คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 35
ผมไม่ได้ตอบกระทู้ในเชิงแสดงความคิดเห็นบ่อยนัก ถ้าจะตอบก็ต้องมีความเห็นต่างจากคนส่วนใหญ่จริงๆ เช่นในกระทู้นี้ที่แม้แต่บางคนก็อ้างภูมิหลังความสำเร็จในการศึกษาและความรู้รอบตัวของตนเองมาประกอบ อย่างเช่น คุณ K. Senior และแม้แต่คนอื่นๆ ที่ยกตัวอย่างชื่อของนักวิทยาศาสตร์ "บางคน" มาอ้างก็ตาม
อันดับแรกเลย ผมต้องขอยกย่องชมเชย จขกท อย่างแท้จริงที่คนในฐานะ "ครู" เช่นคุณมีความคิดอย่างผู้มีสายตากว้างไกลที่มองเห็นถึงความสำคัญของการมีความรู้รอบตัวไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า "วิชาหลัก" ด้านใดด้านหนึ่ง เพราะนั่นหมายถึงความสำเร็จในหน้าที่การงานของคนส่วนใหญ่ในสังคมจริงๆ คุณคิดมาถูกทางแล้วและขอให้มีความมุ่งมั่นในการกระทำที่ถูกต้องต่อไป
อันดับต่อไปผมขออธิบายว่าทำไมถึงได้สนับสนุน จขกท
ผมอยู่ในประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุดหนึ่งประเทศในโลกนั่นคือ เยอรมนี และระบบการศึกษาของประเทศนี้เองที่ให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดที่นักเรียน-นักศึกษาจะต้องรู้ในเรื่องอื่นๆ รอบตัวในสังคมยิ่งมากเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น วัฒนธรรมความคิดนี้เป็นรากเหง้าของความคิดทางด้าน "สังคมศาสตร์" ของยุโรปมาตั้งแต่ยุคปี 1847 โดยที่บุคคลประวัติศาสตร์ของโลกคนแรกที่กล่าวถึงคำว่า „Fachidiotismus“ หรือ Fachidiot = loan word for an expert uninterested in what goes around him ผู้มีลักษณะนี้คือผู้ก่อปัญหาในการอยู่ร่วมในสังคมมนุษย์ ผู้กล่าวนี้คือ Karl Marx นั่นเอง
ข้อสังเกตุต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันของผู้จบการศึกษาใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดงานคือ นักศึกษาขาดความรู้รอบตัวในเรื่องอื่นๆ แต่เป็นการมุ่งมั่นการเรียนทฤษฏีเพื่อเอาความรู้ไปสอบให้ผ่าน หรือ เพื่อเข้าทำการแข่งขันในศาสตร์แขนงใดแขนงหนึ่งอย่างที่ จขกท ยกตัวอย่าง
จากผลการสำรวจวิจัยตลาดแรงงานล่าสุด พบว่าบริษัทผู้ว่าจ้างไม่สามารถหาผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตามต้องการได้ถึง 41% สมาคมนายจ้างอุตสาหกรรมเยอรมัน หรือ Association of German Chambers of Industry and Commerce จึงได้ทำการแจ้งไปยังสถาบันการศึกษาว่าหานักศึกษาที่จบใหม่ทุกแขนงที่มีคุณสมบัติพร้อมที่จะเริ่มทำงานในตลาดแรงงานได้น้อยลงทุกที อันดับแรกคือขาดความรู้หรือทักษะทางด้านปฏิบัติ หรืออธิบายได้ว่า จบมาพร้อมความรู้ทางด้านทฤษฏีอย่างเดียวแต่ไม่สามารถเอาไป apply ใช้งานจริงได้ จนเป็นสาเหตุแรกๆ ที่ลูกจ้างจบการศึกษาใหม่เหล่านี้ไม่ผ่านระยะทดลองงาน
ทั้งๆ ที่ระบบการศึกษาเยอรมันได้ชื่อว่า เป็นระบบการศึกษาที่เน้นเรื่องการปฏิบัติเป็นสิ่งสำคัญโดยจะต้องมี 1 เทอมเป็นอย่างน้อยที่นักศึกษาต้องผ่านการฝึกงานเพื่อที่เมื่อเริ่มต้นทำงานผู้เริ่มงานใหม่จะได้นำไปต่อยอดในการปฏิบัติงานจริงๆ ได้ ถ้าแม้ว่าขนาดเรียนในระดับมัธยมยังไม่สนใจความรู้รอบตัวเสียแล้ว ก็อย่าหวังเลยว่าในการทำงานจริงจะประสบความสำเร็จได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตามสถิติที่สำรวจนั้นพบว่านักศึกษาทางด้าน "คณิตศาสตร์" และ "วิทยาศาสตร์" เป็นกลุ่มที่มีไม่ใส่ใจที่จะหางานทางปฏิบัติมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับด้านวิศวกรรม ตามตัวเลขนั้นนักศึกษาวิศวกรรมจำนวน 2922 คนนั้นมีจำนวนถึง 442 คนที่ผ่านเทอมการปฏิบัติมาแล้ว ในขณะที่สายวิทยาศาสตร์นั้นมีเพียง 258 คน จาก 2094 คน
ต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงข้อหนึ่งว่า ไม่ใช่คนส่วนใหญ่ที่มีความสามารถพิเศษที่จะเป็นสุดยอดในการเป็นนักคณิตศาสตร์ หรือ นักวิทยาศาสตร์ หรือ แม้แต่ professor ข้อหนึ่งที่ต่างจากระบบของไทยอย่างสิ้นเชิงคือ คนที่จะเป็น professor ในมหาลัยเยอรมันนั้นไม่ใช่เพียงแค่จบด๊อกเตอร์เท่านั้น แต่ต้องผ่านการทำงานในฐานะลูกจ้างที่ประสบความสำเร็จมาแล้วเท่านั้นอย่างน้อยๆ 5 ปี ขึ้นไปถึงจะมีคุณสมบัติที่จะสมัครเป็น pro ได้ ไม่เหมือนอย่างในอเมริกาหรืออังกฤษ
นักเรียน-นักศึกษาส่วนใหญ่ 90% ก็คือคนธรรมดาที่จะต้องจบมาเพื่อเข้าทำงานในตลาดแรงงานและต้องแข่งขันอย่างรุนแรงกับผู้สมัครอื่นๆ ผลคะแนนการเรียนเป็นเพียงข้อตัดสินใจในการพิจารณาจ้างงานข้อหนึ่ง แต่ความรู้รอบตัวทั่วไปก็จะเป็นตัวการตัดสินที่สำคัญว่า บุคคลคนนั้นมีคุณสมบัติที่จะทำงานได้ประสบความสำเร็จหรือไม่
และไม่ว่าไทยจะประสบความสำเร็จในการส่งผู้แข่งขันเข้าชิงโอลิมปิคอย่างไรก็ตาม แต่ถ้ายังไม่สามารถที่จะประดิษฐ์คิดค้นอะไรเป็นของตนเองได้ ตราบนั้นการเรียนที่เรียนมาก็ยังคงเป็นแค่ทฤษฏีอยู่เช่นนั้น
อันดับแรกเลย ผมต้องขอยกย่องชมเชย จขกท อย่างแท้จริงที่คนในฐานะ "ครู" เช่นคุณมีความคิดอย่างผู้มีสายตากว้างไกลที่มองเห็นถึงความสำคัญของการมีความรู้รอบตัวไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า "วิชาหลัก" ด้านใดด้านหนึ่ง เพราะนั่นหมายถึงความสำเร็จในหน้าที่การงานของคนส่วนใหญ่ในสังคมจริงๆ คุณคิดมาถูกทางแล้วและขอให้มีความมุ่งมั่นในการกระทำที่ถูกต้องต่อไป
อันดับต่อไปผมขออธิบายว่าทำไมถึงได้สนับสนุน จขกท
ผมอยู่ในประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุดหนึ่งประเทศในโลกนั่นคือ เยอรมนี และระบบการศึกษาของประเทศนี้เองที่ให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดที่นักเรียน-นักศึกษาจะต้องรู้ในเรื่องอื่นๆ รอบตัวในสังคมยิ่งมากเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น วัฒนธรรมความคิดนี้เป็นรากเหง้าของความคิดทางด้าน "สังคมศาสตร์" ของยุโรปมาตั้งแต่ยุคปี 1847 โดยที่บุคคลประวัติศาสตร์ของโลกคนแรกที่กล่าวถึงคำว่า „Fachidiotismus“ หรือ Fachidiot = loan word for an expert uninterested in what goes around him ผู้มีลักษณะนี้คือผู้ก่อปัญหาในการอยู่ร่วมในสังคมมนุษย์ ผู้กล่าวนี้คือ Karl Marx นั่นเอง
