สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
ที่แมนฮัตตันนี่ คนเขายังถีบจักรยานไปทำงานเลยนะคะ
เมืองต่างๆ ก็พยายามส่งเสริมกันมาก ตึกที่ที่ทำงาน มีที่ให้จอดจักรยานกันเป็นแถว
มีรถจักรยานให้เช่าเป็นชั่วโมงๆ ก็มี เช่าจากตรงนี้แล้วเอาไปส่งตรงนั้นก็ได้
ประหยัดพลังงาน ลดความจอแจ คนได้ออกกำลังกายด้วย
บริษัทนี้มีจักรยานให้พนักงานใช้
ที่บริษัทนี้เขาใช้แพะและแกะมาแทะหญ้านะคะ ไม่ใช้เครื่องตัดหญ้าหรอกนะ
คุณคิดว่าบริษัทนี้จน หรือพนักงานเขาเงินเดือนกระจอกมากใช่ไหมคะ
คนไทยนี่ติดยึดกับสิ่งภายนอกจริงๆ นะคะ บ้านเมืองถึงได้ไม่ไปถึงไหนสักที
เมืองต่างๆ ก็พยายามส่งเสริมกันมาก ตึกที่ที่ทำงาน มีที่ให้จอดจักรยานกันเป็นแถว
มีรถจักรยานให้เช่าเป็นชั่วโมงๆ ก็มี เช่าจากตรงนี้แล้วเอาไปส่งตรงนั้นก็ได้
ประหยัดพลังงาน ลดความจอแจ คนได้ออกกำลังกายด้วย
บริษัทนี้มีจักรยานให้พนักงานใช้
ที่บริษัทนี้เขาใช้แพะและแกะมาแทะหญ้านะคะ ไม่ใช้เครื่องตัดหญ้าหรอกนะ
คุณคิดว่าบริษัทนี้จน หรือพนักงานเขาเงินเดือนกระจอกมากใช่ไหมคะ
คนไทยนี่ติดยึดกับสิ่งภายนอกจริงๆ นะคะ บ้านเมืองถึงได้ไม่ไปถึงไหนสักที
ความคิดเห็นที่ 6
ยาวหน่อยนะคะ
ต้องท้าวความตั้งแต่ระบบการศึกษานะคะ
การศึกษาที่เมืองไทย โดยส่วนมาก หรือโดยรวมๆ ครูหรืออาจารย์คือจุดศูนย์กลางของการเรียน
นักเรียนส่วนมากจะตั้งใจมาเอาความรู้กับครู มากกว่าจะหอบหิ้วหนังสือมาศึกษานอกเวลาด้วยตัวเอง
สมัยที่ดิฉันเรียนที่เมืองไทย ก็ไม่ค่อยมีหนังสือให้หอบไปมาสักเท่าไหร่ ถ้ามีก็เป็นเล่มซีร็อกซ์ บางนิดเดียว
ต่างกับตำราเรียนของเมืองนอกเล่มใหญ่ เล่มหนา และกึ่งๆ ว่าบังคับให้มี เพราะถือว่าเป็น primary source
ที่เมืองไทย กระเป๋านั้นก็ถือตามใจชอบ หรือจะเรียกว่าตามแฟชั่นก็ได้ ซื้อตามศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า ตลาด ฯลฯ
เคยใช้เป้ ตอนอยู่ประถม และมัธยม อยู่นะคะ พอโตมาหน่อยก็ตามแฟชั่น ตามประสาเด็ก
ส่วนการเรียนที่ต่างประเทศ อย่างเช่นที่ อเมริกา นักเรียนเป็นจุดศูนย์กลางของการเรียน นั่นคือ นักเรียนต้องศึกษาและเข้าใจในบทเรียน
