[บทความ] โครงสร้างอะคาเดมี่ของ บาเยิร์น มิวนิค โดย อาช่อคูณ
ในทีมเสือใต้ปัจจุบันมีเด็กสร้างของสโมสรเป็นตัวหลักที่เห็นชัดเจนนอยู่หลายคน ฟิลิปป์ ลาห์ม, บาสเตียน ชไวน์สไตเกอร์, โทนี่ โครส, โธมัส มุลเลอร์และโฮลเกอร์ บาดสตูเบอร์ ที่ยังบาดเจ็บยาวอยู่นั้น นักเตะเหล่านี้ถือได้ว่าแจ้งเกิดได้อย่างเต็มตัวแล้วมีดีกรีเป็นถึงทีมชาติเยอรมันกันถ้วนหน้า
นักเตะเหล่านี้ล้วนเคยผ่านการใช้ชีวิต ฝึกฝน ร่ำเรียน ในอะคาเดมี่ ของบาเยิร์น มิวนิค
มาแล้วทั้งนั้น..ทั้งที่อยู่ในทีมชุดปัจจุบัน และแยกย้ายกันไปอยู่ทีมอื่นๆในบุนเดสลีกา(ยกมาแค่บางส่วน)
เมื่อปี2012 หลังเกมนัดชิงชปล.อันชอกช้ำที่อัลลิอันซ์อารีน่า ผมได้ไปเดินทอดน่องแวะดูที่สโมสรที่ตั้งบริเวณถนนเซเบเนอร์ เดินดูสนามฝึกซ้อม ได้เห็นทีมเด็กยู12ของฮันโนเว่อร์ ที่พ่อแม่ขับรถส่วนตัวเดินทางไกลจากทางเหนือมาขออุ่นแข้งกับยู12ของเสือใต้ ที่ผมถามบรรดาผู้ปกครองว่า ทำไมถึงเดินทางมากันไกลขนาดนี้ ที่ได้คำตอบว่าอยากให้เหล่าเด็กๆฮันโนเว่อร์ได้ประลองแข้งกับทีมกระดูกๆดูบ้าง จะได้รู้ว่าตนเองอยู่ตรงไหน มีอะไรที่เรียนรู้ได้จากคู่แข่งและเอาไปปรับปรุงอีก
ล่าสุดอ่านในรายงานที่ชื่อว่า ECA REPORT ON YOUTH ACADEMIES IN EUROPE โหลดมาเก็บไว้ในไอแพดอ่านแบบผ่านๆไปหนึ่งรอบ เจาะเป็นเรื่องๆเมื่อมีเวลาว่าง ได้เห็นภาพที่เขาทำกันแบบมืออาชีพชัดเจนทีเดียวครับ เขาใช้สโมสรชั้นนำหลายแห่งมาเป็นตัวอย่าง อาทิ อาแจ๊กส์ อัมสเตอร์ดัม, บาเยิร์น, อาร์เซน่อล ฯลฯ มีภาพรวมสรุปของทั้งยุโรป ท่านที่สนใจไปหาอ่านกันได้ตามสะดวกเลยนะครับ วันนี้จะเอาภาพของอะคาเดมีบาเยิร์นมาเล่าให้ฟังเป็นไอเดีย ในการสร้างอะคาเดมีแบบไหนให้ได้ผล
บาเยิร์นให้ความสนใจในการสร้างทีมเยาวชนของสโมสรของตนเองมาเนิ่นนานแล้วครับ เป็น100ปีมาแล้วตั้งแต่ยังไม่มีข้อบังคับให้สโมสรอาชีพสร้างอะคาเดมีเลย โดยก่อตั้ง เอฟ เซ บาเยิร์น จูเนียร์ ทีมขึ้นตั้งแต่ปี 1902โน่น และมีการปรับโครงสร้างกันใหม่ให้ไฉไลในปี 1995
พอล ไบรท์เนอร์,ฟรานซ์ เบคเค่นบาวเออร์,เซปป์ ไมเออร์
ก็ล้วนแต่เป็นนักเตะจากอะคาเดมี่ของบาเยิร์น รุ่นแรกๆเลยทีเดียว
สนามฝึกซ้อมก็อยู่ที่บริเวณที่ตั้งสโมสรที่ผมเล่าไว้ข้างต้นละครับ ที่บาเยิร์นเองถือว่าเป็นสโมสรที่บุกเบิกด้านบอลเยาวชนเป็นเจ้าแรกๆของเยอรมันในการพัฒนาผู้เล่นระดับรากหญ้าขึ้นมา เน้นสไตล์และปรัชญา "Mia San Mia" เอาไว้แต่ต้นเป็นค่านิยมเก่าแก่ที่ถ่ายทอดต่อไปยังนักเตะจูเนียร์ทั้งหลายให้มีความรู้สึกเหมือนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน
คาร์ล-ไฮนซ์ รุมเมนิกเก้ ประธานบริหารพูดถึงอะคาเดมีนี้ว่าจะเป็นแหล่งสร้างอนาคตของสโมสร ด้วยการแชร์แพสชั่นและเทรดิชั่นสำหรับลูกหนัง และผู้เล่นเยาวชน บาเยิร์นยังมีการดึงตัวสตาร์จากสโมสรอื่นเข้ามา แต่ก็ต้องการสร้างนักเตะชุดใหญ่ที่มาจากอะคาเดมีของตนเองด้วย เพราะจะสามารถไอเดนติฟายกับสโมสรได้อย่างเต็มที่
สนามซ้อมของบาเยิร์มมีสนามหญ้าจริง 4สนาม(มี1สนามที่ติดฮีทเตอร์อีกด้วย)หญ้าเทียม1สนาม ที่ทางผู้บริหารมองว่ามันคับแคบไปแล้วในการรองรับขนาดทีมชุดใหญ่ราว28-30คนและชุดเยาวชนต่างๆอีกราว185คน( บวก-ลบ ได้นิดหน่อยที่เขาตั้งเป็นค่ากลางเอาไว้)
การรับผู้เล่นเยาวชนนั้นเขาจัดระบบเอาไว้ดีครับ มีช่วงเวลาที่รียกว่า Talent Tage (Talent Day) ให้แต่ละช่วงอายุมาคัดตัว
บาเยิร์นมีทีมงานสเกาต์ตะลอนดูนักเตะที่มีแววเพื่อดึงมาอยู่กับอะคาเดมีต่างหากอีกชุด เสาะหาผู้เล่นในเยอรมันนอกแคว้นบาวาเรีย 10คน ในแคว้นบาวาเรียเอง 15คน เขามีวิธีคิดในการคัดเลือกเด็กๆช่วงถึงยู15ว่าต้องใช้เวลาขับรถมาถึงสนามได้ใช้เวลาราว45นาทีอย่างมาก เพราะตรงนี้คือภาระของผู้ปกครองละ ยังมาฝึกซ้อมไป-กลับ ไม่ได้อยู่ประจำเลย โดยทีมชุดยูต่างๆนั้นมีรวมกันมากว่า11ทีม ผู้เล่นนั้น 90 เปอร์เซ็นต์มาจากแคว้นบาวาเรีย 5เปอร์เซ็นต์ แคว้นอื่นๆในเยอรมัน อีก5เปอร์เซ็นต์เป็นผู้เล่นต่างชาติ ซึ่ง ดาวิด อลาบา ก็เป็นหนึ่งในผลผลิตตรงนี้จากชาติเพื่อนบ้านออสเตรีย
ในการนี้อะคาเดมีบาเยิร์นใช้โค้ชทั้งสิ้น 26คน โดยเขาซอยแบ่งว่า กับยู8-ยู12นั้น ส่วนใหญ่ใช้นักศึกษาพลศึกษา และผู้ใหญ่ที่มีความรู้ด้านการสอน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมีโค้ชบีไลเซนส์อย่างน้อย1คนคอยประกบด้วย ตั้งแต่ ยู13ขึ้นไปใช้อดีตผู้เล่นเก่าของสโมสร หรือโค้ชผู้มีประสบการณ์ระดับเยาวชน และโค้ชโปรไลเซนส์ที่มีอยู่ ค่าใช้จ่ายที่สโมสรลงทุนตรงนี้แต่ละปีอยู่ที่ราว3ล้านยูโร ไม่แพงเลย เพราะได้นักเตะที่ก้าวไปเล่นชุดใหญ่ให้ทั้งของบาเยิร์นได้สักปีละคนก็แสนคุ้มแล้ว
ปรัชญาของบาเยิร์นนั้นคือการบูรณาการความแข็งแกร่งของผู้เล่นทางจิตใจและร่างกายเข้าไว้ด้วยกัน ตั้งเป้าที่จะเป็นอะคาเดมี่ที่ดีที่สุด ไม่เพียงแค่ในเยอรมันเท่านั้น แต่ยังข้ามพรมแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้านด้วย บาเยิร์นแยกอะคาเดมีออกมาจากชุดใหญ่ เฮดโค้ชอย่าง เป๊ป กวาร์ดิโอล่า ไม่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทีมเยาวชน แต่ตรงนี้สโมสรได้สร้างตัวเชื่อม ผู้อำนวยการกีฬา มัทธีอัส ซามเมอร์ ผู้เคยทำหน้าที่ในการเชื่อมทีมชาติกับสโมสรสมัยทำงานให้เดเอฟเบ และเป็นผู้วางรากฐานอะคาเดมีเยอรมันในภาพรวมเอาไว้มาทำงานตรงนี้ได้เป็นอย่างดีชนิดไร้รอยต่อ เพื่อใช้เป็นห้องทดลองในการผลิตผู้เล่นที่มีศักยภาพระดับสูงเตะสู้กับคู่แข่งได้ถึงเวทีชปล.โน่น
