'เขื่อนบ้านกุ่ม' มรสุมชีวิตริมโขง'ชาวตามุย' : เรื่อง : ปัญญาพร สายทอง / ภาพ : ณัชพล คิดดี
กล่าวถึงหมู่บ้านตามุย ต.ห้วยไผ่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี มีพื้นที่ติดลำน้ำโขงที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ปลาน้ำโขงหลากหลายชนิด รวมไปถึงยังเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่เกิดบั้งไฟพญานาคในช่วงออกพรรษา 15 ค่ำ เดือน 11 ทุกปี อย่างปีนี้มีลูกไฟพญานาคขึ้นถึง 25 ลูก ปีที่ผ่านมาก็มีจำนวนถึง 30 ลูก แต่พื้นที่แห่งนี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่มีวันกลับ เนื่องจากปัจจุบันแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแหล่งพื้นที่ทำกินของคนริมโขง มีคนกลุ่มหนึ่งที่มุ่งเน้นการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ ผลักดันให้มีการสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า ด้วยการสร้างเขื่อน 12 เขื่อน ในแม่น้ำสายนี้ และหนึ่งในนั้น คือ เขื่อนบ้านกุ่ม ที่จะผุดขึ้นในพื้นที่
เขื่อนบ้านกุ่มแห่งนี้ หากสร้างเสร็จเชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อ "ชาวบ้านตามุย" อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ชีวิตเรียบง่ายบนสายน้ำของผู้คนริมฝั่งโขง ต้องมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไป ถึงแม้ปัจจุบันเขื่อนบ้านกุ่มแห่งนี้ยังไม่ได้สร้าง แต่ชาวบ้านตามุยต่างก็ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนของประเทศจีนแล้ว ทำให้สายน้ำแห่งนี้ไม่มีความเป็นอิสระ ธรรมชาติ และวัฒนธรรมที่เคยมีมา มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ชาวริมโขงไม่สามารถคาดคะเนอนาคตได้เหมือนดังแต่ก่อน และถ้าหากมีการสร้างเขื่อนเพิ่มขึ้นอีก วิถีชีวิตของคนที่นี่คงไม่สามารถสืบต่อถึงลูกหลานได้แน่
"ตาล จันสุก" วัย 50 ปี ชาวบ้านตามุย บอกว่า พอรู้ข่าวจะสร้างเขื่อนในเขตพื้นที่ เห็นคนงานมารังวัดที่แล้ว แต่ตอนนี้อยู่ในช่วงชะลอการสร้างเขื่อนบ้านกุ่ม ที่ตอนแรกมีโครงการจะก่อสร้าง หากสร้างเขื่อนขึ้นจริงๆ หวั่นว่าเกษตรริมโขงจะได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันถึงแม้จะยังไม่ได้สร้างเขื่อนในเขตพื้นที่ แต่ก็ได้รับผลกระทบแล้วจากเขื่อนที่ประเทศจีน เนื่องจากพื้นที่ของหมู่บ้านอยู่ท้ายเขื่อน และเป็นส่วนท้ายของริมน้ำโขงด้วย ทำให้บางวันปริมาณน้ำลดลง ชาวบ้านจะทำเกษตรริมโขง แต่พอทางเขื่อนที่ประเทศจีนปล่อยน้ำออกมาทำให้ท่วมพืชต่างๆ ที่ปลูกไว้ ทำให้ได้รับความเสียหาย
