ตุลาการที่ไม่เข้าใจการพัฒนาสาธารณูปโภค อาจพิพากษาผิดได้ ดร.โสภณ พรโชคชัย

ตุลาการที่ไม่เข้าใจการพัฒนาสาธารณูปโภค อาจพิพากษาผิดได้
ดร.โสภณ พรโชคชัย
.
เมื่อวานนี้ ในระหว่างการไต่สวนของศาลรัฐธรรมนูญ คุณสุพจน์ ไข่มุกด์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ให้ความเห็นส่วนตัวว่าเป็นห่วงถึงการกู้เงิน อาจเป็นการสร้างภาระหนี้ให้กับลูกหลานหลังจากนี้ และบอกกับคุณชัชชาติว่า เป็นรัฐมนตรีในตำแหน่งมาแล้วก็ไป ดังนั้นการกู้เงินไม่สามารถจะนำมาใช้ได้ทันที จึงเห็นว่ารถไฟความเร็วสูงยังไม่จำเป็นสำหรับไทย และเป็นไปได้ควรให้ถนนลูกรังหมดไปจากประเทศก่อนนั้น ความข้อนี้แสดงให้เห็นว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะพิพากษา และอาจถือเป็นอคติส่วนตัว จึงอาจนำไปสู่การพิพากษาผิดพลาดได้
.
ประการแรกที่สำคัญก็คือคุณสุพจน์ ไม่เข้าใจหลักการลงทุน ที่แตกต่างจากการอยู่กันตามยถากรรม กับการพนัน การลงทุนคือการที่เราใส่เงินเข้าไปในทรัพย์สินหนึ่ง (รถไฟฟ้าความเร็วสูง) เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มหรือ Return of Investment (วันหลังสร้างจะแพงกว่านี้อย่าไม่น่าเชื่อ) และยังเกิดรายได้เก็บกินในระยะยาว หรือ Return on Investment การลงทุนทั้งหลายมีความเสี่ยง (Risks) ซึ่งสามารถลดทอนจนแทบจะไม่มีได้ ซึ่งต่างจากความไม่แน่นอน (Uncertainty)
.
คุณสุพจน์ ยังอ้างว่าเราควรจะไม่ให้มีถนนลูกรังก่อนที่จะสร้างรถไฟฟ้านั้น เป็นการขาดความรอบรู้เรื่องหลัก-รอง ก่อน-หลัง เฉพาะหน้า-ระยะยาว และถือเป็นความเห็นที่เป็นคนละเรื่องกัน นำมาอ้างอิงเป็นตรรกไม่ได้เลย คุณสุพจน์ไม่ทราบว่าทุกวันนี้มีการสร้างถนนใหม่ๆ อย่างไรบ้าง แรก ๆ ก็เป็นถนนลูกรัง ต่อมาก็มีการปรับปรุงตามความจำเป็น
.
ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ได้เคยทำการศึกษาไว้พบว่า
.
1. จากการศึกษาของศูนย์ฯ พบว่า ราคาที่ดินบริเวณใกล้เคียงกับสถานีรถไฟฟ้า 112 สาย ราคาเฉลี่ยคือ 392,955 บาทต่อตารางวา
.
2. ในที่นี้ที่ดินติดถนนในรัศมี 500 เมตรจากสถานีรถไฟฟ้า 2 ข้าง และลึกจากถนนใหญ่ระยะทาง 200 เมตร หรือรวมพื้นที่ 250 ไร่ มีผลต่อราคาที่ดินสูงสุด ที่ดินส่วนนี้จะมีขนาดประมาณ 250 ไร่ รอบสถานี (500 x 200 เมตร x 4 ด้าน)
.