แนวนโนบายนี้มีความเชื่อว่า เด็กสร้างย่อมสามารถเข้ากับสโมสรได้ดีกว่าเด็กที่มาจากสโมสรอื่น โดยสโมสรทำหน้าที่ในการพัฒนาบุคลิกภาพของเหล่าเยาวชนไปด้วย โดยไม่ได้ละทิ้งการศึกษา ผู้เล่นคนใดที่ไม่ดีพอก็ต้องเก็บกระเป๋าออกไป จะได้เปิดที่ว่างให้ผู้เล่นรายอื่นเข้ามาพิสูจน์ฝีมือ ที่ผมชอบใจในสูตรการคิดปิดท้ายแบบเข้าใจง่ายๆได้ว่า Football people+experts+continuity = results
อะคาเดมีมีหอพักให้ผู้เล่นอายุ15-18ปีสำหรับ13คนเท่านั้น ที่เหลือต้องเดินทางไปกลับกันเอง แม้นว่าจะมีการปรับปรุงอะคาเดมี่ได้เยอะมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ที่ตั้งของสโมสรและสนามฝึกซ้อมที่อยู่ค่อนข้างใจกลางเมือง ที่ข้างๆแพงเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของผู้คน ตอนนั้นผมนั่งรถเมลไป จากเฮาพ์บานโฮฟ แล้วเดินอีกนิดก็ถึง เห็นได้จริงๆว่ามีบ้านคนอยู่เรียงรายตามสองข้างถนนเซเบเนอร์ จนไปถึงที่ตั้งของสโมสร การหาที่ดินสร้างสนามฝึกซ้อมแห่งใหม่กำลังดำเนินการอยู่ ขณะที่ข้อเสียเปรียบหรือขีดจำกัดในเรื่องสนามฝึกซ้อมก็ใช้การบริหารจัดการเอา
นับแต่ซีซั่น 2011/12 นอกจากทีมสำรองของบาเยิร์นที่เวลาลงเตะจะใช้ชื่อเป็น บาเยิร์นII ลงแข่งในเรกิโอนาลลีกาใต้แล้วนั้นยังมีทีมเยาวชนอีก 11ทีมได้ลงเตะอย่างสม่ำเสมอในเรกิโอนาลลีกาใต้ระดับยูชุดต่างๆอีกด้วย ที่ทุกทีมที่เขาเรียกเป็น A Junior Team ไปจนถึงD Junior team เล่นในระบบ 4-4-2 เหมือนกันหมด ไม่ต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเป็น 4-2-3-1 ,4-3-3 ,4-1-4-1 บ้างตามทีมชุดใหญ่ เอาระบบการเล่นที่เหมือนกันตรงนี้แบบเนื้อๆเน้นๆให้ซึมลึกเข้าไปก่อน
โครงสร้างของอะคาเดมีเริ่มจากยู8ไปจนถึงยู23 ผู้เล่นในทีมเยาวชนแยกแยะตามปีเกิด แต่ก็เป็นไปได้ที่ถ้าเด็กรายไหนที่แววดีอาจได้เลื่อนชั้นไปเล่นกับทีมที่อายุมากว่า 6จาก11ทีมแข่งกับทีมคู่แข่งที่อายุมากว่าสองปีอย่างสม่ำเสมอ นี่ดูแล้วเป็นการสร้างกระดูกหั้งแต่อายุยังน้อยเลย เพราะต้องใช้ความสามารถทางด้านจิตใจและร่างกายที่มากว่าเดิม ซึ่งใน11ทีมย่อยทีมีเทรนเนอร์26คนคอยดูแลนั้น
อะคาเดมีบาเยิร์นจัดโครงสร้างไว้ในการแข่งขันแบบนี้ครับ
A1 Team เรกิโอนาลลีกาใต้ ( 17-19ปี)
B1 Team บาเยิร์นลีกาใต้ (15-16ปี)
B2 Team(15-16ปี) เบเซียร์คลีกา A Team (17-18ปี)
C1 Team (14ปี) เบเซียร์คลีกา B Team (15-16ปี)
C2 Team (13ปี) ไครส์ลีกา C1 Team (14ปี)
