ตั้งแต่ได้มันมาลองเล่น ผมก็พยายามหาคำตอบว่าทำไมใครสักคนหนึ่งถึงควรจะซื้อมันมาใช้ หรือไม่ควรซื้อมันมาใช้ แต่ละเหตุผลที่นึกได้มันไม่เกี่ยวกับกล้องเลยแฮะ มันไปเกี่ยวกับการตลาด เกี่ยวกับแบรนด์เสียมากกว่า
เพราะว่ากันเฉพาะในส่วนตัวกล้องถึงมันจะไม่มี Wow factor ให้คนต้องหันมาจับตามองด้วยความทึ่งบัตรเครดิตในกระเป๋าจะเด้งออกมา แต่ถ้าจะหาว่ามันทำอะไรไม่ได้ หรือถูกเจ้าตลาดทิ้งห่าง ก็ดูเหมือนว่าจะไม่มีอีกเช่นกัน
ในกลุ่มกล้อง DSLR ขนาด APS-C ราคาบอดี้ระดับ 4 หมื่น ตัวเลือกอื่นที่ต้องถูกจับมาเทียบแน่ๆ คือ Nikon D7100 กับ Canon 70D รวมไปถึงกล้องที่คาดว่า และหวังว่าจะมาในปีนี้อย่าง D400 และ 7D mark II และคนจำนวนไม่น้อยที่จะต้องมองไปถึงกล้องฟูลเฟรมระดับพื้นฐานหรือกล้อง Mirrorless ด้วย
ซึ่งเทียบกันโดยรวมแล้ว ผมว่า PENTAX K-3 มีข้อดีที่สามารถแข่งกับกล้องอื่นๆ ได้อย่างไม่น้อยหน้าทีเดียว
จากที่ผมเคยจับกล้องมาหลายๆ กล้องในระยะนี้ ผมรู้สึกอยู่อย่างหนึ่งว่ากล้องถ่ายรูปแทบจะทุกยี่ห้อมักจะมีลักษณะอนุรักษ์นิยมสูงมาก พยายามรักษาสไตล์การใช้งานให้เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละยี่ห้อ ทั้งที่ลักษณะหลายๆ อย่างมันก็ไม่เห็นจะจำเป็นต้องเป็นแบบนั้นก็ได้
ว่าไปแล้วบางอย่างมันไม่ควรจะเป็นอย่างนั้นด้วยซ้ำ อย่างเช่นการวางตำแหน่งปุ่ม ISO หรือสวิชท์เปิดปิดไว้ที่มือซ้าย การจัดระบบเมนู การออกแบบการทำงาน และอีกหลายอย่างที่รวมแล้วทำให้ workflow ซับซ้อนขึ้นโดยไม่จำเป็น
ถึงกล้องเพ็นแท็กซ์เม้าท์ K จะมีอายุยาวนานเกือบสี่สิบปี แต่ K-3 กลับไม่มีลักษณะอนุรักษ์นิยม และไม่สร้างระบบงาน หรือการจัดวางปุ่มที่เป็นเอกลักษณ์ แต่พยายามออกแบบการใช้งานให้ workflow เรียบง่าย และสั้นที่สุด ลดความผิดพลาดของผู้ใช้โดยอัดระบบอำนวยความสะดวกมาให้เต็มที่ และกึ่งๆ บังคับให้ใช้เสียด้วย ชนิดที่ไม่สนว่าจะทำให้ผู้ใช้กล้องดู “ไม่โปร” หรือเปล่า ไม่ว่าจะมือเก่าที่คุ้นเคยกับระบบของกล้องอื่นมาก่อน หรือมือใหม่ไม่เคยใช้กล้องไหนมาเลยก็ตาม ก็มีฐานะที่ถูกผลักดันให้ใช้ workflow แบบกึ่งอัตโนมัติเท่าเทียมกันหมด
เดี๋ยวผมจะพาไปชี้จุดที่น่าสนใจของ K-3 ว่ามีอะไรบ้าง
