อยากทราบว่า หนีทหารประมาณ 15 ปีแล้ว สามารถทำพาสปอร์ตและเดินทางไปต่างประเทศได้หรือไม่ครับ

คืมผมหนีทหารตั้งแต่ปี2542 รวมๆก็ประมาณ 15 ปี ผมสามารถทำบัตรประชาชนและธุรกรรมอื่นๆได้ปกติครับ
แต่ที่ทำงานจะให้ผมไปต่างประเทศ และต้องทำพาสปอร์ต ผมจะสามารถทำได้หรือไม่ครับและสามารถไปต่างประเทศได้ไหมครับ
ไม่ทราบว่าคดีหมดอายุความหรือยังครับ ผมต้องทำอย่างไรครับ รบกวนผู้รู้ตอบด้วยครับ  ขอบคุณครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 18
ก่อนอื่นอยากถามว่า คุณมีใบ สด.9 หรือเปล่าครับ ถ้ามีคุณก็ต้องมีหมายเกณฑ์ทหาร
ถ้าคุณมีหมายเกณฑ์แล้วคุณไม่ไปเกณฑ์ทหาร ก็เท่ากับว่าคุณหนีทหารใช่ไหมครับ

ในกรณีที่คุณหนีการเกณฑ์ทหาร ทางสัสดีจะมอบหมายให้นายทหารท่านใดท่านหนึ่ง
ไปแจ้งยังสถานีตำรวจในท้องที่ที่คุณมีทะเบียนบ้านที่ระบุในใบ สด.9 หรือหมายเกณฑ์
ทหาร ทางสถานีตำรวจเมื่อได้รับแจ้งแล้ว ก็จะออกหมายจับคุณ ไปตามขั้นตอน แล้ว
หมายจับอันนี้จะส่งไปที่บ้านของคุณ เพื่อแจ้งให้คุณทราบ

แต่ถ้าคุณไม่ได้รับหมายจับอันนี้ ข้อมูลตรงนี้อาจจะถูกบันทึกลงประวัติอาชญากรรมได้
และทางกองหนังสือเดินทางสามารถกดดูได้ตามรายชื่อและวันเกิดของคุณ มันก็จะขึ้น
มาเป็น Black List ไม่สามารถออกหนังสือเดินทางให้คุณได้ จนกว่าคุณจะกลับไปดำเนิน
การถอนหมายจับที่สถานีตำรวจที่ได้กล่าวมาข้างต้นเสียก่อน (อันนี้ไม่ได้กล่าวเพื่อให้
คุณกลัวหรือวิตกนะครับ แต่เป็นการกล่าวให้ระวังไว้ก็เป็นการดี)

วิธีทำก็คือ

-ถ้าคุณมีหมายจับอยู่แล้ว ให้ถือหมายจับไปที่สถานีตำรวจที่ออกหมายจับ ถ้าไม่มีให้ไปติดต่อ
ที่สถานีตำรวจ ขอดูหรือขอเช็คสำเนาหมายจับ หากเจอก็แจ้งความประสงค์ว่าจะขอมามอบตัว
ตามหมายจับที่ออกถึงชื่อนี้(ชื่อของคุณ)

หากคุณย้ายออกมาจากบ้านที่คุณขึ้นทะเบียนทหารไว้ พยายามกลับไปติดต่อกับเจ้าของบ้าน
ปัจจุบัน บางทีเขาอาจะเก็บเอาไว้

-ร้อยเวรจะรับมอบตัว และจะส่งคุณฟ้องศาลในวันรุ่งขึ้น คุยกับเขาดีๆ ว่าคุณมีการงานทำเป็น
หลักแหล่ง ประสงค์จะแก้คดีนี้ ซึ่งมีผลต่ออนาคต

-เตรียมเงินประกันตัวหรือหลักทรัพย์ น่าจะประมาณ 15,000 บาท ที่ศาล แต่จะได้รับคืนภายหลัง
ประมาณ 7 วัน ถ้าจำไม่ผิด

