เอเอฟพีรายงานว่า การเมืองของไทยมีความผูกพันอย่างซับซ้อนกับพฤติกรรมคอร์รัปชัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากระบบบริหารราชการที่อ่อนแอ, เครือข่ายอุปถัมภ์ของนักการเมือง และทัศนคติของคนทั่วไปที่มองว่าการจ่าย “เงินใต้โต๊ะ” เพื่อให้งานเดินหน้า เป็นธรรมเนียมปกติ
วรนัย วาณิชกะ นักเขียนและคอลัมนิสต์จากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เอ่ยถึงการชุมนุมขับไล่รัฐบาลที่กำลังเกิดขึ้นในไทยว่า กลุ่มผู้ชุมนุมต้องการขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์เพื่อขุดรากถอนโคนอิทธิพลของทักษิณ ซึ่งที่ผ่านมาถือว่าได้ละเมิดขอบเขตของการ “โกง” เท่าที่สังคมไทยจะรับได้
“คนไทยเราเข้าใจความเป็นจริง... เรารู้ว่าทุกคนย่อมอยากจะได้ส่วนแบ่ง “แอปเปิล” คนละนิดคนละหน่อย... แต่ปัญหาของคุณทักษิณก็คือ เขาเอาป้ายไปปักไว้ที่ต้นแอปเปิลว่าเป็น “ทรัพย์สินของตระกูลชินวัตร” ซึ่งการทำเช่นนี้ในเมืองไทยถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก” วรนัยกล่าว
ฝ่ายที่เกลียดชังรัฐบาลเชื่อว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นเพียงหุ่นเชิดของอดีตนายกฯทักษิณ ซึ่งถูกกองทัพก่อรัฐประหารไปเมื่อปี 2006 และปัจจุบันก็ยังคงกบดานอยู่ในต่างประเทศเพื่อหนีโทษจำคุกฐานใช้อำนาจโดยมิชอบ
ผู้ประท้วงยังโจมตีเรื่องที่อาณาจักรธุรกิจของทักษิณเคยโกงบ้านกินเมือง รวมไปถึงข้อเสียของนโยบายประชานิยม และ “การซื้อเสียง” ที่พวกเขาอ้างว่า เป็นเหตุให้ทักษิณและพวกชนะเลือกตั้งได้ทุกสมัย
“ทักษิณมันโกงมากไป และข้อผิดพลาดที่สุดก็คือ มันโกงแบบจะจะ ให้ทุกคนเห็นด้วย” ร็อกกี วัย 24 ปี หนึ่งในผู้ประท้วงที่ออกมาร่วมเดินขบวนปิดกรุงเทพมหานครเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กล่าว
แกนนำผู้ชุมนุมพยายามชูแนวคิดดังกล่าวเพื่อบอกให้สาธารณชนทราบว่า พวกเขากำลังทำ “สงครามต่อต้านคอร์รัปชัน” ขณะเดียวกันก็กดดันให้กองทัพและองค์กรอิสระหันมาร่วมคว่ำบาตรสนามเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งเชื่อว่าหากเกิดขึ้นจริง น.ส.ยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยก็จะเป็นฝ่ายชนะตามเคย
นโยบายประชานิยมของทักษิณทำให้เขาเป็นที่ชื่นชอบในแถบจังหวัดภาคเหนือซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา และในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพซึ่งมีรายได้น้อย แต่ขณะเดียวกันก็เป็นที่เกลียดชังของชนชั้นกลางในกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงคนใต้และผู้ที่เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
หลังหลุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อดีตมหาเศรษฐีโทรคมนาคมก็ถูกศาลตัดสินลับหลังจำเลยให้จำคุก 2 ปีในคดีทุจริตประมูลซื้อที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก ซึ่งมีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภรรยาของเขา ตกเป็นจำเลยร่วมด้วย
