สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 20
เคยบอกไว้ว่าจะเขียนเรื่องการจัดการ LTF/RMF เพราะเอกสารของตัวเราเอง ยุ่งมากๆ เลย
เนื่องจาก RMF ซื้อมา 11 ปีแล้ว ของเรามีขายบ้างบางส่วนเพื่อเอาเงินไปรักษาแม่ ตอนขายยุ่งฝุดๆ
แต่จะเล่าวันหลัง วันนี้เล่าเรื่อง LTF ก่อนนะคะ มันจัดการง่ายหน่อย
1. LTF เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นมากกว่า 65% ดังนั้นเสี่ยงเท่าๆ กันหมดคือระดับ 6 อย่าไปถามใครว่า
มี LTF กองไหนเสี่ยงน้อย
2. ซื้อได้ 15% ของรายได้ "ก่อน" หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 5 แสนบาทในแต่ละปี
ซื้อปีไหนได้สิทธิลดหย่อนปีนั้น ไม่ซื้อไม่หาไม่ว่าอะไร ตามกำลังศรัทธา เอ๊ยตามความจำเป็น
3. ต้องถืออย่างน้อย 5 ปีปฏิทิน ดังนั้นคนส่วนใหญ่นิยมไปซื้อเดือนธค. ทำให้ส่วนใหญ่ได้ราคาแพง ยกเว้นปี 56 อิ อิ
ถ้าขายก่อนกำหนดถือว่าผิดเงื่อนไข การผิดเงื่อนไข เกิดปัญหาคือ
- กำไรที่ได้มาทั้งหมด ต้องเอามารวมคำนวณเป็นรายได้ของปีที่ขายเพื่อเสียภาษี โดยทางบลจ.จะหัก ณ ที่จ่ายไว้ 3%
บางบลจ.ถ้าขายผิดเงื่อนไข จะขายได้ราคาน้อยกว่าการขายถูกเงื่อนไขค่ะ เช่น กสิกร
- ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับลดหย่อนไปให้สรรพากร โดยต้องยื่นภงด. 90 และคืนเงินภาษีภายในเวลาที่กำหนด จะไม่มี
เงินเพิ่ม สำหรับเงินเพิ่มอัตราปกติ คิด 1.5% ต่อเดือนค่ะ
4. ในกรณีที่ผู้ถือหน่วย เจ็บไข้ได้ป่วยจนเกิดทุพพลภาพไม่สามารถทำงานได้ (มีใบรับรองแพทย์) หรือเสียชีวิต สามารถขาย
คืนก่อนกำหนดได้
5. ถ้าซื้อเกินสิทธิ ไม่ว่าขายตอนไหนก็ต้องเอาเงินกำไรมาเสียภาษีด้วยค่ะ
6. การสับเปลี่ยนกอง สามารถทำได้ทั้งในบลจ.เดียวกัน และหรือต่างบลจ. แต่ต้องสับเปลี่ยนเข้ากอง LTF ด้วยกันเท่านั้น
ไม่งั้นถือเป็นการขาย
7. การคำนวณต้นทุน ผลประโยชน์ และการหักเงินลงทุนแต่ละรายการ เมื่อมีการขายคืน/สับเปลี่ยน ใช้หลัก FIFO ค่ะ
8. เมื่อเราซื้อกองทุนไม่ว่าจะเป็นการซื้อแบบซื้อทั้งก้อน dca หรือซื้อตามจังหวะการลงทุนของแต่ละคน เมื่อถึงสิ้นปี
ทางบลจ.จะรวมยอด และส่งเป็น "หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนกองทุนหุ้นระยะยาว" มาให้ มีสองฉบับ ฉบับแรก
ใช้ยื่นแบบ อีกฉบับให้เก็บไว้อย่างดีนะคะ จะได้เป็นหลักฐานตอนจะขาย ซึ่งหลักฐานอันนี้ถ้าเป็น RMF จะยิ่งมีความสำคัญ
เข้าไปอีก โดยเฉพาะถ้าเรามีการซื้อหลายกอง หลายบลจ. ไม่ว่ามีบุ๊คหรือไม่มี เวลาขายเขาจะต้องขอดูค่ะ
9. บางบลจ. ตอนสิ้นปีจะมีรายงานสรุปส่งมาพร้อมหนังสือรับรองการซื้อ ว่าเรามีหน่วยลงทุนที่ซื้อไว้ในแต่ละปี กี่หน่วย
คิดเป็นเงินเท่าไหร่ ต้นทุนและกำไรเท่าไหร่ บอกมาให้เสร็จสรรพ สมัยก่อนไม่มีต้องทำบัญชีแยกหน่วยแยกปีเอง ยุ่งมากค่ะ
โดยเฉพาะเรา มีการสับไปมา สับข้ามบลจ.ก็มี เวลาขายจะยุ่งมาก แต่เดี๋ยวนี้สบายค่ะตามข้อ 10
10. ตอนขาย สมัยก่อนจะแนะนำให้ไปขายที่เคาน์เตอร์ธนาคาร เพราะเขาจะเช็คให้ว่าขายได้กี่หน่วย แต่เดี๋ยวนี้หลายๆ บลจ.
