ในช่วงนี้ เรามักจะได้ยินกระแสสังคมหลายเรื่องให้คำว่าสำคัญกับ "Respec (รีเสปค)" กันใหม่ เอ้ย.. ไม่ใช่สิครับ!!! ให้ "Respect" ที่แปลว่า "เคารพ" กันต่างหากครับ แหม่... เท่าที่ @TAXBugnoms สังเกตดูก็พบว่ามีการ "เคารพ" กันยกใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิในการออกเสียง (VOTE) หรือเรื่องของการจ่ายภาษี (TAX) แต่เราจะไม่พูดถึงมันหรอกนะครับ เพราะเรื่องที่พูดนี้จะไม่ยุ่งการเมือง ปล่อยให้เป็นเรื่องวุ่นวายต่อไป และสุดท้ายเหล่าคุณผู้ชายต้อง #RespectMyWife เป็นหลัก (เกี่ยวไรฟระ)
เอาล่ะครับ มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า สิ่งที่ อยากจะเล่าให้ฟังในบทความพิเศษตอนนี้นั้น ถือเป็นเรื่องราวดีๆระหว่าง "ฐานะการเงิน" กับ "การเสียภาษี" ระหว่างคนหลายๆกลุ่มที่ถูกใครไม่รู้แบ่งแยกประเภทไว้ให้เป็น "คนจน" และ "คนรวย" ซึ่งโดยปกติแล้ว เราก็เข้าใจกันดีว่า ผู้ที่มีรายได้มากย่อมจะเสียภาษีเป็นจำนวนมากจากเงินได้และการใช้จ่ายอยู่แล้ว แต่วันนี้ขอทำหน้าที่เสนอความคิดอีกแง่มุมหนึ่งให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆได้ฟังกันบ้างนะครับ ว่าแท้ที่จริงแล้วนั้นคนกลุ่มไหนเสียภาษีมากกว่ากัน!!!!
ก่อนที่จะเข้าเรื่องต่อไป ขออนุญาตทำความเข้าใจในเรื่องของ "ภาษี" กันอีกทีว่า ประเภทของภาษีตามประมวลรัษฏากร (กฎหมายภาษี) นั้นมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ "ภาษีทางตรง" (ภาษีเงินได้บุคคลและภาษีเงินได้นิติบุคคล) ที่ถูกจัดเก็บผ่านทางรายได้ กับ "ภาษีทางอ้อม" (ภาษีมูลค่าเพิ่ม-ภาษีธุรกิจเฉพาะ-อากรแสตมป์) ที่ถูกจัดเก็บผ่านทางการใช้จ่าย
ทีนี้เมื่อมีข้อสงสัยว่าใครเสียภาษีมากกว่าหรือน้อยกว่ากันนั้น เราควรจะนำข้อมูลมาทำการเปรียบเทียบในทุกประเภทภาษี ใช่ไหมใช่ครับ พี่น้องค้าบบบ!!!!!!!!!!! (อุ๊ยตาย ขออภัย อินไปหน่อยนะครับ)
ดังนั้น @TAXBugnoms เลยทำการทดสอบร่วมกับสถาบันวิจัย แอนิด้า ปราณีต (สถาบันอะไรของเอ็งฟระ!!) โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างผู้มีรายได้ออกเป็น 4 กลุ่ม อันได้แก่
1. ผู้ที่ได้รับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน หรือคิดเป็นเดือนละ 9,000 บาท
2. ผู้ที่ได้รับเงินเดือนขั้นต่ำตามหลักเกณฑ์ปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือน
3. ผู้ที่ได้รับเงินเดือนระดับหัวหน้าหรือฝ่ายบริหาร 50,000 บาทต่อเดือน
4. ผู้ที่ได้รับเงินเดือนระดับโคตรๆผู้บริหาร 150,000 บาทต่อเดือน
โดยเราจะกำหนดตัวแปรในการคำนวณภาษีเงินได้เพิ่มเติมดังนี้
1. กลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 เนื่องจากไม่ต้องเสียภาษี จึงไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีใดๆ
2. กลุ่มที่ 3 และ กลุ่มที่ 4 เลือกใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเต็มรูปแบบที่กฎหมายให้สิทธิ
3. ทุกกลุ่มเลือกออมเงินไว้ขั้นต่ำที่ 10% ของรายได้
4. เงินส่วนที่เหลือจากการออมและการจ่ายภาษีเงินได้แล้ว จะถูกนำไปใช้จ่ายในระบบที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งจำนวน
และขั้นตอนในการคำนวณเพื่อหาภาษีทั้งหมดที่คนแต่ละกลุ่มต้องชำระ มีดังนี้
1. คำนวณจำนวน "ภาษีเงินได้" ที่ต้องเสียของคนทุกกลุ่ม
2. คำนวณ "ภาษีมูลค่าเพิ่ม" แยกจากการบริโภคส่วนที่เหลือ (จำนวนเงิน x 7/107)
3. นำภาษีสองส่วนที่คำนวณได้ (1+2) มาเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนกับรายได้ของแต่ละกลุ่ม
ผลการคำนวณพบว่า
1.