ต่อมาในปี 2010 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้มีคำพิพากษายึดทรัพย์มูลค่า 46,373 ล้านบาทของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ตกเป็นของแผ่นดิน หลังพบว่ามีความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีกรณีการขายหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชัน ในขณะที่เขายังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ทักษิณ ยังยืนยันว่าเขาบริสุทธิ์จากข้อกล่าวหาทั้งปวง และเป็นเพียง “เหยื่อ” การเมืองเท่านั้น
นพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายของทักษิณ ชี้ว่าแกนนำผู้ประท้วงใช้ข้อหาคอร์รัปชันมาเป็นเครื่องดึงดูดมวลชนให้เข้าร่วม
“แต่การกล่าวหาว่าครอบครัวชินวัตรผูกขาดการทุจริตฝ่ายเดียว ถือว่าไม่มีเหตุผล” นพดลกล่าวเสริม
อีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้อดีตนายกฯ ของไทยถูกวิจารณ์อย่างมากก็คือ นโยบายเศรษฐกิจแบบ “ทักษิโณมิกส์” ซึ่งเน้นการใช้จ่ายงบประมาณมหาศาลไปกับโครงการประชานิยม เช่น รักษาโรคฟรี, ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ รวมไปถึงโครงการรับจำนำข้าว
สำหรับโครงการจำนำข้าวที่ริเริ่มโดยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ นั้นถูกโจมตีมากเป็นพิเศษ จากตรวจสอบพบว่ามีการทุจริตอย่างกว้างขวาง และทำให้ประเทศต้องสูญเงินคงคลังนับพันๆ ล้านดอลลาร์ เพียงเพื่อรักษาฐานเสียงในชนบทของพรรคเพื่อไทย
หากว่ากันตามความเป็นจริง มีนักการเมืองไทยเพียงไม่กี่คนที่ไม่เคยมีประวัติด่างพร้อย
ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ นักการเมืองขวานผ่าซากผู้ได้รับฉายาว่า “เสี่ยอ่าง” ยอมรับอย่างหน้าชื่นตาบานว่า เคยจ่าย “สินบน” ให้เจ้าหน้าที่รัฐสมัยยังทำกิจการอาบอบนวด
แม้แต่ สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ผู้ยอมสละตำแหน่งทางการเมืองเพื่อมาเป็นแกนนำขับไล่รัฐบาลและ “ปิดกรุงเทพ” อยู่ในเวลานี้ ก็ยังเคยต้องคดีทุจริตที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ซึ่งทำให้กลุ่มคนรวยได้เข้าไปถือกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ควรจะเป็นของชาวบ้านยากจน คดีดังกล่าวยังส่งผลลุกลามจนต้องมีการยุบสภาเกิดขึ้น
อย่างไรก็ดี บางคนมองว่าการที่ สุเทพ เปลี่ยนบทบาทจากนักการเมืองประวัติเสียมาเป็น “วีรบุรุษต้านคอร์รัปชัน” ในวันนี้ ถือเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าสังคมไทยทนรับพฤติกรรมทุจริตของนักการเมืองไม่ได้อีกต่อไป
“คุณสุเทพไม่ได้สมบูรณ์แบบ... แต่เขาก็เปลี่ยนแปลงตัวเอง และตัดสินใจมาเป็นแกนนำผู้ชุมนุม ซึ่งหลังจากนี้เขาก็จะเกษียณ ไม่เล่นการเมืองอีกต่อไป” ม.ร.ว.อมรรัตน์ กฤดากร ซึ่งเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ให้สัมภาษณ์
องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) ซึ่งจัดทำดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index - CPI) ได้ให้คะแนนความโปร่งใสของประเทศไทยเพียง 35 เต็ม 100 หรือไม่ถึงครึ่งในปี 2013 อยู่ในลำดับที่ 102 จากทั้งหมด 177 ประเทศที่ทำการสำรวจ และร่วงลงจากปีก่อนหน้าถึง 14 อันดับ
ผลสำรวจโดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเมื่อไม่นานนี้ยังพบว่า เจ้าของธุรกิจไทยมีการจ่ายเงินใต้โต๊ะให้แก่ข้าราชการในอัตรา 25-35% ของมูลค่าสัญญา เพิ่มขึ้นจากสถิติ 5-10% ในปี 1990
ความจริงอันปวดร้าว
วรนัย วาณิชกะ นักเขียนและคอลัมนิสต์จากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เอ่ยถึงการชุมนุมขับไล่รัฐบาลที่กำลังเกิดขึ้นในไทยว่า กลุ่มผู้ชุมนุมต้องการขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์เพื่อขุดรากถอนโคนอิทธิพลของทักษิณ ซึ่งที่ผ่านมาถือว่าได้ละเมิดขอบเขตของการ “โกง” เท่าที่สังคมไทยจะรับได้
“คนไทยเราเข้าใจความเป็นจริง... เรารู้ว่าทุกคนย่อมอยากจะได้ส่วนแบ่ง “แอปเปิล” คนละนิดคนละหน่อย... แต่ปัญหาของคุณทักษิณก็คือ เขาเอาป้ายไปปักไว้ที่ต้นแอปเปิลว่าเป็น “ทรัพย์สินของตระกูลชินวัตร” ซึ่งการทำเช่นนี้ในเมืองไทยถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก” วรนัยกล่าว
ฝ่ายที่เกลียดชังรัฐบาลเชื่อว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นเพียงหุ่นเชิดของอดีตนายกฯทักษิณ ซึ่งถูกกองทัพก่อรัฐประหารไปเมื่อปี 2006 และปัจจุบันก็ยังคงกบดานอยู่ในต่างประเทศเพื่อหนีโทษจำคุกฐานใช้อำนาจโดยมิชอบ
ผู้ประท้วงยังโจมตีเรื่องที่อาณาจักรธุรกิจของทักษิณเคยโกงบ้านกินเมือง รวมไปถึงข้อเสียของนโยบายประชานิยม และ “การซื้อเสียง” ที่พวกเขาอ้างว่า เป็นเหตุให้ทักษิณและพวกชนะเลือกตั้งได้ทุกสมัย
“ทักษิณมันโกงมากไป และข้อผิดพลาดที่สุดก็คือ มันโกงแบบจะจะ ให้ทุกคนเห็นด้วย” ร็อกกี วัย 24 ปี หนึ่งในผู้ประท้วงที่ออกมาร่วมเดินขบวนปิดกรุงเทพมหานครเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กล่าว
แกนนำผู้ชุมนุมพยายามชูแนวคิดดังกล่าวเพื่อบอกให้สาธารณชนทราบว่า พวกเขากำลังทำ “สงครามต่อต้านคอร์รัปชัน” ขณะเดียวกันก็กดดันให้กองทัพและองค์กรอิสระหันมาร่วมคว่ำบาตรสนามเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งเชื่อว่าหากเกิดขึ้นจริง น.ส.ยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยก็จะเป็นฝ่ายชนะตามเคย
นโยบายประชานิยมของทักษิณทำให้เขาเป็นที่ชื่นชอบในแถบจังหวัดภาคเหนือซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา และในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพซึ่งมีรายได้น้อย แต่ขณะเดียวกันก็เป็นที่เกลียดชังของชนชั้นกลางในกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงคนใต้และผู้ที่เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
หลังหลุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อดีตมหาเศรษฐีโทรคมนาคมก็ถูกศาลตัดสินลับหลังจำเลยให้จำคุก 2 ปีในคดีทุจริตประมูลซื้อที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก ซึ่งมีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภรรยาของเขา ตกเป็นจำเลยร่วมด้วย
ต่อมาในปี 2010 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้มีคำพิพากษายึดทรัพย์มูลค่า 46,373 ล้านบาทของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ตกเป็นของแผ่นดิน หลังพบว่ามีความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีกรณีการขายหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชัน ในขณะที่เขายังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ทักษิณ ยังยืนยันว่าเขาบริสุทธิ์จากข้อกล่าวหาทั้งปวง และเป็นเพียง “เหยื่อ” การเมืองเท่านั้น
นพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายของทักษิณ ชี้ว่าแกนนำผู้ประท้วงใช้ข้อหาคอร์รัปชันมาเป็นเครื่องดึงดูดมวลชนให้เข้าร่วม
“แต่การกล่าวหาว่าครอบครัวชินวัตรผูกขาดการทุจริตฝ่ายเดียว ถือว่าไม่มีเหตุผล” นพดลกล่าวเสริม
อีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้อดีตนายกฯ ของไทยถูกวิจารณ์อย่างมากก็คือ นโยบายเศรษฐกิจแบบ “ทักษิโณมิกส์” ซึ่งเน้นการใช้จ่ายงบประมาณมหาศาลไปกับโครงการประชานิยม เช่น รักษาโรคฟรี, ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ รวมไปถึงโครงการรับจำนำข้าว
สำหรับโครงการจำนำข้าวที่ริเริ่มโดยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ นั้นถูกโจมตีมากเป็นพิเศษ จากตรวจสอบพบว่ามีการทุจริตอย่างกว้างขวาง และทำให้ประเทศต้องสูญเงินคงคลังนับพันๆ ล้านดอลลาร์ เพียงเพื่อรักษาฐานเสียงในชนบทของพรรคเพื่อไทย
หากว่ากันตามความเป็นจริง มีนักการเมืองไทยเพียงไม่กี่คนที่ไม่เคยมีประวัติด่างพร้อย
ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ นักการเมืองขวานผ่าซากผู้ได้รับฉายาว่า “เสี่ยอ่าง” ยอมรับอย่างหน้าชื่นตาบานว่า เคยจ่าย “สินบน” ให้เจ้าหน้าที่รัฐสมัยยังทำกิจการอาบอบนวด
แม้แต่ สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ผู้ยอมสละตำแหน่งทางการเมืองเพื่อมาเป็นแกนนำขับไล่รัฐบาลและ “ปิดกรุงเทพ” อยู่ในเวลานี้ ก็ยังเคยต้องคดีทุจริตที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ซึ่งทำให้กลุ่มคนรวยได้เข้าไปถือกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ควรจะเป็นของชาวบ้านยากจน คดีดังกล่าวยังส่งผลลุกลามจนต้องมีการยุบสภาเกิดขึ้น
อย่างไรก็ดี บางคนมองว่าการที่ สุเทพ เปลี่ยนบทบาทจากนักการเมืองประวัติเสียมาเป็น “วีรบุรุษต้านคอร์รัปชัน” ในวันนี้ ถือเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าสังคมไทยทนรับพฤติกรรมทุจริตของนักการเมืองไม่ได้อีกต่อไป
“คุณสุเทพไม่ได้สมบูรณ์แบบ... แต่เขาก็เปลี่ยนแปลงตัวเอง และตัดสินใจมาเป็นแกนนำผู้ชุมนุม ซึ่งหลังจากนี้เขาก็จะเกษียณ ไม่เล่นการเมืองอีกต่อไป” ม.ร.ว.อมรรัตน์ กฤดากร ซึ่งเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ให้สัมภาษณ์
องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) ซึ่งจัดทำดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index - CPI) ได้ให้คะแนนความโปร่งใสของประเทศไทยเพียง 35 เต็ม 100 หรือไม่ถึงครึ่งในปี 2013 อยู่ในลำดับที่ 102 จากทั้งหมด 177 ประเทศที่ทำการสำรวจ และร่วงลงจากปีก่อนหน้าถึง 14 อันดับ
ผลสำรวจโดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเมื่อไม่นานนี้ยังพบว่า เจ้าของธุรกิจไทยมีการจ่ายเงินใต้โต๊ะให้แก่ข้าราชการในอัตรา 25-35% ของมูลค่าสัญญา เพิ่มขึ้นจากสถิติ 5-10% ในปี 1990