ส่วนสเป็คโดยละเอียดคงไม่ต้องพูดกันให้มากความ ในเว็บไซต์ผู้ผลิตมีแบบเต็มๆ ทั้งรูปกล้อง เมนู ฟีเจอร์ ถ้าสนใจหาอ่านที่ไหนก็ได้ง่ายๆ
ตัวกล้อง
เป็นบอดี้ DSLR มาตรฐาน บอดี้แมกนีเซียมแข็งแรงทนทาน ซีลกันน้ำกันฝุ่นมาเรียบร้อย ใช้ได้สบายใจ ถึงจะไม่เคยใช้เพ็นแท็กซ์มาก่อนแต่ผมว่านักถ่ายภาพทั่วไปสามารถหยิบขึ้นมาปรับค่าและใช้งานได้ในทันทีโดยไม่ต้องอ่านคู่มือ ไม่มีอะไรพิสดารเหนือความคาดหมาย ปุ่มทุกปุ่ม ฟังก์ชั่นทุกอย่างมีชื่อกำกับเรียบร้อยเข้าใจได้ง่าย ทำงานได้ตามชื่อ ไม่ต้องกดปุ่มคอมโบ้เรียกใช้ท่าไม้ตายเหมือนบางยี่ห้อ แค่กดปุ่มร่วมกับหมุนวงแหวนธรรมดาๆ ตามสามัญสำนึกก็พอ
จัดวางปุ่มแป้นคานโยกต่างๆ ได้สอดคล้องตามการใช้งานดีมาก ออกแบบตัวกล้องได้ดี จับถือได้ถนัดมั่นใจปรับแต่งค่าได้ง่าย ไม่ต้องละสายตาจากช่องมองภาพ ergonomic ทำได้ยอดเยี่ยม การประกอบทำได้ประณีตแน่นหนาแข็งแรง จับถือได้มั่นใจไม่ต้องกลัวหลุดเป็นชิ้นๆ ปุ่มแป้นไม่โยกคลอน น้ำหนักกดดี
แป้นปรับโหมดมีปุ่มล็อก มีคานล็อกกำหนดหน้าที่ว่ากดก่อนหมุน หรือไม่ต้องกดก่อนหมุนก็ได้ เวลาใช้จริงถึงไม่ล็อคแป้นมันก็ไม่เคลื่อนหมุนเองง่ายๆ สักเท่าไหร่ แต่ไอ้คานล็อกนี่ผมทำเคลื่อนประจำ ถ้าผมใช้คงต้องทำให้เป็นระบบกดก่อนหมุนแล้วเอาเทปแปะคานล็อกนี่ไว้
อะไรก็ดี ยกเว้นอย่างเดียว คนมือเล็กแบบผมจะจับกล้องได้ไม่ถนัด ทั้งที่ K-3 เป็นกล้องที่บอดี้เล็กกว่ากล้องในคลาสเดียวกัน แต่กริ๊ปตรงส่วนนิ้วก้อยมือขวายื่นล้ำหน้ามามากไปนิดนึง ทำให้ต้องวางมือในตำแหน่งที่ทำให้จับกล้องไม่เต็มมือ ถ้าใครมือใหญ่ นิ้วยาว น่าจะจับกล้องได้ถนัด ก็แปลกดีเป็นกล้องเล็กที่ออกแบบให้คนมือใหญ่จับถนัดกว่าคนมือเล็ก
น้ำหนักกล้องหนักกว่าที่คิดไปหน่อย เห็นกล้องเล็กๆ นึกว่าจะเบา ยกขึ้นมาหนักเอาการเลย ดูในสเป็คแล้วหนักกว่า Nikon D7100 กับ Canon 70D ประมาณครึ่งขีด เวลาใช้งานจริงไปหักลบกับขนาด น้ำหนัก ของเลนส์เพ็นแท็กซ์ที่มักจะเล็กกว่าเบากว่า รวมแล้วก็ไม่น่าจะได้เปรียบเสียเปรียบเรื่องน้ำหนักเท่าไหร่ เทียบกับ DSLR ในระดับใกล้ๆ กัน
