รัน รัน ชอว์ ราชาภาพยนตร์แห่งฮ่องกงและเอเชีย ผู้สร้างบริษัทชอว์ บราเธอร์ส สตูดิโอสร้างภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จมหาศาลในช่วงยุค 60-70 รวมทั้งผู้สร้างความนิยมให้กับหนังกำลังภายใน เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 106 ปี เมื่อ 7 มกราคม 2557
ชอว์ บริหารบริษัทชอว์ บราเธอร์ และโรงถ่ายภาพยนตร์ร่วมกับพี่ชาย รันเม โดยร่วมกันสร้างภาพยนตร์ออกมาถึงกว่า 1,000 เรื่อง ในช่วง 5 ศวรรษที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นหนังรัก, เพลง หรือแอ็คชัน นอกจากนี้เขายังเคยร่วมสร้างภาพยนตร์กับฮอลลีวูดอีกด้วย ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ Blade Runner ของริดลีย์ สก็อทท์ มรดกของชอว์ บราเธอร์ส คงพบเห็นได้ในงานของคนทำหนังรุ่นปัจจุบันอย่าง เควนติน ทรานติโน, จอห์น วู หรือ อังลี
“อิทธิพลของหนังกำลังภายใน แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่ได้รับการพูดถึง” เดวิด เดสซอร์ ศาสตราจารย์ภาพยนตร์ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ที่ปัจจุบันสอนที่ มหาวิทยาลัย แชปแมนกล่าว "แทบจะไม่มีฉากต่อสู้ในหนังฮอลลีวูดในทุกวันนี้ ที่ไม่อาศัยศิลปะการต่อสู้แบบเอเชีย และนั่นคือสิ่งที่หนังกำลังภายในของจีน โดยชอว์บราเธอร์ส นำมามอบให้ตลอดยุค 1970s”
ชอว์เกิดในครอบครัวพ่อค้าผ้า เมื่อปี 1907 แต่กลับไม่สนใจธุรกิจของที่บ้าน เขากับพี่ชายรันเจ และรันเม โดดเข้าสู่ธุรกิจหนังในยุค 1920s รันเจมีโรงถ่ายหนังเงียบ ส่วนน้องๆ ก็ทำธุรกิจซื้อขายหนังในเซียงไฮ ซึ่งตอนนั้นเป็นศูนย์กลางของคนทำหนังชาวจีน พอกลางยุค 1930s พวกเขาก็กลายเป็นเจ้าของโรงหนังถึงกว่า 100 โรง
สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามกับพรรคคอมมิวนิสต์ ทำให้พี่น้องตระกูลชอว์ย้ายมาปักหลักที่ฮ่องกง โดยสตเฟาน แฮมมอนด์ ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับวงการภาพยนตร์บอกว่า “พวกเขาเลือกฮ่องกง เพราะเป็นที่เดียวที่พวกเขามีอิสระในการสร้างภาพยนตร์ ที่พวกเขาอยากทำ”
ด้วยการเลียนแบบระบบสตูดิโอของฮอลลีวูดในยุค 1930s ชอว์ได้สร้างโรงถ่ายขึ้นที่ฮ่องกง โดยเปิดใช้ในปี 1961 ซึ่งในตอนนั้นเรียกได้ว่าเป็นโรงถ่ายส่วนตัวที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีคนงานถึง 1,000 คน มีโรงถ่ายย่อยกว่า 12 โรง และอุปกรณ์ระดับเกรดเอมากมาย
“เขาสร้างฮอลลีวูดตะวันออกขึ้น เมื่อเขาสร้างโรงถ่าย” ศ.จ. สแตนลีย์ โรเซน จากยูเอสซี กล่าว “รัน รัน เหมือนกับหลุยส์ บี เมเยอร์ เขามีทัศนคติแบบพ่อกับนักแสดงของตัวเอง” เดสเซอร์กล่าว "พวกเขาหล่อหลอมตัวเองแบบเดียวกับสตูดิโอของฮอลลีวูดในยุค 1930 ด้วยการควบคุมทุกอย่างให้มากที่สุด” นอกจากบริษัทสร้างภาพยนตร์, โรงถ่าย, บริษัทดูแลนักแสดงแล้ว ชอว์ยังเป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์ และบริษัทจัดจำหน่ายภาพยนตร์อีกด้วย