D1 Team (12ปี) เบเซียร์คลีกา C Team (13-14ปี)
D2 Team(11ปี) เบเซียร์คลีกา D Team(12-13ปี)
E1 Team(10ปี) E1 Team(10ปี)
E2 Team(9ปี) E1 Team(10ปี)
F1&F2 Team F1&F2 Team (7-8ปี)
ผุ้เล่นเยาวชนต้องสามารถเดินทางมาฝึกซ้อมได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ถ้ามีผู้เล่นคนใดที่ต้องเดินทางไปกลับมากกว่า 100กม.นั้น ย่อมแสดงให้เห็นซึ่งความมุ่งมั่นของผู้เล่นคนนั้น ที่ตั้งอกตั้งใจย่อท้อต่อความยากลำบาก ที่ต่อมามีโอกาสสูงในการก้าวสู่ทีมชุดใหญ่ ตัวอย่างที่ดีตรงนี้คือ โธมัส มุลเลอร์ ผู้เล่นในทีมเยาวชนบาเยิร์นมาทุกชุดจนกลายเป็นตัวหลักในชุดใหญ่ปัจจุบัน
หลักการของอะคาเดมีบาเยิร์นตามช่วงอายุ
7-10ปี(ขั้นพื้นฐาน)
-เล่นเกม 7-7 ที่สนามขนาดเล็ก ขนาดประตูย่อส่วนลงมา
-ฝึกซ้อมสัปดาห์ละ3ครั้ง
-เลียนแบบสตรีทเกม เน้นความสนุกสนาน ชนะ/แพ้ , 1-1
-เรียนรู้ทักษะลูกหนังเบื้องต้น
-วิธีการหลักคือ การเล่นเกมส์
-เรียนรู้ อัตลักษณ์, กฎกติกา และการเน้นเรื่องบุคลิกภาพมาก
-การศึกษา และ การเรียนรู้/พัฒนา มีความสำคัญที่สุด ไม่เน้นผลลัพธ์
11-15ปี(ขั้นต่อยอด)
-ยู12/ยู13เล่นเกม 9-9 พื้นที่ระหว่างกรอบ16ม.ของแต่ละฝั่งบีบขนาดด้านข้างเข้ามาด้วย ขนาดประตูย่อส่วนลงมา
-ยู14/ยู15 เล่นเกม 11-11 ขนาดสนามมาตรฐาน
-ยู12/ยู13ฝึกซ้อมสัปดาห์ละ3ครั้ง(บวกอีก2ครั้งที่รร.)
-ยู14/ยู15 ฝึกซ้อมสัปดาห์ละ4ครั้ง(บวกอีก2ครั้งที่รร.)
-โฟกัสหลักที่รายละเอียดทางเทคนิคของทักษะ แท็กติกส่วนบุคคลและทีม สปีด
-เล่นลิงชิงบอล(2-2,3-3,4-4 และที่มีผู้เล่นมาก/น้อยกว่ากัน)
-โฟกัสหลักที่จุดแข็งและจุดอ่อนของผู้เล่นแต่ละคน
-ปรับปรุงการทำงานเป็นทีมและการเรียนรู้โดยโฟกัสที่ฟุตบอลและการเรียนรู้
-การศึกษาและการเรียนรู้/พัฒนาการ ยังเป็นเป้าหมายหลัก แต่ผู้เล่นต้องเรียนรู้ประสบการณ์ในการชนะและแพ้
16-19ปี(ขั้นแสดงผลงาน)
-เล่นเกม 11-11
-ฝึกซ้อมสัปดาห์ละ6ครั้ง
-หลังอายุครบ15ปี ผู้เล่นแต่ละคนฝึกซ้อมเฉพาะ1หรือ2ตำแหน่ง
-โฟกัสหลักอยู่ที่การฝึกซ้อมตามตำแหน่ง แท็กติกกลุ่มและทีม ทำให้มีเทคนิคทักษะและกำลังที่สมบูรณ์แบบ
-วิธีการ เล่นเกมส์ขนาดใหญ่(7-7,8-8,11-11) และการพัฒนาส่วนบุคคล
-การรับมือต่อความเครียดทางร่างกายและแรงกดดันเรื่องเวลา
-การศึกษาและการเรียนรู้/พัฒนาการ ยังคงมีความสำคัญ แต่โฟกัสที่ผลลัพธ์ที่ออกมามากขึ้น
ยู23(ขั้นเปลี่ยนผ่าน)
-การเตรียมตัวขั้นสุดท้ายสู่ทีมอาชีพด้วยสิ่งรายล้อมแบบมืออาชีพ
-เล่นในลีกา4ของเยอรมัน
ที่มา: หนังสือพิมพ์ "สตาร์ซอคเกอร์" ฉบับวันพุธ 21 ม.ค 2557
คอลัมน์ "ที่นี่มุม ทริปเปิลแชมป์" -ช่อคูณ
