สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ปากนกกระจอก( Angular stomatitis)
โรคปากนกกระจอก หรือแผลที่มุมปาก( Angular stomatitis or angular cheilitis) ซึ่งมักมีอาการมีแผลที่มุมปาก โดยแผลจะมีลักษณะเป็นร่องที่มุมปาก ปวดแสบปวดร้อน ขณะ พูดจะตึงและเจ็บ ถ้าใช้ลิ้นเลียบริเวณแผลจะทำให้แผลแห้งและตึงมากขึ้น เมื่ออ้าปากอาจมีเลือดออก
สาเหตุที่ทำให้เป็นแผลที่มุมปากได้แก่
o ปัญหาของโรคผิวหนังเอง เช่น Atopic dermatitis( ผิวหนังอักเสบแพ้ จากภูมิแพ้ ในเด็ก) sหรือ Seborrheic dermatitis ซึ่งทั้งสองแบบนี้ เป็นสาเหตุของโรคปากนกกระจอกที่พบได้บ่อยที่สุด
o ผู้ป่วยสูงอายุ ที่ไม่มีฟัน ทำให้รูปปากผิดปกติ ทำให้เกิดการอับชื้นที่มุมปาก เกิดการติดเชื้อจากเชื้อราได้
o การขาดอาหาร ได้แก่ การขาดวิตามินบี 2 การขาดธาตุเหล็ก การขาดวิตามินซี และการขาดโปรตีน(พบได้น้อย)
o การติดเชื้อแทรกซ้อน จากเชื้อแบคทีเรีย หรือ เชื้อไวรัส เช่น เชื้อ เริม herpes simplexที่ริมฝีปาก
o ภาวะน้ำลายมากกว่าปกติ( hypersalivation)
แนวทางการป้องกันและรักษา
o หาสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดโรคปากนกกระจอก แล้วรักษาที่สาเหตุ อาการดังกล่าวจะหายได้
o ทำความสะอาดช่องปาก เช็ดมุมปากให้แห้งตลอดเวลา
o กรณีที่ไม่ได้ใส่ฟัน ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหา
o การใช้ยาป้ายแผลในปาก เช่น kenalog in oral base ได้ผลดีในแง่แผลที่เกิดจากภาวะอักเสบจากภูมิแพ้
o ถ้าเกิดจากการขาดวิตามินบี 2 ( Riboflavin) การรักษาทำโดยการให้รับประทานวิตามินบี 2 และวิตามินบีรวม ทุกวันจนกว่าอาการจะดีขึ้น และกินอาหารประเภทข้าวซ้อมมือหรือข้าวกล้อง ผัก ผลไม้ เป็นประจำหากแผลที่มุมปากมีอาการเจ็บและตึงให้ใช้ครีมทาปากหรือ ใช้กรีเซอรีนทาก็จะช่วยบรรเทาอาการได้
o ถ้าเกิดจากการติดเชื้อเชื้อเริม จะมีอาการ มีแผลเปื่อย เป็นๆ หายๆ กลับไปกลับมาหลายครั้งแก็ไม่จะเป็นต้องใช้ยามาทา หรือยามาทานรักษา เพียงแต่ขอให้รักษาความสะอาด ของปาก ริมฝีปาก ภายในช่องปาก โดยเฉพาะจากน้ำลาย ต้องแปรงฟัน บ้วนปากให้สะอาด หลังอาหาร ให้ดีไว้เสมอเชื่อว่าแผลเปื่อยที่มุมปากในที่สุดก็จะหายได้เอง
ท ถ้าเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งมักจะเกิดหลังจากที่มีการหลุดลอกของเซลล์หนังกำพร้าบริเวณมุมปาก แล้วต่อมาเกิดเป็นแผล แล้วทำให้ติดเชื้อแบดทีเรียแทรกซ้อน อักเสบ ปวดเจ็บได้ อย่างนี้ก็คงต้องไปพบแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อให้ได้ยาปฏิชีวนะมารักษา
ดังนั้น กรณีที่เป็นปากนกกระจอก ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นโรคขาดอาหารเสมอไป ควรมองหาสาเหตุข้างต้นด้วย เพื่อจะได้รักษาได้ตรงสาเหตุ
แม้แต่แพทย์ทั่วไปหลายๆ ท่าน ก็ทำการรักษาโดยให้วิตามินบี 2 ทั้งๆ ที่สาเหตุจากการขาดวิตามินดังกล่าว พบได้น้อยมาก
สาเหตุอื่นๆที่ทำให้เป็นแผลที่มุมปากได้เช่น
o หาสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดโรคปากนกกระจอก แล้วรักษาที่สาเหตุ อาการดังกล่าวจะหายได้
o ทำความสะอาดช่องปาก เช็ดมุมปากให้แห้งตลอดเวลา
o กรณีที่ไม่ได้ใส่ฟัน ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหา
o การใช้ยาป้ายแผลในปาก เช่น kenalog in oral base ได้ผลดีในแง่แผลที่เกิดจากภาวะอักเสบจากภูมิแพ้
ดังนั้น กรณีที่เป็นปากนกกระจอก ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นโรคขาดอาหารเสมอไป ควรมองหาสาเหตุข้างต้นด้วย เพื่อจะได้รักษาได้ตรงสาเหตุ