สัดส่วนภาษีต่อรายได้ : คนที่มีรายได้สูงจะเสียภาษีมากที่สุดในการเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนต่อรายได้ ตามมาด้วยกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยกว่าเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี และคนที่มีรายได้ปานกลางเป็นลำดับสุดท้าย
2.
จำนวนเงินภาษี : สำหรับด้านจำนวนเงินที่เสียภาษีนั้น จะเสียลดหลั่นกันมาตั้งแต่คนที่มีรายได้สูงไปจนถึงคนที่มีรายได้น้อยกว่าเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี เพียงแต่ในกลุ่มคนที่สามารถวางแผนเพื่อลดภาษี อาจจะมี "โอกาส" เลือกที่จะเสียภาษีในจำนวนเงินที่น้อยกว่า (ถ้าหากสามารถวางแผนภาษีได้ถูกทาง) ทำให้ในบางกรณีอาจจะได้รับสิทธิพิเศษในการเสียภาษีต่ำกว่าคนที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีเงินได้ ที่นำเงินไปใช้จ่ายในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งจำนวน
สรุปผลการทดสอบ
สมมุติฐานและผลการทดลองทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นจากความต้องการที่จะหาข้อพิสูจน์ว่าจริงๆ แล้วคนบางคนในสังคมได้รับ "โอกาส" ที่มากกว่าอีกหลายๆคนที่มี "จุดเริ่มต้นชีวิต" ที่ไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น กฎหมายจึงทำหน้าที่กำหนดให้ผู้ที่มีโอกาสมากกว่าได้ช่วยเหลือผู้ที่มีโอกาสน้อยกว่าในรูปแบบที่เรียกว่า "ภาษี" เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับสังคมมากขึ้น
อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญก็คือ "คนที่มีรายได้น้อย" หากมีการใช้จ่ายในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มหรือเกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่ม อาจจะส่งผลให้ต้องกลายเป็นผู้แบกรับภาระภาษีทางอ้อมในสัดส่วนต่อเงินได้ที่มากกว่า คนที่ได้รับ "โอกาส" ในการวางแผนเพื่อลดภาษีที่ตัวเองต้องจ่าย ผ่านทางโครงสร้างภาษีของไทยที่มีกลไกต่างๆทางกฎหมายที่ช่วยให้สามารถจ่ายภาษีน้อยลงได้
อย่างไรก็ตาม @TAXBugnoms ขอชี้แจงจุดยืนอีกครั้งว่าบทวิเคราะห์และการทดสอบทั้งหมดนี้ ไม่ได้ต้องการจะโยงไปสู่ประเด็นทางการเมืองแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องการโยงให้เห็นถึง "โอกาส" และ "ภาระ" ของคนทุกคนในประเทศไทย ที่มีส่วนช่วยพัฒนาชาติด้วยการจ่ายภาษีอีกทางหนึ่ง..
อนึ่ง การทดสอบนี้ มีข้อยกเว้นดังต่อไปนี้ ที่อาจก่อให้เกิดการโต้แย้ง โดยขอสรุปประเด็นไว้ดังนี้คร้าบ...
1. ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีรายได้น้อยหรือรายได้มาก สามารถ "เลือก" ที่จะไม่ใช้จ่ายในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้เหมือนกัน
2. % สัดส่วนการออมขั้นต่ำ ที่กำหนดในการคำนวณนั้น อาจจะแปรผันตามคน ซึ่งไม่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ แต่ยิ่งออมได้มากเท่าไร ภาระภาษีของคนแต่ละกลุ่มยิ่งมีโอกาสลดลงเท่านั้น เพียงแต่ผู้ที่มีรายได้น้อย จะลำบากในการออมมากกว่า
3. การทดลองนี้กำหนดเฉพาะกลุ่มคนที่เป็น มนุษย์เงินเดือน ที่มีรายได้ประเภท 40(1) เท่านั้น หากมีรายได้ประเภทอื่นเข้าร่วม อาจจะเสียภาษีมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ได้
4. ในการทดลองครั้งนี้ ไม่ได้นำเรื่องการหัก ณ ที่จ่ายและการขอคืนภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง
สุดท้ายนี้ @TAXBugnoms ขออนุญาตปิดท้ายด้วยคำพูดของ "มิตรสหายท่านหนึ่ง" ผู้เป็นนักวิชาการด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชนแต่ไม่ประสงค์จะออกนาม ได้เคยพูดคุยถึงเรื่องนี้และให้ความเห็นเอาไว้ว่า...
อาจารย์หมอประเวศน์ เคยมาให้กำลังใจผมเป็นการส่วนตัวหลังการนำเสนองานวิจัยเรื่อง "ความไม่เป็นธรรมในระบบเกษตรพันธสัญญา" ว่า "ขอให้กำลังใจอาจารย์ทำงานเพื่อเกษตรกร คนยาก ที่ลำบากแล้วยังโดนกดขี่ฉ้อโกง โดยคนรวย บริษัทที่หากำไรจากหยาดเหงื่อของคนอื่น"
และอาจารย์หมอประเวศน์ยังเป็นผู้สนับสนุนให้มีการจัดเก็บภาษีที่ดิน ภาษีมรดก ภาษีอัตราก้าวหน้า ดังปรากฏในรายงานของ คณะกรรมการปฏิรูปฯ ที่ตั้งโดยอดีตนายกอภิสิทธิ์
เนื่องจากคนที่ทำงานกับชาวบ้าน และคนจน รู้เห็นข้อมูลทุกอย่างมานาน ว่าความร่ำรวยของบรรษัท และชนชั้นกลางทั้งหลายที่ทำงานให้บรรษัทนั้น เกิดจากการขูดรีดหยาดเหงื่อแรงงาน เกษตรกร และหากำไรอย่างไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค(ก็ทุกคน) ถ้ายังปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไป โดยที่คนมีความรู้ได้รับการอบรมจากระบบการศึกษาที่เอาเงินภาษีของคนทั้งสังคมมาอุดหนุน ไม่สามารถเข้าใจปัญหา และไม่เข้าใจความเจ็บปวดทรมานในใจผู้อื่น ก็น่าเสียดาย เพราะชนชั้นกลางและชนชั้นนำควรศึกษาประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานเสมอว่า "เมื่อไหร่คนทำงานหนักแล้วยังจน เมื่อนั้นสงครามชนชั้นใกล้ประทุ"
การเก็บภาษีคนรวยมาจัดสวัสดิการต่างๆเพื่อคนทั้งสังคม จึงเป็นการดูแลชีวิตคนทั้งสังคม ดีกว่ารอให้เขาลุกขึ้นมาแย่งเอา ก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมชนชั้นกลางไม่รู้ว่า การสร้างภราดรภาพในสังคมด้วยการเจือจาน เป็นวิธีการรักษาความมั่งคั่งสะดวกสบายของตัวเองนะครับ
สรุปผมช่วยคนอื่นเพื่อป้องกันไม่ให้คนอื่นมาทำร้ายท่านนะครับ ^^
สุดท้ายนี้ (ของจริง) ขออนุญาตให้ความเห็นสักเล็กน้อยว่า ไม่ว่า "ภาษี" ของเราจะถูกเอาไปใช้ทำอะไรนั้น ถูกต้องหรือไม่ สิ่งนั้นถือเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเพื่อที่จะทำให้เราทุกคนรู้ว่า ภาษีของเรานั้นได้ถูกใช้ไปอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยหรือไม่ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามสิ่งที่คนไทยทุกคนควรทราบก็คือ ถึงแม้ภาษีเราจะถูกใช้ไปในทิศทางไหน จะสร้างความพอใจให้กับใครคนไหนหรือไม่ เราคนไทยทุกคนยังมี "หน้าที่" ที่ต้องเสียภาษี "ตามกฎหมาย" ต่อไปอยู่นั่นแล...