-เวลาขึ้นศาลให้สารภาพ และยอมรับผิด ศาลจะลดโทษให้ โดยการคุมประพฤติ ตามระยะเวลาที่กำหนด
แต่คุณต้องไม่มีการต้องโทษในคดีอื่นๆมาก่อน (หลังจากนี้แล้วคุณสามารถใช้เอกสารจากทางศาลไป
ยื่นเพื่อเคลียร์ตัวเองกับกองหนังสือเดินทางได้)

-ไปรายงานตัวกับกรมคุมประพฤติตามคำสั่งศาล และทำตามที่กรมคุมประพฤติสั่งเช่น เขาต้องส่งเจ้าหน้าที่
ไปคุยกับพ่อแม่หรือพี่น้อง คนใดคนหนึ่ง ไปดูที่อยู่ของคุณ ที่ทำงาน และคุยกับเจ้านายของคุณในเรื่องความ
ประพฤติของคุณที่ผ่านมา

-คุณต้องไปบำเพ็ญประโยชน์ตามที่กรมคุมประพฤติสั่ง เช่น ทำความสะอาดสถานที่ราชการ วัด หรือช่วย
งานบางอย่างในกองคุมประพฤติตามระยะเวลาที่เขากำหนด

-เมื่อครบกำหนดการบำเพ็ญประโยชน์และไปรายงานตัวกับกรมคุมประพฤติตามกำหนดเดือนละครั้ง คุณก็จะหลุดจากคดีหนีทหาร

แต่ผมเช็คดูจากข้องมูลของกองหนังสือเดินทางแล้ว ไม่น่ามีปัญหานะครับ

ขั้นตอนการยื่นขอหนังสือเดินทางใหม่
1. รับบัตรคิว
2. ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลัก(หากไม่มีเลข 13 หลัก ต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดง) พร้อมเอกสารหลักฐานอื่น ๆที่จำเป็น อาทิ หากเปลี่ยนชื่อสกุล ต้องมีหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล ทะเบียนสมรส ฯลฯ มาแสดง เพื่อตรวจสอบข้อมูล
- ข้อมูลชีวภาพ (วัดส่วนสูง เก็บลายพิมพ์นิ้วมือนิ้วชี้ซ้ายและนิ้วชี้ขวาด้วยเครื่องสแกนเนอร์ และถ่ายรูปใบหน้า )
- แจ้งความประสงค์หากต้องการขอรับเล่มทางไปรษณีย์
3. ชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท (และค่าส่งไปรษณีย์40 บาทหากประสงค์ให้จัดส่งทางไปรษณีย์) รับใบเสร็จรับเงิน และรับใบนัดรับเล่ม

เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางธรรมดาของบุคคลบรรลุนิติภาวะ
- บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือ บัตรข้าราชการ หรือ บัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับจริง (ในกรณีที่เป็นบัตรข้าราชการให้นำสำเนาทะเบียนบ้านมาด้วย)
- หากมีรายการแก้ไขชื่อสกุล หรือวันเดือนปีเกิด ฯลฯ ซึ่งไม่ตรงกับบัตรประชาชนให้นำหลักฐานการแก้ไขที่เกี่ยวข้องมาแสดงด้วย
ค่าธรรมเนียม
- การทำหนังสือเดินทางใหม่เสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท

ทางที่ดีควรเช็คหมายจับตามที่ผมกล่าว และอายุความการหนีทหารให้ดีก่อนนะครับ ถ้าหมดอายุความไปแล้วก็ไม่น่าปีปัญหานะครับ

ปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ มีสติ และใจเย็นๆ ขอให้โชคดี
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
เดี๋ยวนี้มันเป็นบ้าาาาา อะไรไปกันหมดแล้ว มีสิทธิ์อะไรมาไล่คนอื่นไม่ให้ถือสัญชาติไทย

แย่
ความคิดเห็นที่ 5
ถามจริงๆนะ   คุณไม่รู้สึกละอายใจตัวเองบ้างเหรอ


แม้ว่าในทางกฎหมาย  จะถือว่าคุณพ้นคดีแล้ว   แต่คุณก็ยังไม่พ้นความผิดที่คุณทำไว้ได้


คนน่ารังเกียจอย่างคุณ  อย่ามาถือสัญชาติไทยเลยครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่