เพื่อนำไปแตกยอดในห้องเวลา discuss กัน หรือเวลาที่ศึกษาด้วยตัวเองแล้วเกิดความสงสัย จะได้นำไปถามครูในเวลาเรียน หรือนอกเวลาเรียนได้
เพราะฉะนั้น นักเรียนจะยึดตำราเรียนเป็นหลัก และเมื่อมาถึงมหาวิทยาลัยพร้อมหนังสือ บรรยากาศมันนำพาให้น่าอ่านมากๆ
เพราะมองไปทางไหน ก็มีแต่คนนั่นอ่านหนังสือ จะมีคุยกันสัพเพเหระบ้าง แต่ไม่นานก็กระจายตัว
ถามว่า อ่านที่บ้าน แล้วเดินตัวเปล่ามาเรียนได้ไหม ได้ซิคะ แต่สำหรับนักเรียนเหล่านี้ ที่บ้านเป็นแหล่งรวมของสิ่งกวนใจ
เช่น ทีวี คอมพิวเตอร์ อาหาร พ่อ แม่ เด็ก งานบ้าน ฯลฯ นักเรียนส่วนมากจึงเลือกจะหอบหนังสือไปอ่านที่มหาวิทยาลัย
บวกกับสภาพอากาศที่หนาว การมีเป้สัมภาระใหญ่ๆ ไว้ใส่หนังสือ ใส่ทุกอย่างที่จำเป็นในการเรียน
เพราะอย่างหน้าหนาว สะพายเป้แล้ว ทีนี้มือว่าง จะได้เอามือซุกที่กระเป๋ากางเกง หรือกระเป๋าเสื้อกันหนาวได้ นับว่าสะดวกดีทีเดียว
อย่างเป้ยังนับว่าธรรมดาปกติ มีนักเรียนหลายๆ คนใช้กระเป๋าเดินทางแบบลากด้วยซ้ำ คาดว่าของนักมากจนแบกไม่ไหว
และยิ่งหน้าหนาวหฤโหดปีนี้ เดินอยู่ข้างนอกแค่ 5 นาที ก็เก่งแล้ว แค่เดินจากรถ หรือป้ายรถเมย์ ไปที่ห้องเรียนก็แทบแย่
การแต่งตัวให้มิดชิด ใส่เสื้อผ้าหนาๆ ใช้เป้ (มือจะได้ว่างๆ ไว้) เพราะบ่อยๆ ครั้ง ทางเดินกลายเป็นน้ำแข็ง พื้นจะลื่นมากๆ
จะได้เดินได้ปลอดภัยขึ้น ถ้าล้ม จะได้มีมือประคองตัวเอง
สำหรับนักเรียนที่ขี่จักรยาน ดิฉันไม่คิดว่าคนจะมองว่ารวยหรือจนนะคะ
ถ้าเห็นนักเรียนขี่จักรยาน ดิฉันแค่มองว่า เค้าคงพักอาศัยอยู่แถวๆ นี้
อาจจะเป็นนักเรียนจากต่างเมือง หรือต่างรัฐ นักเรียนมาจากต่างประเทศ
แน่นอนว่าถ้าเค้ามีเงิน เค้าก็น่าจะซื้อรถ แต่ไม่เคยคิดไปไกลขนาดนั้น
ถึงแม้คนที่นี่จะมีรถส่วนตัวกันเกือบทุกคน แต่สำหรับนักเรียนและการใช้จักรยาน
มันไม่ได้เป็นเครื่องบ่งบอกฐานะสักเท่าไหร่
ทั้งนี้ทั้งนั้น ที่กล่าวมือคือบรรยากาศโดยรวมๆ ของการมามหาวิทยาลัยของเด็กที่นี่
ในจำนวนเด็กเหล่านี้ ที่เห็นเป้ใบใหญ่ๆ อาจจะไม่ใช่หนังสือก็ได้ ข้างในเป้ อาจจะเป็นน้ำ ขนม ข้าว คอมพิวเตอร์ ฯลฯ
ส่วนที่เมืองไทย ไม่ว่าเราจะทำอะไร คนที่มองจะเล็งไปที่เรื่องเงินทอง ฐานนะ (คหสต นะคะ)