[พื้นที่โฆษณา...]
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้หากเพื่อนๆพี่ๆน้องท่านใดสนใจเรื่องบัญชี ภาษี การเงิน การลงทุน อย่าลืมแวะมาทักทายกันได้ที่ ...
https://www.facebook.com/TaxBugnoms
https://twitter.com/TaxBugnoms
เอิ่มมม.. ไม่ว่าจะรวยหรือจน เราทุกคนล้วนเสียภาษีนะจ๊ะ By TAXBugnoms
เอาล่ะครับ มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า สิ่งที่ อยากจะเล่าให้ฟังในบทความพิเศษตอนนี้นั้น ถือเป็นเรื่องราวดีๆระหว่าง "ฐานะการเงิน" กับ "การเสียภาษี" ระหว่างคนหลายๆกลุ่มที่ถูกใครไม่รู้แบ่งแยกประเภทไว้ให้เป็น "คนจน" และ "คนรวย" ซึ่งโดยปกติแล้ว เราก็เข้าใจกันดีว่า ผู้ที่มีรายได้มากย่อมจะเสียภาษีเป็นจำนวนมากจากเงินได้และการใช้จ่ายอยู่แล้ว แต่วันนี้ขอทำหน้าที่เสนอความคิดอีกแง่มุมหนึ่งให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆได้ฟังกันบ้างนะครับ ว่าแท้ที่จริงแล้วนั้นคนกลุ่มไหนเสียภาษีมากกว่ากัน!!!!
ก่อนที่จะเข้าเรื่องต่อไป ขออนุญาตทำความเข้าใจในเรื่องของ "ภาษี" กันอีกทีว่า ประเภทของภาษีตามประมวลรัษฏากร (กฎหมายภาษี) นั้นมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ "ภาษีทางตรง" (ภาษีเงินได้บุคคลและภาษีเงินได้นิติบุคคล) ที่ถูกจัดเก็บผ่านทางรายได้ กับ "ภาษีทางอ้อม" (ภาษีมูลค่าเพิ่ม-ภาษีธุรกิจเฉพาะ-อากรแสตมป์) ที่ถูกจัดเก็บผ่านทางการใช้จ่าย
ทีนี้เมื่อมีข้อสงสัยว่าใครเสียภาษีมากกว่าหรือน้อยกว่ากันนั้น เราควรจะนำข้อมูลมาทำการเปรียบเทียบในทุกประเภทภาษี ใช่ไหมใช่ครับ พี่น้องค้าบบบ!!!!!!!!!!! (อุ๊ยตาย ขออภัย อินไปหน่อยนะครับ)
ดังนั้น @TAXBugnoms เลยทำการทดสอบร่วมกับสถาบันวิจัย แอนิด้า ปราณีต (สถาบันอะไรของเอ็งฟระ!!) โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างผู้มีรายได้ออกเป็น 4 กลุ่ม อันได้แก่
1. ผู้ที่ได้รับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน หรือคิดเป็นเดือนละ 9,000 บาท
2. ผู้ที่ได้รับเงินเดือนขั้นต่ำตามหลักเกณฑ์ปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือน
3. ผู้ที่ได้รับเงินเดือนระดับหัวหน้าหรือฝ่ายบริหาร 50,000 บาทต่อเดือน
4. ผู้ที่ได้รับเงินเดือนระดับโคตรๆผู้บริหาร 150,000 บาทต่อเดือน
โดยเราจะกำหนดตัวแปรในการคำนวณภาษีเงินได้เพิ่มเติมดังนี้
1. กลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 เนื่องจากไม่ต้องเสียภาษี จึงไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีใดๆ
2. กลุ่มที่ 3 และ กลุ่มที่ 4 เลือกใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเต็มรูปแบบที่กฎหมายให้สิทธิ
3. ทุกกลุ่มเลือกออมเงินไว้ขั้นต่ำที่ 10% ของรายได้
4. เงินส่วนที่เหลือจากการออมและการจ่ายภาษีเงินได้แล้ว จะถูกนำไปใช้จ่ายในระบบที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งจำนวน