"ปัญหาตรงนี้ได้ส่งผลให้วัฏจักรในปลูกเกษตรริมโขงเปลี่ยนแปลงไปมาก เพราะชาวบ้านไม่มีวันรู้เลยว่าน้ำจะขึ้นเมื่อไหร่และจะลดลงตอนไหน ต่างจากเมื่อก่อนที่ชาวบ้านจะรู้ว่าช่วงเวลาไหนควรจะปลูกพืชได้แล้ว เพราะน้ำจะลดลงไปเรื่อยๆ ทำให้เกษตรริมโขงไม่มีผลกระทบ แต่หากชาวบ้านที่นี่ ไม่ทำก็ไม่ได้ เพราะส่วนใหญ่คนที่นี่ทำอาชีพชาวประมงทั้งหมู่บ้าน หากวันไหนจับปลาไม่ได้ ก็ยังมีพืชผักที่ปลูกเลี้ยงชีพต่อไปได้อีกหนึ่งวัน ส่วนการจับปลาในช่วงนี้นั้น จำนวนปลาน้อยลงกว่าเดิมมาก จับยากขึ้น ยังพอได้กินอยู่ แต่ไม่มากเหมือนเก่า ทุกวันนี้แม้ยังไม่ได้สร้างเขื่อนก็ยังได้รับผลกระทบขนาดนี้ หากสร้างขึ้นมาจริงๆ กลัวว่าจะมีผลกระทบหนักกว่าที่เป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรริมโขง หรือพันธุ์ปลาน้ำโขงจะหายไปจากเดิมแน่ๆ" ตาล แสดงความกังวล
เช่นเดียวกับ "วัย ป้องภัย" ชาวบ้านตามุยอีกคน เล่าว่า หลังจากทราบว่าจะมีการสร้างเขื่อนบ้านกุ่ม จึงปรึกษากับชาวบ้าน รวมถึงนักวิชาการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักการเมืองท้องถิ่น เพื่อมาร่วมหารือและร่วมกับชาวบ้านอีกหลายหมู่บ้าน ได้ข้อสรุปว่า ไม่ควรจะมีการสร้างเขื่อนในพื้นที่แม่น้ำโขง จึงออกมาคัดค้านตั้งแต่ปี 2550
"ผมทำเกษตรหมุนเวียนเป็นหลัก ปลูกพืชริมโขง ทำไร่นา เก็บเห็ดเก็บผักขายหมุนเวียนไปทั้งปี และหาปลาในน้ำโขงด้วย ยอมรับว่าได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ถ้ามีการสร้างเขื่อนบ้านกุ่ม รวมถึงเขื่อนอื่นๆ อีก 11 เขื่อนในแม่น้ำโขง จะเกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนริมฝั่งโขงอย่างแน่นอน เพราะทุกวันนี้น้ำขึ้นน้ำลง ไม่เหมือนดังแต่ก่อน ตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนที่ประเทศจีนแล้ว นับว่าบ้านตามุยได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนมานานมาก"
"วัย" ย้อนอดีตว่า สมัยก่อนน้ำขึ้นน้ำลดตามฤดูกาล ทำให้สามารถปลูกพืชริมฝั่งได้ง่าย แต่ปัจจุบันไม่สามารถคาดคะเนได้ว่าน้ำจะขึ้นเมื่อไหร่ จะลงตอนไหน ทำให้พืชผักของชาวบ้านได้รับผลกระทบ เสียหาย อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านยังมีความจำเป็นที่จะต้องปลูกพืช เพื่อเป็นแหล่งอาหารเลี้ยงชีพ
แม้แต่ "ลำไพ สุทธิพันทอง" วัย 56 ปี ชาวประมงบ้านตามุย ยอมรับว่า ไม่อยากให้มีการสร้างเขื่อนในพื้นที่อีก เพราะทุกวันนี้สิ่งที่เกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนจากประเทศจีนส่งผลกระทบมาถึงที่นี่แล้ว หากมีการสร้างเขื่อนเพิ่มขึ้นเพื่อกั้นแม่น้ำโขง คงไม่มีใครกล้ารับปากอย่างชัดเจนว่าจะไม่มีผลกระทบให้แก่คนในพื้นที่ วิถีชีวิตของคนที่หมู่บ้านอาจจะสูญหายไป ไม่มีใครที่จะสามารถเรียกกลับคืนมาได้
