใหญ่ ผู้เป็นสหายร่วมรบมากับสมเด็จพระนเรศวรฯ มีปรากฏในประวัติศาสตร์ที่คนไทใหญ่รับรู้มายาวนาน ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับชนกลุ่มน้อย ตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะกับมอญ กะเหรี่ยง ไทใหญ่นั้น มีความแนบแน่นลึกซึ้ง มอญ กะเหรี่ยง ไทใหญ่ คือ "ชาวด่าน" ที่คอยป้องกันขอบขัณฑสีมาจากการรุกรานของพม่า หลักฐานทางไทใหญ่กล่าวย้ำถึงสัมพันธภาพแน่นแฟ้นนี้ว่า จนแม้ไทใหญ่ที่ถูกกุมตัวเป็นเชลยอยู่กลางเมืองพม่าเอง ก็พร้อมจะแข็งขืนไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจพม่า แต่มาฝักฝ่ายอยู่กับฝ่ายไทยซึ่งเป็นเชื้อชาติเดียวกัน ดังที่ "เคอแสน" นักประวัติศาสตร์ชาวไทใหญ่บันทึกไว้ในบทความ "สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและเจ้าคำก่ายน้อยแห่งไทใหญ่" ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนสิงหาคม ๒๕๔๕ ว่า ครั้งที่กษัตริย์บุเรงนองยกทัพเข้ามาตีเมืองไทย ลาว เชียงใหม่ เชียงห่ม ในปี พ.ศ. ๒๑๐๘ นั้น "เจ้าฟ้าไทใหญ่และทหารไทใหญ่ที่ถูกจับเป็นเชลยอยู่ในเมืองหงสาวดีนั้นถือโอกาสจุดไฟเผาหอ, วังในเมืองหงสาวดีเสียหาย จนกระทั่งพวกอำมาตย์ของพม่าต้องหนีไปอยู่ที่ "เมืองทละ" การเผาหอ, วัง ในครั้งนี้เจ้าฟ้าไตย (ไทใหญ่) ให้เหตุผลว่า เพราะพม่าทำการรุกรานนำทัพเข้าตีเมืองพี่เมืองน้องของไตย หลังจากบุเรงนองทราบข่าวจึงรีบยกทัพกลับเมืองหงสาวดีทันที และจับเจ้าฟ้าไตยและคนไตยหมื่นกว่าคนทำการเผาทั้งเป็นที่เมืองหงสาวดี"
และ "เคอแสน" ยังกล่าวไว้อีกด้วยว่า สมเด็จพระนเรศวรฯ คือบุรพกษัตริย์ที่รวบรวมก่อตั้งอาณาจักรไทใหญ่ โดยที่สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงปรึกษากับเจ้าคำก่ายน้อย เจ้าฟ้าไทใหญ่ เพื่อจะสร้างกองทัพราชอาณาจักรไทย-ไทใหญ่ ให้เข้มแข็งถาวรต่อไปในวันข้างหน้า โดยทางไทใหญ่นั้นเจ้าคำก่ายน้อยรับอาสาที่จะเจรจากับเจ้าฟ้าไทใหญ่ทุกเมือง ในปี พ.ศ. ๒๑๔๓ สมเด็จพระนเรศวรฯ มีรับสั่งให้เจ้าคำก่ายน้อยนำกำลังทหารส่วนหนึ่งเข้าไปเมืองปั่น เมืองนาย ยองห้วย ไปจนถึงภาคกลาง และเจ้าฟ้าไทใหญ่ทุกเมืองพร้อมกันจัดตั้งเป็นพระราชอาณาจักรขึ้น โดยมีสมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงเป็นผู้นำ ส่วนช่วงที่สมเด็จพระนเรศวรฯ เสด็จขึ้นไปสวรรคตที่เมืองหางหลวง ในแผ่นดินรัฐฉาน ประวัติศาสตร์ไทใหญ่ระบุว่า ในครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรฯ ได้ทรงยกทัพขึ้นไปช่วยเจ้าคำก่ายน้อย ที่กำลังทำศึกกับทหารจีนและทหารพม่าซึ่งรุกรานเมืองไทใหญ่ แต่สมเด็จพระนเรศวรฯ สวรรคตเสียก่อน เจ้าคำก่ายน้อยจึงสู้รบต่อไปเพียงลำพัง และสิ้นพระชนม์กลางสนามรบที่เมืองแสนหวี ในปี พ.ศ. ๒๑๔๘ หลังการสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรฯ ไม่นานนัก
กับการสวนสนามครับแถวทหารไทใหญ่เดินสวนผ่านผมไป ชุดนี้แบกอาวุธประจำกายที่หนักเหมือนกัน ด้านหลังก็คุ้มกันเพียบ
พี่เสือนั่งเหงา
สาวงามเมืองไต
พี่คนนี้นำหนังมาฉายให้พี่น้องไทยใหญ่ดูมาจากกรุงเทพครับ
ทริปนี้หลายๆสิ่งหลายๆอย่าง รู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้างอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน..ก็คงเหมือนๆชีวิตผู้คนที่รัฐฉาน ที่เฝ้ามองดวงตะวันในแต่ละวัน..เฝ้ารอเอกราช..และเฝ้ารอ..วันที่รัฐฉานจะเป็นไท อีกครั้ง..ประทับใจและสวยงามทั้งชีวิตความเป็นอยู่และบรรยากาศของขุนเขา ดวงตะวัน และบรรยากาศงานอิสรภาพของพวกเค้า เรื่องราวทริปไตแลง..คงจบลง เพียงเท่านี้ ลาก่อนรัฐฉานอีกไม่นานเราคงกลับมาคาราวะท่าน