ไม่มีจอพับ จอหมุนให้ใช้ ผมใช้จอหลังกล้องไว้ดูเมนู กับฮิสโตแกรมเท่านั้น เลยไม่ค่อยให้ความสำคัญเรื่องจอเท่าไหร่ แต่ใครที่จะใช้จอถ่ายมุมต่ำ มุมสูงก็ลำบากหน่อย ถึงจอติดตายจะทำให้กล้องมีจุดอ่อนเรื่องความเสี่ยงที่จะเสียหายน้อยลงไป แต่ก็ต้องชั่งน้ำหนักเอาตามการใช้งานของแต่ละคนว่าจะให้ความสำคัญเรื่องความสะดวกในการใช้งานจอพับขนาดไหน
โดยรวมแล้วบอดี้กล้องก็ไม่ได้หวือหวาตื่นตาตื่นใจอะไร K-3 เป็นการพัฒนากล้อง K-5 ทั้ง 3 รุ่นย่อยที่ดีอยู่แล้ว ให้สมบูรณ์แบบมากขึ้นเท่านั้นในปีนี้
เนื่องจาก K-3 เป็นกล้องโปร หรือคนที่เอาจริงเอาจังกับการถ่ายภาพ จึงไม่มี scene mode ให้ใช้ แต่ที่พิเศษกว่ากล้องอื่นๆ อยู่ที่โหมดที่เพิ่มมากกว่ากล้องอื่น
Sv - ผู้ใช้เลือก ISO กล้องเลือกช่องรับแสงกับความไวชัตเตอร์ให้
TAv - ผู้ใช้เลือกช่องรับแสงกับความไวชัตเตอร์ กล้องเลือก ISO ที่เหมาะสมให้
สองโหมดนี้ผมก็ไม่เคยคิดว่าจะได้ใช้ ผมเป็นมนุษย์โหมด P อยู่แล้ว ไม่คิดว่าจะมีโหมดไหนที่ได้ค่าที่ต้องการ และสะดวกสบายไปกว่านี้อีกแล้ว ถ้าต้องการล็อกค่าอะไร ASM เดิมๆ ที่มีก็ตอบสนองได้เพียงพอแล้ว
แต่ปรากฎว่าผมกลับใช้โหมด TAv, Sv กับเยอะมาก มันช่วยอำนวยความสะดวกได้ดี สถานการณ์หลายอย่างที่เคยใช้ PAS แล้วต้องปรับค่าโน่นนี่ หรือต้องคอยระวังคอยสังเกตค่าต่างๆ ก็ไม่ต้องทำ
เลือกโหมดที่เหมาะสม เซ็ตค่าที่ต้องการเสร็จแล้วก็ยิงยาว แทบไม่ได้ดูค่าต่างๆ ที่กล้องรายงานเลย ตัดความกังวลเรื่องการปรับตั้งระหว่างถ่ายไปได้หมด ปล่อยเรื่องอื่นให้กล้องจัดการไป ไปเอาใจใส่เรื่อง subject อย่างเดียวพอ
ในหลายๆ สถานการณ์ใช้สะดวกกว่า P ที่เคยใช้อีกอ้ะ
แล้วก็มีนิสัยใหม่ๆ ขึ้นมาคือชอบกดปุ่มเขียว ปกติผมใช้ P แล้วชิฟท์ค่าไปมา ก็จะตั้งให้กดปุ่มเขียวเข้า P ปกติ เวลาชิฟท์ค่าไปจนเพลิน กดปุ่มเขียวก็กลับเข้าสู่ P ง่ายดีกว่าการปิดเปิด หรือเปลี่ยนโหมดแบบยี่ห้ออื่น
ซึ่งเราก็ตั้งค่าได้อีกว่า P จะทำงานแบบไหน เช่นจะให้กล้องเลือกอัตโนมัติตามสถานการณ์การ เลือกตาม P ปกติ เลือกให้ใช้ความไวชัตเตอร์สูงไว้ก่อน เน้นชัดลึก เน้นชัดตื้น หรือให้เลือกค่าที่ได้คุณภาพสูงสุดจากเลนส์ที่ใช้ พวกนี้ตั้งได้ทั้งนั้น ใช้แล้วสะดวกสบายสุดๆ แถมยังได้ค่าที่ต้องการอีกด้วย
