เมื่อก่อนตอนที่ยังไม่มีปัญหาการเมือง เหลือง แดง เพื่อนที่เรียนมาด้วยกันบางคน วิธีการคิด การแก้ปัญหาต่างๆ บุคลิกและนิสัยหลายๆอย่าง ทำให้เรารู้สึกได้ว่า ต่างจากเราคนละขั้วเลย
มาถึงบางอ้อได้ ตอนมีเหลือง แดง และเกิดนิยามคำว่า สลิ่ม นี้แหละ ที่สามารถบอกนิสัยของเพื่อนคนนี้ได้ดี
ก็เลยค้นหาจากเน็ต
ไปอ่านเจอมาอันนึงน่าสนใจมาก
........................................................................................................................................................................................
“สลิ่ม” น่าจะเป็นคำที่เกิดขึ้นหลังจากการแบ่งสีทางการเมืองเหลือง-แดง ซึ่งว่าไปแล้ว ก็ไม่น่าจะใช่เรื่องความเห็นต่างทางการเมืองเพียงอย่างเดียว แต่เป็นความเห็นต่างในเรื่องค่านิยมเชิงวัฒนธรรมด้านอื่นรวมอยู่ด้วย
และต่อมา คำว่า สลิ่ม ก็ถูกวิวัฒนาการให้มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า “ดราม่า”มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งความหมายก็เป็นไปโดยนัยเดียวกัน
ภาพของสลิ่มนั้น ตามความหมายที่เข้าใจกัน น่าจะเป็น “มายาภาพ” ที่สลิ่มชนพยายามสร้างขึ้นมาเพื่อแสดงถึง “ความเนียน” ของการแสดงออกเชิงบวก เช่น การเป็นคนดี มีความรู้ การเป็นคนมีจิตสาธารณะ การเป็นคนชอบเห็นอกเห็นใจคนจนหรือคนที่มีฐานะด้อยกว่า ที่สำคัญยังรวมถึงการเป็นคนธรรมะธรรมโม หรือเป็นคนฝักใฝ่ในเรื่องพุทธธรรม(ธรรมะ) ขณะที่ความจริงในแง่ของข้อเท็จจริงและวิธีการแก้ไขปัญหากลับเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
เช่น เมื่อพวกสลิ่ม เรียกร้องให้แก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ กรณีของคนมีรายได้น้อยให้มีรายได้มากขึ้น ถึงแม้ว่าประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น แต่“ที่ยืน”หรือฐานะของพวกสลิ่ม กลับไม่เปลี่ยนแปลง ยังอยู่ในระดับบน หรืออยู่ “ใน(ระดับ)ชั้น”ของตนเองต่อไป ซึ่งแน่นอนว่า ชั้นดังกล่าวย่อมสูงกว่าประชาชนจำนวนมากทั่วไป พวกเขามีศักยภาพที่แสดงถึงความเข้าใจต่อปัญหาและการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ยอมสูญเสียอำนาจและทรัพย์สินที่มีอยู่ในมือของตน พวกเขาอาจแบ่งปันโภคทรัพย์ให้ผู้คนทั่วไป แต่การแบ่งปันดังกล่าวไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจและชนชั้นทางสังคมแต่อย่างใด เพราะโครงสร้างของสังคมยังไม่ได้เปลี่ยน
อีกแง่หนึ่งคำว่า สลิ่ม น่าจะถูกออกแบบมา เพื่อสื่อเห็นถึงความแตกต่างระหว่างการพูดแบบตรงๆไม่อ้อมค้อมกับการพูด “แบบผู้ดี” มีวาทศิลป์หรือพูดแบบสุภาพ โดยการพูดของคนพูดในประการหลังแฝงไปด้วยเลศนัยบางอย่างที่มุ่งประโยชน์ต่อเจ้าตัวผู้ที่พูดนั้น โดยผู้พูดจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เช่น การพูดแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ที่ประสบความเดือดร้อนจากอุทกภัยของผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือ หรือแม้แต่คนทั่วไป แต่เอาเข้าจริงๆแล้ว ไม่ได้ลงมือทำการช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาเดือดร้อน เพียงดีแต่พูดแสดงความเป็นห่วงเห็นใจ ซึ่งไม่แน่ใจว่าออกมาจากใจจริงหรือเปล่า (เหมือนผู้เข้าประกวดนางงามต้องแสดงอาการว่า รักเด็ก รักโลก รักสิ่งแวดล้อม เป็นต้น)