[บทความดีๆ] โครงสร้างอะคาเดมี่ของ บาเยิร์น มิวนิค โดย อาช่อคูณ
ในทีมเสือใต้ปัจจุบันมีเด็กสร้างของสโมสรเป็นตัวหลักที่เห็นชัดเจนนอยู่หลายคน ฟิลิปป์ ลาห์ม, บาสเตียน ชไวน์สไตเกอร์, โทนี่ โครส, โธมัส มุลเลอร์และโฮลเกอร์ บาดสตูเบอร์ ที่ยังบาดเจ็บยาวอยู่นั้น นักเตะเหล่านี้ถือได้ว่าแจ้งเกิดได้อย่างเต็มตัวแล้วมีดีกรีเป็นถึงทีมชาติเยอรมันกันถ้วนหน้า
นักเตะเหล่านี้ล้วนเคยผ่านการใช้ชีวิต ฝึกฝน ร่ำเรียน ในอะคาเดมี่ ของบาเยิร์น มิวนิค
มาแล้วทั้งนั้น..ทั้งที่อยู่ในทีมชุดปัจจุบัน และแยกย้ายกันไปอยู่ทีมอื่นๆในบุนเดสลีกา(ยกมาแค่บางส่วน)
เมื่อปี2012 หลังเกมนัดชิงชปล.อันชอกช้ำที่อัลลิอันซ์อารีน่า ผมได้ไปเดินทอดน่องแวะดูที่สโมสรที่ตั้งบริเวณถนนเซเบเนอร์ เดินดูสนามฝึกซ้อม ได้เห็นทีมเด็กยู12ของฮันโนเว่อร์ ที่พ่อแม่ขับรถส่วนตัวเดินทางไกลจากทางเหนือมาขออุ่นแข้งกับยู12ของเสือใต้ ที่ผมถามบรรดาผู้ปกครองว่า ทำไมถึงเดินทางมากันไกลขนาดนี้ ที่ได้คำตอบว่าอยากให้เหล่าเด็กๆฮันโนเว่อร์ได้ประลองแข้งกับทีมกระดูกๆดูบ้าง จะได้รู้ว่าตนเองอยู่ตรงไหน มีอะไรที่เรียนรู้ได้จากคู่แข่งและเอาไปปรับปรุงอีก
ล่าสุดอ่านในรายงานที่ชื่อว่า ECA REPORT ON YOUTH ACADEMIES IN EUROPE โหลดมาเก็บไว้ในไอแพดอ่านแบบผ่านๆไปหนึ่งรอบ เจาะเป็นเรื่องๆเมื่อมีเวลาว่าง ได้เห็นภาพที่เขาทำกันแบบมืออาชีพชัดเจนทีเดียวครับ เขาใช้สโมสรชั้นนำหลายแห่งมาเป็นตัวอย่าง อาทิ อาแจ๊กส์ อัมสเตอร์ดัม, บาเยิร์น, อาร์เซน่อล ฯลฯ มีภาพรวมสรุปของทั้งยุโรป ท่านที่สนใจไปหาอ่านกันได้ตามสะดวกเลยนะครับ วันนี้จะเอาภาพของอะคาเดมีบาเยิร์นมาเล่าให้ฟังเป็นไอเดีย ในการสร้างอะคาเดมีแบบไหนให้ได้ผล
บาเยิร์นให้ความสนใจในการสร้างทีมเยาวชนของสโมสรของตนเองมาเนิ่นนานแล้วครับ เป็น100ปีมาแล้วตั้งแต่ยังไม่มีข้อบังคับให้สโมสรอาชีพสร้างอะคาเดมีเลย โดยก่อตั้ง เอฟ เซ บาเยิร์น จูเนียร์ ทีมขึ้นตั้งแต่ปี 1902โน่น และมีการปรับโครงสร้างกันใหม่ให้ไฉไลในปี 1995
พอล ไบรท์เนอร์,ฟรานซ์ เบคเค่นบาวเออร์,เซปป์ ไมเออร์
ก็ล้วนแต่เป็นนักเตะจากอะคาเดมี่ของบาเยิร์น รุ่นแรกๆเลยทีเดียว
สนามฝึกซ้อมก็อยู่ที่บริเวณที่ตั้งสโมสรที่ผมเล่าไว้ข้างต้นละครับ ที่บาเยิร์นเองถือว่าเป็นสโมสรที่บุกเบิกด้านบอลเยาวชนเป็นเจ้าแรกๆของเยอรมันในการพัฒนาผู้เล่นระดับรากหญ้าขึ้นมา เน้นสไตล์และปรัชญา "Mia San Mia" เอาไว้แต่ต้นเป็นค่านิยมเก่าแก่ที่ถ่ายทอดต่อไปยังนักเตะจูเนียร์ทั้งหลายให้มีความรู้สึกเหมือนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน
