กูรูฟันธงเศรษฐกิจปี ’57 ยังอยู่ในภาวะ “ลำบาก”
“ประสาร” ห่วงสุญญากาศทางการเมืองยืดเยื้อ ฉุดจีดีพีทั้งปี ’57 โตต่ำกว่า 3% แต่มั่นใจปัจจัยพื้นฐานยังแกร่ง รองรับสถานการณ์การเมืองและความผันผวนของตลาดการเงินโลกได้ชั่วคราว นักลงทุนต่างชาติยังเชื่อถือ ขณะที่ “โฆสิต” เชื่อเป็นปีที่ลำบาก ส่วน “ณรงค์ชัย” ฟันธงเศรษฐกิจปีนี้ไม่ตาย แต่เลี้ยงไม่โต ด้าน “ศุภวุฒิ” ประเมินการเมืองลากยาวเกินครึ่งปี จีดีพีต่ำกว่า 2.8%
ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่นำไปสู่การชุมนุมของมวลมหาประชาชนตั้งแต่ช่วงปลายปี 2556 และมีการยกระดับการชุมนุมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก และมีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง แต่รัฐบาลเลือกแนวทางการยุบสภาเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 และเป็นรัฐบาลรักษาการเดินหน้าจัดให้มีการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ยิ่งทำให้อุณหณภูมิทางการเมืองร้อนแรงเพิ่มมากขึ้น และไม่ทีท่าว่าจะยุติลงอย่างไร
ดังนั้น สถานการณ์ทางการเมืองไทยกำลังอยู่ในจุดที่น่าเป็นกังวลมากที่สุดสำหรับประเทศไทย และกำลังส่งผลกระทบไปถึงด้านเศรษฐกิจ คือ ทำให้บรรยากาศทางเศรษฐกิจไม่สดใสทั้งด้านการบริโภคและการลงทุน เนื่องจากภาคธุรกิจและครัวเรือนมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจและเหตุการณ์ทางการเมือง แต่จะมีผลกระทบต่ออนาคตเศรษฐกิจไทยในปี 2557 มากน้อยแค่ไหน มีหลายมุมมองที่น่าสนใจจากเวทีเสวนา “Thailand’s Economic Outlook 2014” ที่จัดขึ้นโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (ไอโอดี) เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2557
31 มกราคม 2557 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (ไอโอดี) จัดเสวนาหัวข้อ Thailand’s Economic Outlook 2014 โดยมีวิทยากรได้แก่ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ (สายงานวิจัย) บล.ภัทรจำกัด (มหาชน) ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ ดร.บัณฑิต นิจถาวร กรรมการผู้อำนวยการ ไอโอดี ดำเนินการเสวนา (จากขวาไปซ้าย)
การเมืองระยะสั้น ยังไม่กระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ
ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บรรยายพิเศษในหัวข้อ “Thailand’s Economic Outlook 2014” ก่อนมีการเสวนาว่า แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2557 นอกจากจะเผชิญกับภาวะแวดล้อมต่างประเทศที่ยังท้าทายแล้ว ยังมีปัญหาสุญญากาศทางการเมืองที่อาจจะยืดเยื้อและทำให้บทบาทของภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจทำได้ไม่เต็มที่ในปีนี้ แม้งบประมาณปี 2557 จะสามารถใช้ได้ค่อนข้างปรกติ แต่กระบวนการงบประมาณในปี 2558 มีแนวโน้มล่าช้าออกไป และการลงทุนในโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานบางโครงการคงต้องเลื่อนออกไปเช่นกัน ส่งผลให้การลงทุนของภาคเอกชนในโครงการที่เกี่ยวข้องจะถูกเลื่อนออกไปด้วย