สามารถเปรียบเทียบได้กับการแสดงลิเก ที่นักแสดงพูดวาดภาพให้คนดูคล้อยตามและจินตนาการตามจากคำพูด เช่น การพูดว่า “ก๊อก ก๊อก ก๊อก ! ที่หมายถึงการเปิดประตู แล้ว “ทำท่า”ชะเง้อไปดูข้างในห้องว่ามีใครอยู่หรือเปล่า หรือ การ“ทำท่า” ป้องหน้า ชะเง้อคอ เมื่อกำลังมองหาใครสักคนอยู่ ซึ่งความเป็นจริงในแง่ของกิริยาอาการของการใช้ชีวิตประจำวันไม่ได้เป็นไปอย่างการแสดงลิเกนี้ เพราะเวลามองหาคนจริงๆ ไม่มีใครเอามือป้องหน้า ชะเง้อคอ มองหาอย่างลิเก
หรือ..ไม่ว่าจะเลี่ยงการพูดเรื่องวิธีการมีเซ็กส์หรือการมีความสัมพันธ์ทางเพศ ด้วยการใช้คำพูดสวยหรูเพียงใดก็ตาม แต่การมีเซ็กส์ของคนปกติโดยทั่วไปมีวิธีการและเป้าหมาย(ของการมีเซ็กส์)ก็คล้ายคลึงหรือเหมือนกัน ต่างอะไรกับการเอาเรื่องเซ็กส์ไว้พูดกันที่ลับแบบมุบมิบ แต่ปัญหาทางเพศยังเกลื่อนเต็มไปหมด สิ่งที่ต้องการคือ การพูดความจริงเกี่ยวกับการมีเซ็กส์อย่างตรงไปตรงมา ซึ่งมันอาจนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเรื่องเพศได้
หรือ..การกล่าวถึงการบริโภคแบบพอเพียง การกล่าวถึงโทษภัยของทุนนิยมบริโภค ขณะที่คนกล่าวยังคงใช้ของแพงๆ ตามยุคสมัยนิยม เช่น รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น การพูดอย่างทำอย่าง ก็จะกลายเป็น “สลิ่มชน” ไปโดยปริยาย แต่หากยอมรับความจริงว่าตัวเอง เป็นอย่างนั้น เช่น ชอบใช้ของแพงแต่ก็มีเงินซื้อของนั้น ก็ไม่มีใครว่า เพราะยอมรับตัวเองเสียก่อนแล้ว
หรือ..การกล่าวถึงกระบวนการการสร้างสันติภาพหอคอย โดยที่ผู้กล่าวถึงสูตรสันติภาพนั้น แทบไม่เคยสัมผัสหรือรู้รสจากเหตุการณ์ไร้ซึ่งสันติภาพเอาเลย เป็นแต่การสร้างวาทกรรมสันติภาพจากการอนุมานหรือคิดเอา เพราะแท้จริงแล้วผู้สร้างวาทกรรมสันติภาพบนหอคอยเหล่านี้ ลึกๆแล้วมีประโยชน์แอบแฝงจากวาทกรรมอยู่ด้วย ไม่ว่าเจ้าตัวผู้สร้างวาทกรรมจะรู้หรือไม่ก็ตาม หากลงไปสัมผัส หรือต่อสู้เพื่อสันติภาพด้วยตัวเองร่วมกับคนอื่นต่างหาก จึงได้ชื่อว่า ไม่เป็นสลิ่ม ซึ่งสำหรับคนพวกนี้เราสามารถเห็นได้จาก กรณีของ เนลสัน แมนเดลา แห่งแอฟริกาใต้ มหาตมะคานธี หรือแม้แต่แม่ชี เทเรซ่าแห่งอินเดีย
สังคมอเมริกันมี“สลิ่ม” หรือไม่?
คัดลอกจาก เวปประชาไท
สังคมอเมริกันมี“สลิ่ม” หรือไม่?
Thu, 2013-03-21 21:58
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์
.......................................................................................................................................................................................
