ขอเฉพาะเหตุผลนะครับ กระแนะกระแหนไม่เอา
ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า อยู่กับสาธารณสุขไทยมากว่า 12 ปีแล้ว ต้องหมอที่อายุมากกว่า 40 ถึงจะพอเปรียบเทียบการทำงานระบบเก่า ใหม่ได้ ต่ำกว่า 37 หมดสิทธิ์ เพราะจบรร.แพทย์มารพ.ก็เข้าระบบ 30 บาทแล้ว (เห็นชอบพูดกันจังว่าหมอเกลียด 30 บาท)
ในระบบเก่า เราก็มีระบบสิทธิ์การรักษาพยาบาลอยู่แล้ว เช่นเบิกได้ เด็ก ผู้สูงอายุ อสม. ผู้นำชุมชน ประกันสุขภาพครอบครัว 500บาท (500บาท/ปี ใช้ได้ 5 คน พวกที่ป่วยโรคเรื้อรังมักใช้ระบบนี้) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีสิทธิ์ทางใดทางหนึ่ง แต่ไม่ครอบคลุมทั้งหมด ส่วนพวกไม่มีสิทธิ์ มารักษา รพ.ก็ไม่เคยปฏิเสธการรักษา มักใช่ช่องทางสังคมสงเคราะห์ เคลมเป็นรายๆไป ก็อยู่กันได้ เคยได้ยินหรือครับว่ารพ.รัฐ ฟ้องผู้ป่วยที่ไม่มีเงินจ่าย หรือปฎิเสธการรักษา
คนไข้ที่มาคลินิค ส่วนใหญ่ ป่วยไม่มาก ไม่อยากไปรพ. มาหาหมอเป็นครั้งๆ มีบัตรทองหรือไม่ก็ไม่มารพ.หรอกครับ พวกโรคเรื้อรังมารับยาเดือนละ 4-5 พันบาท ก็ไม่มาคลินิคอยู่แล้ว เปิดคลินิคมามีแต่เพิ่ม ไม่เคยลดครับ
ส่วนรพ.รัฐ เมื่อก่อน(15 ปี)หมอ 2-3 คน คนไข้ 200 กว่าๆต่อวัน ตอนนี้หมอ 5-6 คนแล้วแต่ คนไข้เกือบๆ 400 ผมว่าไม่น่าเกียวกับระบบ แต่สังคมขยายตัว ประชากรมาก คนไข้มากแพทย์ก็ผลิตเพิ่ม ส่วนงานเฉลี่ยก็พอๆเดิม
ส่วนดีของระบบประกันสุขภาพ คือ ประชาชนตื่นตัวเรื่องการรักษาพยาบาลมากขึ้น งบประมาณทางส่งเสริม ป้องกันมากขึ้น
ส่วนแย่ๆก็มี สรุปสั้นๆคือ อัดฉีดเม็ดเงินไม่ทันกับเทคโนโลยี หรือมาตรฐานการรักษาที่มากขึ้น (มาตรฐานกับเทคโนโลยี มาพร้อมค่าใช้จ่ายเสมอ)
แต่ก็ไม่เกี่ยวกับการเรียกร้องทางการเมืองนะครับ เป็น individual ระบบ ประกันสุขภาพ หมอส่วนใหญ่ไม่ค้านนะครับ ส่วนมากเห็นด้วย ด้วยซ้ำ แต่ด้วยสถานะการณ์ปัจจุบันที่ รบ.ถังแตก ออกมาตรการจำกัดทุกอย่าง บีบให้ทุกโรงพยาบาลขาดทุนบักโกรกแต่ไม่เคยบอกต่อสาธารณชนว่า สปสช. หรือ ปกส.ออกระเบียบใหม่ แทบจะรายเดือน อะไรบ้างออกหนังสือเวียน จั่วหัวว่า ด่วนที่สุด กี่ใบแล้ว หลังปี 54 มีรพ.เอกชนไหนบ้างที่ยังรับขึ้นทะเบียนบัตรทอง แต่รบ.ยังตีหน้าเศร้าเล่าความเท็จ เก็บกินความสวยงามในอดีต บุญเก่าที่มีใกล้หมดแล้ว ทราบไหมครับ มีกี่รพ.ชุมชนที่ติดค่าไฟเกิน 6 เดือน มีกี่รพ.ที่ค้างจ่ายค่ายา เกิน 1 ปี รู้แล้วจะหนาว ใครป่วยรับยาโรคเรื้อรังมาตลอดคงรู้ ว่าโดนบังคับเปลี่ยนยา เป็นยาที่ราคาถูกลงทุกคน หมอคนใหนไม่อยากให้คนไข้เสียกำลังใจ ก็บอกว่าลุงยาเดิมคุมโรคไม่ได้ หมอขอเปลี่ยนนะ บางคนก็บอก ยาเดิมรพ.ไม่สั่งแล้ว ขอเปลี่ยนนะ จะมีกี่คนที่บอก รบ.สั่งห้ามจ่ายนะมันอยู่นอกบัญชียาหลัก และแพง
เข้าเรื่องการเมือง รบ.ทักษิณเป็นคนที่อนุมัติการจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข (เงิน พตส) และเพิ่มเบี้ยกันดาร 3-5 เท่า เรียกว่า มาตรการซื้อใจ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ภาพลักษณ์ ของ รบ.ดีขึ้นในสายตาบุคลากรทางการแพทย์ สาเหตุก็มาจาก ย่อหน้าก่อนหน้า
คนที่มาขับไล่รบ.เกิดจากความไม่จริงใจในการบริหารนโยบายสาธารณสุข ไม่ใช่จากตัวนโยบายเองครับ
