ความสัมพันธ์ ระหว่าง ภาษี และ สิทธิในการเลือกตั้ง

กระทู้สนทนา
จากข้อมูลประกอบในกระทู้นี้ ถ้า..ข้อมูลในกระทู้นี้ถูกต้อง ถือว่าเป็นประเด็นที่มีนัยยะสำคัญในเชิงการเมืองเป็นอย่างยิ่ง
เพราะว่าการเลือกตั้ง คือการเลือกกลุ่มคนเข้ามากำหนดนโยบายบริหารเงินของประเทศ หรือ บริหารเงินภาษีนั่นเอง!!

ดังนั้น คำถามที่ตามมาคือ 1 เสียงของคนที่จ่ายภาษีต่อปีมากๆ กับ 1 เสียงของคนที่ไม่ได้จ่ายภาษีหรือจ่ายน้อยนั้น ควรจะมีมูลค่าทางการเมืองเท่ากันหรือไม่??

ยกตัวอย่าง เช่น
นาย ก ลงทุน 1 ล้านบาท กับ นาย ข ลงทุน 1 บาท ถามว่า คนไหนควรจะมีสิทธิในการกำหนดนโยบายบริหารเงินมากกว่ากัน

คำตอบคือ แน่นอน!!! ถ้าในเชิงธุรกิจแล้ว นาย ก ต้องมีสิทธิในการกำหนดนโยบายบริหารเงิน  99.9999% ไม่ใช่ นาย ก และ นาย ข มีสิทธิเท่ากัน คนละ 50%  

* ทำไมคนที่เสียภาษีมากกว่าถึงควรจะมีสิทธิมากกว่า เพราะว่า คนที่เสียภาษีมากกว่านั้นมีสิทธิชอบธรรมในการเลือกคนมาบริหารเงินในส่วนที่ตนเสียไป ผู้เสียภาษี ย่อมตระหนักถึงการคอร์รัปชั่นหรือการที่เงินถูกนำไปผลาญอย่างไร้ค่ามากกว่า(นั่นมันเงินที่ตูเสียไปนี่หว่า) ในทางกลับกันผู้ที่เสียภาษีน้อยหรือไม่ได้เสียภาษี ย่อมมีความใส่ใจในเงินภาษีน้อยกว่าตามสัดส่วนเงินที่ตนจ่ายไป เพราะ นั่นไม่ใช่เงินของตน (ตามหลักธรรมชาติของมนุษย์เป็นแบบนั้น)

* ดังนั้น วิธีแก้ไข ที่นจะนำ เสนอคือ จัดให้มีการเลือกตั้งนั้นถูกต้องแล้ว แต่!!!!! ให้เฉลี่ยค่าน้ำหนักของผู้ออกเสียง ตามจำนวนเงินภาษีที่จ่าย  เช่น

-สำหรับผู้ที่ไม่ได้จ่ายภาษีให้มีค่าถ่วงน้ำหนักที่ 100 (ถือว่าปีนั้นๆ เสียภาษี 100 บาท)
-สำหรับผู้ที่จ่ายภาษีมากกว่า 100 บาทให้คำนวนจากเงินภาษีที่จ่ายจริงต่อปี เช่น นาย ก จ่าย ภาษี 5000 บาทต่อปี  ดังนั้น ค่าเฉลี่ยน้ำหนักของ นาย ก เท่ากับ 5000
-ข้อมูลการจ่ายภาษีให้เอาข้อมูลย้อนหลัง 4 ปี มาคำนวณเฉลี่ย
-การเฉลี่ยค่าถ่วงน้ำหนักแบบนี้ ไม่แบ่งแยก แดง เหลือง และ ไม่แบ่ง  ภาค หรือ จังหวัด เพราะ ไม่ว่าจะแดงเหลือง จะ ภาคอะไร จังหวัด อะไร ก็แบ่งสิทธิการลงคะแนนเป็นรายบุคคล ไม่อิงกลุ่มครับ

สุดท้ายแล้วสรุปอย่างที่บอกคือระบบที่มีการเลือกตั้งนั้น ถือว่าเป็นระบบที่ดีที่สุด แต่ สิทธิในการบริหารเงินนั้น ควรจะถูกจัดสรรอย่างเป็นระบบและถูกต้อง เพราะ สิทธิในการเลือกตั้งจริงๆแล้วก็คือสิทธิในการบริหารเงินภาษีนั่นเอง!!



อันดับในการเสียภาษีของแต่ละจังหวัด
1. กรุงเทพฯ 57.85 %
2. ชลบุรี 8.50 %
3. ระยอง 5.36 %
4. สมุทรปราการ 5.16 %
5. ปทุมธานี 4.32 %
6. พระนครศรีอยุธยา 3.16 %
7. ขอนแก่น 1.71 %
8. นนทบุรี 1.66 %
9. ฉะเชิงเทรา 1.47 %
10. สมุทรสาคร 1.06 %
11. นครปฐม 0.91 %
12. สงขลา 0.68 %
13. สระบุรี 0.66 %
14. กาญจนบุรี 0.59 %
15. กําแพงเพชร 0.54 %
16. นครราชสีมา 0.49 %
17. ภูเก็ต 0.47 %
18. เชียงใหม่ 0.43 %
19. สุราษฎร์ธานี 0.42 %
20. ปราจีนบุรี 0.39 %
21. ราชบุรี 0.27 %
22. นครสวรรค์ 0.26 %
23. ประจวบคีรีขันธ์ 0.25 %
24. อุบลราชธานี 0.23 %
25. บุรีรัมย์ 0.21 %
26. นครศรีธรรมราช 0.17 %
27. หนองคาย 0.16 %
28. สมุทรสงคราม 0.15 %
29. ลําพูน 0.13 %
30. อุดรธานี 0.12 %
31. ลําปาง 0.12 %
32. พิษณุโลก 0.12 %
33. เชียงราย 0.11 %
34. สุพรรณบุรี 0.09 %
35. เพชรบุรี 0.08 %
36.ลพบุรี 0.08 %
37. ตรัง 0.07 %
38. กระบี่ 0.06 %
39. อุตรดิตถ์ 0.06 %
40. ชุมพร 0.06 %
41. ชัยภูมิ 0.06 %
42. ร้อยเอ็ด 0.06 %
43. จันทบุรี 0.05 %
44. แพร่ 0.05 %
45. สุรินทร์ 0.05 %
46. เพชรบูรณ์ 0.05 %
47. สกลนคร 0.05 %
48. กาฬสินธุ์ 0.05 %
49. ศรีสะเกษ 0.04 %
50. ตาก 0.04 %
51. พิจิตร 0.04 %
52. สระแก้ว 0.04 %
53. มหาสารคาม 0.04 %
54. พังงา 0.04 %
55. มุกดาหาร 0.03 %
56. สุโขทัย 0.03 %
57. อ่างทอง 0.03 %
58. เลย 0.03 %
59. ปัตตานี 0.03 %
60. สิงห์บุรี 0.03 %
61. นราธิวาส 0.03 %
62. ยะลา 0.03 %
63. นครพนม 0.03 %
64. ชัยนาท 0.03 %
65. นครนายก 0.02 %
66. พัทลุง 0.02 %
67. พะเยา 0.02 %
68. ตราด 0.02 %
69. น่าน 0.02 %
70. ยโสธร 0.02 %
71. ระนอง 0.02 %
72.อุทัยธานี 0.01 %
73. หนองบัวลําภู 0.01 %
74. สตูล 0.01 %
75. อํานาจเจริญ 0.01 %
76. แม่ฮ่องสอน 0.01 %
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่