ในโหมดอื่น ปุ่มเขียวก็จะเปลี่ยนหน้าที่ไปเรื่อยๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละโหมดตามหลักการ 'เขียวผ่านตลอด' เจ้าปุ่มเขียวนี้เวลาใช้แล้วมันทำให้ติดเป็นนิสัยอย่างไม่น่าเชื่อพอๆ กับแป้นหมุนหลังกล้องของแคนอนเลย
แยกโหมด B กับ X ออกมา เพื่อความสะดวกเวลาจะถ่ายเปิดหน้ากล้องนานๆ และใช้กับแฟลชสตูดิโอ ไม่ต้องไปใช้ร่วมกับ M ช่วยลดความผิดพลาดในการตั้งค่าไปได้หลายอย่าง ป้องกันลืมโน่นลืมนี่ และทำให้วงแหวนหน้าหลังกลายเป็นการปรับช่องรับแสง กับ ISO แทน สะดวกดีเพราะสองสถานการณ์นี้เราก็ไม่ได้ปรับสปีดชัตเตอร์กันอยู่แล้ว
โหมด B สามารถทำหน้าที่ได้ทั้งชัตเตอร์ B (กดถ่ายปล่อยหยุด) และ T (กดถ่ายกดหยุด) แล้วแต่การตั้งค่ากล้อง
มีโหมด U ให้ 3 โหมด เอาไว้ให้ user ตั้งค่าที่ใช้บ่อยๆ เก็บไว้ตรงนี้ได้ ตามประสากล้องโปรทั่วไป
ปุ่ม RAW/Fx เอาไว้สำหรับคนที่ถ่าย jpg เป็นปกติ และต้องการเก็บ RAW บางภาพ จะใช้ตรงนี้สะดวก แต่ผมถ่าย RAW อยู่แล้วเลยตั้งไว้เปิดไฟจอ LCD เฉยๆ ส่วนปุ่ม digital preview ตรงสวิชท์ปิดเปิดก็ใช้งานได้สะดวกดีเวลาต้องการดูภาพที่จะได้จริง มันจะถ่ายภาพมาโชว์ให้ดูทั้งค่าแสงและชัดลึก
เลยไม่รู้จะใช้เช็คชัดลึกแบบ optical preview ไปทำไม มืดก็มืด ดูก็ยาก เวลาจะเทสแสงสี ทดลองโหมดสี หรือเอ็ฟเฟค ฟิลเตอร์พิเศษที่มีให้ ก็ใช้ digital previw เห็นได้ทันที ง่ายด้วย แค่กระดิกนิ้วทีเดียว เห็นภาพทันที ไม่ต้องรอโหลดนานๆ เหมือนถ่ายภาพปกติมาดู ถึงไม่เลิศหรู real time เหมือน Mirrorless แต่ทำงานได้น่าพอใจ
น่าสังเกตอย่างหนึ่งว่าเพ็นแท็กซ์จะไม่ค่อยเอาปุ่มไปรวมๆ กันให้ทำหลายหน้าที่ในปุ่มเดียว แต่ละปุ่มแยกกันอยู่ แบ่งหน้าที่กันเด็ดขาด อย่างปุ่มโหมดโฟกัส ก็อยู่แยกกับคานเลือกแมนวล/ออโต้โฟกัส (ในขณะที่นิคอนเอาไปรวมกันไว้) ส่วนปุ่ม live view ก็ไม่เอาไปไว้ที่เดียวกับปุ่มเข้าโหมดถ่ายวิดีโอเหมือนกล้องอื่น แยกระบบงานของการถ่ายภาพนิ่งกับภาพเคลื่อนไหวเป็นคนละส่วนกันไปเลย ไม่เหลื่อมๆ ซ้อนๆ กันอย่างที่กล้องสมัยนี้นิยมกัน
ส่วนการทำงานของกล้องข้ามไปก่อนเดี๋ยววนกลับมาอีกที ไปดูเลนส์กันก่อน