ส่วน "หาญณรงค์ เยาวเลิศ" ประธานมูลนิธิการจัดการน้ำแบบบูรณาการ ระบุว่า จากการสร้างเขื่อนเป็นการปิดแม่น้ำสายใหญ่ โดยเฉพาะชาวบ้านที่มีอาชีพประมง สิ่งที่ได้รับผลกระทบสำคัญคือ ปลาอพยพจะหายไปจากพื้นที่ ส่งผลให้ปลาบางสายพันธุ์อาจหายไปจากลำน้ำ และเมื่อน้ำสูงขึ้น วิธีหาปลาก็จะยากขึ้นตามไปด้วย จะส่งผลให้ชาวบ้านอาจต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในการหาปลาแบบใหม่ เพราะใช้วิถีแบบเดิมไม่ได้แล้ว สุดท้ายปลาที่เคยหาได้ก็จะหาไม่ได้ และแนวโน้มปลาใหญ่ ถ้ามีการสร้างเขื่อนก็จะหายไป ทางเขื่อนจะสร้างเขื่อนแบบขั้นบันได ไม่ใช่เหมือนบันไดปลาโจนอย่างที่เขื่อนปากมูลทำ ส่งผลให้ไม่มีความชัดเจนว่าเป็นแบบไหนที่เอามาใช้
ที่สำคัญการออกแบบได้ศึกษาชนิดปลาหรือไม่ เพราะปลาในแม่น้ำโขงไม่ใช่ปลากระโดด และไม่ใช่ปลาที่อพยพ จากการศึกษายังไม่มีการออกแบบบันไดที่นำมาใช้กับปลาในแม่น้ำโขงได้จริง นอกจากผลกระทบทางด้านปลาแล้ว ในเรื่องของเกษตรริมน้ำโขง โดยทั่วไปนั้น พื้นที่เกษตรริมโขงมีน้อยอยู่แล้ว หากมีเขื่อนเกษตรริมโขงจะหายไปเลย บางรายไม่มีรายได้อื่นเลย นอกจากเพาะปลูกพืชผัก ดังนั้นเขื่อนจึงส่งผลกระทบต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนริมน้ำโขง ส่วนที่เหลือคือ บางพื้นที่ท้ายน้ำยังไม่มีความแน่ชัดถึงวิธีการเปิด-ปิดน้ำ จะควบคุมด้วยระบบไหน ไม่ว่าจะเป็นระบบนิเวศลำน้ำ หรือต้องการผลิตไฟฟ้าสูงสุด
"หากผลิตไฟฟ้าการเปิด-ปิดน้ำขึ้นอยู่กับการผลิตไฟฟ้า จะส่งผลให้ฤดูแล้งน่ากังวล เพราะแรงดันของน้ำจะมีผลต่อท้ายน้ำ อาจจะทำให้ตลิ่งพังได้ เห็นได้จากหลายพื้นที่ทางเหนือพบว่า ตลิ่งพัง สุดท้ายก็หาคนมารับผิดชอบไม่ได้ หากดูการศึกษาก่อนในช่วงบนของเขื่อนอื่นๆ ทำให้พบว่า เวลาสร้างเขื่อนแล้ว ความเสียหายที่เกิดขึ้นในท้ายน้ำลงไป การที่จะพิสูจน์ของชาวบ้านนั้น อาจทำให้หมดแรงเสียก่อน เพราะเป็นผลระยะยาว ดังนั้นชาวบ้านต้องรวมตัวกัน แสดงความเข้มแข็ง ถือเป็นจุดยืนที่แน่วแน่ของชุมชน" หาญณรงค์ แนะนำ
ด้าน "ชาลิน กันแพงศรี" ประธานเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน บอกว่า การสร้างเขื่อนมีผลกระทบต่อประชาชนอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องวิถีชีวิตชาวริมโขงที่มีมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษที่ได้มาตั้งรกรากอยู่อาจจะหายไป ไม่ว่าจะเป็นการหาปลา เกษตรกรรมริมแม่น้ำโขง นับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องให้ความสนใจ นอกจากนี้ยังอาจจะเป็นการเปลี่ยนระบบนิเวศของพันธุ์ปลาในพื้นที่ให้สูญหายไป
ตัวอย่างเขื่อนที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเขื่อนปากมูล ซึ่งมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวบ้าน พื้นที่ทำกิน ส่วนเขื่อนไซยะบุรี ผลกระทบชัดเจนในเรื่องของการประมง ส่วนใหญ่ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจะสะท้อนให้เห็นถึงพื้นที่น้ำท่วม พื้นที่ป่า และพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน ทุกวันนี้มีหลายองค์กรได้ออกมาแสดงจุดยืน เพื่อให้โครงการสร้างเขื่อนกั้นน้ำโขงนี้ หยุดไม่ให้เกิดผลกระทบในระยะยาวตามมา