“แม้แรงส่งของการเติบโตไม่สดใส แต่ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยตอนนี้ยังอยู่ในระดับที่สามารถรับมือกับสถานการณ์การเมืองและความผันผวนของตลาดเงินโลกได้ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ยืนยันได้จากการที่ไทยยังมีความน่าเชื่อถือในสายตาของนักลงทุนต่างประเทศ” ดร.ประสารกล่าว
โดยช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ดร.ประสารกล่าวว่า สถาบันจัดอันดับเครดิต Moody’s และ S&P ได้คงแนวโน้มและอันดับความน่าเชื่อถือของไทยไว้แม้จะมีสถานการณ์ทางการเมือง เนื่องจากเห็นว่าพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังไม่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ แม้ในช่วงที่ค่าเงินของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่บางประเทศอ่อนค่าลงมาก แต่นักลงทุนต่างชาติไม่ได้มีความตื่นตระหนกที่จะรีบเร่งถอนเงินลงทุนออกไป ทำให้ค่าเงินบาทยังมีเสถียรภาพ
4 ปัจจัยพื้นฐาน ภูมิคุ้มกันเศรษฐกิจ
ดร.ประสารระบุว่า สาเหตุที่ไทยยังรักษาเสถียรภาพและความน่าเชื่อถือในสายตาของนักลงทุนต่างชาติได้เพราะเรามีภูมิคุ้มกันที่ดี 4 ประการ
ประการแรก เราไม่มีปัญหาเรื้อรัง เช่น ปัญหาเงินเฟ้อสูง หรือการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้หล่อแหลมต่อการถูกมองว่ามีความไม่สมดุลกำลังก่อตัวอยู่ในระบบเศรษฐกิจ หรือความสามารถในการแข่งขันของประเทศกำลังเสื่อมถอย ทำให้นโยบายอัตราดอกเบี้ยทางการสามารถช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจได้
ประการที่สอง เรามีระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่น สามารถทำหน้าที่ช่วยปรับสมดุลให้กับเศรษฐกิจ หรือช่วยเป็น “automatic stabilizer” (อัตราแลกเปลี่ยนช่วยสร้างเสถียรภาพโดยอัตโนมัติ) และไม่เป็นจุดสะสมความเปราะบาง
ประการที่สาม เรามีทุนสำรองทางการอยู่ในระดับสูงไม่ว่าจะวัดตามมาตรฐานสากลใด และหากเทียบเป็นสัดส่วนกับจีดีพีก็อยู่ประมาณ 50% ของจีดีพี ก็คือว่าค่อนข้างสูงอยู่อันดับต้นๆ ของโลก เพราะโดยทั่วไปจะอยู่ประมาณ 20-30% ของจีดีพี
ประการที่สี่ ภาคธุรกิจเอกชนโดยรวมมีฐานะมั่นคง ระบบสถาบันการเงินเข้มแข็ง รวมทั้งมีการดูแลเงินกองทุนเพื่อเป็น “cushion” (เป็นเบาะช่วยบรรเทาผลกระทบ) เผื่อช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวไว้แล้ว ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าระบบสถาบันการเงินจะทำหน้าที่หล่อลื่นระบบเศรษฐกิจได้เป็นปกติ
“ทั้งสี่เรื่องนี้ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยที่ยังคงมีความแข็งแกร่งและเป็นภูมิคุ้มกันที่ดี” ดร.ประสารกล่าว
ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ห่วงการเมืองยืดเยื้อ เสียจังหวะพัฒนาประเทศ
อย่างไรก็ตาม ดร.ประสารแสดงความเป็นห่วงว่า ภูมิคุ้มกันที่กล่าวนี้อาจอ่อนแอลงหากปัญหาต่างๆ มีความยืดเยื้อ โดยเฉพาะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศที่ขณะนี้ยังไม่มีทางออกที่ชัดเจน เปรียบเสมือน “เรือ” ที่ไม่ว่าจะใช้วัสดุทนทานหรือออกแบบมาให้แข็งแกร่งเพียงใด หากต้องแล่นฝ่ามรสุมเป็นเวลานานก็เสี่ยงที่จะเพลี่ยงพล้ำได้ ซึ่งผลเสียจะมาในรูปของต้นทุนการทำกิจกรรมต่างๆ ที่สูงขึ้น เช่น ค่าใช้จ่ายโลจิสติกส์ ต้นทุนกู้ยืมที่ต้องจ่ายแพงขึ้น
