การศึกษาทางทหารระดับสูง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกองทัพทุกประเทศที่ต้องพัฒนาบุคลากรของตนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ความรู้ความเข้าใจในยุทธศาสตร์ที่กว้างขวางลึกซึ้งกว่าความเชี่ยวชาญในสนามรบและความช่ำชองในการบริหารหน่วยงานเฉพาะนั้นเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการยกระดับขีดความสามารถของชนชั้นผู้นำกองทัพ แต่ละชาติจึงมักพัฒนาระดับการสอนวิชาการป้องกันประเทศให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ประเทศไทยก็ทำเช่นนี้ ด้วยการก่อตั้งวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรมาครึ่งศตวรรษแล้ว ขณะที่อเมริกา รัสเซีย และจีน ก็ยกระดับไปถึงขั้นมหาวิทยาลัย
อินเดีย เป็นมหาอำนาจทางทหารอันดับที่ 4 ของโลกต่อจากสามประเทศนั้น จากการจัดอันดับของสถาบันโกลบอล ไฟร์ เพาเวอร์นั้น ก่อตั้งวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรมาได้ 54 ปีแล้ว และมีโครงการจะขยับเลื่อนชั้นขึ้นไปเป็นมหาวิทยาลัยให้ได้ภายในอีก 6 ปีข้างหน้า จุดเริ่มต้นมาจากการดำริของอดีตนายกฯ คนแรกของอินเดียคือเยาวหะราล เนห์รู ที่ต้องการให้กองทัพประเทศนี้แข็งแกร่ง โดยเชื่อว่าการป้องกันประเทศนี้นั้นต้องเชื่อมต่อกับเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและมิติอื่นๆ อีกทั้งต้องมีความร่วมมืออย่างเป็นสันติกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย เรื่องนี้ซีเรียสมากในขณะนั้น เพราะอินเดียเพิ่งแยกประเทศเป็นเอกราชมา ทั้งยังทำศึกกับปากีสถานอีก อินเดียไม่หวังจะเป็นใหญ่แค่ในอนุทวีปเอเชียใต้เท่านั้น แต่แสวงความเป็นใหญ่ในโลก ในฐานะขั้วที่สามสงครามเย็นด้วย จึงตั้งตนเป็นผู้นำกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
ด้วยเหตุนี้ อินเดียจึงให้ความสำคัญแก่ชาติรอบๆ มาก โดยเฉพาะชาติขนาดเล็ก แม้ว่าอินเดียไม่มีเงินมาก แถมยังใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมด้วยในยุคนั้น แต่อินเดียก็ให้ที่นั่งแก่นายทหารต่างชาติจำนวนมากตั้งแต่ปีที่สองเลย จนถึงปีนี้ปีที่ 54 มีทหารต่างชาติมากถึง 26 คนจาก 23 ประเทศมาจากทุกทวีป ตั้งแต่ สหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส ไปยันบราซิลและแอฟริกา ในอาเซียนคือพม่า บรูไน และไทยคือผมเอง อีก 76 คนเป็นทหารอินเดียชั้นยศพลจัตวาสามเหล่าทัพ และพลเรือนระดับสูง ศิษย์เก่าของที่นี่ก้าวขึ้นไปเป็นประมุขถึงสามชาติ หนึ่งในนั้นคือกษัตริย์จิกมีแห่งภูฏาน
อินเดียตั้งสถาบันนี้ขึ้นมาไม่ทันไรก็เกิดสงครามกับจีนขึ้น ตามมาด้วยปากีสถานอีกสองรอบ ความรู้ทางยุทธศาสตร์ที่ได้มีส่วนมากในการทำศึก ขณะที่ความเชื่อมโยงความสัมพันธ์และความรู้กับข้าราชการพลเรือนทำให้การประสานงานเป็นไปอย่างดียิ่ง การยุดโยงดูงานกับแคว้นต่างๆ และประเทศทั่วโลกทำให้ได้รับความร่วมมือกับมุขมนตรีแคว้นต่างๆ มีส่วนจรรโลงระบอบประชาธิปไตยของอินเดีย และสานต่อการทูตฝ่ายทหาร ได้ผลมากในการส่งเสริมศักดาอินเดียในเวทีโลก
ถึงกระนั้น วปอ.อินเดียก็ไม่ใช่แหล่งผลิตนายทหารนักปฏิวัติ กองทัพประเทศนี้มุ่งแต่เรื่องป้องกันประเทศอย่างเดียว ไม่เกี่ยวข้องการเมืองภายในชาติแต่อย่างใด แม้ว่าเขาจะได้ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งทางการศึกษาว่านักการเมืองหรือองค์กรอื่นของอินเดียก็ไม่ได้บริสุทธิ์ผุดผ่อง การเป็นทหารอาชีพทำให้ประเทศนี้ยังยืนอยู่บนเส้นทางประชาธิปไตยอยู่ได้ สัปดาห์หน้าจะว่าถึงการเรียนการสอนของ วปอ.อินเดียครับ
http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20140127/177647.html