"ส่วนในเรื่องที่เขื่อนที่จะสร้างขึ้นมาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า จะเป็นการสร้างผลกระทบอีกรอบในเมืองไทย คือ เรื่องของสายส่งไฟฟ้าแรงสูงที่จะเข้ามาทางท่าลี่ จ.เลย หนองบัวลำภู และมาพักที่ขอนแก่น หลังจากนี้จะแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าแรงต่ำแล้วส่งไปขายให้ต่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง ฉะนั้นคนไทยเพียง 20% เท่านั้น ที่จะได้ใช้ไฟฟ้าจากเขื่อนผลิตไฟฟ้าจากประเทศลาว และอีก 20% รองรับอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นในเมืองไทยในอนาคต หากมองถึงผลกระทบต่อชุมชน และชาวบ้าน นอกจากเริ่มตั้งแต่การสร้างเขื่อนที่มีผลกระทบต่อลำน้ำตลอดสาย อีกผลกระทบที่จะเกิดขึ้น คือ เส้นทางของสายไฟฟ้าแรงสูงที่ผ่านที่ดินทำกินของชาวบ้านอีกทางหนึ่งเหมือนกัน" ชาลิน บอก
แม้เขื่อนบ้านกุ่ม ยังมาไม่ถึง แต่ก็ส่งผลกระทบในด้านอาชีพ และวิถีชีวิตของชาวบ้านที่นี่แล้ว อย่างน้อยก็ทำให้สภาพจิตใจของพวกเขาที่เคยหาอยู่หากินอย่างมีความสุข กลับต้องมาวิตกกังวลมากขึ้น เพราะเขื่อนที่ไม่ใช่ความต้องการและไม่ใช่คำตอบของคนที่นี่ แต่เป็นความต้องการและคำตอบของคนจากถิ่นอื่น ที่เข้ามาทำให้พวกเขาต้องแบกรับภาระและความขมขื่นใจ
........................................
(หมายเหตุ : 'เขื่อนบ้านกุ่ม' มรสุมชีวิตริมโขง'ชาวตามุย' : เรื่อง : ปัญญาพร สายทอง / ภาพ : ณัชพล คิดดี)
'เขื่อนบ้านกุ่ม'มรสุมชีวิตริมโขง'ชาวตามุย'
กล่าวถึงหมู่บ้านตามุย ต.ห้วยไผ่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี มีพื้นที่ติดลำน้ำโขงที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ปลาน้ำโขงหลากหลายชนิด รวมไปถึงยังเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่เกิดบั้งไฟพญานาคในช่วงออกพรรษา 15 ค่ำ เดือน 11 ทุกปี อย่างปีนี้มีลูกไฟพญานาคขึ้นถึง 25 ลูก ปีที่ผ่านมาก็มีจำนวนถึง 30 ลูก แต่พื้นที่แห่งนี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่มีวันกลับ เนื่องจากปัจจุบันแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแหล่งพื้นที่ทำกินของคนริมโขง มีคนกลุ่มหนึ่งที่มุ่งเน้นการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ ผลักดันให้มีการสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า ด้วยการสร้างเขื่อน 12 เขื่อน ในแม่น้ำสายนี้ และหนึ่งในนั้น คือ เขื่อนบ้านกุ่ม ที่จะผุดขึ้นในพื้นที่