“ที่น่าเป็นห่วงคือ การเสียจังหวะที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและศักยภาพของประเทศ เพื่อให้เรามีความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น และเสียโอกาสตักตวงประโยชน์จากเศรษฐกิจโลกขาขึ้นได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น จีดีพีทั้งปี 2557 คาดการณ์ว่าจะขยายตัวได้ใกล้ๆ 3%” ดร.ประสารกล่าว
ขณะที่ในการเสวนาหัวข้อ Thailand’s Economic Outlook 2014 มีวิทยากรคือ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ (สายงานวิจัย) บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) และดำเนินการเสวนาโดย ดร.บัณฑิต นิจถาวร กรรมการผู้อำนวยการ ไอโอดี ทุกคนมีความเห็นสอดคล้องกันว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้ไม่สดใส
“โฆสิต” คาดเศรษฐกิจไทยปีนี้ “ลำบาก”
นายโฆสิตมีความเห็นว่า เศรษฐกิจปีนี้เป็นปีที่เราลำบาก เพราะแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจประเทศรอบๆ เราจะดีขึ้นก็ตาม แต่สิ่งที่เราเคยได้รับที่ผ่านมา หรือ “ตัวช่วย” จากนโยบายของบางประเทศ อย่างเช่น เงินทุนไหลเข้าจากการดำเนินนโยบายคิวอีของสหรัฐอเมริกาก็จะไม่มีแล้ว เพราะเขาเริ่มลดทอนนโยบายคิวอี ขณะที่รัฐบาลไทยก็อยู่ในภาวะรัฐบาลรักษาการ และอาจเป็นแบบนี้ในระยะยาว ไม่ใช่ระยะสั้นๆ เพราะฉะนั้น รัฐบาลที่เคยเป็นตัวช่วยเศรษฐกิจก็มี นอกจากนี้เรายังรับแรงส่งที่อ่อนแอจากผลของนโยบายประชานิยม เพราะฉะนั้นเราลำบาก
“แรงส่งทางเศรษฐกิจที่อ่อนลง เป็นผลกระทบจากนโยบายประชานิยมที่เป็นตัวบ่อนทำลายความเข้มแข็ง เพราะประชานิยมเป็นปฏิปักษ์ต่อการเจริญเติบโตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ถ้าเราเติมประชานิยมไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้แรงส่งทางเศรษฐกิจอ่อนแอลงไปเรื่อยๆ แต่ถ้าประชานิยมหายไป เราจะอยู่ในสภาพที่แข็งแรงขึ้น เพราะเรามีภูมิคุ้มกันที่ดี” นายโฆสิตกล่าว
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
นายโฆสิตเชื่อมั่นว่า ภูมิคุ้มกันโดยรวมยังไม่อยู่ในฐานะที่บอบช้ำอะไรมากมาย มีความเข้มแข็งพอสมควร เพราะฉะนั้นเราจะฝ่าความลำบากไปได้ดีพอสมควร และถ้าเราสามารถผ่านความยุ่งยากทางการเมืองขณะนี้ไปได้ โดยหลังจากจัดการเสร็จสรรพแล้วพรรคการเมืองต่างๆ ลดระดับการแข่งขันเรื่องประชานิยมลง มีการดำเนินการเกี่ยวกับคอร์รัปชันให้ประสิทธิภาพมากขึ้น จะทำให้เศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าสดใส และมีภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็งขึ้น
“ความยุ่งยากทางการเมืองขณะนี้เป็นระยะของการเปลี่ยนผ่าน ไม่รู้ว่านานเพียงใด แต่มีความหวังว่าถ้าเราเปลี่ยนผ่านได้ ก็จะเข้าสู่อีกยุคหนึ่งที่ประเทศไทยจะมีความเข้มแข็งมากขึ้นอีกเยอะ” นายโฆสิตกล่าว
“ณรงค์ชัย” ฟันธงเศรษฐกิจไทยปีนี้ไม่ตาย แต่เลี้ยงไม่โต
ด้าน ดร.ณรงค์ชัย ฟันธงเศรษฐกิจไทยปีนี้ “ไม่ตาย แต่เลี้ยงไม่โต” คือจีพีดีจะโตต่ำกว่า 3% ซึ่งจะต่ำมาก แต่จะต่ำมากเท่าไรไม่รู้ เพราะไม่รู้ว่ารัฐบาลรักษาการจะอยู่นานแค่ไหน เนื่องจากรัฐบาลรักษาการไม่สามารถดำเนินการใดๆ เหมือนรัฐบาลในภาวะปกติ จึงส่งผลให้การดำเนินนโยบายชะงัก ซึ่งเรื่องใหญ่ที่เป็นปัญหามากที่สุดคือเรื่องโครงการรับจำนำข้าว ยิ่งแก้ปัญหาช้ายิ่งลำบาก และที่สำคัญคือ โครงการลงทุนขนาดใหญ่ไม่เกิดขึ้น