แต่เขาจะคิดอะไรก็ช่างเขา เราเอาสะดวกเรา เป็นดีที่สุดค่ะ คนส่วนมากคงจะไม่คิดอะไรหรอก
ขอแค่เราอย่าเอามาใส่ใจ เด็กอเมริกันเขาก็คิดแบบนี้แหละค่ะ
เอาตัวเราเป็นศูนย์กลาง ไม่ต้องกังวลว่าใครจะคิดยังไงกับเรา ทำๆ ไปจนชิน จนกลายเป็นเรื่องธรรมดา
ต้องท้าวความตั้งแต่ระบบการศึกษานะคะ
การศึกษาที่เมืองไทย โดยส่วนมาก หรือโดยรวมๆ ครูหรืออาจารย์คือจุดศูนย์กลางของการเรียน
นักเรียนส่วนมากจะตั้งใจมาเอาความรู้กับครู มากกว่าจะหอบหิ้วหนังสือมาศึกษานอกเวลาด้วยตัวเอง
สมัยที่ดิฉันเรียนที่เมืองไทย ก็ไม่ค่อยมีหนังสือให้หอบไปมาสักเท่าไหร่ ถ้ามีก็เป็นเล่มซีร็อกซ์ บางนิดเดียว
ต่างกับตำราเรียนของเมืองนอกเล่มใหญ่ เล่มหนา และกึ่งๆ ว่าบังคับให้มี เพราะถือว่าเป็น primary source
ที่เมืองไทย กระเป๋านั้นก็ถือตามใจชอบ หรือจะเรียกว่าตามแฟชั่นก็ได้ ซื้อตามศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า ตลาด ฯลฯ
เคยใช้เป้ ตอนอยู่ประถม และมัธยม อยู่นะคะ พอโตมาหน่อยก็ตามแฟชั่น ตามประสาเด็ก
ส่วนการเรียนที่ต่างประเทศ อย่างเช่นที่ อเมริกา นักเรียนเป็นจุดศูนย์กลางของการเรียน นั่นคือ นักเรียนต้องศึกษาและเข้าใจในบทเรียน
เพื่อนำไปแตกยอดในห้องเวลา discuss กัน หรือเวลาที่ศึกษาด้วยตัวเองแล้วเกิดความสงสัย จะได้นำไปถามครูในเวลาเรียน หรือนอกเวลาเรียนได้
เพราะฉะนั้น นักเรียนจะยึดตำราเรียนเป็นหลัก และเมื่อมาถึงมหาวิทยาลัยพร้อมหนังสือ บรรยากาศมันนำพาให้น่าอ่านมากๆ
เพราะมองไปทางไหน ก็มีแต่คนนั่นอ่านหนังสือ จะมีคุยกันสัพเพเหระบ้าง แต่ไม่นานก็กระจายตัว
ถามว่า อ่านที่บ้าน แล้วเดินตัวเปล่ามาเรียนได้ไหม ได้ซิคะ แต่สำหรับนักเรียนเหล่านี้ ที่บ้านเป็นแหล่งรวมของสิ่งกวนใจ
เช่น ทีวี คอมพิวเตอร์ อาหาร พ่อ แม่ เด็ก งานบ้าน ฯลฯ นักเรียนส่วนมากจึงเลือกจะหอบหนังสือไปอ่านที่มหาวิทยาลัย
บวกกับสภาพอากาศที่หนาว การมีเป้สัมภาระใหญ่ๆ ไว้ใส่หนังสือ ใส่ทุกอย่างที่จำเป็นในการเรียน
เพราะอย่างหน้าหนาว สะพายเป้แล้ว ทีนี้มือว่าง จะได้เอามือซุกที่กระเป๋ากางเกง หรือกระเป๋าเสื้อกันหนาวได้ นับว่าสะดวกดีทีเดียว
อย่างเป้ยังนับว่าธรรมดาปกติ มีนักเรียนหลายๆ คนใช้กระเป๋าเดินทางแบบลากด้วยซ้ำ คาดว่าของนักมากจนแบกไม่ไหว