เขื่อนบ้านกุ่มแห่งนี้ หากสร้างเสร็จเชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อ "ชาวบ้านตามุย" อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ชีวิตเรียบง่ายบนสายน้ำของผู้คนริมฝั่งโขง ต้องมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไป ถึงแม้ปัจจุบันเขื่อนบ้านกุ่มแห่งนี้ยังไม่ได้สร้าง แต่ชาวบ้านตามุยต่างก็ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนของประเทศจีนแล้ว ทำให้สายน้ำแห่งนี้ไม่มีความเป็นอิสระ ธรรมชาติ และวัฒนธรรมที่เคยมีมา มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ชาวริมโขงไม่สามารถคาดคะเนอนาคตได้เหมือนดังแต่ก่อน และถ้าหากมีการสร้างเขื่อนเพิ่มขึ้นอีก วิถีชีวิตของคนที่นี่คงไม่สามารถสืบต่อถึงลูกหลานได้แน่
"ตาล จันสุก" วัย 50 ปี ชาวบ้านตามุย บอกว่า พอรู้ข่าวจะสร้างเขื่อนในเขตพื้นที่ เห็นคนงานมารังวัดที่แล้ว แต่ตอนนี้อยู่ในช่วงชะลอการสร้างเขื่อนบ้านกุ่ม ที่ตอนแรกมีโครงการจะก่อสร้าง หากสร้างเขื่อนขึ้นจริงๆ หวั่นว่าเกษตรริมโขงจะได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันถึงแม้จะยังไม่ได้สร้างเขื่อนในเขตพื้นที่ แต่ก็ได้รับผลกระทบแล้วจากเขื่อนที่ประเทศจีน เนื่องจากพื้นที่ของหมู่บ้านอยู่ท้ายเขื่อน และเป็นส่วนท้ายของริมน้ำโขงด้วย ทำให้บางวันปริมาณน้ำลดลง ชาวบ้านจะทำเกษตรริมโขง แต่พอทางเขื่อนที่ประเทศจีนปล่อยน้ำออกมาทำให้ท่วมพืชต่างๆ ที่ปลูกไว้ ทำให้ได้รับความเสียหาย
"ปัญหาตรงนี้ได้ส่งผลให้วัฏจักรในปลูกเกษตรริมโขงเปลี่ยนแปลงไปมาก เพราะชาวบ้านไม่มีวันรู้เลยว่าน้ำจะขึ้นเมื่อไหร่และจะลดลงตอนไหน ต่างจากเมื่อก่อนที่ชาวบ้านจะรู้ว่าช่วงเวลาไหนควรจะปลูกพืชได้แล้ว เพราะน้ำจะลดลงไปเรื่อยๆ ทำให้เกษตรริมโขงไม่มีผลกระทบ แต่หากชาวบ้านที่นี่ ไม่ทำก็ไม่ได้ เพราะส่วนใหญ่คนที่นี่ทำอาชีพชาวประมงทั้งหมู่บ้าน หากวันไหนจับปลาไม่ได้ ก็ยังมีพืชผักที่ปลูกเลี้ยงชีพต่อไปได้อีกหนึ่งวัน ส่วนการจับปลาในช่วงนี้นั้น จำนวนปลาน้อยลงกว่าเดิมมาก จับยากขึ้น ยังพอได้กินอยู่ แต่ไม่มากเหมือนเก่า ทุกวันนี้แม้ยังไม่ได้สร้างเขื่อนก็ยังได้รับผลกระทบขนาดนี้ หากสร้างขึ้นมาจริงๆ กลัวว่าจะมีผลกระทบหนักกว่าที่เป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรริมโขง หรือพันธุ์ปลาน้ำโขงจะหายไปจากเดิมแน่ๆ" ตาล แสดงความกังวล
เช่นเดียวกับ "วัย ป้องภัย" ชาวบ้านตามุยอีกคน เล่าว่า หลังจากทราบว่าจะมีการสร้างเขื่อนบ้านกุ่ม จึงปรึกษากับชาวบ้าน รวมถึงนักวิชาการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักการเมืองท้องถิ่น เพื่อมาร่วมหารือและร่วมกับชาวบ้านอีกหลายหมู่บ้าน ได้ข้อสรุปว่า ไม่ควรจะมีการสร้างเขื่อนในพื้นที่แม่น้ำโขง จึงออกมาคัดค้านตั้งแต่ปี 2550
"ผมทำเกษตรหมุนเวียนเป็นหลัก ปลูกพืชริมโขง ทำไร่นา เก็บเห็ดเก็บผักขายหมุนเวียนไปทั้งปี และหาปลาในน้ำโขงด้วย ยอมรับว่าได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ถ้ามีการสร้างเขื่อนบ้านกุ่ม รวมถึงเขื่อนอื่นๆ อีก 11 เขื่อนในแม่น้ำโขง จะเกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนริมฝั่งโขงอย่างแน่นอน เพราะทุกวันนี้น้ำขึ้นน้ำลง ไม่เหมือนดังแต่ก่อน ตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนที่ประเทศจีนแล้ว นับว่าบ้านตามุยได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนมานานมาก"