หากสังเกตให้ดี สัญลักษณ์ของชอว์ บราเธอร์ส ซึ่งเป็นตัว เอสกับบีอยู่ในโล่ห์ ก็คล้ายๆ กับสัญลักษณ์ของบริษัทวอร์เนอร์ บราเธอร์ส
ตอนต้นยุค 1960s ชอว์ บราเธอร์ส กลายเป็นราชันย์แห่งภาพยนตร์ในภูมิภาคเอเชีย ด้วยการสร้างภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมมากกมาย รวมทั้งมีนักแสดงหญิงระดับท็อปเพียบอยู่ในสังกัด ทำให้สามารถสร้างหนังรัก, ชีวิต และเพลงออกมามากมาย ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ The Love Eternel ของผู้กำกับ หลี่ ฮั่น เสียง ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 1963
ช่วงกลางยุค 1960s ชอว์ บราเธอร์สเริ่มทำหนังกำลังภายใน และทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงมากขึ้น หนังเรื่อง Come Drink With Me ของคิง ฮู ในปี 1966 ถือเป็นไฟนำทางสำหรับหนังแนวนี้ และความสำเร็จของ The One Armed Swordsman โดยจางเชอะ ในปี 1967 ที่ทุบสถิติหนังทำเงินให้กับบริษัท ก็ทำให้คนดูหลงหนังแนวนี้อย่างถอนตัวไม่ขึ้น และชอว์ก็ขยายขอบเขตของตัวเอง ด้วยการสร้างโรงภาพยนตร์ในแถบที่มีชาวจีนอยู่เป็นจำนวนมาก เช่นในซาน ฟรานซิสโก, นิว ยอร์ค, ลอส แองเจลีส ซึ่งทำให้หนังกำลังภายใน และหนังกังฟู ได้รับความนิยมอย่างสูงในอเมริกา
ปลายยุค 1960s ชอว์ บราเธอร์ส ทำหนังราวๆ 40 เรื่องต่อปี แต่ที่เป็นที่สุดก็คือปี 1974 ที่ทำกันถึง 50 เรื่อง และในยุค 1970s นี่เอง เรย์มอนด์ เชา ผู้อำนวยการสร้างหนังของชอว์ บราเธอร์ส ก็แยกไปตั้งบริษัทโกลเดน ฮาร์เวสท์ของตัวเอง ซึ่งให้อิสระในความคิดสร้างสรรค์, การทำงาน และไม่จำกัดเงินทุน กับผู้กำกับ, ผู้อำนวยการสร้าง และนักแสดงมากกว่าชอว์ ทำให้ดึงดูดนักแสดง และคนทำงานฝีมือดี
ความสำเร็จของเชา ทำให้อาณาจักรของชอว์เริ่มสั่นคลอน โดยเฉพาะเมื่อ เขาตัดสินใจไม่ยอมเซ็นสัญญาระยะยาวมูลค่า 10,000 เหรียญต่อเรื่องกับลี ทำให้ลีหันไปหาโกลเดน ฮาร์เวสท์ ซึ่งให้อิสระในการทำงาน และแบ่งปันผลกำไรกับลี หนังเรื่องแรกของลีกับโกลเดน ฮาร์เวสท์ Fists of Fury ในปี 1971 ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ทำสถิติหนังทำเงินในฮ่องกงขึ้นใหม่ ทำให้ผู้คนหลั่งไหลไปที่โกลเกน ฮาร์เวสท์ และทำให้ระบบผูกขาดของชอว์จบลง
ในเวลาไล่ๆ กัน รัน รัน ชอว์ ก็เริ่มธุรกิจโทรทัศน์ซึ่งในตอนนั้นยังเตาะแตะอยู่ในฮ่องกง เขาเปิดสถานีโทรทัศน์ทีวีบีขึ้นมาในปี 1967 แล้วออกจากธุรกิจภาพยนตร์ในช่วงยุค 1980s ปัจจุบันทีวีบีมีด้วยกัน 5 สถานีในฮ่องกง และเป็นหนึ่งในผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ภาษาจีนของเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในโลก
แม้จะถอยออกมาจากวงภาพยนตร์แล้ว ชอว์ก็ยังมีอิทธิพลหลงเหลืออยู่ ขณะที่ทางทีวีบีเองก็ให้โอกาสกับผู้กำกับหน้าใหม่มากมาย ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นคนสำคัญในกลุ่มคนทำหนังนิว เวฟของฮ่องกงในช่วงปลายยุค 70s ต่อต้นยุค 80s และในปี 2003 เซเลสเทียล พิคเจอร์ส ก็ได้ขอซื้อสิทธิ์ห้องสมุดภาพยนตร์ของชอว์ เพื่อทำออกมาจำหน่ายเป็นดีวีดี
นอกจากนี้ตอนต้นยุค 1970s ชอว์ยังได้ก่อตั้งองค์กรการกุศล และในเวลา 4ทศวรรษหลังจากนั้น ได้มอบเงินเป็นล้านๆ เหรียญให้กับโรงเรียน และมหาวิทยาลัยมากมายในขีนแผ่นดินใหญ่, ฮ่องกง และอีกหลายๆ ประเทศทั่วโลก รวมถึงสถาบันจีนศึกษา ที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ปี 2002 ชอว์ตั้งรางวัล ชอว์ ไพรซ์ ซึ่งจะมอบเงิน 1 ล้านเหรียญในแต่ละปีให้กับการค้นคว้าใหม่ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์, วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต, ยา และคณิตศาสตร์ แม้อายุปาเข้าไป 90 กว่าปี ชอว์ยังคงทำงาน ไปออฟฟิศด้วยรถโรลส์รอยซ์ และชมภาพยนตร์ จนปี 2011 เขาจึงอำลาจากตำแหน่งประธานของทีวีบี
ชอว์มีลูกสาว 2 คน ลูกชาว 2 คน หวัง ไหม่-ชุน ภรรยาคนแรกของเขาเสียชีวิตในยุค 1980s และเขาแต่งงานใหม่ในปี 1997 กับโมนา ฟ่ง ประธานรักษาการคนปัจจุบันของทีวีบี
คลิกไลค์ให้กำลังใจ และติดตามข่าวคราว-บทวิจารณ์ หนังและเพลง ได้ที่
www.facebook.com/Sadaos หรือคลิกไปที่
www.sadaos.com
อำลา-อาลัย ราชาภาพยนตร์แห่งฮ่องกงและเอเชีย รัน รัน ชอว์ แห่ง ชอว์บราเธอร์ส
รัน รัน ชอว์ ราชาภาพยนตร์แห่งฮ่องกงและเอเชีย ผู้สร้างบริษัทชอว์ บราเธอร์ส สตูดิโอสร้างภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จมหาศาลในช่วงยุค 60-70 รวมทั้งผู้สร้างความนิยมให้กับหนังกำลังภายใน เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 106 ปี เมื่อ 7 มกราคม 2557
ชอว์ บริหารบริษัทชอว์ บราเธอร์ และโรงถ่ายภาพยนตร์ร่วมกับพี่ชาย รันเม โดยร่วมกันสร้างภาพยนตร์ออกมาถึงกว่า 1,000 เรื่อง ในช่วง 5 ศวรรษที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นหนังรัก, เพลง หรือแอ็คชัน นอกจากนี้เขายังเคยร่วมสร้างภาพยนตร์กับฮอลลีวูดอีกด้วย ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ Blade Runner ของริดลีย์ สก็อทท์ มรดกของชอว์ บราเธอร์ส คงพบเห็นได้ในงานของคนทำหนังรุ่นปัจจุบันอย่าง เควนติน ทรานติโน, จอห์น วู หรือ อังลี
“อิทธิพลของหนังกำลังภายใน แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่ได้รับการพูดถึง” เดวิด เดสซอร์ ศาสตราจารย์ภาพยนตร์ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ที่ปัจจุบันสอนที่ มหาวิทยาลัย แชปแมนกล่าว "แทบจะไม่มีฉากต่อสู้ในหนังฮอลลีวูดในทุกวันนี้ ที่ไม่อาศัยศิลปะการต่อสู้แบบเอเชีย และนั่นคือสิ่งที่หนังกำลังภายในของจีน โดยชอว์บราเธอร์ส นำมามอบให้ตลอดยุค 1970s”
