บทเรียนจากการเมืองบังคลาเทศ





ความขัดแย้งในการเมืองไทยมีบางฝ่ายพยายามจะเชื่อมโยงว่าหากเดินหน้าสู่การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ จะเกิดความรุนแรงเหมือนการเมืองในบังคลาเทศ เพราะฝ่ายหนึ่งมองว่าต้องเลือกตั้งอีกฝ่ายหนึ่งมองว่าต้องแก้ไขกติกาก่อนเลือกตั้ง แต่จะเทียบเคียงกับการเมืองไทยได้โดยตรงหรือไม่ ลองดูที่มาที่ไปของความขัดแย้งในบังคลาเทศก่อน
ดูโฉมหน้าคู่ขัดแย้งคือผู้นำ 2 ฝ่ายเป็นผู้หญิงทั้งคู่ พรรคสันนิบาตอวามี พรรครัฐบาลที่นำโดยนายกรัฐมนตรีเชค ฮาซิน่า และก็พรรค BNP ผู้นำคือ คาเลดาเซีย ทั้ง 2 ฝ่ายต่างผลัดกันเป็นผู้นำประเทศ ในช่วง 22 ปีที่ผ่านมา ต่างก็มาจากครอบครัวการเมือง ถึงกับมีคำกล่าวว่าเป็นศึกระหว่าง 2 นางพญา

จุดเริ่มต้นความขัดแย้งเกิดจากพรรคสันนิบาตอวามี ในฐานะที่เป็นรัฐบาล ไม่ยอมตั้งรัฐบาลรักษาการเพื่อทำหน้าที่ดูแลการเลือกตั้ง ซึ่งถือเป็นประเพณีที่ทำสืบทอดกันมาในการเมืองบังคลาเทศ แต่รัฐบาลกลับจัดการเลือกตั้งเอง สร้างความไม่พอใจให้กับพรรค BNP และคาเลดา เซีย ในฐานะเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีด้วย ฝ่ายค้านจึงคว่ำบาตรการเลือกตั้ง

และแม้ว่าพรรคของนายกรัฐมนตรีเชค ฮาซิน่า กวาดชัยชนะไป แต่ในวันเลือกตั้งก็เกิดเหตุปะทะมีผู้เสียชีวิตเกือบ 30 คน จากเหตุที่ตำรวจยิงปืนใส่กลุ่มผู้ชุมนุม ขณะที่มีรายงานว่านักเคลื่อนไหวที่สนับสนุนฝ่ายค้านจุดไฟเผาบริเวณหน่วยเลือกตั้งถึง 100 แห่ง ผู้คนในกรุงธากาต้องอยู่กับความหวาดกลัว ทหารต้องออกตรวจตราตามท้องถนน วันเลือกตั้งอาทิตย์ที่ผ่านมามีผู้คนออกไปลงเสียงเพียง 22 เปอร์เซนต์ ต่างจากเมื่อ 6 ปีก่อน การเลือกตั้งมีผู้ไปลงเสียงถึง 87 เปอร์เซนต์

ก่อนหน้านี้ หลายเดือนก็เกิดความรุนแรงมาแล้ว ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านเริ่มเปิดฉากโจมตีหลายครั้ง มีการประท้วงปิดเส้นทางสัญจรคมนาคม เพื่อเพิ่มแรงกดดัน ถ้าย้อนกลับไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว มีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 300 คนแล้ว สหภาพยุโรป สหรัฐฯ ประเทศในเครือจักรภพต่างไม่ยอมส่งผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมการเลือกตั้ง

ผศ.สุรัตน์ โหราชัยกุล นักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อธิบายว่าสถานการณ์ในบังคลาเทศมีทั้งส่วนที่เหมือน และไม่เหมือนกับไทย ที่เหมือนก็คือฝ่ายหนึ่งต้องการเลือกตั้ง อีกฝ่ายหนึ่งต้องการให้แก้ไขกติกา แต่ถ้ามองลึกกว่านั้นสาเหตุของความขัดแย้งมีความซับซ้อนที่ต่างกัน

หนังสือพิมพ์ Daily Star ของบังคลาเทศอธิบายว่าเป็นการเลือกตั้งที่นองเลือดที่สุด และบอกว่าชัยชนะของสันนิบาตอวามีไม่ใช่ฉันทามติให้บริหารประเทศ แต่อีกด้านวิพากษ์ฝ่ายค้านด้วยว่าเป็นส่วนที่เป็นเชื้อเพลิงให้เกิดความรุนแรง เพราะฝ่ายค้านคว่ำบาตรการเลือกตั้งได้ แต่ไม่ควรกระตุ้นให้คนใช้ความรุนแรง

ข่าวจาก http://news.thaipbs.or.th/content/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8


บทเรียนจากบังคลาเทศนั้น เราจะเห็นได้ว่าประชาชนมองว่า พรรคเขาทั้ง 2 พรรค ของเขานั้นไม่ใหวแล้ว ต้อง ปฎิรูปประเทศเสียใหม่
เขาก็จัดคนกลางให้มาเป็น รัฐบาล 2006- 2008 ประมาณ 2 ปีกว่า จัดการนักการเมืองที่โกงออกทั้งหมด แล้วก็จัดเลือกตั้งใหม่
ซึ่งเหมือนกับ สิ่งที่ คุณสุเทพคิดจะทำในตอนนี้ ดังนั้นตอนนี้เราก็เหมือนกับบังคลาเทศ ยุค กำลังทำลายประเทศใหม่ ถ้าเราไม่คุยกัน
ก็อาจเป็นอย่างที่บังคลาเทศได้ คิดให้ดีนะครับ เราอยากเป็นอย่างบังคลาเทศหรือ ตอนนี้เรายังแก้ไขได้นะครับ
เพียงแค่หันหน้ามาคุยกัน แล้วทุกฝ่ายก็ลด อคติลง ใครผิดก็โดนลงโทษไป ยอมรับโทษตามกฎหมายเท่านั้น
เสียสละแค่นี้เพื่อเมืองไทย ท่านทำได้ใหมครับ ท่านที่ป่าวประกาศว่ารักประเทศไทยนักหนา หรือท่านรักแต่ปาก ใจอยากจะกินเมืองไทย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่