รีวิว PENTAX K-3 ถึงจะเป็นพระรอง แต่อย่ามองข้าม
ตั้งแต่ได้มันมาลองเล่น ผมก็พยายามหาคำตอบว่าทำไมใครสักคนหนึ่งถึงควรจะซื้อมันมาใช้ หรือไม่ควรซื้อมันมาใช้ แต่ละเหตุผลที่นึกได้มันไม่เกี่ยวกับกล้องเลยแฮะ มันไปเกี่ยวกับการตลาด เกี่ยวกับแบรนด์เสียมากกว่า
เพราะว่ากันเฉพาะในส่วนตัวกล้องถึงมันจะไม่มี Wow factor ให้คนต้องหันมาจับตามองด้วยความทึ่งบัตรเครดิตในกระเป๋าจะเด้งออกมา แต่ถ้าจะหาว่ามันทำอะไรไม่ได้ หรือถูกเจ้าตลาดทิ้งห่าง ก็ดูเหมือนว่าจะไม่มีอีกเช่นกัน
ในกลุ่มกล้อง DSLR ขนาด APS-C ราคาบอดี้ระดับ 4 หมื่น ตัวเลือกอื่นที่ต้องถูกจับมาเทียบแน่ๆ คือ Nikon D7100 กับ Canon 70D รวมไปถึงกล้องที่คาดว่า และหวังว่าจะมาในปีนี้อย่าง D400 และ 7D mark II และคนจำนวนไม่น้อยที่จะต้องมองไปถึงกล้องฟูลเฟรมระดับพื้นฐานหรือกล้อง Mirrorless ด้วย
ซึ่งเทียบกันโดยรวมแล้ว ผมว่า PENTAX K-3 มีข้อดีที่สามารถแข่งกับกล้องอื่นๆ ได้อย่างไม่น้อยหน้าทีเดียว
จากที่ผมเคยจับกล้องมาหลายๆ กล้องในระยะนี้ ผมรู้สึกอยู่อย่างหนึ่งว่ากล้องถ่ายรูปแทบจะทุกยี่ห้อมักจะมีลักษณะอนุรักษ์นิยมสูงมาก พยายามรักษาสไตล์การใช้งานให้เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละยี่ห้อ ทั้งที่ลักษณะหลายๆ อย่างมันก็ไม่เห็นจะจำเป็นต้องเป็นแบบนั้นก็ได้
ว่าไปแล้วบางอย่างมันไม่ควรจะเป็นอย่างนั้นด้วยซ้ำ อย่างเช่นการวางตำแหน่งปุ่ม ISO หรือสวิชท์เปิดปิดไว้ที่มือซ้าย การจัดระบบเมนู การออกแบบการทำงาน และอีกหลายอย่างที่รวมแล้วทำให้ workflow ซับซ้อนขึ้นโดยไม่จำเป็น
ถึงกล้องเพ็นแท็กซ์เม้าท์ K จะมีอายุยาวนานเกือบสี่สิบปี แต่ K-3 กลับไม่มีลักษณะอนุรักษ์นิยม และไม่สร้างระบบงาน หรือการจัดวางปุ่มที่เป็นเอกลักษณ์ แต่พยายามออกแบบการใช้งานให้ workflow เรียบง่าย และสั้นที่สุด ลดความผิดพลาดของผู้ใช้โดยอัดระบบอำนวยความสะดวกมาให้เต็มที่ และกึ่งๆ บังคับให้ใช้เสียด้วย ชนิดที่ไม่สนว่าจะทำให้ผู้ใช้กล้องดู “ไม่โปร” หรือเปล่า ไม่ว่าจะมือเก่าที่คุ้นเคยกับระบบของกล้องอื่นมาก่อน หรือมือใหม่ไม่เคยใช้กล้องไหนมาเลยก็ตาม ก็มีฐานะที่ถูกผลักดันให้ใช้ workflow แบบกึ่งอัตโนมัติเท่าเทียมกันหมด