ชอว์เกิดในครอบครัวพ่อค้าผ้า เมื่อปี 1907 แต่กลับไม่สนใจธุรกิจของที่บ้าน เขากับพี่ชายรันเจ และรันเม โดดเข้าสู่ธุรกิจหนังในยุค 1920s รันเจมีโรงถ่ายหนังเงียบ ส่วนน้องๆ ก็ทำธุรกิจซื้อขายหนังในเซียงไฮ ซึ่งตอนนั้นเป็นศูนย์กลางของคนทำหนังชาวจีน พอกลางยุค 1930s พวกเขาก็กลายเป็นเจ้าของโรงหนังถึงกว่า 100 โรง
สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามกับพรรคคอมมิวนิสต์ ทำให้พี่น้องตระกูลชอว์ย้ายมาปักหลักที่ฮ่องกง โดยสตเฟาน แฮมมอนด์ ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับวงการภาพยนตร์บอกว่า “พวกเขาเลือกฮ่องกง เพราะเป็นที่เดียวที่พวกเขามีอิสระในการสร้างภาพยนตร์ ที่พวกเขาอยากทำ”
ด้วยการเลียนแบบระบบสตูดิโอของฮอลลีวูดในยุค 1930s ชอว์ได้สร้างโรงถ่ายขึ้นที่ฮ่องกง โดยเปิดใช้ในปี 1961 ซึ่งในตอนนั้นเรียกได้ว่าเป็นโรงถ่ายส่วนตัวที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีคนงานถึง 1,000 คน มีโรงถ่ายย่อยกว่า 12 โรง และอุปกรณ์ระดับเกรดเอมากมาย
“เขาสร้างฮอลลีวูดตะวันออกขึ้น เมื่อเขาสร้างโรงถ่าย” ศ.จ. สแตนลีย์ โรเซน จากยูเอสซี กล่าว “รัน รัน เหมือนกับหลุยส์ บี เมเยอร์ เขามีทัศนคติแบบพ่อกับนักแสดงของตัวเอง” เดสเซอร์กล่าว "พวกเขาหล่อหลอมตัวเองแบบเดียวกับสตูดิโอของฮอลลีวูดในยุค 1930 ด้วยการควบคุมทุกอย่างให้มากที่สุด” นอกจากบริษัทสร้างภาพยนตร์, โรงถ่าย, บริษัทดูแลนักแสดงแล้ว ชอว์ยังเป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์ และบริษัทจัดจำหน่ายภาพยนตร์อีกด้วย
หากสังเกตให้ดี สัญลักษณ์ของชอว์ บราเธอร์ส ซึ่งเป็นตัว เอสกับบีอยู่ในโล่ห์ ก็คล้ายๆ กับสัญลักษณ์ของบริษัทวอร์เนอร์ บราเธอร์ส
ตอนต้นยุค 1960s ชอว์ บราเธอร์ส กลายเป็นราชันย์แห่งภาพยนตร์ในภูมิภาคเอเชีย ด้วยการสร้างภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมมากกมาย รวมทั้งมีนักแสดงหญิงระดับท็อปเพียบอยู่ในสังกัด ทำให้สามารถสร้างหนังรัก, ชีวิต และเพลงออกมามากมาย ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ The Love Eternel ของผู้กำกับ หลี่ ฮั่น เสียง ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 1963
ช่วงกลางยุค 1960s ชอว์ บราเธอร์สเริ่มทำหนังกำลังภายใน และทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงมากขึ้น หนังเรื่อง Come Drink With Me ของคิง ฮู ในปี 1966 ถือเป็นไฟนำทางสำหรับหนังแนวนี้ และความสำเร็จของ The One Armed Swordsman โดยจางเชอะ ในปี 1967 ที่ทุบสถิติหนังทำเงินให้กับบริษัท ก็ทำให้คนดูหลงหนังแนวนี้อย่างถอนตัวไม่ขึ้น และชอว์ก็ขยายขอบเขตของตัวเอง ด้วยการสร้างโรงภาพยนตร์ในแถบที่มีชาวจีนอยู่เป็นจำนวนมาก เช่นในซาน ฟรานซิสโก, นิว ยอร์ค, ลอส แองเจลีส ซึ่งทำให้หนังกำลังภายใน และหนังกังฟู ได้รับความนิยมอย่างสูงในอเมริกา