3. อาจประมาณการราคาที่ดินเป็นเงินตารางวาละ 192,548 บาท หรือเท่ากับที่ดินที่ดินถนนใหญ่ระยะ 500 เมตรมีค่าเท่ากับ 70% ของราคาแปลงที่ดินที่ดินถนนใหญ่ที่ตั้งอยู่ติดถนน และหากเฉลี่ยกับที่ดินที่อยู่ในซอยอีกไม่เกิน 200 เมตรเป็นเท่ากับ 70% ของที่ดินทั้งผืน (392,955 x 70% x 70%) หรือตกเป็นเงินไร่ละ 77.019 ล้านบาท เมื่อรวม 250 ไร่ และ 112 สถานี ก็จะเป็นเงิน 2.157 ล้านล้านบาท ที่ดินนี้หากเทียบกับเมื่อปี 2541 จะมีค่าเป็น 339% หรือเท่ากับเพิ่มขึ้น 1.438 ล้านล้านบาท
.
4. ที่ดินนี้หากเทียบกับเมื่อปี 2541 จะมีค่าเป็น 339% หรือเท่ากับเพิ่มขึ้น 1.438 ล้านล้านบาท
.
จะเห็นได้ว่าการพัฒนารถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่ง การลงทุนวันนี้จะยังประโยชน์มหาศาลในอนาคต ความกลัวเรื่องการใช้หนี้ 50 ปีนั้น นับเป็นความไม่เข้าใจการลงทุนอีกประการหนึ่งที่โครงการหนึ่งๆ มีจุดคุ้มทุนที่สั้นและช่วงชีวิตที่เหลือของการลงทุนนั้นๆ ก็คือกำไร
.
อีกประการหนึ่ง ประเทศเพื่อนบ้านไทย ต่างก็กำลังพัฒนารถไฟความเร็วสูงกันอยู่ ยกตัวอย่างเช่น
.
1. ข่าวประเทศลาวทุ่ม 4 พันล้านดอลล่าร์ (หรือราว 120,000 บาท) สร้างรถไฟความเร็วสูง ลงนามแล้ว http://news.mthai.com/world-news/299877.html
.
2. เวียดนามก็มีแผนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ตามข่าว “Construction of North - South express railway re-proposed” http://english.vietnamnet.vn/fms/society/87904/construction-of-north---south-express-railway-re-proposed.html
.
3. เมียนมาร์ ก็กำลังจะพัฒนารถไฟความเร็วสูงเช่นกัน ตามข่าว “China Offers $20 Billion High-Speed Rail to Myanmar” http://larouchepac.com/node/28407
.
จะเห็นได้ว่าประเทศที่ยากจนกว่าไทยต่างกำลังจะพัฒนาไปข้างหน้า แต่ไทยกลับจะยังล้าหลังอยู่ ระบบรถไฟไทยก็วิ่งช้าลงทุกวัน ในทุกวันนี้ต้นทุนค่าขนส่งสินค้า (Logistic Costs) แพงมากขึ้นทุกวัน ทำให้ประชาชนได้รับภาระหนัก การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้า จึงจะลดต้นทุนเหล่านี้ลงได้
.
การแสดง “ความเห็นส่วนตัว” ของคุณสุพจน์ในฐานะตุลาการรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการแสดงออกซึ่งความไม่รู้ แต่ก็พอเข้าใจได้ว่าใช่ว่าตุลาการต้องรู้ทุกเรื่อง แต่หากยังไม่รู้แต่กลับแสดงออกมาเช่นนี้ จึงควรสงวนท่าที ไม่ควรแสดงออกให้เป็นที่ขบขันของสังคม อีกอย่างหนึ่งความไม่รู้และหากไม่พยายามศึกษาให้ดี อาจนำไปสู่อคติ และอาจนำไปสู่การพิพากษาที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงได้
.
ในการปฏิรูปการเมือง ปฏิรูประเทศ จึงควรจะปฏิรูปวงการตุลาการด้วยเข่นกัน หาไม่อาจกลายเป็นการฉุดรั้งผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติในที่สุด
.
ฝากไว้ครับ คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
www.youtube.com/watch?v=q_O0n6DuSAA
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่