"วัย" ย้อนอดีตว่า สมัยก่อนน้ำขึ้นน้ำลดตามฤดูกาล ทำให้สามารถปลูกพืชริมฝั่งได้ง่าย แต่ปัจจุบันไม่สามารถคาดคะเนได้ว่าน้ำจะขึ้นเมื่อไหร่ จะลงตอนไหน ทำให้พืชผักของชาวบ้านได้รับผลกระทบ เสียหาย อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านยังมีความจำเป็นที่จะต้องปลูกพืช เพื่อเป็นแหล่งอาหารเลี้ยงชีพ
แม้แต่ "ลำไพ สุทธิพันทอง" วัย 56 ปี ชาวประมงบ้านตามุย ยอมรับว่า ไม่อยากให้มีการสร้างเขื่อนในพื้นที่อีก เพราะทุกวันนี้สิ่งที่เกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนจากประเทศจีนส่งผลกระทบมาถึงที่นี่แล้ว หากมีการสร้างเขื่อนเพิ่มขึ้นเพื่อกั้นแม่น้ำโขง คงไม่มีใครกล้ารับปากอย่างชัดเจนว่าจะไม่มีผลกระทบให้แก่คนในพื้นที่ วิถีชีวิตของคนที่หมู่บ้านอาจจะสูญหายไป ไม่มีใครที่จะสามารถเรียกกลับคืนมาได้
ส่วน "หาญณรงค์ เยาวเลิศ" ประธานมูลนิธิการจัดการน้ำแบบบูรณาการ ระบุว่า จากการสร้างเขื่อนเป็นการปิดแม่น้ำสายใหญ่ โดยเฉพาะชาวบ้านที่มีอาชีพประมง สิ่งที่ได้รับผลกระทบสำคัญคือ ปลาอพยพจะหายไปจากพื้นที่ ส่งผลให้ปลาบางสายพันธุ์อาจหายไปจากลำน้ำ และเมื่อน้ำสูงขึ้น วิธีหาปลาก็จะยากขึ้นตามไปด้วย จะส่งผลให้ชาวบ้านอาจต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในการหาปลาแบบใหม่ เพราะใช้วิถีแบบเดิมไม่ได้แล้ว สุดท้ายปลาที่เคยหาได้ก็จะหาไม่ได้ และแนวโน้มปลาใหญ่ ถ้ามีการสร้างเขื่อนก็จะหายไป ทางเขื่อนจะสร้างเขื่อนแบบขั้นบันได ไม่ใช่เหมือนบันไดปลาโจนอย่างที่เขื่อนปากมูลทำ ส่งผลให้ไม่มีความชัดเจนว่าเป็นแบบไหนที่เอามาใช้
ที่สำคัญการออกแบบได้ศึกษาชนิดปลาหรือไม่ เพราะปลาในแม่น้ำโขงไม่ใช่ปลากระโดด และไม่ใช่ปลาที่อพยพ จากการศึกษายังไม่มีการออกแบบบันไดที่นำมาใช้กับปลาในแม่น้ำโขงได้จริง นอกจากผลกระทบทางด้านปลาแล้ว ในเรื่องของเกษตรริมน้ำโขง โดยทั่วไปนั้น พื้นที่เกษตรริมโขงมีน้อยอยู่แล้ว หากมีเขื่อนเกษตรริมโขงจะหายไปเลย บางรายไม่มีรายได้อื่นเลย นอกจากเพาะปลูกพืชผัก ดังนั้นเขื่อนจึงส่งผลกระทบต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนริมน้ำโขง ส่วนที่เหลือคือ บางพื้นที่ท้ายน้ำยังไม่มีความแน่ชัดถึงวิธีการเปิด-ปิดน้ำ จะควบคุมด้วยระบบไหน ไม่ว่าจะเป็นระบบนิเวศลำน้ำ หรือต้องการผลิตไฟฟ้าสูงสุด
"หากผลิตไฟฟ้าการเปิด-ปิดน้ำขึ้นอยู่กับการผลิตไฟฟ้า จะส่งผลให้ฤดูแล้งน่ากังวล เพราะแรงดันของน้ำจะมีผลต่อท้ายน้ำ อาจจะทำให้ตลิ่งพังได้ เห็นได้จากหลายพื้นที่ทางเหนือพบว่า ตลิ่งพัง สุดท้ายก็หาคนมารับผิดชอบไม่ได้ หากดูการศึกษาก่อนในช่วงบนของเขื่อนอื่นๆ ทำให้พบว่า เวลาสร้างเขื่อนแล้ว ความเสียหายที่เกิดขึ้นในท้ายน้ำลงไป การที่จะพิสูจน์ของชาวบ้านนั้น อาจทำให้หมดแรงเสียก่อน เพราะเป็นผลระยะยาว ดังนั้นชาวบ้านต้องรวมตัวกัน แสดงความเข้มแข็ง ถือเป็นจุดยืนที่แน่วแน่ของชุมชน" หาญณรงค์ แนะนำ