จะทำป๊อบอัพให้ตอนขาย ว่าขายได้กี่หน่วย เน้น เขาบอกเป็นจำนวนหน่วยนะคะ ให้ขายตามนั้นเลย อย่าขายเป็นจำนวนเงิน
เพราะราคาที่เปลี่ยนแปลงอาจทำให้ผิดพลาดได้
สำหรับผลการลงทุนที่ผ่านมา พูดได้ว่าของเรามีผลตอบแทนที่น่าพอใจ คือลดหย่อนภาษีได้ 20% และมีผลตอบแทนเฉลี่ย
ปีละ >10% บางช่วงอย่างก้อนที่ขายตอนปี 56 ได้กำไรเกือบ 150% หรือตกปีละ 50% แต่ที่เพิ่งขายไปอาทิตย์ที่แล้ว
ได้ 48% ค่ะ
เนื่องจาก RMF ซื้อมา 11 ปีแล้ว ของเรามีขายบ้างบางส่วนเพื่อเอาเงินไปรักษาแม่ ตอนขายยุ่งฝุดๆ
แต่จะเล่าวันหลัง วันนี้เล่าเรื่อง LTF ก่อนนะคะ มันจัดการง่ายหน่อย
1. LTF เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นมากกว่า 65% ดังนั้นเสี่ยงเท่าๆ กันหมดคือระดับ 6 อย่าไปถามใครว่า
มี LTF กองไหนเสี่ยงน้อย
2. ซื้อได้ 15% ของรายได้ "ก่อน" หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 5 แสนบาทในแต่ละปี
ซื้อปีไหนได้สิทธิลดหย่อนปีนั้น ไม่ซื้อไม่หาไม่ว่าอะไร ตามกำลังศรัทธา เอ๊ยตามความจำเป็น
3. ต้องถืออย่างน้อย 5 ปีปฏิทิน ดังนั้นคนส่วนใหญ่นิยมไปซื้อเดือนธค. ทำให้ส่วนใหญ่ได้ราคาแพง ยกเว้นปี 56 อิ อิ
ถ้าขายก่อนกำหนดถือว่าผิดเงื่อนไข การผิดเงื่อนไข เกิดปัญหาคือ
- กำไรที่ได้มาทั้งหมด ต้องเอามารวมคำนวณเป็นรายได้ของปีที่ขายเพื่อเสียภาษี โดยทางบลจ.จะหัก ณ ที่จ่ายไว้ 3%
บางบลจ.ถ้าขายผิดเงื่อนไข จะขายได้ราคาน้อยกว่าการขายถูกเงื่อนไขค่ะ เช่น กสิกร
- ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับลดหย่อนไปให้สรรพากร โดยต้องยื่นภงด. 90 และคืนเงินภาษีภายในเวลาที่กำหนด จะไม่มี
เงินเพิ่ม สำหรับเงินเพิ่มอัตราปกติ คิด 1.5% ต่อเดือนค่ะ
4. ในกรณีที่ผู้ถือหน่วย เจ็บไข้ได้ป่วยจนเกิดทุพพลภาพไม่สามารถทำงานได้ (มีใบรับรองแพทย์) หรือเสียชีวิต สามารถขาย
คืนก่อนกำหนดได้
5. ถ้าซื้อเกินสิทธิ ไม่ว่าขายตอนไหนก็ต้องเอาเงินกำไรมาเสียภาษีด้วยค่ะ
