คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
อันนี้เป็นแง่คิดของคุณนะครับ
สำหรับผม ของที่เสียหรือไม่ได้มาตรฐานผมจะทำลายทิ้งครับ เนื่องจากว่า ผมลงทุนสร้างโรงงานหลายล้านบาท กับของเสียหรือสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานแค่ 1 หรือ 2 % ต่อล๊อตการผลิต เป็นเงินไม่กี่บาท ส่งออกไปขายลูกค้าไม่ทานหรือมีผลกระทบอย่างอื่นไม่คุ้มหรอกครับ เดี๋ยวนี้ค้าขายยากมากนะครับ ราคาผู้ผลิตก็ตัดกันในตลาด ยิ่งถ้าสินค้าไม่ได้มาตรฐานนี่ จบชีวิตเลยครับ รู้หรือไม่ครับ เจ้าของโรงงานผลิตอาหารต้องเจอกับอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น
1. ต้องจ่ายภาษี กรรมสรรภากร
2. ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม กระทรวงสาธารณสุข
3. ต้องจ่ายภาษีกรรมสรรพสามิตร
4 ต้องจ่ายภาษีโรงเรือน
รู้หรือไม่ครับแต่ละปีเป็นเงินกี่บาท ภาษีที่ต้องจ่ายพวกนี้คือ ต้นทุน ทั้งนั้น
มีหลายคนเข้าใจผิดว่าส่วนมากราคาขายจะบวก ต้นทุน พวกนี้เข้าไปแล้ว เมื่อสมัย 30 ปีที่แล้วเป็นอย่างนั้นจริง
แต่สมัยนี้ ผู้ประกอบการผลิตอาหารมีเยอะขึ้นจึง ลดราคา ในตลาดเพื่อแข่งขัน ทำให้ผู้ผลิตเดี๋ยวนี้ต้องแบกรับต้นทุนเหล่านี้
กลายเป็นว่า ต้องขายของดี ราคาถูก ครับเดี๋ยวนี้ ไม่งั้นอยู่ไม่ได้ครับ
รู้มั้ยครับว่า ใ รัฐบาล ครับ
ความจริง กรมหรือกระทรวง เหล่านี้ถ้าไม่เก็บค่า ภาษีหรือค่าบำรุง หรือเก็บแต่พอดี ราคาสินค้าในตลาดจะถูกลงครับ
เพราะค่าแรงเจ้าพนักงาน เอาเงินภาษีพวกเราไปจ่ายแล้ว
สำหรับผม ของที่เสียหรือไม่ได้มาตรฐานผมจะทำลายทิ้งครับ เนื่องจากว่า ผมลงทุนสร้างโรงงานหลายล้านบาท กับของเสียหรือสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานแค่ 1 หรือ 2 % ต่อล๊อตการผลิต เป็นเงินไม่กี่บาท ส่งออกไปขายลูกค้าไม่ทานหรือมีผลกระทบอย่างอื่นไม่คุ้มหรอกครับ เดี๋ยวนี้ค้าขายยากมากนะครับ ราคาผู้ผลิตก็ตัดกันในตลาด ยิ่งถ้าสินค้าไม่ได้มาตรฐานนี่ จบชีวิตเลยครับ รู้หรือไม่ครับ เจ้าของโรงงานผลิตอาหารต้องเจอกับอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น
1. ต้องจ่ายภาษี กรรมสรรภากร
2. ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม กระทรวงสาธารณสุข
3. ต้องจ่ายภาษีกรรมสรรพสามิตร
4 ต้องจ่ายภาษีโรงเรือน
รู้หรือไม่ครับแต่ละปีเป็นเงินกี่บาท ภาษีที่ต้องจ่ายพวกนี้คือ ต้นทุน ทั้งนั้น
มีหลายคนเข้าใจผิดว่าส่วนมากราคาขายจะบวก ต้นทุน พวกนี้เข้าไปแล้ว เมื่อสมัย 30 ปีที่แล้วเป็นอย่างนั้นจริง
แต่สมัยนี้ ผู้ประกอบการผลิตอาหารมีเยอะขึ้นจึง ลดราคา ในตลาดเพื่อแข่งขัน ทำให้ผู้ผลิตเดี๋ยวนี้ต้องแบกรับต้นทุนเหล่านี้
กลายเป็นว่า ต้องขายของดี ราคาถูก ครับเดี๋ยวนี้ ไม่งั้นอยู่ไม่ได้ครับ
รู้มั้ยครับว่า ใ รัฐบาล ครับ
ความจริง กรมหรือกระทรวง เหล่านี้ถ้าไม่เก็บค่า ภาษีหรือค่าบำรุง หรือเก็บแต่พอดี ราคาสินค้าในตลาดจะถูกลงครับ