คาร์ล-ไฮนซ์ รุมเมนิกเก้ ประธานบริหารพูดถึงอะคาเดมีนี้ว่าจะเป็นแหล่งสร้างอนาคตของสโมสร ด้วยการแชร์แพสชั่นและเทรดิชั่นสำหรับลูกหนัง และผู้เล่นเยาวชน บาเยิร์นยังมีการดึงตัวสตาร์จากสโมสรอื่นเข้ามา แต่ก็ต้องการสร้างนักเตะชุดใหญ่ที่มาจากอะคาเดมีของตนเองด้วย เพราะจะสามารถไอเดนติฟายกับสโมสรได้อย่างเต็มที่
สนามซ้อมของบาเยิร์มมีสนามหญ้าจริง 4สนาม(มี1สนามที่ติดฮีทเตอร์อีกด้วย)หญ้าเทียม1สนาม ที่ทางผู้บริหารมองว่ามันคับแคบไปแล้วในการรองรับขนาดทีมชุดใหญ่ราว28-30คนและชุดเยาวชนต่างๆอีกราว185คน( บวก-ลบ ได้นิดหน่อยที่เขาตั้งเป็นค่ากลางเอาไว้)
การรับผู้เล่นเยาวชนนั้นเขาจัดระบบเอาไว้ดีครับ มีช่วงเวลาที่รียกว่า Talent Tage (Talent Day) ให้แต่ละช่วงอายุมาคัดตัว
บาเยิร์นมีทีมงานสเกาต์ตะลอนดูนักเตะที่มีแววเพื่อดึงมาอยู่กับอะคาเดมีต่างหากอีกชุด เสาะหาผู้เล่นในเยอรมันนอกแคว้นบาวาเรีย 10คน ในแคว้นบาวาเรียเอง 15คน เขามีวิธีคิดในการคัดเลือกเด็กๆช่วงถึงยู15ว่าต้องใช้เวลาขับรถมาถึงสนามได้ใช้เวลาราว45นาทีอย่างมาก เพราะตรงนี้คือภาระของผู้ปกครองละ ยังมาฝึกซ้อมไป-กลับ ไม่ได้อยู่ประจำเลย โดยทีมชุดยูต่างๆนั้นมีรวมกันมากว่า11ทีม ผู้เล่นนั้น 90 เปอร์เซ็นต์มาจากแคว้นบาวาเรีย 5เปอร์เซ็นต์ แคว้นอื่นๆในเยอรมัน อีก5เปอร์เซ็นต์เป็นผู้เล่นต่างชาติ ซึ่ง ดาวิด อลาบา ก็เป็นหนึ่งในผลผลิตตรงนี้จากชาติเพื่อนบ้านออสเตรีย
ในการนี้อะคาเดมีบาเยิร์นใช้โค้ชทั้งสิ้น 26คน โดยเขาซอยแบ่งว่า กับยู8-ยู12นั้น ส่วนใหญ่ใช้นักศึกษาพลศึกษา และผู้ใหญ่ที่มีความรู้ด้านการสอน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมีโค้ชบีไลเซนส์อย่างน้อย1คนคอยประกบด้วย ตั้งแต่ ยู13ขึ้นไปใช้อดีตผู้เล่นเก่าของสโมสร หรือโค้ชผู้มีประสบการณ์ระดับเยาวชน และโค้ชโปรไลเซนส์ที่มีอยู่ ค่าใช้จ่ายที่สโมสรลงทุนตรงนี้แต่ละปีอยู่ที่ราว3ล้านยูโร ไม่แพงเลย เพราะได้นักเตะที่ก้าวไปเล่นชุดใหญ่ให้ทั้งของบาเยิร์นได้สักปีละคนก็แสนคุ้มแล้ว
ปรัชญาของบาเยิร์นนั้นคือการบูรณาการความแข็งแกร่งของผู้เล่นทางจิตใจและร่างกายเข้าไว้ด้วยกัน ตั้งเป้าที่จะเป็นอะคาเดมี่ที่ดีที่สุด ไม่เพียงแค่ในเยอรมันเท่านั้น แต่ยังข้ามพรมแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้านด้วย บาเยิร์นแยกอะคาเดมีออกมาจากชุดใหญ่ เฮดโค้ชอย่าง เป๊ป กวาร์ดิโอล่า ไม่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทีมเยาวชน แต่ตรงนี้สโมสรได้สร้างตัวเชื่อม ผู้อำนวยการกีฬา มัทธีอัส ซามเมอร์ ผู้เคยทำหน้าที่ในการเชื่อมทีมชาติกับสโมสรสมัยทำงานให้เดเอฟเบ และเป็นผู้วางรากฐานอะคาเดมีเยอรมันในภาพรวมเอาไว้มาทำงานตรงนี้ได้เป็นอย่างดีชนิดไร้รอยต่อ เพื่อใช้เป็นห้องทดลองในการผลิตผู้เล่นที่มีศักยภาพระดับสูงเตะสู้กับคู่แข่งได้ถึงเวทีชปล.โน่น