ข้อสังเกตุต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันของผู้จบการศึกษาใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดงานคือ นักศึกษาขาดความรู้รอบตัวในเรื่องอื่นๆ แต่เป็นการมุ่งมั่นการเรียนทฤษฏีเพื่อเอาความรู้ไปสอบให้ผ่าน หรือ เพื่อเข้าทำการแข่งขันในศาสตร์แขนงใดแขนงหนึ่งอย่างที่ จขกท ยกตัวอย่าง
จากผลการสำรวจวิจัยตลาดแรงงานล่าสุด พบว่าบริษัทผู้ว่าจ้างไม่สามารถหาผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตามต้องการได้ถึง 41% สมาคมนายจ้างอุตสาหกรรมเยอรมัน หรือ Association of German Chambers of Industry and Commerce จึงได้ทำการแจ้งไปยังสถาบันการศึกษาว่าหานักศึกษาที่จบใหม่ทุกแขนงที่มีคุณสมบัติพร้อมที่จะเริ่มทำงานในตลาดแรงงานได้น้อยลงทุกที อันดับแรกคือขาดความรู้หรือทักษะทางด้านปฏิบัติ หรืออธิบายได้ว่า จบมาพร้อมความรู้ทางด้านทฤษฏีอย่างเดียวแต่ไม่สามารถเอาไป apply ใช้งานจริงได้ จนเป็นสาเหตุแรกๆ ที่ลูกจ้างจบการศึกษาใหม่เหล่านี้ไม่ผ่านระยะทดลองงาน
ทั้งๆ ที่ระบบการศึกษาเยอรมันได้ชื่อว่า เป็นระบบการศึกษาที่เน้นเรื่องการปฏิบัติเป็นสิ่งสำคัญโดยจะต้องมี 1 เทอมเป็นอย่างน้อยที่นักศึกษาต้องผ่านการฝึกงานเพื่อที่เมื่อเริ่มต้นทำงานผู้เริ่มงานใหม่จะได้นำไปต่อยอดในการปฏิบัติงานจริงๆ ได้ ถ้าแม้ว่าขนาดเรียนในระดับมัธยมยังไม่สนใจความรู้รอบตัวเสียแล้ว ก็อย่าหวังเลยว่าในการทำงานจริงจะประสบความสำเร็จได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตามสถิติที่สำรวจนั้นพบว่านักศึกษาทางด้าน "คณิตศาสตร์" และ "วิทยาศาสตร์" เป็นกลุ่มที่มีไม่ใส่ใจที่จะหางานทางปฏิบัติมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับด้านวิศวกรรม ตามตัวเลขนั้นนักศึกษาวิศวกรรมจำนวน 2922 คนนั้นมีจำนวนถึง 442 คนที่ผ่านเทอมการปฏิบัติมาแล้ว ในขณะที่สายวิทยาศาสตร์นั้นมีเพียง 258 คน จาก 2094 คน
ต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงข้อหนึ่งว่า ไม่ใช่คนส่วนใหญ่ที่มีความสามารถพิเศษที่จะเป็นสุดยอดในการเป็นนักคณิตศาสตร์ หรือ นักวิทยาศาสตร์ หรือ แม้แต่ professor ข้อหนึ่งที่ต่างจากระบบของไทยอย่างสิ้นเชิงคือ คนที่จะเป็น professor ในมหาลัยเยอรมันนั้นไม่ใช่เพียงแค่จบด๊อกเตอร์เท่านั้น แต่ต้องผ่านการทำงานในฐานะลูกจ้างที่ประสบความสำเร็จมาแล้วเท่านั้นอย่างน้อยๆ 5 ปี ขึ้นไปถึงจะมีคุณสมบัติที่จะสมัครเป็น pro ได้ ไม่เหมือนอย่างในอเมริกาหรืออังกฤษ
นักเรียน-นักศึกษาส่วนใหญ่ 90% ก็คือคนธรรมดาที่จะต้องจบมาเพื่อเข้าทำงานในตลาดแรงงานและต้องแข่งขันอย่างรุนแรงกับผู้สมัครอื่นๆ ผลคะแนนการเรียนเป็นเพียงข้อตัดสินใจในการพิจารณาจ้างงานข้อหนึ่ง แต่ความรู้รอบตัวทั่วไปก็จะเป็นตัวการตัดสินที่สำคัญว่า บุคคลคนนั้นมีคุณสมบัติที่จะทำงานได้ประสบความสำเร็จหรือไม่
และไม่ว่าไทยจะประสบความสำเร็จในการส่งผู้แข่งขันเข้าชิงโอลิมปิคอย่างไรก็ตาม แต่ถ้ายังไม่สามารถที่จะประดิษฐ์คิดค้นอะไรเป็นของตนเองได้ ตราบนั้นการเรียนที่เรียนมาก็ยังคงเป็นแค่ทฤษฏีอยู่เช่นนั้น
ความคิดเห็นที่ 14
อ่านดู หลายๆความเห็นยังไม่เข้าใจ จขกท.นะครับ หรือโลกสวย??