และยิ่งหน้าหนาวหฤโหดปีนี้ เดินอยู่ข้างนอกแค่ 5 นาที ก็เก่งแล้ว แค่เดินจากรถ หรือป้ายรถเมย์ ไปที่ห้องเรียนก็แทบแย่
การแต่งตัวให้มิดชิด ใส่เสื้อผ้าหนาๆ ใช้เป้ (มือจะได้ว่างๆ ไว้) เพราะบ่อยๆ ครั้ง ทางเดินกลายเป็นน้ำแข็ง พื้นจะลื่นมากๆ
จะได้เดินได้ปลอดภัยขึ้น ถ้าล้ม จะได้มีมือประคองตัวเอง
สำหรับนักเรียนที่ขี่จักรยาน ดิฉันไม่คิดว่าคนจะมองว่ารวยหรือจนนะคะ
ถ้าเห็นนักเรียนขี่จักรยาน ดิฉันแค่มองว่า เค้าคงพักอาศัยอยู่แถวๆ นี้
อาจจะเป็นนักเรียนจากต่างเมือง หรือต่างรัฐ นักเรียนมาจากต่างประเทศ
แน่นอนว่าถ้าเค้ามีเงิน เค้าก็น่าจะซื้อรถ แต่ไม่เคยคิดไปไกลขนาดนั้น
ถึงแม้คนที่นี่จะมีรถส่วนตัวกันเกือบทุกคน แต่สำหรับนักเรียนและการใช้จักรยาน
มันไม่ได้เป็นเครื่องบ่งบอกฐานะสักเท่าไหร่
ทั้งนี้ทั้งนั้น ที่กล่าวมือคือบรรยากาศโดยรวมๆ ของการมามหาวิทยาลัยของเด็กที่นี่
ในจำนวนเด็กเหล่านี้ ที่เห็นเป้ใบใหญ่ๆ อาจจะไม่ใช่หนังสือก็ได้ ข้างในเป้ อาจจะเป็นน้ำ ขนม ข้าว คอมพิวเตอร์ ฯลฯ
ส่วนที่เมืองไทย ไม่ว่าเราจะทำอะไร คนที่มองจะเล็งไปที่เรื่องเงินทอง ฐานนะ (คหสต นะคะ)
แต่เขาจะคิดอะไรก็ช่างเขา เราเอาสะดวกเรา เป็นดีที่สุดค่ะ คนส่วนมากคงจะไม่คิดอะไรหรอก
ขอแค่เราอย่าเอามาใส่ใจ เด็กอเมริกันเขาก็คิดแบบนี้แหละค่ะ
เอาตัวเราเป็นศูนย์กลาง ไม่ต้องกังวลว่าใครจะคิดยังไงกับเรา ทำๆ ไปจนชิน จนกลายเป็นเรื่องธรรมดา
ความคิดเห็นที่ 9
เด็กอเมริกัน ทำกันเป็นเรื่องปกติ เริ่มตั้งแต่ชั้นประถมแล้วคะ ปกติบ้านจะอยู่แถวโรงเรียน ถ้ามีจักรยานก็แบกเป้ขึ้นหลังแล้วก็ไปโรงเรียน ที่โรงเรียนก็จะมีสถานที่สำหรับให้จอดจักรยาน ที่ปลอดภัย ในเป้ก็จะมีหนังสือ อาหารกลางวัน กระติกน้ำ และพวกอุปกรณ์เครื่องเขียน
ที่นี่เด็กนักเรียนไม่มีการแข่งขันในการแต่งตัว อุปกรณ์การเรียน ต้องมียี่ห้อ หรือมีราคาแพง
หลังจากจบ high school ถ้าจะเรียนต่อ ก็ต้องออกค่าใช้จ่ายกันเอง อะไรประหยัดได้ก็จะประหยัด บ้างก็ต้องทำงานไปเรียนไป
มีรถยนต์ ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ทั้งค่าน้ำมัน ค่าประกัน ค่าที่จอดรถ และค่าดูแลรักษา