“ทั้งสองเรื่องนี้มีความจำเป็นที่จะต้องรีบมีรัฐบาลที่ทำงานได้เต็มที่ขึ้นมาแทนรัฐบาลรักษาการ” ดร.ณรงค์ชัยกล่าว
ย้อนอดีตเศรษฐกิจ–การเมืองไทย จะซ้ำรอยหรือไม่
ดร.ณรงค์ชัยเปรียบเทียบเหตุการณ์ปีนี้ว่า อาจจะเทียบเคียงได้กับปี 2549 ที่มีประท้วงรัฐบาลทักษิณ นำโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล และพลตรีจำลอง ศรีเมือง จนทำให้รัฐบาลทักษิณยุบสภาเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2549 และมีการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 ทำให้มีรัฐบาลรักษาการอยู่ 6 เดือน จนถึง 19 กันยายน 2549 เกิดรัฐประหารมีรัฐบาลเซนต์คาเบรียล (รัฐบาลขิงแก่) เข้ามาทำให้จีดีพีโตได้ 5-6%
ต่อมาปี 2551 มีพรรคพลังประชาชน ซึ่งมีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ก็มีการประท้วงยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน และเจอวิกฤติเศรษฐกิจโลกจากปัญหาเลห์แมนบราเธอร์ล้ม แต่ปีนี้จีดีพีโตเหลือเพียง 2% แต่ปีต่อมา 2552 จีดีพีติดลบ 2% พรรคประชาธิปัตย์เข้ามาเป็นรัฐบาลเร่งทำนโยบายโครงการไทยเข้มแข็งส่งผลให้เศรษฐกิจปี 2553 จีดีพีขยายตัว 10% ทั้งที่เศรษฐกิจโลกกำลังมีปัญหา
จากนั้นในปี 2554 เกิดเหตุการณ์กลุ่มเสื้อแดงชุมนุมประท้วงทำให้จีดีพีถดถอยลงไปอีก มีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้นช่วงกรกฎาคม 2554 พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาล ปลายปีเจอปัญหาน้ำท่วม แต่จีดีพีโตติดลบ 9% ต่อมาปี 2555 เกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินล้นโลกจากมาตรการคิวอี แต่จีดีพีขยายตัวได้ 6.4% พอมาปี 2556 ช่วงปลายปีมีประท้วงนำโดยลุงกำนัน สุเทพ เทือกสุบรรณ ทำให้เศรษฐกิจไทยโตไม่ถึง 3%
ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)
“สำหรับปี 2557 มีรัฐบาลรักษาการแก้ปัญหาเรื่องข้าวไม่ได้ จำเป็นต้องมีรัฐบาลไม่รักษาการ หรือจะมีรัฐบาลเซนต์คาเบรียลหรือเปล่าไม่รู้ แต่การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ไม่ใช่ทางเลือกของการแก้ปัญหาแน่นอน” ดร.ณรงค์ชัยกล่าว
“บล.ภัทร” คาดไม่มีรัฐบาลเกินครึ่งปี กดจีดีพีต่ำกว่า 2.8%
ดร.ศุภวุฒิกล่าวว่า บล.ภัทรประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2557 จะขยายตัวได้ 2.8% โดยมีสมมติฐานว่า ครึ่งแรกของปีนี้ไม่มีรัฐบาล ซึ่งจะทำให้จีดีพีครึ่งปีแรกโตเพียง 0.6% แต่ครึ่งปีหลังเริ่มมีรัฐบาล จะทำให้จีดีพีขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 5% จากปัจจัยการบริโภคที่อั้นไว้ช่วงครึ่งปีแรกจะเร่งใช้จ่ายในครึ่งปีหลัง และการส่งออกกับการท่องเที่ยวจะกลับมาขยายตัวได้ดีขึ้น โดยคาดการณ์ส่งออกทั้งปีนี้จะโต 4% ขณะที่การลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนยังอยู่ระดับต่ำ ขยายตัวได้ประมาณ 1% เท่านั้น
“ถ้าปัญหาการเมืองยืดเยื้อทำให้ไม่มีรัฐบาลเกิน 6 เดือน หรือเกินครึ่งปีแรก ซึ่งผิดไปจากสมมติฐานที่ตั้งไว้ ก็มีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไทยจะโตต่ำกว่า 2.8%” ดร.ศุภวุฒิกล่าว
จับตาปัจจัยเสี่ยงต่างประเทศ
ข้อความเต็มอ่านต่อที่
http://thaipublica.org/2014/02/economic-outlook-2014/