เพราะค่าแรงเจ้าพนักงาน เอาเงินภาษีพวกเราไปจ่ายแล้ว
แสดงความคิดเห็น
เมื่อผลผลิต อยู่เหนือ คุณภาพ ความปลอดภัย
สิ่งที่ผมกำลังจะกล่าวก็คือ ในความเป็นจริงผู้ประกอบการทุกรายมักคำนึงถึงต้นทุนก่อนเสมอ โดยหากิจกรรมหรือจะเรียกอีกอย่างว่า Initiative ต่างๆมากำกับดูแล ส่วนเรื่องคุณภาพมักเป็นเรื่องที่ถูกพาดพิงว่าต้องไม่ให้คุณภาพต่ำกว่าที่กำหนด ยกตัวอย่างเช่น ให้เพิ่มความเร็วของเครื่องจักร เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ซึ่งในความเป็นจริงก็คือ เมื่อเพิ่มความเร้วของเครื่องจักรแล้วกระบวนการภายในการควบคุมคุณภาพและสภาพแวดล้อมมันได้เสียไป ซึ่งผมมักเรียกมันว่า “มีกระบวนการมาทำลายคุณภาพอยู่ตลอดเวลา” ไม่เว้นแม้แต่การลดจำนวนคนเพื่อลดค่าแรง ( ยกเว้นกรณี มีเครื่องจักรมาช่วยเพิ่มกำลังการผลิต ) แล้วเร่งให้เพิ่ม Yield ผมยังไม่เคยเห็นมีกระบวนการใดที่จะบ่งบอกว่า เรากำลังทำการควบคุมคุณภาพให้ได้ตามที่กำหนด แล้วต้นทุนต่างๆที่ตามมาจะลดลงเอง เช่น ของเสียน้อยลง กำลังผลิตมากขึ้นจากการไม่มีสินค้าตกคุณภาพ แต่ภาพเหล่านี้มักไม่มีใครเห็น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ก็ไม่ได้รับรู้ถึงก้อนเงินที่ได้รับหรือสูญเสียไป แต่จะเห็นเงินหรือรายได้ในกรณีการลดต้นทุนก่อน ซึ่งเรามักได้ยินกันในเรื่องของการ เพิ่มผลผลิต หรือเพิ่มประสิทธิภาพนั่นเอง ดังนั้นคราใดก็ตามที่เกิดมีกำไรมหาศาล จึงทำให้การเพิ่มผลผลิตได้รับหน้าไปว่าทำให้บริษัทมีกำรและอยู่อย่างยั่งยืน แต่ในกระบวนการแล้วกำไรนั้นอาจมาจากหลายๆปัจจัย เช่นราคาตลาดเป็นใจ ผลการเลี้ยงที่ดีเยี่ยม แต่หากคราใดก็ตามที่มีผลขาดทุนตามมา เมื่อนั้นจะพบว่าการผลิตมักถูกตกเป็นผู้ต้องหาทุกครั้งว่า ควบคุมการผลิตไม่ดี สินค้าไม่มีคุณภาพ ทำให้ลูกค้าไม่พอใจคืนสินค้า ทั้งๆที่หลายครั้งจำใจต้องรีบส่งสินค้าให้ลูกค้าโดยละเว้นหรือเร่งรีบการผลิตให้ทันกับความต้องการเพราะมีกิจกรรม หรือ Initiative ต่างๆรออยู่ บ่อยครั้งทีเดียวที่เราพบว่า สินค้ามีปัญหาแต่ต้องจัดส่งไปโดยหวังว่าลูกค้าอาจตรวจไม่พบปัญหาในเรื่องคุณภาพ นี่จึงเป็นเรื่องที่ทำให้เกิด Conflict of Interest อยู่ตลอดเวลา หากเจ้าหน้าที่มีใจใส่ มีคุณธรรม มีจริยธรรม ที่คำนึงถึงถึงลูกค้าหรือผู้บริโภคก่อนเสมอ ก็เชื่อว่าจะทำให้สินค้านั้นอยู่อย่างยั่งยืน มีคุณภาพอย่างแท้จริง
ปัญหาเรื่องเพิ่มผลิต คุณภาพและความปลอดภัยจึงมักเป็นเรื่องที่คอยสวนทางกันเสมอ ทั้งที่น่าจะไปได้ด้วยกันที่ดี จริยะรรม จรรยาบรรณ ของผู้ประกอบการจึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่ไม่ควรเป็นเพียงคำพูด กาสินค้ามีปัญหาทางด้านคุณภาพ ความปลอดภัยแล้ว ท่านกล้าไหมที่จะทำลายทิ้งไม่ให้ตกหล่นมาถึงมือผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้ด้อยหรือคนยากจนทั้งหลาย เพราะนั่นเป็นหนทางในการระบายสินค้าออกไปง่ายที่สุด
กร แสงตะวัน