มองมุมยุทธศาสตร์ : วปอ.อินเดีย
การศึกษาทางทหารระดับสูง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกองทัพทุกประเทศที่ต้องพัฒนาบุคลากรของตนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ความรู้ความเข้าใจในยุทธศาสตร์ที่กว้างขวางลึกซึ้งกว่าความเชี่ยวชาญในสนามรบและความช่ำชองในการบริหารหน่วยงานเฉพาะนั้นเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการยกระดับขีดความสามารถของชนชั้นผู้นำกองทัพ แต่ละชาติจึงมักพัฒนาระดับการสอนวิชาการป้องกันประเทศให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ประเทศไทยก็ทำเช่นนี้ ด้วยการก่อตั้งวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรมาครึ่งศตวรรษแล้ว ขณะที่อเมริกา รัสเซีย และจีน ก็ยกระดับไปถึงขั้นมหาวิทยาลัย
อินเดีย เป็นมหาอำนาจทางทหารอันดับที่ 4 ของโลกต่อจากสามประเทศนั้น จากการจัดอันดับของสถาบันโกลบอล ไฟร์ เพาเวอร์นั้น ก่อตั้งวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรมาได้ 54 ปีแล้ว และมีโครงการจะขยับเลื่อนชั้นขึ้นไปเป็นมหาวิทยาลัยให้ได้ภายในอีก 6 ปีข้างหน้า จุดเริ่มต้นมาจากการดำริของอดีตนายกฯ คนแรกของอินเดียคือเยาวหะราล เนห์รู ที่ต้องการให้กองทัพประเทศนี้แข็งแกร่ง โดยเชื่อว่าการป้องกันประเทศนี้นั้นต้องเชื่อมต่อกับเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและมิติอื่นๆ อีกทั้งต้องมีความร่วมมืออย่างเป็นสันติกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย เรื่องนี้ซีเรียสมากในขณะนั้น เพราะอินเดียเพิ่งแยกประเทศเป็นเอกราชมา ทั้งยังทำศึกกับปากีสถานอีก อินเดียไม่หวังจะเป็นใหญ่แค่ในอนุทวีปเอเชียใต้เท่านั้น แต่แสวงความเป็นใหญ่ในโลก ในฐานะขั้วที่สามสงครามเย็นด้วย จึงตั้งตนเป็นผู้นำกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
ด้วยเหตุนี้ อินเดียจึงให้ความสำคัญแก่ชาติรอบๆ มาก โดยเฉพาะชาติขนาดเล็ก แม้ว่าอินเดียไม่มีเงินมาก แถมยังใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมด้วยในยุคนั้น แต่อินเดียก็ให้ที่นั่งแก่นายทหารต่างชาติจำนวนมากตั้งแต่ปีที่สองเลย จนถึงปีนี้ปีที่ 54 มีทหารต่างชาติมากถึง 26 คนจาก 23 ประเทศมาจากทุกทวีป ตั้งแต่ สหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส ไปยันบราซิลและแอฟริกา ในอาเซียนคือพม่า บรูไน และไทยคือผมเอง อีก 76 คนเป็นทหารอินเดียชั้นยศพลจัตวาสามเหล่าทัพ และพลเรือนระดับสูง ศิษย์เก่าของที่นี่ก้าวขึ้นไปเป็นประมุขถึงสามชาติ หนึ่งในนั้นคือกษัตริย์จิกมีแห่งภูฏาน
อินเดียตั้งสถาบันนี้ขึ้นมาไม่ทันไรก็เกิดสงครามกับจีนขึ้น ตามมาด้วยปากีสถานอีกสองรอบ ความรู้ทางยุทธศาสตร์ที่ได้มีส่วนมากในการทำศึก ขณะที่ความเชื่อมโยงความสัมพันธ์และความรู้กับข้าราชการพลเรือนทำให้การประสานงานเป็นไปอย่างดียิ่ง การยุดโยงดูงานกับแคว้นต่างๆ และประเทศทั่วโลกทำให้ได้รับความร่วมมือกับมุขมนตรีแคว้นต่างๆ มีส่วนจรรโลงระบอบประชาธิปไตยของอินเดีย และสานต่อการทูตฝ่ายทหาร ได้ผลมากในการส่งเสริมศักดาอินเดียในเวทีโลก
ถึงกระนั้น วปอ.อินเดียก็ไม่ใช่แหล่งผลิตนายทหารนักปฏิวัติ กองทัพประเทศนี้มุ่งแต่เรื่องป้องกันประเทศอย่างเดียว ไม่เกี่ยวข้องการเมืองภายในชาติแต่อย่างใด แม้ว่าเขาจะได้ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งทางการศึกษาว่านักการเมืองหรือองค์กรอื่นของอินเดียก็ไม่ได้บริสุทธิ์ผุดผ่อง การเป็นทหารอาชีพทำให้ประเทศนี้ยังยืนอยู่บนเส้นทางประชาธิปไตยอยู่ได้ สัปดาห์หน้าจะว่าถึงการเรียนการสอนของ วปอ.อินเดียครับ
http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20140127/177647.html