..ฟันธงเศรษฐกิจปี 57 ยังอยู่ในภาวะ ลำบาก
“ประสาร” ห่วงสุญญากาศทางการเมืองยืดเยื้อ ฉุดจีดีพีทั้งปี ’57 โตต่ำกว่า 3% แต่มั่นใจปัจจัยพื้นฐานยังแกร่ง รองรับสถานการณ์การเมืองและความผันผวนของตลาดการเงินโลกได้ชั่วคราว นักลงทุนต่างชาติยังเชื่อถือ ขณะที่ “โฆสิต” เชื่อเป็นปีที่ลำบาก ส่วน “ณรงค์ชัย” ฟันธงเศรษฐกิจปีนี้ไม่ตาย แต่เลี้ยงไม่โต ด้าน “ศุภวุฒิ” ประเมินการเมืองลากยาวเกินครึ่งปี จีดีพีต่ำกว่า 2.8%
ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่นำไปสู่การชุมนุมของมวลมหาประชาชนตั้งแต่ช่วงปลายปี 2556 และมีการยกระดับการชุมนุมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก และมีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง แต่รัฐบาลเลือกแนวทางการยุบสภาเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 และเป็นรัฐบาลรักษาการเดินหน้าจัดให้มีการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ยิ่งทำให้อุณหณภูมิทางการเมืองร้อนแรงเพิ่มมากขึ้น และไม่ทีท่าว่าจะยุติลงอย่างไร
ดังนั้น สถานการณ์ทางการเมืองไทยกำลังอยู่ในจุดที่น่าเป็นกังวลมากที่สุดสำหรับประเทศไทย และกำลังส่งผลกระทบไปถึงด้านเศรษฐกิจ คือ ทำให้บรรยากาศทางเศรษฐกิจไม่สดใสทั้งด้านการบริโภคและการลงทุน เนื่องจากภาคธุรกิจและครัวเรือนมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจและเหตุการณ์ทางการเมือง แต่จะมีผลกระทบต่ออนาคตเศรษฐกิจไทยในปี 2557 มากน้อยแค่ไหน มีหลายมุมมองที่น่าสนใจจากเวทีเสวนา “Thailand’s Economic Outlook 2014” ที่จัดขึ้นโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (ไอโอดี) เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2557
31 มกราคม 2557 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (ไอโอดี) จัดเสวนาหัวข้อ Thailand’s Economic Outlook 2014 โดยมีวิทยากรได้แก่ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ (สายงานวิจัย) บล.ภัทรจำกัด (มหาชน) ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ ดร.บัณฑิต นิจถาวร กรรมการผู้อำนวยการ ไอโอดี ดำเนินการเสวนา (จากขวาไปซ้าย)
การเมืองระยะสั้น ยังไม่กระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ
ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บรรยายพิเศษในหัวข้อ “Thailand’s Economic Outlook 2014” ก่อนมีการเสวนาว่า แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2557 นอกจากจะเผชิญกับภาวะแวดล้อมต่างประเทศที่ยังท้าทายแล้ว ยังมีปัญหาสุญญากาศทางการเมืองที่อาจจะยืดเยื้อและทำให้บทบาทของภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจทำได้ไม่เต็มที่ในปีนี้ แม้งบประมาณปี 2557 จะสามารถใช้ได้ค่อนข้างปรกติ แต่กระบวนการงบประมาณในปี 2558 มีแนวโน้มล่าช้าออกไป และการลงทุนในโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานบางโครงการคงต้องเลื่อนออกไปเช่นกัน ส่งผลให้การลงทุนของภาคเอกชนในโครงการที่เกี่ยวข้องจะถูกเลื่อนออกไปด้วย
“แม้แรงส่งของการเติบโตไม่สดใส แต่ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยตอนนี้ยังอยู่ในระดับที่สามารถรับมือกับสถานการณ์การเมืองและความผันผวนของตลาดเงินโลกได้ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ยืนยันได้จากการที่ไทยยังมีความน่าเชื่อถือในสายตาของนักลงทุนต่างประเทศ” ดร.ประสารกล่าว