ปลายยุค 1960s ชอว์ บราเธอร์ส ทำหนังราวๆ 40 เรื่องต่อปี แต่ที่เป็นที่สุดก็คือปี 1974 ที่ทำกันถึง 50 เรื่อง และในยุค 1970s นี่เอง เรย์มอนด์ เชา ผู้อำนวยการสร้างหนังของชอว์ บราเธอร์ส ก็แยกไปตั้งบริษัทโกลเดน ฮาร์เวสท์ของตัวเอง ซึ่งให้อิสระในความคิดสร้างสรรค์, การทำงาน และไม่จำกัดเงินทุน กับผู้กำกับ, ผู้อำนวยการสร้าง และนักแสดงมากกว่าชอว์ ทำให้ดึงดูดนักแสดง และคนทำงานฝีมือดี
ความสำเร็จของเชา ทำให้อาณาจักรของชอว์เริ่มสั่นคลอน โดยเฉพาะเมื่อ เขาตัดสินใจไม่ยอมเซ็นสัญญาระยะยาวมูลค่า 10,000 เหรียญต่อเรื่องกับลี ทำให้ลีหันไปหาโกลเดน ฮาร์เวสท์ ซึ่งให้อิสระในการทำงาน และแบ่งปันผลกำไรกับลี หนังเรื่องแรกของลีกับโกลเดน ฮาร์เวสท์ Fists of Fury ในปี 1971 ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ทำสถิติหนังทำเงินในฮ่องกงขึ้นใหม่ ทำให้ผู้คนหลั่งไหลไปที่โกลเกน ฮาร์เวสท์ และทำให้ระบบผูกขาดของชอว์จบลง
ในเวลาไล่ๆ กัน รัน รัน ชอว์ ก็เริ่มธุรกิจโทรทัศน์ซึ่งในตอนนั้นยังเตาะแตะอยู่ในฮ่องกง เขาเปิดสถานีโทรทัศน์ทีวีบีขึ้นมาในปี 1967 แล้วออกจากธุรกิจภาพยนตร์ในช่วงยุค 1980s ปัจจุบันทีวีบีมีด้วยกัน 5 สถานีในฮ่องกง และเป็นหนึ่งในผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ภาษาจีนของเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในโลก
แม้จะถอยออกมาจากวงภาพยนตร์แล้ว ชอว์ก็ยังมีอิทธิพลหลงเหลืออยู่ ขณะที่ทางทีวีบีเองก็ให้โอกาสกับผู้กำกับหน้าใหม่มากมาย ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นคนสำคัญในกลุ่มคนทำหนังนิว เวฟของฮ่องกงในช่วงปลายยุค 70s ต่อต้นยุค 80s และในปี 2003 เซเลสเทียล พิคเจอร์ส ก็ได้ขอซื้อสิทธิ์ห้องสมุดภาพยนตร์ของชอว์ เพื่อทำออกมาจำหน่ายเป็นดีวีดี
นอกจากนี้ตอนต้นยุค 1970s ชอว์ยังได้ก่อตั้งองค์กรการกุศล และในเวลา 4ทศวรรษหลังจากนั้น ได้มอบเงินเป็นล้านๆ เหรียญให้กับโรงเรียน และมหาวิทยาลัยมากมายในขีนแผ่นดินใหญ่, ฮ่องกง และอีกหลายๆ ประเทศทั่วโลก รวมถึงสถาบันจีนศึกษา ที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ปี 2002 ชอว์ตั้งรางวัล ชอว์ ไพรซ์ ซึ่งจะมอบเงิน 1 ล้านเหรียญในแต่ละปีให้กับการค้นคว้าใหม่ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์, วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต, ยา และคณิตศาสตร์ แม้อายุปาเข้าไป 90 กว่าปี ชอว์ยังคงทำงาน ไปออฟฟิศด้วยรถโรลส์รอยซ์ และชมภาพยนตร์ จนปี 2011 เขาจึงอำลาจากตำแหน่งประธานของทีวีบี
ชอว์มีลูกสาว 2 คน ลูกชาว 2 คน หวัง ไหม่-ชุน ภรรยาคนแรกของเขาเสียชีวิตในยุค 1980s และเขาแต่งงานใหม่ในปี 1997 กับโมนา ฟ่ง ประธานรักษาการคนปัจจุบันของทีวีบี
คลิกไลค์ให้กำลังใจ และติดตามข่าวคราว-บทวิจารณ์ หนังและเพลง ได้ที่ www.facebook.com/Sadaos หรือคลิกไปที่ www.sadaos.com