และขั้นตอนในการคำนวณเพื่อหาภาษีทั้งหมดที่คนแต่ละกลุ่มต้องชำระ มีดังนี้
1. คำนวณจำนวน "ภาษีเงินได้" ที่ต้องเสียของคนทุกกลุ่ม
2. คำนวณ "ภาษีมูลค่าเพิ่ม" แยกจากการบริโภคส่วนที่เหลือ (จำนวนเงิน x 7/107)
3. นำภาษีสองส่วนที่คำนวณได้ (1+2) มาเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนกับรายได้ของแต่ละกลุ่ม
ผลการคำนวณพบว่า
1. สัดส่วนภาษีต่อรายได้ : คนที่มีรายได้สูงจะเสียภาษีมากที่สุดในการเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนต่อรายได้ ตามมาด้วยกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยกว่าเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี และคนที่มีรายได้ปานกลางเป็นลำดับสุดท้าย
2. จำนวนเงินภาษี : สำหรับด้านจำนวนเงินที่เสียภาษีนั้น จะเสียลดหลั่นกันมาตั้งแต่คนที่มีรายได้สูงไปจนถึงคนที่มีรายได้น้อยกว่าเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี เพียงแต่ในกลุ่มคนที่สามารถวางแผนเพื่อลดภาษี อาจจะมี "โอกาส" เลือกที่จะเสียภาษีในจำนวนเงินที่น้อยกว่า (ถ้าหากสามารถวางแผนภาษีได้ถูกทาง) ทำให้ในบางกรณีอาจจะได้รับสิทธิพิเศษในการเสียภาษีต่ำกว่าคนที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีเงินได้ ที่นำเงินไปใช้จ่ายในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งจำนวน
สรุปผลการทดสอบ
สมมุติฐานและผลการทดลองทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นจากความต้องการที่จะหาข้อพิสูจน์ว่าจริงๆ แล้วคนบางคนในสังคมได้รับ "โอกาส" ที่มากกว่าอีกหลายๆคนที่มี "จุดเริ่มต้นชีวิต" ที่ไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น กฎหมายจึงทำหน้าที่กำหนดให้ผู้ที่มีโอกาสมากกว่าได้ช่วยเหลือผู้ที่มีโอกาสน้อยกว่าในรูปแบบที่เรียกว่า "ภาษี" เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับสังคมมากขึ้น
อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญก็คือ "คนที่มีรายได้น้อย" หากมีการใช้จ่ายในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มหรือเกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่ม อาจจะส่งผลให้ต้องกลายเป็นผู้แบกรับภาระภาษีทางอ้อมในสัดส่วนต่อเงินได้ที่มากกว่า คนที่ได้รับ "โอกาส" ในการวางแผนเพื่อลดภาษีที่ตัวเองต้องจ่าย ผ่านทางโครงสร้างภาษีของไทยที่มีกลไกต่างๆทางกฎหมายที่ช่วยให้สามารถจ่ายภาษีน้อยลงได้
อย่างไรก็ตาม @TAXBugnoms ขอชี้แจงจุดยืนอีกครั้งว่าบทวิเคราะห์และการทดสอบทั้งหมดนี้ ไม่ได้ต้องการจะโยงไปสู่ประเด็นทางการเมืองแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องการโยงให้เห็นถึง "โอกาส" และ "ภาระ" ของคนทุกคนในประเทศไทย ที่มีส่วนช่วยพัฒนาชาติด้วยการจ่ายภาษีอีกทางหนึ่ง..
อนึ่ง การทดสอบนี้ มีข้อยกเว้นดังต่อไปนี้ ที่อาจก่อให้เกิดการโต้แย้ง โดยขอสรุปประเด็นไว้ดังนี้คร้าบ...
1. ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีรายได้น้อยหรือรายได้มาก สามารถ "เลือก" ที่จะไม่ใช้จ่ายในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้เหมือนกัน
2. % สัดส่วนการออมขั้นต่ำ ที่กำหนดในการคำนวณนั้น อาจจะแปรผันตามคน ซึ่งไม่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ แต่ยิ่งออมได้มากเท่าไร ภาระภาษีของคนแต่ละกลุ่มยิ่งมีโอกาสลดลงเท่านั้น เพียงแต่ผู้ที่มีรายได้น้อย จะลำบากในการออมมากกว่า
3. การทดลองนี้กำหนดเฉพาะกลุ่มคนที่เป็น มนุษย์เงินเดือน ที่มีรายได้ประเภท 40(1) เท่านั้น หากมีรายได้ประเภทอื่นเข้าร่วม อาจจะเสียภาษีมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ได้
4. ในการทดลองครั้งนี้ ไม่ได้นำเรื่องการหัก ณ ที่จ่ายและการขอคืนภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง
สุดท้ายนี้ @TAXBugnoms ขออนุญาตปิดท้ายด้วยคำพูดของ "มิตรสหายท่านหนึ่ง" ผู้เป็นนักวิชาการด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชนแต่ไม่ประสงค์จะออกนาม ได้เคยพูดคุยถึงเรื่องนี้และให้ความเห็นเอาไว้ว่า...
อาจารย์หมอประเวศน์ เคยมาให้กำลังใจผมเป็นการส่วนตัวหลังการนำเสนองานวิจัยเรื่อง "ความไม่เป็นธรรมในระบบเกษตรพันธสัญญา" ว่า "ขอให้กำลังใจอาจารย์ทำงานเพื่อเกษตรกร คนยาก ที่ลำบากแล้วยังโดนกดขี่ฉ้อโกง โดยคนรวย บริษัทที่หากำไรจากหยาดเหงื่อของคนอื่น"
และอาจารย์หมอประเวศน์ยังเป็นผู้สนับสนุนให้มีการจัดเก็บภาษีที่ดิน ภาษีมรดก ภาษีอัตราก้าวหน้า ดังปรากฏในรายงานของ คณะกรรมการปฏิรูปฯ ที่ตั้งโดยอดีตนายกอภิสิทธิ์
เนื่องจากคนที่ทำงานกับชาวบ้าน และคนจน รู้เห็นข้อมูลทุกอย่างมานาน ว่าความร่ำรวยของบรรษัท และชนชั้นกลางทั้งหลายที่ทำงานให้บรรษัทนั้น เกิดจากการขูดรีดหยาดเหงื่อแรงงาน เกษตรกร และหากำไรอย่างไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค(ก็ทุกคน) ถ้ายังปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไป โดยที่คนมีความรู้ได้รับการอบรมจากระบบการศึกษาที่เอาเงินภาษีของคนทั้งสังคมมาอุดหนุน ไม่สามารถเข้าใจปัญหา และไม่เข้าใจความเจ็บปวดทรมานในใจผู้อื่น ก็น่าเสียดาย เพราะชนชั้นกลางและชนชั้นนำควรศึกษาประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานเสมอว่า "เมื่อไหร่คนทำงานหนักแล้วยังจน เมื่อนั้นสงครามชนชั้นใกล้ประทุ"
การเก็บภาษีคนรวยมาจัดสวัสดิการต่างๆเพื่อคนทั้งสังคม จึงเป็นการดูแลชีวิตคนทั้งสังคม ดีกว่ารอให้เขาลุกขึ้นมาแย่งเอา ก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมชนชั้นกลางไม่รู้ว่า การสร้างภราดรภาพในสังคมด้วยการเจือจาน เป็นวิธีการรักษาความมั่งคั่งสะดวกสบายของตัวเองนะครับ
สรุปผมช่วยคนอื่นเพื่อป้องกันไม่ให้คนอื่นมาทำร้ายท่านนะครับ ^^
สุดท้ายนี้ (ของจริง) ขออนุญาตให้ความเห็นสักเล็กน้อยว่า ไม่ว่า "ภาษี" ของเราจะถูกเอาไปใช้ทำอะไรนั้น ถูกต้องหรือไม่ สิ่งนั้นถือเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเพื่อที่จะทำให้เราทุกคนรู้ว่า ภาษีของเรานั้นได้ถูกใช้ไปอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยหรือไม่ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามสิ่งที่คนไทยทุกคนควรทราบก็คือ ถึงแม้ภาษีเราจะถูกใช้ไปในทิศทางไหน จะสร้างความพอใจให้กับใครคนไหนหรือไม่ เราคนไทยทุกคนยังมี "หน้าที่" ที่ต้องเสียภาษี "ตามกฎหมาย" ต่อไปอยู่นั่นแล...
[พื้นที่โฆษณา...] [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้