โดยช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ดร.ประสารกล่าวว่า สถาบันจัดอันดับเครดิต Moody’s และ S&P ได้คงแนวโน้มและอันดับความน่าเชื่อถือของไทยไว้แม้จะมีสถานการณ์ทางการเมือง เนื่องจากเห็นว่าพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังไม่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ แม้ในช่วงที่ค่าเงินของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่บางประเทศอ่อนค่าลงมาก แต่นักลงทุนต่างชาติไม่ได้มีความตื่นตระหนกที่จะรีบเร่งถอนเงินลงทุนออกไป ทำให้ค่าเงินบาทยังมีเสถียรภาพ
4 ปัจจัยพื้นฐาน ภูมิคุ้มกันเศรษฐกิจ
ดร.ประสารระบุว่า สาเหตุที่ไทยยังรักษาเสถียรภาพและความน่าเชื่อถือในสายตาของนักลงทุนต่างชาติได้เพราะเรามีภูมิคุ้มกันที่ดี 4 ประการ
ประการแรก เราไม่มีปัญหาเรื้อรัง เช่น ปัญหาเงินเฟ้อสูง หรือการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้หล่อแหลมต่อการถูกมองว่ามีความไม่สมดุลกำลังก่อตัวอยู่ในระบบเศรษฐกิจ หรือความสามารถในการแข่งขันของประเทศกำลังเสื่อมถอย ทำให้นโยบายอัตราดอกเบี้ยทางการสามารถช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจได้
ประการที่สอง เรามีระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่น สามารถทำหน้าที่ช่วยปรับสมดุลให้กับเศรษฐกิจ หรือช่วยเป็น “automatic stabilizer” (อัตราแลกเปลี่ยนช่วยสร้างเสถียรภาพโดยอัตโนมัติ) และไม่เป็นจุดสะสมความเปราะบาง
ประการที่สาม เรามีทุนสำรองทางการอยู่ในระดับสูงไม่ว่าจะวัดตามมาตรฐานสากลใด และหากเทียบเป็นสัดส่วนกับจีดีพีก็อยู่ประมาณ 50% ของจีดีพี ก็คือว่าค่อนข้างสูงอยู่อันดับต้นๆ ของโลก เพราะโดยทั่วไปจะอยู่ประมาณ 20-30% ของจีดีพี
ประการที่สี่ ภาคธุรกิจเอกชนโดยรวมมีฐานะมั่นคง ระบบสถาบันการเงินเข้มแข็ง รวมทั้งมีการดูแลเงินกองทุนเพื่อเป็น “cushion” (เป็นเบาะช่วยบรรเทาผลกระทบ) เผื่อช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวไว้แล้ว ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าระบบสถาบันการเงินจะทำหน้าที่หล่อลื่นระบบเศรษฐกิจได้เป็นปกติ
“ทั้งสี่เรื่องนี้ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยที่ยังคงมีความแข็งแกร่งและเป็นภูมิคุ้มกันที่ดี” ดร.ประสารกล่าว
ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ห่วงการเมืองยืดเยื้อ เสียจังหวะพัฒนาประเทศ
อย่างไรก็ตาม ดร.ประสารแสดงความเป็นห่วงว่า ภูมิคุ้มกันที่กล่าวนี้อาจอ่อนแอลงหากปัญหาต่างๆ มีความยืดเยื้อ โดยเฉพาะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศที่ขณะนี้ยังไม่มีทางออกที่ชัดเจน เปรียบเสมือน “เรือ” ที่ไม่ว่าจะใช้วัสดุทนทานหรือออกแบบมาให้แข็งแกร่งเพียงใด หากต้องแล่นฝ่ามรสุมเป็นเวลานานก็เสี่ยงที่จะเพลี่ยงพล้ำได้ ซึ่งผลเสียจะมาในรูปของต้นทุนการทำกิจกรรมต่างๆ ที่สูงขึ้น เช่น ค่าใช้จ่ายโลจิสติกส์ ต้นทุนกู้ยืมที่ต้องจ่ายแพงขึ้น