pharmacy.psu.ac.th
โรคปากนกกระจอก หรือแผลที่มุมปาก( Angular stomatitis or angular cheilitis) ซึ่งมักมีอาการมีแผลที่มุมปาก โดยแผลจะมีลักษณะเป็นร่องที่มุมปาก ปวดแสบปวดร้อน ขณะ พูดจะตึงและเจ็บ ถ้าใช้ลิ้นเลียบริเวณแผลจะทำให้แผลแห้งและตึงมากขึ้น เมื่ออ้าปากอาจมีเลือดออก
สาเหตุที่ทำให้เป็นแผลที่มุมปากได้แก่
o ปัญหาของโรคผิวหนังเอง เช่น Atopic dermatitis( ผิวหนังอักเสบแพ้ จากภูมิแพ้ ในเด็ก) sหรือ Seborrheic dermatitis ซึ่งทั้งสองแบบนี้ เป็นสาเหตุของโรคปากนกกระจอกที่พบได้บ่อยที่สุด
o ผู้ป่วยสูงอายุ ที่ไม่มีฟัน ทำให้รูปปากผิดปกติ ทำให้เกิดการอับชื้นที่มุมปาก เกิดการติดเชื้อจากเชื้อราได้
o การขาดอาหาร ได้แก่ การขาดวิตามินบี 2 การขาดธาตุเหล็ก การขาดวิตามินซี และการขาดโปรตีน(พบได้น้อย)
o การติดเชื้อแทรกซ้อน จากเชื้อแบคทีเรีย หรือ เชื้อไวรัส เช่น เชื้อ เริม herpes simplexที่ริมฝีปาก
o ภาวะน้ำลายมากกว่าปกติ( hypersalivation)
แนวทางการป้องกันและรักษา
o หาสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดโรคปากนกกระจอก แล้วรักษาที่สาเหตุ อาการดังกล่าวจะหายได้
o ทำความสะอาดช่องปาก เช็ดมุมปากให้แห้งตลอดเวลา
o กรณีที่ไม่ได้ใส่ฟัน ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหา
o การใช้ยาป้ายแผลในปาก เช่น kenalog in oral base ได้ผลดีในแง่แผลที่เกิดจากภาวะอักเสบจากภูมิแพ้
o ถ้าเกิดจากการขาดวิตามินบี 2 ( Riboflavin) การรักษาทำโดยการให้รับประทานวิตามินบี 2 และวิตามินบีรวม ทุกวันจนกว่าอาการจะดีขึ้น และกินอาหารประเภทข้าวซ้อมมือหรือข้าวกล้อง ผัก ผลไม้ เป็นประจำหากแผลที่มุมปากมีอาการเจ็บและตึงให้ใช้ครีมทาปากหรือ ใช้กรีเซอรีนทาก็จะช่วยบรรเทาอาการได้
o ถ้าเกิดจากการติดเชื้อเชื้อเริม จะมีอาการ มีแผลเปื่อย เป็นๆ หายๆ กลับไปกลับมาหลายครั้งแก็ไม่จะเป็นต้องใช้ยามาทา หรือยามาทานรักษา เพียงแต่ขอให้รักษาความสะอาด ของปาก ริมฝีปาก ภายในช่องปาก โดยเฉพาะจากน้ำลาย ต้องแปรงฟัน บ้วนปากให้สะอาด หลังอาหาร ให้ดีไว้เสมอเชื่อว่าแผลเปื่อยที่มุมปากในที่สุดก็จะหายได้เอง
ท ถ้าเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งมักจะเกิดหลังจากที่มีการหลุดลอกของเซลล์หนังกำพร้าบริเวณมุมปาก แล้วต่อมาเกิดเป็นแผล แล้วทำให้ติดเชื้อแบดทีเรียแทรกซ้อน อักเสบ ปวดเจ็บได้ อย่างนี้ก็คงต้องไปพบแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อให้ได้ยาปฏิชีวนะมารักษา
ดังนั้น กรณีที่เป็นปากนกกระจอก ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นโรคขาดอาหารเสมอไป ควรมองหาสาเหตุข้างต้นด้วย เพื่อจะได้รักษาได้ตรงสาเหตุ
แม้แต่แพทย์ทั่วไปหลายๆ ท่าน ก็ทำการรักษาโดยให้วิตามินบี 2 ทั้งๆ ที่สาเหตุจากการขาดวิตามินดังกล่าว พบได้น้อยมาก
สาเหตุอื่นๆที่ทำให้เป็นแผลที่มุมปากได้เช่น
o หาสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดโรคปากนกกระจอก แล้วรักษาที่สาเหตุ อาการดังกล่าวจะหายได้
o ทำความสะอาดช่องปาก เช็ดมุมปากให้แห้งตลอดเวลา
o กรณีที่ไม่ได้ใส่ฟัน ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหา
o การใช้ยาป้ายแผลในปาก เช่น kenalog in oral base ได้ผลดีในแง่แผลที่เกิดจากภาวะอักเสบจากภูมิแพ้
ดังนั้น กรณีที่เป็นปากนกกระจอก ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นโรคขาดอาหารเสมอไป ควรมองหาสาเหตุข้างต้นด้วย เพื่อจะได้รักษาได้ตรงสาเหตุ
pharmacy.psu.ac.th
แสดงความคิดเห็น
ช่วยด้วยค่ะ "ปากนกกระจอก" ใช้ยาอะไรรักษาดีคะ