จริงหรือ ??? ในระบอบประชาธิปไตยทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพ

กระทู้สนทนา
จริงหรือ ? ในระบอบประชาธิปไตยทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพในการดำเนินชีวิตอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ
และมีหน้าที่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายบัญญัติไว้
ตกลงศาลเรียนนิติศาสตร์มารู้ทุกเรื่องการเงินการคลัง บริหาร วิศวกร เศรษฐศาสตร์ บัญชี ความต้องการสาธารณูปโภคสิ่งก่อสร้าง การศึกษา และทุกเรื่องในทุก ๆ องค์กร ฯลฯ ใช่มั๊ย ถึงได้สอนฝ่ายบริหารว่าต้องทำแบบนี้แบบนั้น

หน้าที่ของสานของตุลาการคืออะไร ?
ตกลงสานเป็นประธานอำนาจบริหารไปแล้วใช่มั๊ย ?
นายกรัฐมนตรีประเทศนี้ก็คงเป็นได้เพียงที่ ปรึกษาและเลขาฯ เท่านั้นใช่หรือไม่ ?
..อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร รัฐสภาต่อไปนี้คงไม่มีความหมาย..

สานเป็นใคร มาจากไหน ถึงได้ใหญ่โตขนาดนี้ จะได้ส่งลูก ๆไปเรียนบ้าง ไม่ต้องทำดี ให้ประชาชนเห็น
ไม่ต้องแสดงความสามารถให้ประชาชนรู้ และเลือกเป็นตัวแทน

เรียน นิติฯ เป็นใหญ่กว่าใครทั้งประเทศได้

อำนาจอธิปไตย ที่เรียนกันมา มันผิดซะแล้ว

___________________________________________________________________________

ที่เรียนกันมา..
อำนาจอธิปไตย  คือ  อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของประชาชนทุกคน  
แต่เนื่องจากจำนวนของประชาชนมีมากมาย  การจะให้ประชาชนทุกคนมาร่วมกันบริหารประเทศย่อมเป็นไปไม่ได้  
ประชาชนจึงต้องแต่งตั้งตัวแทนที่ตนเองเห็นว่าเหมาะสมและจะรักษาผลประโยชน์ของตนเองและประเทศชาติได้
เข้าไปทำหน้าที่แทน
  โดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจ (แต่งตั้ง) ทั้งสามนี้ผ่านกลุ่มผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนปวงชน

อำนาจอธิปไตยแบ่งเป็น 3  อำนาจ ดังนี้
1. อำนาจนิติบัญญัติ
2. อำนาจบริหาร
3. อำนาจตุลาการ

___________________________________________________________________________

ที่ต้องมี 3  อำนาจนั้นเพื่อเป็น การถ่วงดุลอำนาจระหว่างอำนาจอธิปไตย
ความสัมพันธ์หรือการถ่วงดุลอำนาจระหว่างอำนาจอธิปไตยทั้ง  3  มีลักษณะ  ดังนี้
  1.   ฝ่ายนิติบัญญัติ   หรือรัฐสภา  นอกจากจะมีอำนาจด้านนิติบัญญัติแล้ว  ยังมีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร  หรือรัฐบาลให้เป็นไปตามที่ฝ่ายบริหารได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา  หรือเมื่อฝ่ายนิติบัญญัติเห็นว่าประชาชนได้รับความเดือดร้อน  หรือประชาชนมีความต้องการความช่วยเหลือ  แต่ฝ่ายบริหารยังไม่เข้าไปแก้ปัญหานั้นๆ ให้ประชาชน   สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)หรือสมาชิกวุฒิสภา (สว.)  อาจยื่นกระทู้ถามฝ่ายบริหารในสภาของตนสังกัดอยู่ได้  แต่ถ้าฝ่ายบริหารตำแหน่งใดๆ  ตั้งแต่นายกรัฐมนตรี  หรือรัฐมนตรีว่าการ   รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงใดหรือหลายๆ  กระทรวง ดำเนินการบริหารงานที่ฝ่ายนิติบัญญัติเห็นว่าผิดพลาดจนอันอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศ  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของสมาชิกทั้งหมดขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมดขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล  ซึ่งถ้าเสียงส่วนใหญ่ลงมติไม่ไว้วางใจให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีท่านใดจะทำให้รัฐบาลหรือรัฐมนตรีผู้นั้นพ้นสภาพจากตำแหน่งนั้นทันที  
   2.   ฝ่ายบริหาร   นอกจากมีอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว  ยังมีอำนาจในการออกกฎหมายบางชนิดที่จำต้องใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน  เช่น  พระราชกำหนด  พระราชกฤษฎีกา  กฎกระทรวง เป็นต้น และยังมีอำนาจที่จะควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจออกเป็นพระราชกฤษฎีกายุบสภาคืนอำนาจให้แก่ประชาชน   เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่แก่ฝ่ายบริหาร
ถ้าประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่ารัฐบาลทำหน้าที่ถูกต้องแล้ว  ประชาชนก็จะเลือกพรรคการเมืองที่เคยเป็นรัฐบาลนั้นเข้ามาเป็นผู้แทนของตนจำนวนมาก   พรรคการเมืองนั้นก็จะมีสิทธิจัดตั้งรัฐบาลใหม่   แต่ถ้าประชาชนทั้งประเทศส่วนใหญ่เห็นว่ารัฐบาลเดิมทำหน้าที่บริหารไม่ถูกต้อง  ประชาชนก็จะเลือกพรรคการเมืองที่เคยเป็นฝ่ายค้านเข้ามาเป็นผู้แทนของตนจำนวนมาก   พรรคการเมืองที่เคยเป็นฝ่ายค้านก็มีสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ
  3.   ฝ่ายตุลาการ    เป็นฝ่ายเดียวที่มีความเป็นอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีต่าง ๆ  แต่ก็ต้องพิจารณาพิพากษาตามตัวบทกฎหมายต่างๆ ที่ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารได้บัญญัติขึ้นใช้ในขณะนั้น

ทั้งหมด <<< เลิกคิดได้เลย เพราะสุดท้าย ท้ายสุด ยังไง อำนาจฝ่ายตุลาการชี้เป็นชี้ตายทุกเรื่อง

___________________________________________________________________________

แล้วอำนาจตุลาการนี้ ถ้าสมมุคิว่าได้คนไม่ดี หรือคนที่มีอำนาจขณะก่อนหน้านี้ได้รวบอำนาจของประชาชนเป็นของตัวเอง (ปฏิวัติ) แล้วแต่งตั้งวางไข่ไว้ ไม่ให้เป็นอำนาจสูงสุด เป็นของประชาชนล้มหรือล้างคนที่แต่งตั้งกันเข้ามา ประชาชนก็ไม่รู้ว่าคนเหล่านั้นเป็นคนดีหรือคนไม่ดี แต่ต้องยอมรับ ที่จริงไม่น่าจะถูกต้อง สิ่งที่ถูกต้องนั้นน่าจะคือ คนที่จะมามีอำนาจตุลาการ ต้องเป็นคนดีจริง ๆ เป็นคนกลางจริง ๆ และต้องเป็นคนมีความรู้ความสามารถจริง ๆ ไม่ใช่เอากะโหลกกะลาแต่งตั้งกันขึ้นมาเองแล้วให้ ประชาชนต้องยอมรับอำนาจนั้น

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ปล. กระทู้นี้ยอมรับว่าเขียนด้วยอารมณ์โกรธ และไม่เข้าใจในสิ่งที่เรียนมา เพราะยัง งง กับอำนาจของประชาชน มีมากน้อยแค่ไหนในประเทศนี้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่