การที่เน้นให้เด็กมุ่งไปทางที่เขาเก่งมันก็ดีครับ ผมก็เห็นด้วยมากๆ แต่สิ่งที่ จขกท.บอกมันเป็นความรู้รอบตัวครับ เป็น Social knowledge จขกท.ไม่ได้ต้องการให้เด็กต้องเก่งชีวะ เคมี ฟิสิกส์ แต่เขาต้องการให้เด็กมีความรู้รอบตัว เพื่อ "ใช้ชีวิตต่อไปเป็นผู้ใหญ่" ได้อย่างเหมาะสม คือผมก็งงกับหลายๆความเห็น..อยู่เมืองไทย ไม่รู้ว่าชุมพรอยู่ภาคอะไร มันแปลกไหม ทัณตแพทย์ ไม่รู้ว่าคือหมอฟัน ผมว่าก็รู้น้อยไปนะครับ
แต่ผมไม่มีคำแนะนำให้ จขกท.อ่ะ เพราะผมเองก็สอนคนไม่เก่งครับ
การที่เน้นให้เด็กมุ่งไปทางที่เขาเก่งมันก็ดีครับ ผมก็เห็นด้วยมากๆ แต่สิ่งที่ จขกท.บอกมันเป็นความรู้รอบตัวครับ เป็น Social knowledge จขกท.ไม่ได้ต้องการให้เด็กต้องเก่งชีวะ เคมี ฟิสิกส์ แต่เขาต้องการให้เด็กมีความรู้รอบตัว เพื่อ "ใช้ชีวิตต่อไปเป็นผู้ใหญ่" ได้อย่างเหมาะสม คือผมก็งงกับหลายๆความเห็น..อยู่เมืองไทย ไม่รู้ว่าชุมพรอยู่ภาคอะไร มันแปลกไหม ทัณตแพทย์ ไม่รู้ว่าคือหมอฟัน ผมว่าก็รู้น้อยไปนะครับ
แต่ผมไม่มีคำแนะนำให้ จขกท.อ่ะ เพราะผมเองก็สอนคนไม่เก่งครับ
ความคิดเห็นที่ 5
เขาจะมีความรู้รอบตัวก็ต่อเมื่อ เขาสนใจมันครับ
ในเมื่อเขาไม่ได้มีความจำเป็นต้องใช้ของพวกนั้น เขาก็เลยเอาเวลาไปทำในสิ่งที่เขาชอบมากกว่า แล้วสิ่งที่เขาชอบนั่นก็เผอิญเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก แล้วก็น้อยคนจะเข้าใจได้อย่างเขาด้วย
ผมว่า เราควรหาวิธี เพิ่มโอกาส ต่อยอดให้เด็กแบบนี้มากกว่าครับ ชอบคณิตศาสตร์ก็ดันไปให้สุดกู่เลย
วันนึงถ้าเขาเห็นว่าความรู้คณิตศาสตร์อย่างเดียวไม่สามารถทำให้เขาฉลาดไปมากกว่านี้ได้ เขาก็จะเริ่มขวนขวายหาอย่างอื่นแทน
ในเมื่อเขาไม่ได้มีความจำเป็นต้องใช้ของพวกนั้น เขาก็เลยเอาเวลาไปทำในสิ่งที่เขาชอบมากกว่า แล้วสิ่งที่เขาชอบนั่นก็เผอิญเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก แล้วก็น้อยคนจะเข้าใจได้อย่างเขาด้วย
ผมว่า เราควรหาวิธี เพิ่มโอกาส ต่อยอดให้เด็กแบบนี้มากกว่าครับ ชอบคณิตศาสตร์ก็ดันไปให้สุดกู่เลย
วันนึงถ้าเขาเห็นว่าความรู้คณิตศาสตร์อย่างเดียวไม่สามารถทำให้เขาฉลาดไปมากกว่านี้ได้ เขาก็จะเริ่มขวนขวายหาอย่างอื่นแทน
แสดงความคิดเห็น
เด็กไทยหัวใจคณิตศาสตร์โอลิมปิก...ไม่มีความรู้รอบตัว