“ที่น่าเป็นห่วงคือ การเสียจังหวะที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและศักยภาพของประเทศ เพื่อให้เรามีความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น และเสียโอกาสตักตวงประโยชน์จากเศรษฐกิจโลกขาขึ้นได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น จีดีพีทั้งปี 2557 คาดการณ์ว่าจะขยายตัวได้ใกล้ๆ 3%” ดร.ประสารกล่าว
ขณะที่ในการเสวนาหัวข้อ Thailand’s Economic Outlook 2014 มีวิทยากรคือ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ (สายงานวิจัย) บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) และดำเนินการเสวนาโดย ดร.บัณฑิต นิจถาวร กรรมการผู้อำนวยการ ไอโอดี ทุกคนมีความเห็นสอดคล้องกันว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้ไม่สดใส
“โฆสิต” คาดเศรษฐกิจไทยปีนี้ “ลำบาก”
นายโฆสิตมีความเห็นว่า เศรษฐกิจปีนี้เป็นปีที่เราลำบาก เพราะแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจประเทศรอบๆ เราจะดีขึ้นก็ตาม แต่สิ่งที่เราเคยได้รับที่ผ่านมา หรือ “ตัวช่วย” จากนโยบายของบางประเทศ อย่างเช่น เงินทุนไหลเข้าจากการดำเนินนโยบายคิวอีของสหรัฐอเมริกาก็จะไม่มีแล้ว เพราะเขาเริ่มลดทอนนโยบายคิวอี ขณะที่รัฐบาลไทยก็อยู่ในภาวะรัฐบาลรักษาการ และอาจเป็นแบบนี้ในระยะยาว ไม่ใช่ระยะสั้นๆ เพราะฉะนั้น รัฐบาลที่เคยเป็นตัวช่วยเศรษฐกิจก็มี นอกจากนี้เรายังรับแรงส่งที่อ่อนแอจากผลของนโยบายประชานิยม เพราะฉะนั้นเราลำบาก
“แรงส่งทางเศรษฐกิจที่อ่อนลง เป็นผลกระทบจากนโยบายประชานิยมที่เป็นตัวบ่อนทำลายความเข้มแข็ง เพราะประชานิยมเป็นปฏิปักษ์ต่อการเจริญเติบโตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ถ้าเราเติมประชานิยมไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้แรงส่งทางเศรษฐกิจอ่อนแอลงไปเรื่อยๆ แต่ถ้าประชานิยมหายไป เราจะอยู่ในสภาพที่แข็งแรงขึ้น เพราะเรามีภูมิคุ้มกันที่ดี” นายโฆสิตกล่าว
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
นายโฆสิตเชื่อมั่นว่า ภูมิคุ้มกันโดยรวมยังไม่อยู่ในฐานะที่บอบช้ำอะไรมากมาย มีความเข้มแข็งพอสมควร เพราะฉะนั้นเราจะฝ่าความลำบากไปได้ดีพอสมควร และถ้าเราสามารถผ่านความยุ่งยากทางการเมืองขณะนี้ไปได้ โดยหลังจากจัดการเสร็จสรรพแล้วพรรคการเมืองต่างๆ ลดระดับการแข่งขันเรื่องประชานิยมลง มีการดำเนินการเกี่ยวกับคอร์รัปชันให้ประสิทธิภาพมากขึ้น จะทำให้เศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าสดใส และมีภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็งขึ้น
“ความยุ่งยากทางการเมืองขณะนี้เป็นระยะของการเปลี่ยนผ่าน ไม่รู้ว่านานเพียงใด แต่มีความหวังว่าถ้าเราเปลี่ยนผ่านได้ ก็จะเข้าสู่อีกยุคหนึ่งที่ประเทศไทยจะมีความเข้มแข็งมากขึ้นอีกเยอะ” นายโฆสิตกล่าว
“ณรงค์ชัย” ฟันธงเศรษฐกิจไทยปีนี้ไม่ตาย แต่เลี้ยงไม่โต
ด้าน ดร.ณรงค์ชัย ฟันธงเศรษฐกิจไทยปีนี้ “ไม่ตาย แต่เลี้ยงไม่โต” คือจีพีดีจะโตต่ำกว่า 3% ซึ่งจะต่ำมาก แต่จะต่ำมากเท่าไรไม่รู้ เพราะไม่รู้ว่ารัฐบาลรักษาการจะอยู่นานแค่ไหน เนื่องจากรัฐบาลรักษาการไม่สามารถดำเนินการใดๆ เหมือนรัฐบาลในภาวะปกติ จึงส่งผลให้การดำเนินนโยบายชะงัก ซึ่งเรื่องใหญ่ที่เป็นปัญหามากที่สุดคือเรื่องโครงการรับจำนำข้าว ยิ่งแก้ปัญหาช้ายิ่งลำบาก และที่สำคัญคือ โครงการลงทุนขนาดใหญ่ไม่เกิดขึ้น