แพทย์ กับระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า อยู่กับสาธารณสุขไทยมากว่า 12 ปีแล้ว ต้องหมอที่อายุมากกว่า 40 ถึงจะพอเปรียบเทียบการทำงานระบบเก่า ใหม่ได้ ต่ำกว่า 37 หมดสิทธิ์ เพราะจบรร.แพทย์มารพ.ก็เข้าระบบ 30 บาทแล้ว (เห็นชอบพูดกันจังว่าหมอเกลียด 30 บาท)
ในระบบเก่า เราก็มีระบบสิทธิ์การรักษาพยาบาลอยู่แล้ว เช่นเบิกได้ เด็ก ผู้สูงอายุ อสม. ผู้นำชุมชน ประกันสุขภาพครอบครัว 500บาท (500บาท/ปี ใช้ได้ 5 คน พวกที่ป่วยโรคเรื้อรังมักใช้ระบบนี้) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีสิทธิ์ทางใดทางหนึ่ง แต่ไม่ครอบคลุมทั้งหมด ส่วนพวกไม่มีสิทธิ์ มารักษา รพ.ก็ไม่เคยปฏิเสธการรักษา มักใช่ช่องทางสังคมสงเคราะห์ เคลมเป็นรายๆไป ก็อยู่กันได้ เคยได้ยินหรือครับว่ารพ.รัฐ ฟ้องผู้ป่วยที่ไม่มีเงินจ่าย หรือปฎิเสธการรักษา
คนไข้ที่มาคลินิค ส่วนใหญ่ ป่วยไม่มาก ไม่อยากไปรพ. มาหาหมอเป็นครั้งๆ มีบัตรทองหรือไม่ก็ไม่มารพ.หรอกครับ พวกโรคเรื้อรังมารับยาเดือนละ 4-5 พันบาท ก็ไม่มาคลินิคอยู่แล้ว เปิดคลินิคมามีแต่เพิ่ม ไม่เคยลดครับ
ส่วนรพ.รัฐ เมื่อก่อน(15 ปี)หมอ 2-3 คน คนไข้ 200 กว่าๆต่อวัน ตอนนี้หมอ 5-6 คนแล้วแต่ คนไข้เกือบๆ 400 ผมว่าไม่น่าเกียวกับระบบ แต่สังคมขยายตัว ประชากรมาก คนไข้มากแพทย์ก็ผลิตเพิ่ม ส่วนงานเฉลี่ยก็พอๆเดิม
ส่วนดีของระบบประกันสุขภาพ คือ ประชาชนตื่นตัวเรื่องการรักษาพยาบาลมากขึ้น งบประมาณทางส่งเสริม ป้องกันมากขึ้น
ส่วนแย่ๆก็มี สรุปสั้นๆคือ อัดฉีดเม็ดเงินไม่ทันกับเทคโนโลยี หรือมาตรฐานการรักษาที่มากขึ้น (มาตรฐานกับเทคโนโลยี มาพร้อมค่าใช้จ่ายเสมอ)
แต่ก็ไม่เกี่ยวกับการเรียกร้องทางการเมืองนะครับ เป็น individual ระบบ ประกันสุขภาพ หมอส่วนใหญ่ไม่ค้านนะครับ ส่วนมากเห็นด้วย ด้วยซ้ำ แต่ด้วยสถานะการณ์ปัจจุบันที่ รบ.ถังแตก ออกมาตรการจำกัดทุกอย่าง บีบให้ทุกโรงพยาบาลขาดทุนบักโกรกแต่ไม่เคยบอกต่อสาธารณชนว่า สปสช. หรือ ปกส.ออกระเบียบใหม่ แทบจะรายเดือน อะไรบ้างออกหนังสือเวียน จั่วหัวว่า ด่วนที่สุด กี่ใบแล้ว หลังปี 54 มีรพ.เอกชนไหนบ้างที่ยังรับขึ้นทะเบียนบัตรทอง แต่รบ.ยังตีหน้าเศร้าเล่าความเท็จ เก็บกินความสวยงามในอดีต บุญเก่าที่มีใกล้หมดแล้ว ทราบไหมครับ มีกี่รพ.ชุมชนที่ติดค่าไฟเกิน 6 เดือน มีกี่รพ.ที่ค้างจ่ายค่ายา เกิน 1 ปี รู้แล้วจะหนาว ใครป่วยรับยาโรคเรื้อรังมาตลอดคงรู้ ว่าโดนบังคับเปลี่ยนยา เป็นยาที่ราคาถูกลงทุกคน หมอคนใหนไม่อยากให้คนไข้เสียกำลังใจ ก็บอกว่าลุงยาเดิมคุมโรคไม่ได้ หมอขอเปลี่ยนนะ บางคนก็บอก ยาเดิมรพ.ไม่สั่งแล้ว ขอเปลี่ยนนะ จะมีกี่คนที่บอก รบ.สั่งห้ามจ่ายนะมันอยู่นอกบัญชียาหลัก และแพง
เข้าเรื่องการเมือง รบ.ทักษิณเป็นคนที่อนุมัติการจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข (เงิน พตส) และเพิ่มเบี้ยกันดาร 3-5 เท่า เรียกว่า มาตรการซื้อใจ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ภาพลักษณ์ ของ รบ.ดีขึ้นในสายตาบุคลากรทางการแพทย์ สาเหตุก็มาจาก ย่อหน้าก่อนหน้า
คนที่มาขับไล่รบ.เกิดจากความไม่จริงใจในการบริหารนโยบายสาธารณสุข ไม่ใช่จากตัวนโยบายเองครับ