ที่พูดว่า ปฏิรูปอะไรก็ไม่สำคัญเท่ากับปฏิรูปตัวเอง ก็เพราะว่า แต่ละคนล้วนมองปัญหาที่อยู่นอกตัวทั้งสิ้น
หากแต่ ไม่เคยสำรวจตัวเองกันบ้างเลยว่า ตัวเราเองนั้นแหละคือสาเหตุหนึ่งของปัญหาทั้งหมดทั้งมวล
หากพูดถึงการปฏิรูปการเมือง เชื่อว่าหลายคนก็จะมีความเข้าใจที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่า
รู้เรื่องราวของการเมืองแค่ไหน เข้าใจแนวทางหรือไม่ และชื่นชอบหรือยืนอยู่ฝั่งไหน ฉะนั้นอย่าได้หวังว่า
จะได้คำตอบที่สอดคล้องกัน แม้จะมาจากกลุ่มเดียวกันก็เหอะ
เส้นทางการชุมนุมของคุณสุเทพ เริ่มต้นเมื่อต้นเดือน พฤศจิกายน จากการที่รัฐบาลมีการผ่านร่าง พรบ.นิรโทษกรรม
นับเป็นกลไก การตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐที่ เป็นรูปธรรมที่สุดครั้งนึง และส่งผลให้รัฐบาลยอมถอนร่าง พรบ.ในที่สุด
เมื่อรัฐบาลยอม ความจริงก็ควรจบแบบแฮปปี้เอนดิ้ง แต่ไม่เลย สุเทพมองไกลกว่านั้น นั้นคือล้มรัฐบาล ซึ่งขณะนั้นสุเทพ
ยังเป็น สส. เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์อยู่ การล้มรัฐบาลจึงเป็นเป้าหมายต่อมา ซึ่งก็ปรากฎว่า รัฐบาลก็ยอมยุบสภาจริงๆ
แต่......สุเทพ เริ่มคิดไกลกว่านั้น หากเลือกตั้งแล้ว ตนเองไม่ได้เป็นรัฐบาล ก็เหมือนว่า สิ่งที่ตัวเองทำ มันขาดทุนไปหน่อย
เป้าหมายต่อมาคือ แก้โจทย์ที่ว่า ทำอย่างไร พรรคพวกตัวเองถึงจะมามีอำนาจได้บ้าง คำตอบก็คือ สร้างกติกาที่เอื้อให้กับ
กลุ่มตัวเอง หลายๆคนมักเรียกว่า กลุ่มอำนาจเก่า แต่การจะสร้างกติกาแบบนั้น ตนเองจะต้องมีอำนาจ ซึ่งมันก็จะมาจบที่ว่า
การเลือกตั้งอาจไม่เพียงพอที่จะทำให้มีอำนาจแบบนั้น จึงคิดถึง นายก มาตรา7 เหลือเชื่อว่า ทั้งที่ ในหลวงทรงมีพระราชดำรัส
แก่ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ถึงเหตุผลที่ ทรงไม่เคยคิดที่จะใช้พระราชอำนาจตามใจชอบแบบนั้น แต่สุเทพและกลุ่มอำนาจเก่า
ก็ยังจะดึงดันให้ พระองค์ทำเช่นนั้น สุดท้ายจะลงเอยยังไง ณ ตอนนี้ มองไม่เห็นทางออกจริงๆ
การปฏิรูปประเทศ เคยถูกนำมาพูดถึงและมีการตั้ง คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ขึ้นมาแล้ว หลังจากเหตุการสลายการชุมนุม ปี 53
คปร. ที่ประกอบไปด้วย บุคคลที่มีความรู้ ทรงคุณวุฒิ และน่านับถือในบ้านเมืองเรา ได้ทำ แนวทางการปฏิรูปประเทศไทย ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองและผู้มีสิทธิ์ขึ้นมา แต่ก็ไร้ความหมาย เพราะรัฐบาลสมัยนั้นคือ นายอภิสิทธิ์ หรือแม้แต่ในสมัย ยิ่งลักษณ์ ก็ไม่ได้มีความ
จริงจังในการดำเนินการตามแนวทางการปฏิรูปเลยจริงๆ ฉะนั้น ต่อให้ สุเทพ คิดวิธิการปฏิรูปประเทศ ปฏิรูปพรรคการเมือง ขึ้นมาอีกกี่ฉบับ
มันก็ไม่ได้ช่วยอะไรเลย เพราะปัญหาจริงๆมันฝังอยู่ในตัวบุคคล ทั้งตั้งแต่ระดับแกนนำ ยันลูกม็อบ นักการเมือง วิชาชีพต่างๆ ยังไม่คิดจะ
ปฏิรูปตัวเองเลย
เริ่มต้นจาก ใช้สิทธิ์ของตัวเองเท่าที่จะกระทำได้ ไม่ละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น เคารพผู้อื่นและเคารพกฏระเบียบของบ้านเมือง เริ่มจากตัวเอง
อย่าเที่ยวไปบังคับให้คนนั้นต้องทำตามตัวเอง บังคับตัวเองให้ทำตามสิ่งที่ถูกต้องกันก่อนเถอะครับ