เดี๋ยวผมจะพาไปชี้จุดที่น่าสนใจของ K-3 ว่ามีอะไรบ้าง
ส่วนสเป็คโดยละเอียดคงไม่ต้องพูดกันให้มากความ ในเว็บไซต์ผู้ผลิตมีแบบเต็มๆ ทั้งรูปกล้อง เมนู ฟีเจอร์ ถ้าสนใจหาอ่านที่ไหนก็ได้ง่ายๆ
ตัวกล้อง
เป็นบอดี้ DSLR มาตรฐาน บอดี้แมกนีเซียมแข็งแรงทนทาน ซีลกันน้ำกันฝุ่นมาเรียบร้อย ใช้ได้สบายใจ ถึงจะไม่เคยใช้เพ็นแท็กซ์มาก่อนแต่ผมว่านักถ่ายภาพทั่วไปสามารถหยิบขึ้นมาปรับค่าและใช้งานได้ในทันทีโดยไม่ต้องอ่านคู่มือ ไม่มีอะไรพิสดารเหนือความคาดหมาย ปุ่มทุกปุ่ม ฟังก์ชั่นทุกอย่างมีชื่อกำกับเรียบร้อยเข้าใจได้ง่าย ทำงานได้ตามชื่อ ไม่ต้องกดปุ่มคอมโบ้เรียกใช้ท่าไม้ตายเหมือนบางยี่ห้อ แค่กดปุ่มร่วมกับหมุนวงแหวนธรรมดาๆ ตามสามัญสำนึกก็พอ
จัดวางปุ่มแป้นคานโยกต่างๆ ได้สอดคล้องตามการใช้งานดีมาก ออกแบบตัวกล้องได้ดี จับถือได้ถนัดมั่นใจปรับแต่งค่าได้ง่าย ไม่ต้องละสายตาจากช่องมองภาพ ergonomic ทำได้ยอดเยี่ยม การประกอบทำได้ประณีตแน่นหนาแข็งแรง จับถือได้มั่นใจไม่ต้องกลัวหลุดเป็นชิ้นๆ ปุ่มแป้นไม่โยกคลอน น้ำหนักกดดี
แป้นปรับโหมดมีปุ่มล็อก มีคานล็อกกำหนดหน้าที่ว่ากดก่อนหมุน หรือไม่ต้องกดก่อนหมุนก็ได้ เวลาใช้จริงถึงไม่ล็อคแป้นมันก็ไม่เคลื่อนหมุนเองง่ายๆ สักเท่าไหร่ แต่ไอ้คานล็อกนี่ผมทำเคลื่อนประจำ ถ้าผมใช้คงต้องทำให้เป็นระบบกดก่อนหมุนแล้วเอาเทปแปะคานล็อกนี่ไว้
อะไรก็ดี ยกเว้นอย่างเดียว คนมือเล็กแบบผมจะจับกล้องได้ไม่ถนัด ทั้งที่ K-3 เป็นกล้องที่บอดี้เล็กกว่ากล้องในคลาสเดียวกัน แต่กริ๊ปตรงส่วนนิ้วก้อยมือขวายื่นล้ำหน้ามามากไปนิดนึง ทำให้ต้องวางมือในตำแหน่งที่ทำให้จับกล้องไม่เต็มมือ ถ้าใครมือใหญ่ นิ้วยาว น่าจะจับกล้องได้ถนัด ก็แปลกดีเป็นกล้องเล็กที่ออกแบบให้คนมือใหญ่จับถนัดกว่าคนมือเล็ก
น้ำหนักกล้องหนักกว่าที่คิดไปหน่อย เห็นกล้องเล็กๆ นึกว่าจะเบา ยกขึ้นมาหนักเอาการเลย ดูในสเป็คแล้วหนักกว่า Nikon D7100 กับ Canon 70D ประมาณครึ่งขีด เวลาใช้งานจริงไปหักลบกับขนาด น้ำหนัก ของเลนส์เพ็นแท็กซ์ที่มักจะเล็กกว่าเบากว่า รวมแล้วก็ไม่น่าจะได้เปรียบเสียเปรียบเรื่องน้ำหนักเท่าไหร่ เทียบกับ DSLR ในระดับใกล้ๆ กัน