แนวนโนบายนี้มีความเชื่อว่า เด็กสร้างย่อมสามารถเข้ากับสโมสรได้ดีกว่าเด็กที่มาจากสโมสรอื่น โดยสโมสรทำหน้าที่ในการพัฒนาบุคลิกภาพของเหล่าเยาวชนไปด้วย โดยไม่ได้ละทิ้งการศึกษา ผู้เล่นคนใดที่ไม่ดีพอก็ต้องเก็บกระเป๋าออกไป จะได้เปิดที่ว่างให้ผู้เล่นรายอื่นเข้ามาพิสูจน์ฝีมือ ที่ผมชอบใจในสูตรการคิดปิดท้ายแบบเข้าใจง่ายๆได้ว่า Football people+experts+continuity = results
อะคาเดมีมีหอพักให้ผู้เล่นอายุ15-18ปีสำหรับ13คนเท่านั้น ที่เหลือต้องเดินทางไปกลับกันเอง แม้นว่าจะมีการปรับปรุงอะคาเดมี่ได้เยอะมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ที่ตั้งของสโมสรและสนามฝึกซ้อมที่อยู่ค่อนข้างใจกลางเมือง ที่ข้างๆแพงเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของผู้คน ตอนนั้นผมนั่งรถเมลไป จากเฮาพ์บานโฮฟ แล้วเดินอีกนิดก็ถึง เห็นได้จริงๆว่ามีบ้านคนอยู่เรียงรายตามสองข้างถนนเซเบเนอร์ จนไปถึงที่ตั้งของสโมสร การหาที่ดินสร้างสนามฝึกซ้อมแห่งใหม่กำลังดำเนินการอยู่ ขณะที่ข้อเสียเปรียบหรือขีดจำกัดในเรื่องสนามฝึกซ้อมก็ใช้การบริหารจัดการเอา
นับแต่ซีซั่น 2011/12 นอกจากทีมสำรองของบาเยิร์นที่เวลาลงเตะจะใช้ชื่อเป็น บาเยิร์นII ลงแข่งในเรกิโอนาลลีกาใต้แล้วนั้นยังมีทีมเยาวชนอีก 11ทีมได้ลงเตะอย่างสม่ำเสมอในเรกิโอนาลลีกาใต้ระดับยูชุดต่างๆอีกด้วย ที่ทุกทีมที่เขาเรียกเป็น A Junior Team ไปจนถึงD Junior team เล่นในระบบ 4-4-2 เหมือนกันหมด ไม่ต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเป็น 4-2-3-1 ,4-3-3 ,4-1-4-1 บ้างตามทีมชุดใหญ่ เอาระบบการเล่นที่เหมือนกันตรงนี้แบบเนื้อๆเน้นๆให้ซึมลึกเข้าไปก่อน
โครงสร้างของอะคาเดมีเริ่มจากยู8ไปจนถึงยู23 ผู้เล่นในทีมเยาวชนแยกแยะตามปีเกิด แต่ก็เป็นไปได้ที่ถ้าเด็กรายไหนที่แววดีอาจได้เลื่อนชั้นไปเล่นกับทีมที่อายุมากว่า 6จาก11ทีมแข่งกับทีมคู่แข่งที่อายุมากว่าสองปีอย่างสม่ำเสมอ นี่ดูแล้วเป็นการสร้างกระดูกหั้งแต่อายุยังน้อยเลย เพราะต้องใช้ความสามารถทางด้านจิตใจและร่างกายที่มากว่าเดิม ซึ่งใน11ทีมย่อยทีมีเทรนเนอร์26คนคอยดูแลนั้น
อะคาเดมีบาเยิร์นจัดโครงสร้างไว้ในการแข่งขันแบบนี้ครับ
A1 Team เรกิโอนาลลีกาใต้ ( 17-19ปี)
B1 Team บาเยิร์นลีกาใต้ (15-16ปี)
B2 Team(15-16ปี) เบเซียร์คลีกา A Team (17-18ปี)
C1 Team (14ปี) เบเซียร์คลีกา B Team (15-16ปี)
C2 Team (13ปี) ไครส์ลีกา C1 Team (14ปี)