ปฏิรูปอะไรก็ไม่สำคัญเท่ากับปฏิรูปตัวเอง
หากแต่ ไม่เคยสำรวจตัวเองกันบ้างเลยว่า ตัวเราเองนั้นแหละคือสาเหตุหนึ่งของปัญหาทั้งหมดทั้งมวล
หากพูดถึงการปฏิรูปการเมือง เชื่อว่าหลายคนก็จะมีความเข้าใจที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่า
รู้เรื่องราวของการเมืองแค่ไหน เข้าใจแนวทางหรือไม่ และชื่นชอบหรือยืนอยู่ฝั่งไหน ฉะนั้นอย่าได้หวังว่า
จะได้คำตอบที่สอดคล้องกัน แม้จะมาจากกลุ่มเดียวกันก็เหอะ
เส้นทางการชุมนุมของคุณสุเทพ เริ่มต้นเมื่อต้นเดือน พฤศจิกายน จากการที่รัฐบาลมีการผ่านร่าง พรบ.นิรโทษกรรม
นับเป็นกลไก การตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐที่ เป็นรูปธรรมที่สุดครั้งนึง และส่งผลให้รัฐบาลยอมถอนร่าง พรบ.ในที่สุด
เมื่อรัฐบาลยอม ความจริงก็ควรจบแบบแฮปปี้เอนดิ้ง แต่ไม่เลย สุเทพมองไกลกว่านั้น นั้นคือล้มรัฐบาล ซึ่งขณะนั้นสุเทพ
ยังเป็น สส. เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์อยู่ การล้มรัฐบาลจึงเป็นเป้าหมายต่อมา ซึ่งก็ปรากฎว่า รัฐบาลก็ยอมยุบสภาจริงๆ
แต่......สุเทพ เริ่มคิดไกลกว่านั้น หากเลือกตั้งแล้ว ตนเองไม่ได้เป็นรัฐบาล ก็เหมือนว่า สิ่งที่ตัวเองทำ มันขาดทุนไปหน่อย
เป้าหมายต่อมาคือ แก้โจทย์ที่ว่า ทำอย่างไร พรรคพวกตัวเองถึงจะมามีอำนาจได้บ้าง คำตอบก็คือ สร้างกติกาที่เอื้อให้กับ
กลุ่มตัวเอง หลายๆคนมักเรียกว่า กลุ่มอำนาจเก่า แต่การจะสร้างกติกาแบบนั้น ตนเองจะต้องมีอำนาจ ซึ่งมันก็จะมาจบที่ว่า
การเลือกตั้งอาจไม่เพียงพอที่จะทำให้มีอำนาจแบบนั้น จึงคิดถึง นายก มาตรา7 เหลือเชื่อว่า ทั้งที่ ในหลวงทรงมีพระราชดำรัส
แก่ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ถึงเหตุผลที่ ทรงไม่เคยคิดที่จะใช้พระราชอำนาจตามใจชอบแบบนั้น แต่สุเทพและกลุ่มอำนาจเก่า
ก็ยังจะดึงดันให้ พระองค์ทำเช่นนั้น สุดท้ายจะลงเอยยังไง ณ ตอนนี้ มองไม่เห็นทางออกจริงๆ
การปฏิรูปประเทศ เคยถูกนำมาพูดถึงและมีการตั้ง คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ขึ้นมาแล้ว หลังจากเหตุการสลายการชุมนุม ปี 53
คปร. ที่ประกอบไปด้วย บุคคลที่มีความรู้ ทรงคุณวุฒิ และน่านับถือในบ้านเมืองเรา ได้ทำ แนวทางการปฏิรูปประเทศไทย ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองและผู้มีสิทธิ์ขึ้นมา แต่ก็ไร้ความหมาย เพราะรัฐบาลสมัยนั้นคือ นายอภิสิทธิ์ หรือแม้แต่ในสมัย ยิ่งลักษณ์ ก็ไม่ได้มีความ
จริงจังในการดำเนินการตามแนวทางการปฏิรูปเลยจริงๆ ฉะนั้น ต่อให้ สุเทพ คิดวิธิการปฏิรูปประเทศ ปฏิรูปพรรคการเมือง ขึ้นมาอีกกี่ฉบับ
มันก็ไม่ได้ช่วยอะไรเลย เพราะปัญหาจริงๆมันฝังอยู่ในตัวบุคคล ทั้งตั้งแต่ระดับแกนนำ ยันลูกม็อบ นักการเมือง วิชาชีพต่างๆ ยังไม่คิดจะ
ปฏิรูปตัวเองเลย
เริ่มต้นจาก ใช้สิทธิ์ของตัวเองเท่าที่จะกระทำได้ ไม่ละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น เคารพผู้อื่นและเคารพกฏระเบียบของบ้านเมือง เริ่มจากตัวเอง
อย่าเที่ยวไปบังคับให้คนนั้นต้องทำตามตัวเอง บังคับตัวเองให้ทำตามสิ่งที่ถูกต้องกันก่อนเถอะครับ