สังคมที่นี่ ใครจะทำอะไรก็ไม่ต้องสนใจสายตาใคร เพราะไม่มีใครเค้ามาคอยจ้องมองคุณ นอกจากคุณจะทำตัวเด่นเกินใคร
เด็กไทย ยังมีค่านิยมกันที่วัตถุ ถ้ายังเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ไปเรียนก็คงได้แต่ตามกระแส แต่คงจะไม่ได้ความรู้ติดตัวกลับมาสักเท่าไหร่
ที่นี่เด็กนักเรียนไม่มีการแข่งขันในการแต่งตัว อุปกรณ์การเรียน ต้องมียี่ห้อ หรือมีราคาแพง
หลังจากจบ high school ถ้าจะเรียนต่อ ก็ต้องออกค่าใช้จ่ายกันเอง อะไรประหยัดได้ก็จะประหยัด บ้างก็ต้องทำงานไปเรียนไป
มีรถยนต์ ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ทั้งค่าน้ำมัน ค่าประกัน ค่าที่จอดรถ และค่าดูแลรักษา
สังคมที่นี่ ใครจะทำอะไรก็ไม่ต้องสนใจสายตาใคร เพราะไม่มีใครเค้ามาคอยจ้องมองคุณ นอกจากคุณจะทำตัวเด่นเกินใคร
เด็กไทย ยังมีค่านิยมกันที่วัตถุ ถ้ายังเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ไปเรียนก็คงได้แต่ตามกระแส แต่คงจะไม่ได้ความรู้ติดตัวกลับมาสักเท่าไหร่
แสดงความคิดเห็น
อยากรู้ว่าทำไมเด็กอเมริกันต้องสะพายเป้ และขี่จักรยานไปเรียน?
แล้วถ้าในไทยละ การขี่จักรยานไปเรียนในมหาวิทยาลัย คนอื่นจะมองว่าผมจนไหม เพราะผมขี่ไปเรียนแล้วรู้สึกว่ามีคนมองแปลกๆ หรือผมคิดไปเอง ส่วนเด็กคนอื่นขี่มอเตอร์ไซค์กันเยอะแยะไปหมด แล้วผมก็สะพายเป้ไปเรียนด้วย แต่ไม่ค่อยเห็นคนอื่นสะพายเป้กันเลย บางคนเอาตัวเปล่าๆมาเรียน ไม่มีหนังสือซักเล่ม
ผมไม่ได้คิดว่าการขี่จักรยานไปเรียนมันจนหรอกนะครับ ผมแค่อยากให้คนไทยทุกคน มองว่าเป็นเรื่องธรรมดาปกติ ไม่ประหลาด
แล้วเรื่องสะพายเป้ใหญ่ๆ หนักๆ เหมือนเด็ก Nerd หรือเด็กเรียน มันดูไม่ดีหรือมันดูตลกมากเหรอครับ การตั้งใจเรียนเลยต้องทำแบบนี้มันประหลาดในไทยมากเหรอครับ งั้นถ้าผมอยู่กับพวกฝรั่งผมคงดูปกติไปเลย ที่ผมตั้งกระทู้นี้เพื่อเปรียบเทียบกับฝรั่ง ไม่ได้ว่าฝรั่งขี่จักรยานไปเรียนเป็นคนจน ผมแค่ไม่อยากให้คนไทยมาว่าผมว่าแปลก เพราะว่าผมทำแบบคนอเมริกัน
ที่อยากรู้อีกอย่างก็คือการสะพายเป้ไปทำงาน มันดูเหมือนเด็กไม่โตเหรอครับ แล้วคนอเมริกันเขาคิดแบบนี้บ้างรึเปล่าครับ?