สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
เรื่องกลุ่มชนต่างชาติตุรกีในเยอรมนีนี่ตั้งกระทู้กันแล้วหลายครั้ง แต่เวลาที่ผ่านไปก็เกิดความเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เหมือนกัน เช่นเดียวกับภาพพจน์ของชาวตุรกีก็เปลี่ยนแปลงไปตามพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ๆ ซึ่งนับเป็นรุ่นที่ 3 ของตุรกีที่เริ่มอพยพเข้ามาในปี 1965
ตุรกีอพยพในเยอรมนีนั้นแตกต่างกับโรฮิงญาอพยพอย่างสิ้นเชิงนะครับ คุณ jaijainoi โรฮิงญานั้นเป็นมุสลิมที่ถูกขับไล่โดยรัฐบาลพม่าและไม่ยอมรับว่าเป็นประชาชนของตนเอง ส่วนตุรกีที่เริ่มต้นอพยพไปเยอรมนีนั้นตรงกันข้ามกันเลยตรงที่ว่า รัฐบาลเยอรมันในขณะนั้นไปเชื้อเชิญคนเหล่านี้มาเองเนื่องจากการขาดแคลนคนงานช่วงเศรษฐกิจเยอรมันบูมอีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ฉะนั้นศักดิ์ศรีของคนอพยพก็ต่างกัน
ขณะเดียวกัน การที่คนอพยพตุรกีรุ่นแรกนั้นเป็นกลุ่มคนใช้แรงงานซึ่งหมายถึงคนตุรกีที่มีการศึกษาน้อยและขาดคุณภาพที่หนีความยากจนจากชนบท ประกอบกับสาเหตุสำคัญยิ่งอีกประการคือ ตุรกีนับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีวัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่แตกต่างจากคริสต์ ทำให้เกิดการแยกกันอยู่ในสังคมขึ้นและนั่นเป็นสาเหตุให้ตุรกีที่เข้าไปไม่สามารถหรือยินยอมปรับตัวให้เข้ากับสังคมเยอรมันได้ ไม่ยอมเรียนรู้ภาษาเยอรมันแม้แต่จะอาศัยอยู่มาเป็นเวลา 30 ปี เมื่อมาถึงรุ่นลูกก็ย่อมก่อให้เกิดปัญหาขึ้นต่อผลการเรียนและการศึกษา ท้ายที่สุดก็ทำให้คนเหล่านี้ขาดคุณสมบัติในตลาดงานที่ดีๆ
ต่อมารัฐบาลเยอรมันยินยอมอนุญาตให้สมาชิกครอบครัวติดตามเข้ามาอยู่ได้ด้วยเหตุผลทางจริยธรรม จำนวนของชนชาติตุรกีจึงขยายเพิ่มอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นชนต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมนีและยุโรปในปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ราว 3 ล้านคนทั่วเยอรมนีจำนวนต่างชาติทั้งหมดราว 7.5 ล้านคน ครึ่งหนึ่งของคนตุรกีเหล่านี้ได้รับสัญชาติเยอรมันไปแล้ว
มีต่อ
ตุรกีอพยพในเยอรมนีนั้นแตกต่างกับโรฮิงญาอพยพอย่างสิ้นเชิงนะครับ คุณ jaijainoi โรฮิงญานั้นเป็นมุสลิมที่ถูกขับไล่โดยรัฐบาลพม่าและไม่ยอมรับว่าเป็นประชาชนของตนเอง ส่วนตุรกีที่เริ่มต้นอพยพไปเยอรมนีนั้นตรงกันข้ามกันเลยตรงที่ว่า รัฐบาลเยอรมันในขณะนั้นไปเชื้อเชิญคนเหล่านี้มาเองเนื่องจากการขาดแคลนคนงานช่วงเศรษฐกิจเยอรมันบูมอีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ฉะนั้นศักดิ์ศรีของคนอพยพก็ต่างกัน
ขณะเดียวกัน การที่คนอพยพตุรกีรุ่นแรกนั้นเป็นกลุ่มคนใช้แรงงานซึ่งหมายถึงคนตุรกีที่มีการศึกษาน้อยและขาดคุณภาพที่หนีความยากจนจากชนบท ประกอบกับสาเหตุสำคัญยิ่งอีกประการคือ ตุรกีนับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีวัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่แตกต่างจากคริสต์ ทำให้เกิดการแยกกันอยู่ในสังคมขึ้นและนั่นเป็นสาเหตุให้ตุรกีที่เข้าไปไม่สามารถหรือยินยอมปรับตัวให้เข้ากับสังคมเยอรมันได้ ไม่ยอมเรียนรู้ภาษาเยอรมันแม้แต่จะอาศัยอยู่มาเป็นเวลา 30 ปี เมื่อมาถึงรุ่นลูกก็ย่อมก่อให้เกิดปัญหาขึ้นต่อผลการเรียนและการศึกษา ท้ายที่สุดก็ทำให้คนเหล่านี้ขาดคุณสมบัติในตลาดงานที่ดีๆ
ต่อมารัฐบาลเยอรมันยินยอมอนุญาตให้สมาชิกครอบครัวติดตามเข้ามาอยู่ได้ด้วยเหตุผลทางจริยธรรม จำนวนของชนชาติตุรกีจึงขยายเพิ่มอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นชนต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมนีและยุโรปในปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ราว 3 ล้านคนทั่วเยอรมนีจำนวนต่างชาติทั้งหมดราว 7.5 ล้านคน ครึ่งหนึ่งของคนตุรกีเหล่านี้ได้รับสัญชาติเยอรมันไปแล้ว
มีต่อ
แสดงความคิดเห็น
ชาวเยอรมันคิดยังไงกับคนตุรกี (โดยเฉพาะคนตุรกีอพยพ)
ผมอยากรู้เรื่องราวระหว่างคนเยอรมันและตุรกีหลายๆประเด็น
1. คนเยอรมันคิดยังไงกับคนตุรกี ชอบเอ็นดูรักใคร่ไหม สองชาตินี้อาศัยรวมกันกลมกลืนไหม
2.คนเยอรมันนิยมแต่งงานกับชาวตุรกีอพยพไหม
3.คนตุรกีในเยอรมันนิสัยเป็นอย่างไร ขยันทำงานไหม และกลุ่มชาวตุรกีอพยพชอบประกอบอาชีพประเภทไหน ค้าขาย แรงงาน เกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรม