Respect My Vote
โดย ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย
วลี “Respect My Vote” มาจากการรณรงค์เพื่อให้คนหนุ่มสาวโดยเฉพาะในกลุ่มคนผิวสีออกไปลงคะแนนเลือกตั้ง โดยอาศัยดนตรีและวัฒนธรรมฮิปฮอปของคนดำเป็นสื่อประกอบ องค์กรที่ดำเนินการรณรงค์นี้เรียกว่า Hip Hop Caucus (HHC) ซึ่งเป็นองค์กรระดับชาติในสหรัฐฯ มีวัตถุประสงค์ในการเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางการเมืองให้คนหนุ่มสาวที่มีสิทธิในการเลือกตั้งออกไปใช้สิทธิดังกล่าว โปรแกรมขององค์กรนี้ยังมุงหมายที่จะส่งเสริมและสร้างความเท่าเทียมกันทางสังคมและการเมืองในปริมณฑลด้านต่างๆทั้งทางเศรษฐกิจ การศึกษา สุขภาพและที่อยู่อาศัยไปถึงสภาพแวดล้อมและความยุติธรรมทางสังคม กลุ่มนี้เป็นสมาชิกของฟอรัมผู้นำของคนผิวดำและที่ประชุมผู้นำว่าด้วยสิทธิพลเมืองและมนุษยชน
การรณรงค์ “เคารพเสียงของฉัน” ใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งนายโอบามา ทำให้เขาได้รับคะแนนเลือกตั้งจากคนดำสูงถึงร้อยละ 95 แต่เมื่อวัดจากจำนวนคนดำที่ออกไปใช้เสียงในปี 2008 อัตราเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2 เท่านั้นคือจาก 11% เป็น 13% เห็นได้ว่าปัญหาคนผิวสีที่ไปออกเสียงน้อยนั้นมีที่มาและปัจจัยด้านลบอยู่มาก กล่าวอย่างสั้นๆคือการเลือกตั้งเป็นกิจกรรมที่สะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงในภาวะของการเป็นพลเมืองในประเทศนั้นๆอย่างลึกซึ้ง และไม่ใช่เพียงเรื่องของการหย่อนบัตร ๒ นาทีเท่านั้น
เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า เครื่องมืออันสำคัญและจำเป็นยิ่งอันหนึ่งในระบบประชาธิปไตยอเมริกาได้แก่การเลือกตั้ง ทำไมต้องมีการเลือกตั้ง เพราะอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนนั้นเอง และความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยถือว่าทุกคนเท่าเทียมกัน (แม้สติปัญญายังไม่เท่ากันก็ตาม) อันแสดงออกที่คะแนนหนึ่งเสียงของตัวเอง กล่าวได้ว่าคนที่เป็น “นักเลือกตั้ง” เก่าแก่และปฏิบัติมานานนมที่สุดในโลกคือคนและนักการเมืองอเมริกัน ถามว่าแล้วการเลือกตั้งในสหรัฐฯเคยทำให้การเมืองของเขาสามานย์จนกลายเป็นปฏิกูลบ้างไหม คำตอบของคนส่วนใหญ่น่าจะตอบว่าไม่ แต่เสียงส่วนน้อยเช่นปัญญาชนฝ่ายซ้ายสมัยทศวรรษปีค.ศ.๑๙๖๐ และนักสู้ผิวดำสาย Black Power ที่มุ่งโค่นอำนาจรัฐขาว ก็ต้องตอบว่าใช่แน่นอน
ว่าไปแล้วกลุ่มคนที่มีปัญหาและดำเนินการต่อสู้กับระบบเลือกตั้งอเมริกามานานและหนักหน่วงดุเดือดรุนแรงกว่าชนกลุ่มใดๆในสหรัฐฯก็คือคนแอฟริกันอเมริกันหรือคนผิวดำนั่นเอง ที่สำคัญนับตั้งแต่สิ้นสุดยุคการฟื้นฟูประเทศหลังสงครามกลางเมือง และการได้รับสิทธิเสรีภาพของพลเมืองเหมือนคนผิวขาวทั่วไปจากบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ ๑๓, ๑๔ และ ๑๕ อันหมายถึงสิทธิในการเลือกตั้งและรับสมัครเลือกตั้งในระบบการเมืองประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน แต่ในทางปฏิบัติคนผิวดำกลับไม่ได้รับสิทธิการเมืองดังกล่าวเลย ด้วยฝีมือของนักการเมืองและนักกฎหมายผิวขาวในมลรัฐทางใต้ที่พร้อมใจกันออกกฎหมายระดับรัฐมากีดกันกระทั่งขัดขวางไม่ให้คนดำได้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