6. การสับเปลี่ยนกอง สามารถทำได้ทั้งในบลจ.เดียวกัน และหรือต่างบลจ. แต่ต้องสับเปลี่ยนเข้ากอง LTF ด้วยกันเท่านั้น
ไม่งั้นถือเป็นการขาย
7. การคำนวณต้นทุน ผลประโยชน์ และการหักเงินลงทุนแต่ละรายการ เมื่อมีการขายคืน/สับเปลี่ยน ใช้หลัก FIFO ค่ะ
8. เมื่อเราซื้อกองทุนไม่ว่าจะเป็นการซื้อแบบซื้อทั้งก้อน dca หรือซื้อตามจังหวะการลงทุนของแต่ละคน เมื่อถึงสิ้นปี
ทางบลจ.จะรวมยอด และส่งเป็น "หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนกองทุนหุ้นระยะยาว" มาให้ มีสองฉบับ ฉบับแรก
ใช้ยื่นแบบ อีกฉบับให้เก็บไว้อย่างดีนะคะ จะได้เป็นหลักฐานตอนจะขาย ซึ่งหลักฐานอันนี้ถ้าเป็น RMF จะยิ่งมีความสำคัญ
เข้าไปอีก โดยเฉพาะถ้าเรามีการซื้อหลายกอง หลายบลจ. ไม่ว่ามีบุ๊คหรือไม่มี เวลาขายเขาจะต้องขอดูค่ะ
9. บางบลจ. ตอนสิ้นปีจะมีรายงานสรุปส่งมาพร้อมหนังสือรับรองการซื้อ ว่าเรามีหน่วยลงทุนที่ซื้อไว้ในแต่ละปี กี่หน่วย
คิดเป็นเงินเท่าไหร่ ต้นทุนและกำไรเท่าไหร่ บอกมาให้เสร็จสรรพ สมัยก่อนไม่มีต้องทำบัญชีแยกหน่วยแยกปีเอง ยุ่งมากค่ะ
โดยเฉพาะเรา มีการสับไปมา สับข้ามบลจ.ก็มี เวลาขายจะยุ่งมาก แต่เดี๋ยวนี้สบายค่ะตามข้อ 10
10. ตอนขาย สมัยก่อนจะแนะนำให้ไปขายที่เคาน์เตอร์ธนาคาร เพราะเขาจะเช็คให้ว่าขายได้กี่หน่วย แต่เดี๋ยวนี้หลายๆ บลจ.
จะทำป๊อบอัพให้ตอนขาย ว่าขายได้กี่หน่วย เน้น เขาบอกเป็นจำนวนหน่วยนะคะ ให้ขายตามนั้นเลย อย่าขายเป็นจำนวนเงิน
เพราะราคาที่เปลี่ยนแปลงอาจทำให้ผิดพลาดได้
สำหรับผลการลงทุนที่ผ่านมา พูดได้ว่าของเรามีผลตอบแทนที่น่าพอใจ คือลดหย่อนภาษีได้ 20% และมีผลตอบแทนเฉลี่ย
ปีละ >10% บางช่วงอย่างก้อนที่ขายตอนปี 56 ได้กำไรเกือบ 150% หรือตกปีละ 50% แต่ที่เพิ่งขายไปอาทิตย์ที่แล้ว
ได้ 48% ค่ะ
แสดงความคิดเห็น
[กระทู้มุงกองทุน] รายงาน NAV ประจำวันศุกร์ที่ 24มกราคม 2557