ไม่มีจอพับ จอหมุนให้ใช้ ผมใช้จอหลังกล้องไว้ดูเมนู กับฮิสโตแกรมเท่านั้น เลยไม่ค่อยให้ความสำคัญเรื่องจอเท่าไหร่ แต่ใครที่จะใช้จอถ่ายมุมต่ำ มุมสูงก็ลำบากหน่อย ถึงจอติดตายจะทำให้กล้องมีจุดอ่อนเรื่องความเสี่ยงที่จะเสียหายน้อยลงไป แต่ก็ต้องชั่งน้ำหนักเอาตามการใช้งานของแต่ละคนว่าจะให้ความสำคัญเรื่องความสะดวกในการใช้งานจอพับขนาดไหน
โดยรวมแล้วบอดี้กล้องก็ไม่ได้หวือหวาตื่นตาตื่นใจอะไร K-3 เป็นการพัฒนากล้อง K-5 ทั้ง 3 รุ่นย่อยที่ดีอยู่แล้ว ให้สมบูรณ์แบบมากขึ้นเท่านั้นในปีนี้
เนื่องจาก K-3 เป็นกล้องโปร หรือคนที่เอาจริงเอาจังกับการถ่ายภาพ จึงไม่มี scene mode ให้ใช้ แต่ที่พิเศษกว่ากล้องอื่นๆ อยู่ที่โหมดที่เพิ่มมากกว่ากล้องอื่น
Sv - ผู้ใช้เลือก ISO กล้องเลือกช่องรับแสงกับความไวชัตเตอร์ให้
TAv - ผู้ใช้เลือกช่องรับแสงกับความไวชัตเตอร์ กล้องเลือก ISO ที่เหมาะสมให้
สองโหมดนี้ผมก็ไม่เคยคิดว่าจะได้ใช้ ผมเป็นมนุษย์โหมด P อยู่แล้ว ไม่คิดว่าจะมีโหมดไหนที่ได้ค่าที่ต้องการ และสะดวกสบายไปกว่านี้อีกแล้ว ถ้าต้องการล็อกค่าอะไร ASM เดิมๆ ที่มีก็ตอบสนองได้เพียงพอแล้ว
แต่ปรากฎว่าผมกลับใช้โหมด TAv, Sv กับเยอะมาก มันช่วยอำนวยความสะดวกได้ดี สถานการณ์หลายอย่างที่เคยใช้ PAS แล้วต้องปรับค่าโน่นนี่ หรือต้องคอยระวังคอยสังเกตค่าต่างๆ ก็ไม่ต้องทำ
เลือกโหมดที่เหมาะสม เซ็ตค่าที่ต้องการเสร็จแล้วก็ยิงยาว แทบไม่ได้ดูค่าต่างๆ ที่กล้องรายงานเลย ตัดความกังวลเรื่องการปรับตั้งระหว่างถ่ายไปได้หมด ปล่อยเรื่องอื่นให้กล้องจัดการไป ไปเอาใจใส่เรื่อง subject อย่างเดียวพอ
ในหลายๆ สถานการณ์ใช้สะดวกกว่า P ที่เคยใช้อีกอ้ะ
แล้วก็มีนิสัยใหม่ๆ ขึ้นมาคือชอบกดปุ่มเขียว ปกติผมใช้ P แล้วชิฟท์ค่าไปมา ก็จะตั้งให้กดปุ่มเขียวเข้า P ปกติ เวลาชิฟท์ค่าไปจนเพลิน กดปุ่มเขียวก็กลับเข้าสู่ P ง่ายดีกว่าการปิดเปิด หรือเปลี่ยนโหมดแบบยี่ห้ออื่น
ซึ่งเราก็ตั้งค่าได้อีกว่า P จะทำงานแบบไหน เช่นจะให้กล้องเลือกอัตโนมัติตามสถานการณ์การ เลือกตาม P ปกติ เลือกให้ใช้ความไวชัตเตอร์สูงไว้ก่อน เน้นชัดลึก เน้นชัดตื้น หรือให้เลือกค่าที่ได้คุณภาพสูงสุดจากเลนส์ที่ใช้ พวกนี้ตั้งได้ทั้งนั้น ใช้แล้วสะดวกสบายสุดๆ แถมยังได้ค่าที่ต้องการอีกด้วย