“ทั้งสองเรื่องนี้มีความจำเป็นที่จะต้องรีบมีรัฐบาลที่ทำงานได้เต็มที่ขึ้นมาแทนรัฐบาลรักษาการ” ดร.ณรงค์ชัยกล่าว
ย้อนอดีตเศรษฐกิจ–การเมืองไทย จะซ้ำรอยหรือไม่
ดร.ณรงค์ชัยเปรียบเทียบเหตุการณ์ปีนี้ว่า อาจจะเทียบเคียงได้กับปี 2549 ที่มีประท้วงรัฐบาลทักษิณ นำโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล และพลตรีจำลอง ศรีเมือง จนทำให้รัฐบาลทักษิณยุบสภาเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2549 และมีการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 ทำให้มีรัฐบาลรักษาการอยู่ 6 เดือน จนถึง 19 กันยายน 2549 เกิดรัฐประหารมีรัฐบาลเซนต์คาเบรียล (รัฐบาลขิงแก่) เข้ามาทำให้จีดีพีโตได้ 5-6%
ต่อมาปี 2551 มีพรรคพลังประชาชน ซึ่งมีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ก็มีการประท้วงยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน และเจอวิกฤติเศรษฐกิจโลกจากปัญหาเลห์แมนบราเธอร์ล้ม แต่ปีนี้จีดีพีโตเหลือเพียง 2% แต่ปีต่อมา 2552 จีดีพีติดลบ 2% พรรคประชาธิปัตย์เข้ามาเป็นรัฐบาลเร่งทำนโยบายโครงการไทยเข้มแข็งส่งผลให้เศรษฐกิจปี 2553 จีดีพีขยายตัว 10% ทั้งที่เศรษฐกิจโลกกำลังมีปัญหา
จากนั้นในปี 2554 เกิดเหตุการณ์กลุ่มเสื้อแดงชุมนุมประท้วงทำให้จีดีพีถดถอยลงไปอีก มีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้นช่วงกรกฎาคม 2554 พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาล ปลายปีเจอปัญหาน้ำท่วม แต่จีดีพีโตติดลบ 9% ต่อมาปี 2555 เกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินล้นโลกจากมาตรการคิวอี แต่จีดีพีขยายตัวได้ 6.4% พอมาปี 2556 ช่วงปลายปีมีประท้วงนำโดยลุงกำนัน สุเทพ เทือกสุบรรณ ทำให้เศรษฐกิจไทยโตไม่ถึง 3%
ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)
“สำหรับปี 2557 มีรัฐบาลรักษาการแก้ปัญหาเรื่องข้าวไม่ได้ จำเป็นต้องมีรัฐบาลไม่รักษาการ หรือจะมีรัฐบาลเซนต์คาเบรียลหรือเปล่าไม่รู้ แต่การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ไม่ใช่ทางเลือกของการแก้ปัญหาแน่นอน” ดร.ณรงค์ชัยกล่าว
“บล.ภัทร” คาดไม่มีรัฐบาลเกินครึ่งปี กดจีดีพีต่ำกว่า 2.8%
ดร.ศุภวุฒิกล่าวว่า บล.ภัทรประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2557 จะขยายตัวได้ 2.8% โดยมีสมมติฐานว่า ครึ่งแรกของปีนี้ไม่มีรัฐบาล ซึ่งจะทำให้จีดีพีครึ่งปีแรกโตเพียง 0.6% แต่ครึ่งปีหลังเริ่มมีรัฐบาล จะทำให้จีดีพีขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 5% จากปัจจัยการบริโภคที่อั้นไว้ช่วงครึ่งปีแรกจะเร่งใช้จ่ายในครึ่งปีหลัง และการส่งออกกับการท่องเที่ยวจะกลับมาขยายตัวได้ดีขึ้น โดยคาดการณ์ส่งออกทั้งปีนี้จะโต 4% ขณะที่การลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนยังอยู่ระดับต่ำ ขยายตัวได้ประมาณ 1% เท่านั้น
“ถ้าปัญหาการเมืองยืดเยื้อทำให้ไม่มีรัฐบาลเกิน 6 เดือน หรือเกินครึ่งปีแรก ซึ่งผิดไปจากสมมติฐานที่ตั้งไว้ ก็มีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไทยจะโตต่ำกว่า 2.8%” ดร.ศุภวุฒิกล่าว
จับตาปัจจัยเสี่ยงต่างประเทศ
ข้อความเต็มอ่านต่อที่ http://thaipublica.org/2014/02/economic-outlook-2014/