D1 Team (12ปี) เบเซียร์คลีกา C Team (13-14ปี)
D2 Team(11ปี) เบเซียร์คลีกา D Team(12-13ปี)
E1 Team(10ปี) E1 Team(10ปี)
E2 Team(9ปี) E1 Team(10ปี)
F1&F2 Team F1&F2 Team (7-8ปี)
ผุ้เล่นเยาวชนต้องสามารถเดินทางมาฝึกซ้อมได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ถ้ามีผู้เล่นคนใดที่ต้องเดินทางไปกลับมากกว่า 100กม.นั้น ย่อมแสดงให้เห็นซึ่งความมุ่งมั่นของผู้เล่นคนนั้น ที่ตั้งอกตั้งใจย่อท้อต่อความยากลำบาก ที่ต่อมามีโอกาสสูงในการก้าวสู่ทีมชุดใหญ่ ตัวอย่างที่ดีตรงนี้คือ โธมัส มุลเลอร์ ผู้เล่นในทีมเยาวชนบาเยิร์นมาทุกชุดจนกลายเป็นตัวหลักในชุดใหญ่ปัจจุบัน
หลักการของอะคาเดมีบาเยิร์นตามช่วงอายุ
7-10ปี(ขั้นพื้นฐาน)
-เล่นเกม 7-7 ที่สนามขนาดเล็ก ขนาดประตูย่อส่วนลงมา
-ฝึกซ้อมสัปดาห์ละ3ครั้ง
-เลียนแบบสตรีทเกม เน้นความสนุกสนาน ชนะ/แพ้ , 1-1
-เรียนรู้ทักษะลูกหนังเบื้องต้น
-วิธีการหลักคือ การเล่นเกมส์
-เรียนรู้ อัตลักษณ์, กฎกติกา และการเน้นเรื่องบุคลิกภาพมาก
-การศึกษา และ การเรียนรู้/พัฒนา มีความสำคัญที่สุด ไม่เน้นผลลัพธ์
11-15ปี(ขั้นต่อยอด)
-ยู12/ยู13เล่นเกม 9-9 พื้นที่ระหว่างกรอบ16ม.ของแต่ละฝั่งบีบขนาดด้านข้างเข้ามาด้วย ขนาดประตูย่อส่วนลงมา
-ยู14/ยู15 เล่นเกม 11-11 ขนาดสนามมาตรฐาน
-ยู12/ยู13ฝึกซ้อมสัปดาห์ละ3ครั้ง(บวกอีก2ครั้งที่รร.)
-ยู14/ยู15 ฝึกซ้อมสัปดาห์ละ4ครั้ง(บวกอีก2ครั้งที่รร.)
-โฟกัสหลักที่รายละเอียดทางเทคนิคของทักษะ แท็กติกส่วนบุคคลและทีม สปีด
-เล่นลิงชิงบอล(2-2,3-3,4-4 และที่มีผู้เล่นมาก/น้อยกว่ากัน)
-โฟกัสหลักที่จุดแข็งและจุดอ่อนของผู้เล่นแต่ละคน
-ปรับปรุงการทำงานเป็นทีมและการเรียนรู้โดยโฟกัสที่ฟุตบอลและการเรียนรู้
-การศึกษาและการเรียนรู้/พัฒนาการ ยังเป็นเป้าหมายหลัก แต่ผู้เล่นต้องเรียนรู้ประสบการณ์ในการชนะและแพ้
16-19ปี(ขั้นแสดงผลงาน)
-เล่นเกม 11-11
-ฝึกซ้อมสัปดาห์ละ6ครั้ง
-หลังอายุครบ15ปี ผู้เล่นแต่ละคนฝึกซ้อมเฉพาะ1หรือ2ตำแหน่ง
-โฟกัสหลักอยู่ที่การฝึกซ้อมตามตำแหน่ง แท็กติกกลุ่มและทีม ทำให้มีเทคนิคทักษะและกำลังที่สมบูรณ์แบบ
-วิธีการ เล่นเกมส์ขนาดใหญ่(7-7,8-8,11-11) และการพัฒนาส่วนบุคคล
-การรับมือต่อความเครียดทางร่างกายและแรงกดดันเรื่องเวลา
-การศึกษาและการเรียนรู้/พัฒนาการ ยังคงมีความสำคัญ แต่โฟกัสที่ผลลัพธ์ที่ออกมามากขึ้น
ยู23(ขั้นเปลี่ยนผ่าน)
-การเตรียมตัวขั้นสุดท้ายสู่ทีมอาชีพด้วยสิ่งรายล้อมแบบมืออาชีพ
-เล่นในลีกา4ของเยอรมัน
ที่มา: หนังสือพิมพ์ "สตาร์ซอคเกอร์" ฉบับวันพุธ 21 ม.ค 2557
คอลัมน์ "ที่นี่มุม ทริปเปิลแชมป์" -ช่อคูณ