ในโหมดอื่น ปุ่มเขียวก็จะเปลี่ยนหน้าที่ไปเรื่อยๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละโหมดตามหลักการ 'เขียวผ่านตลอด' เจ้าปุ่มเขียวนี้เวลาใช้แล้วมันทำให้ติดเป็นนิสัยอย่างไม่น่าเชื่อพอๆ กับแป้นหมุนหลังกล้องของแคนอนเลย
แยกโหมด B กับ X ออกมา เพื่อความสะดวกเวลาจะถ่ายเปิดหน้ากล้องนานๆ และใช้กับแฟลชสตูดิโอ ไม่ต้องไปใช้ร่วมกับ M ช่วยลดความผิดพลาดในการตั้งค่าไปได้หลายอย่าง ป้องกันลืมโน่นลืมนี่ และทำให้วงแหวนหน้าหลังกลายเป็นการปรับช่องรับแสง กับ ISO แทน สะดวกดีเพราะสองสถานการณ์นี้เราก็ไม่ได้ปรับสปีดชัตเตอร์กันอยู่แล้ว
โหมด B สามารถทำหน้าที่ได้ทั้งชัตเตอร์ B (กดถ่ายปล่อยหยุด) และ T (กดถ่ายกดหยุด) แล้วแต่การตั้งค่ากล้อง
มีโหมด U ให้ 3 โหมด เอาไว้ให้ user ตั้งค่าที่ใช้บ่อยๆ เก็บไว้ตรงนี้ได้ ตามประสากล้องโปรทั่วไป
ปุ่ม RAW/Fx เอาไว้สำหรับคนที่ถ่าย jpg เป็นปกติ และต้องการเก็บ RAW บางภาพ จะใช้ตรงนี้สะดวก แต่ผมถ่าย RAW อยู่แล้วเลยตั้งไว้เปิดไฟจอ LCD เฉยๆ ส่วนปุ่ม digital preview ตรงสวิชท์ปิดเปิดก็ใช้งานได้สะดวกดีเวลาต้องการดูภาพที่จะได้จริง มันจะถ่ายภาพมาโชว์ให้ดูทั้งค่าแสงและชัดลึก
เลยไม่รู้จะใช้เช็คชัดลึกแบบ optical preview ไปทำไม มืดก็มืด ดูก็ยาก เวลาจะเทสแสงสี ทดลองโหมดสี หรือเอ็ฟเฟค ฟิลเตอร์พิเศษที่มีให้ ก็ใช้ digital previw เห็นได้ทันที ง่ายด้วย แค่กระดิกนิ้วทีเดียว เห็นภาพทันที ไม่ต้องรอโหลดนานๆ เหมือนถ่ายภาพปกติมาดู ถึงไม่เลิศหรู real time เหมือน Mirrorless แต่ทำงานได้น่าพอใจ
น่าสังเกตอย่างหนึ่งว่าเพ็นแท็กซ์จะไม่ค่อยเอาปุ่มไปรวมๆ กันให้ทำหลายหน้าที่ในปุ่มเดียว แต่ละปุ่มแยกกันอยู่ แบ่งหน้าที่กันเด็ดขาด อย่างปุ่มโหมดโฟกัส ก็อยู่แยกกับคานเลือกแมนวล/ออโต้โฟกัส (ในขณะที่นิคอนเอาไปรวมกันไว้) ส่วนปุ่ม live view ก็ไม่เอาไปไว้ที่เดียวกับปุ่มเข้าโหมดถ่ายวิดีโอเหมือนกล้องอื่น แยกระบบงานของการถ่ายภาพนิ่งกับภาพเคลื่อนไหวเป็นคนละส่วนกันไปเลย ไม่เหลื่อมๆ ซ้อนๆ กันอย่างที่กล้องสมัยนี้นิยมกัน
ส่วนการทำงานของกล้องข้ามไปก่อนเดี๋ยววนกลับมาอีกที ไปดูเลนส์กันก่อน