ทางออกสำหรับพวกเขาก็คือการหันไปใช้การออกเสียงด้วยตีนแทน! (Voting by feet) นั่นคือที่มาของการเดินขบวนเรียกร้องสิทธิทางการเมือง กระทั่งนำไปสู่การผนึกกำลังกันกลายเป็นขบวนการสิทธิพลเมือง (Civil Rights Movement) อันยิ่งใหญ่ ภายใต้การนำของสาธุคุณมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ในที่สุดรัฐบาลภายใต้ประธานาธิบดีจอนห์สันต้องยอมออกรัฐบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงให้แก่คนดำในปีค.ศ. ๑๙๖๕ รวมเวลาในการต่อสู้เรียกร้องสิทธิในการเลือกตั้งของคนผิวดำราว ๑๐๐ ปีหลังจากประกาศเลิกทาสโดยประธานาธิบดีลิงคอล์น
พลเมืองอีกชั้นชนหนึ่งที่ถูกลิดรอนสิทธิในการเลือกตั้งมานานก็คือสตรีทั้งหลาย ไม่ว่าผิวสีอะไรก็ตาม กระทั่งนำไปสู่การเกิดขบวนการเรียกร้องสิทธิในการเลือกตั้งของสตรีอเมริกัน(ส่วนใหญ่ผิวขาว) ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ อันนำไปสู่การแก้ไขบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตราที่ ๑๙ (คศ.๑๙๒๐) ดังนั้นที่มาและความหมายนัยของการเลือกตั้งในระบบการเมืองอเมริกันจึงไม่ใช่เรื่องเล่นๆและไม่ใช่สมบัติของใครคนใดคนหนึ่งได้ ไม่ว่าจะมีอำนาจและความมั่งคั่งแค่ไหนก็ตามที่จะมาลิดรอนและทำลายสิทธิในเสียงเลือกตั้งของเขาได้
“เคารพเสียงของฉัน” กับประวัติศาสตร์สิทธิการเลือกตั้งในอเมริกา
Respect My Vote
โดย ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย
วลี “Respect My Vote” มาจากการรณรงค์เพื่อให้คนหนุ่มสาวโดยเฉพาะในกลุ่มคนผิวสีออกไปลงคะแนนเลือกตั้ง โดยอาศัยดนตรีและวัฒนธรรมฮิปฮอปของคนดำเป็นสื่อประกอบ องค์กรที่ดำเนินการรณรงค์นี้เรียกว่า Hip Hop Caucus (HHC) ซึ่งเป็นองค์กรระดับชาติในสหรัฐฯ มีวัตถุประสงค์ในการเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางการเมืองให้คนหนุ่มสาวที่มีสิทธิในการเลือกตั้งออกไปใช้สิทธิดังกล่าว โปรแกรมขององค์กรนี้ยังมุงหมายที่จะส่งเสริมและสร้างความเท่าเทียมกันทางสังคมและการเมืองในปริมณฑลด้านต่างๆทั้งทางเศรษฐกิจ การศึกษา สุขภาพและที่อยู่อาศัยไปถึงสภาพแวดล้อมและความยุติธรรมทางสังคม กลุ่มนี้เป็นสมาชิกของฟอรัมผู้นำของคนผิวดำและที่ประชุมผู้นำว่าด้วยสิทธิพลเมืองและมนุษยชน
การรณรงค์ “เคารพเสียงของฉัน” ใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งนายโอบามา ทำให้เขาได้รับคะแนนเลือกตั้งจากคนดำสูงถึงร้อยละ 95 แต่เมื่อวัดจากจำนวนคนดำที่ออกไปใช้เสียงในปี 2008 อัตราเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2 เท่านั้นคือจาก 11% เป็น 13% เห็นได้ว่าปัญหาคนผิวสีที่ไปออกเสียงน้อยนั้นมีที่มาและปัจจัยด้านลบอยู่มาก กล่าวอย่างสั้นๆคือการเลือกตั้งเป็นกิจกรรมที่สะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงในภาวะของการเป็นพลเมืองในประเทศนั้นๆอย่างลึกซึ้ง และไม่ใช่เพียงเรื่องของการหย่อนบัตร ๒ นาทีเท่านั้น
เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า เครื่องมืออันสำคัญและจำเป็นยิ่งอันหนึ่งในระบบประชาธิปไตยอเมริกาได้แก่การเลือกตั้ง ทำไมต้องมีการเลือกตั้ง เพราะอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนนั้นเอง และความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยถือว่าทุกคนเท่าเทียมกัน (แม้สติปัญญายังไม่เท่ากันก็ตาม) อันแสดงออกที่คะแนนหนึ่งเสียงของตัวเอง กล่าวได้ว่าคนที่เป็น “นักเลือกตั้ง” เก่าแก่และปฏิบัติมานานนมที่สุดในโลกคือคนและนักการเมืองอเมริกัน ถามว่าแล้วการเลือกตั้งในสหรัฐฯเคยทำให้การเมืองของเขาสามานย์จนกลายเป็นปฏิกูลบ้างไหม คำตอบของคนส่วนใหญ่น่าจะตอบว่าไม่ แต่เสียงส่วนน้อยเช่นปัญญาชนฝ่ายซ้ายสมัยทศวรรษปีค.ศ.๑๙๖๐ และนักสู้ผิวดำสาย Black Power ที่มุ่งโค่นอำนาจรัฐขาว ก็ต้องตอบว่าใช่แน่นอน
ว่าไปแล้วกลุ่มคนที่มีปัญหาและดำเนินการต่อสู้กับระบบเลือกตั้งอเมริกามานานและหนักหน่วงดุเดือดรุนแรงกว่าชนกลุ่มใดๆในสหรัฐฯก็คือคนแอฟริกันอเมริกันหรือคนผิวดำนั่นเอง ที่สำคัญนับตั้งแต่สิ้นสุดยุคการฟื้นฟูประเทศหลังสงครามกลางเมือง และการได้รับสิทธิเสรีภาพของพลเมืองเหมือนคนผิวขาวทั่วไปจากบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ ๑๓, ๑๔ และ ๑๕ อันหมายถึงสิทธิในการเลือกตั้งและรับสมัครเลือกตั้งในระบบการเมืองประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน แต่ในทางปฏิบัติคนผิวดำกลับไม่ได้รับสิทธิการเมืองดังกล่าวเลย ด้วยฝีมือของนักการเมืองและนักกฎหมายผิวขาวในมลรัฐทางใต้ที่พร้อมใจกันออกกฎหมายระดับรัฐมากีดกันกระทั่งขัดขวางไม่ให้คนดำได้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
ทางออกสำหรับพวกเขาก็คือการหันไปใช้การออกเสียงด้วยตีนแทน! (Voting by feet) นั่นคือที่มาของการเดินขบวนเรียกร้องสิทธิทางการเมือง กระทั่งนำไปสู่การผนึกกำลังกันกลายเป็นขบวนการสิทธิพลเมือง (Civil Rights Movement) อันยิ่งใหญ่ ภายใต้การนำของสาธุคุณมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ในที่สุดรัฐบาลภายใต้ประธานาธิบดีจอนห์สันต้องยอมออกรัฐบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงให้แก่คนดำในปีค.ศ. ๑๙๖๕ รวมเวลาในการต่อสู้เรียกร้องสิทธิในการเลือกตั้งของคนผิวดำราว ๑๐๐ ปีหลังจากประกาศเลิกทาสโดยประธานาธิบดีลิงคอล์น
พลเมืองอีกชั้นชนหนึ่งที่ถูกลิดรอนสิทธิในการเลือกตั้งมานานก็คือสตรีทั้งหลาย ไม่ว่าผิวสีอะไรก็ตาม กระทั่งนำไปสู่การเกิดขบวนการเรียกร้องสิทธิในการเลือกตั้งของสตรีอเมริกัน(ส่วนใหญ่ผิวขาว) ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ อันนำไปสู่การแก้ไขบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตราที่ ๑๙ (คศ.๑๙๒๐) ดังนั้นที่มาและความหมายนัยของการเลือกตั้งในระบบการเมืองอเมริกันจึงไม่ใช่เรื่องเล่นๆและไม่ใช่สมบัติของใครคนใดคนหนึ่งได้ ไม่ว่าจะมีอำนาจและความมั่งคั่งแค่ไหนก็ตามที่จะมาลิดรอนและทำลายสิทธิในเสียงเลือกตั้งของเขาได้