เลยอยากให้ช่วยรวบรวมความหมาย นิสัย บุคลิก นิยาม สลิ่ม ไว้ในกระทู้นี้ครับ
ปล.เพื่อการศึกษาของคนรุ่นหลังต่อไป
ช่วยกันรวบรวมความหมาย นิยาม "สลิ่ม"
มาถึงบางอ้อได้ ตอนมีเหลือง แดง และเกิดนิยามคำว่า สลิ่ม นี้แหละ ที่สามารถบอกนิสัยของเพื่อนคนนี้ได้ดี
ก็เลยค้นหาจากเน็ต
ไปอ่านเจอมาอันนึงน่าสนใจมาก
........................................................................................................................................................................................
“สลิ่ม” น่าจะเป็นคำที่เกิดขึ้นหลังจากการแบ่งสีทางการเมืองเหลือง-แดง ซึ่งว่าไปแล้ว ก็ไม่น่าจะใช่เรื่องความเห็นต่างทางการเมืองเพียงอย่างเดียว แต่เป็นความเห็นต่างในเรื่องค่านิยมเชิงวัฒนธรรมด้านอื่นรวมอยู่ด้วย
และต่อมา คำว่า สลิ่ม ก็ถูกวิวัฒนาการให้มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า “ดราม่า”มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งความหมายก็เป็นไปโดยนัยเดียวกัน
ภาพของสลิ่มนั้น ตามความหมายที่เข้าใจกัน น่าจะเป็น “มายาภาพ” ที่สลิ่มชนพยายามสร้างขึ้นมาเพื่อแสดงถึง “ความเนียน” ของการแสดงออกเชิงบวก เช่น การเป็นคนดี มีความรู้ การเป็นคนมีจิตสาธารณะ การเป็นคนชอบเห็นอกเห็นใจคนจนหรือคนที่มีฐานะด้อยกว่า ที่สำคัญยังรวมถึงการเป็นคนธรรมะธรรมโม หรือเป็นคนฝักใฝ่ในเรื่องพุทธธรรม(ธรรมะ) ขณะที่ความจริงในแง่ของข้อเท็จจริงและวิธีการแก้ไขปัญหากลับเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
เช่น เมื่อพวกสลิ่ม เรียกร้องให้แก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ กรณีของคนมีรายได้น้อยให้มีรายได้มากขึ้น ถึงแม้ว่าประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น แต่“ที่ยืน”หรือฐานะของพวกสลิ่ม กลับไม่เปลี่ยนแปลง ยังอยู่ในระดับบน หรืออยู่ “ใน(ระดับ)ชั้น”ของตนเองต่อไป ซึ่งแน่นอนว่า ชั้นดังกล่าวย่อมสูงกว่าประชาชนจำนวนมากทั่วไป พวกเขามีศักยภาพที่แสดงถึงความเข้าใจต่อปัญหาและการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ยอมสูญเสียอำนาจและทรัพย์สินที่มีอยู่ในมือของตน พวกเขาอาจแบ่งปันโภคทรัพย์ให้ผู้คนทั่วไป แต่การแบ่งปันดังกล่าวไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจและชนชั้นทางสังคมแต่อย่างใด เพราะโครงสร้างของสังคมยังไม่ได้เปลี่ยน
อีกแง่หนึ่งคำว่า สลิ่ม น่าจะถูกออกแบบมา เพื่อสื่อเห็นถึงความแตกต่างระหว่างการพูดแบบตรงๆไม่อ้อมค้อมกับการพูด “แบบผู้ดี” มีวาทศิลป์หรือพูดแบบสุภาพ โดยการพูดของคนพูดในประการหลังแฝงไปด้วยเลศนัยบางอย่างที่มุ่งประโยชน์ต่อเจ้าตัวผู้ที่พูดนั้น โดยผู้พูดจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เช่น การพูดแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ที่ประสบความเดือดร้อนจากอุทกภัยของผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือ หรือแม้แต่คนทั่วไป แต่เอาเข้าจริงๆแล้ว ไม่ได้ลงมือทำการช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาเดือดร้อน เพียงดีแต่พูดแสดงความเป็นห่วงเห็นใจ ซึ่งไม่แน่ใจว่าออกมาจากใจจริงหรือเปล่า (เหมือนผู้เข้าประกวดนางงามต้องแสดงอาการว่า รักเด็ก รักโลก รักสิ่งแวดล้อม เป็นต้น)