ด้าน "ชาลิน กันแพงศรี" ประธานเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน บอกว่า การสร้างเขื่อนมีผลกระทบต่อประชาชนอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องวิถีชีวิตชาวริมโขงที่มีมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษที่ได้มาตั้งรกรากอยู่อาจจะหายไป ไม่ว่าจะเป็นการหาปลา เกษตรกรรมริมแม่น้ำโขง นับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องให้ความสนใจ นอกจากนี้ยังอาจจะเป็นการเปลี่ยนระบบนิเวศของพันธุ์ปลาในพื้นที่ให้สูญหายไป
ตัวอย่างเขื่อนที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเขื่อนปากมูล ซึ่งมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวบ้าน พื้นที่ทำกิน ส่วนเขื่อนไซยะบุรี ผลกระทบชัดเจนในเรื่องของการประมง ส่วนใหญ่ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจะสะท้อนให้เห็นถึงพื้นที่น้ำท่วม พื้นที่ป่า และพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน ทุกวันนี้มีหลายองค์กรได้ออกมาแสดงจุดยืน เพื่อให้โครงการสร้างเขื่อนกั้นน้ำโขงนี้ หยุดไม่ให้เกิดผลกระทบในระยะยาวตามมา
"ส่วนในเรื่องที่เขื่อนที่จะสร้างขึ้นมาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า จะเป็นการสร้างผลกระทบอีกรอบในเมืองไทย คือ เรื่องของสายส่งไฟฟ้าแรงสูงที่จะเข้ามาทางท่าลี่ จ.เลย หนองบัวลำภู และมาพักที่ขอนแก่น หลังจากนี้จะแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าแรงต่ำแล้วส่งไปขายให้ต่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง ฉะนั้นคนไทยเพียง 20% เท่านั้น ที่จะได้ใช้ไฟฟ้าจากเขื่อนผลิตไฟฟ้าจากประเทศลาว และอีก 20% รองรับอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นในเมืองไทยในอนาคต หากมองถึงผลกระทบต่อชุมชน และชาวบ้าน นอกจากเริ่มตั้งแต่การสร้างเขื่อนที่มีผลกระทบต่อลำน้ำตลอดสาย อีกผลกระทบที่จะเกิดขึ้น คือ เส้นทางของสายไฟฟ้าแรงสูงที่ผ่านที่ดินทำกินของชาวบ้านอีกทางหนึ่งเหมือนกัน" ชาลิน บอก
แม้เขื่อนบ้านกุ่ม ยังมาไม่ถึง แต่ก็ส่งผลกระทบในด้านอาชีพ และวิถีชีวิตของชาวบ้านที่นี่แล้ว อย่างน้อยก็ทำให้สภาพจิตใจของพวกเขาที่เคยหาอยู่หากินอย่างมีความสุข กลับต้องมาวิตกกังวลมากขึ้น เพราะเขื่อนที่ไม่ใช่ความต้องการและไม่ใช่คำตอบของคนที่นี่ แต่เป็นความต้องการและคำตอบของคนจากถิ่นอื่น ที่เข้ามาทำให้พวกเขาต้องแบกรับภาระและความขมขื่นใจ
........................................
(หมายเหตุ : 'เขื่อนบ้านกุ่ม' มรสุมชีวิตริมโขง'ชาวตามุย' : เรื่อง : ปัญญาพร สายทอง / ภาพ : ณัชพล คิดดี)