สามารถเปรียบเทียบได้กับการแสดงลิเก ที่นักแสดงพูดวาดภาพให้คนดูคล้อยตามและจินตนาการตามจากคำพูด เช่น การพูดว่า “ก๊อก ก๊อก ก๊อก ! ที่หมายถึงการเปิดประตู แล้ว “ทำท่า”ชะเง้อไปดูข้างในห้องว่ามีใครอยู่หรือเปล่า หรือ การ“ทำท่า” ป้องหน้า ชะเง้อคอ เมื่อกำลังมองหาใครสักคนอยู่ ซึ่งความเป็นจริงในแง่ของกิริยาอาการของการใช้ชีวิตประจำวันไม่ได้เป็นไปอย่างการแสดงลิเกนี้ เพราะเวลามองหาคนจริงๆ ไม่มีใครเอามือป้องหน้า ชะเง้อคอ มองหาอย่างลิเก
หรือ..ไม่ว่าจะเลี่ยงการพูดเรื่องวิธีการมีเซ็กส์หรือการมีความสัมพันธ์ทางเพศ ด้วยการใช้คำพูดสวยหรูเพียงใดก็ตาม แต่การมีเซ็กส์ของคนปกติโดยทั่วไปมีวิธีการและเป้าหมาย(ของการมีเซ็กส์)ก็คล้ายคลึงหรือเหมือนกัน ต่างอะไรกับการเอาเรื่องเซ็กส์ไว้พูดกันที่ลับแบบมุบมิบ แต่ปัญหาทางเพศยังเกลื่อนเต็มไปหมด สิ่งที่ต้องการคือ การพูดความจริงเกี่ยวกับการมีเซ็กส์อย่างตรงไปตรงมา ซึ่งมันอาจนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเรื่องเพศได้
หรือ..การกล่าวถึงการบริโภคแบบพอเพียง การกล่าวถึงโทษภัยของทุนนิยมบริโภค ขณะที่คนกล่าวยังคงใช้ของแพงๆ ตามยุคสมัยนิยม เช่น รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น การพูดอย่างทำอย่าง ก็จะกลายเป็น “สลิ่มชน” ไปโดยปริยาย แต่หากยอมรับความจริงว่าตัวเอง เป็นอย่างนั้น เช่น ชอบใช้ของแพงแต่ก็มีเงินซื้อของนั้น ก็ไม่มีใครว่า เพราะยอมรับตัวเองเสียก่อนแล้ว
หรือ..การกล่าวถึงกระบวนการการสร้างสันติภาพหอคอย โดยที่ผู้กล่าวถึงสูตรสันติภาพนั้น แทบไม่เคยสัมผัสหรือรู้รสจากเหตุการณ์ไร้ซึ่งสันติภาพเอาเลย เป็นแต่การสร้างวาทกรรมสันติภาพจากการอนุมานหรือคิดเอา เพราะแท้จริงแล้วผู้สร้างวาทกรรมสันติภาพบนหอคอยเหล่านี้ ลึกๆแล้วมีประโยชน์แอบแฝงจากวาทกรรมอยู่ด้วย ไม่ว่าเจ้าตัวผู้สร้างวาทกรรมจะรู้หรือไม่ก็ตาม หากลงไปสัมผัส หรือต่อสู้เพื่อสันติภาพด้วยตัวเองร่วมกับคนอื่นต่างหาก จึงได้ชื่อว่า ไม่เป็นสลิ่ม ซึ่งสำหรับคนพวกนี้เราสามารถเห็นได้จาก กรณีของ เนลสัน แมนเดลา แห่งแอฟริกาใต้ มหาตมะคานธี หรือแม้แต่แม่ชี เทเรซ่าแห่งอินเดีย
สังคมอเมริกันมี“สลิ่ม” หรือไม่?
คัดลอกจาก เวปประชาไท
สังคมอเมริกันมี“สลิ่ม” หรือไม่?
Thu, 2013-03-21 21:58
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์
.......................................................................................................................................................................................
เลยอยากให้ช่วยรวบรวมความหมาย นิสัย บุคลิก นิยาม สลิ่ม ไว้ในกระทู้นี้ครับ
ปล.เพื่อการศึกษาของคนรุ่นหลังต่อไป