ทำใจยากมั้ย?? ส่งญาติผู้ใหญ่อายุเฉียดร้อย ตีตั๋วเที่ยวเดียวบินตรงจากสวิตเซอร์แลนด์ เข้า “เนิร์สซิงโฮม” ใน “ไทย”
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000001402
เอเจนซีส์ - บีบีซี สื่ออังกฤษรายงานว่าในดินแดนโลกตะวันตกที่มีระบบสาธารณสุขที่แพงหูฉี่ และทุกอย่างที่ดูแพงไปหมด กระนั้นยังเป็นการยากที่จะทำใจสำหรับลูกหลานที่ต้องซื้อตั๋วโดยสารเครื่องบินเที่ยวเดียวสำหรับญาติที่มีอายุมากเพื่อส่งไปยังบ้านพักเนิร์สซิงโฮมสำหรับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะที่ต้องห่างบ้านไกลจากสวิตเซอร์แลนด์ไปยังไทยที่ตั้งอยู่ห่างกว่า 8,000 ไมล์
ซีเบิล วีดเมอร์ เป็นชาวเมืองซูริก สวิตเซอร์แลนด์ และกำลังจัดกระเป๋าเดินทางส่วนตัวของเธอเพื่อการเดินทางไปยังประเทศไทย แต่นี่ไม่ใช่การพักผ่อนที่ธรรมดาในช่วงวันหยุด เพราะเธอต้องการเดินทางเพื่อไปเยี่ยมแม่ที่ขณะนี้อยู่ในบ้านพักเนิร์สซิงโฮมในเชียงใหม่ ที่อยู่ทางภาคเหนือของไทย
“ในตอนแรกคนที่รู้เรื่องนี้ต่างพากันตกใจกันหมดและกล่าวว่า “คุณทำอย่างนี้ได้อย่างไร? คุณกล้าที่จะทำถึงขนาดนี้เหรอ คุณไปเยี่ยมเธอไม่ได้นะ!” วีดเมอร์กล่าว
และวีดเมอร์ได้กล่าวต่อว่า “ดิฉันเลยตอบกลับไปว่าถ้าหากดิฉันไปเยี่ยมแม่ซึ่งพักในซูริก อีกครึ่งชั่วโมงต่อมาแม่ก็ไม่รู้อะไรแล้ว เธอจำอะไรไม่ได้แล้ว”
เอลิซซาเบธ แม่ของวีดเมอร์ที่มีอายุสูงถึง 91 ปี และยังป่วยด้วยโรคสมองเสื่อมได้พักอยู่ในเนิร์สซิงโฮมที่เชียงใหม่พร้อมกับกลุ่มผู้สูงวัยชาวสวิสและเยอรมันอีกหลายสิบคนมากว่า 4 ปีแล้ว กระนั้นเธอยังพยายามที่จะจำเหตุการณ์ในปัจจุบันให้ได้
“ดิฉันเพิ่งมาอยู่ที่นี่ได้ไม่นาน แต่ทุกอย่างดีไปหมด และเจ้าหน้าที่ดูแลนิสัยดีมากๆ แต่ดิฉันยังต่ออยู่ที่นี่อีกนานเท่าไร? ”เอลิซซาเบธกล่าว และเมื่อเธอรู้ว่าเธออยู่ที่เชียงใหม่มาเป็นเวลาถึง 4 ปี แล้ว เอลิซซาเบธกล่าวด้วยความแปลกใจว่า “ดิฉันอยู่ที่นี่นานขนาดนั้นเชียวเหรอ? โอ้ 4 ปี ครึ่ง! ดิฉันแก่ขึ้นแล้วหรือนี่!”
หลังจากที่พิจารณาค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้วจะเข้าใจได้ทันทีว่าทำไมหลายๆ ครอบครัวในยุโรปต่างมองหาการรักษาพยาบาลด้านต่างๆ เพิ่มเติมในไทย
ค่าใช้จ่ายผู้ดูแลด้านการแพทย์สำหรับการดูแลผู้สูงอายุในไทยนั้นต่ำมากเมื่อเทียบกับโลกตะวันตก แต่ชื่อเสียงและคุณภาพบริการนั้นอยู่ในระดับเวิลด์คลาส
ในกรณีของเอลิซซาเบธนั้น ทางครอบครัวเจาะจงเลือกเมืองไทยเป็นพิเศษ เพราะเอลิซซาเบธได้เคยใช้ชีวิตในแถบเอเชียร่วมกับสามีของเธอที่เสียชีวิตไปก่อนหน้านั้น ดังนั้นการที่ต้องอยู่ที่เชียงใหม่จึงไม่ถึงกับกล่าวได้ว่าเป็นความแปลกใหม่แต่อย่างใด
แต่สำหรับลูกสาว วีดเมอร์กล่าวว่า เหตุผลสำคัญที่เธอเจาะจงเลือกเนอร์สซิงโฮมสำหรับแม่ของเธอในไทยคือ “ลักษณะของการดูแลที่แม่ของเธอจะได้รับ”
“การดูแลที่เอลิซซาเบธได้รับนั้นจะได้เป็นแบบส่วนตัว และจะให้ดิฉันพูดอย่างไรดี...และแม่ได้รับการปรนนิบัติด้วยความรัก ดิฉันไม่ลังเลเลยที่จะแนะนำให้คนอื่นนำญาติมาได้รับการดูแลที่นี่” วีดเมอร์กล่าว
การส่งญาติสูงอายุมายังเนิร์สซิงโฮมในต่างประเทศอาจเป็นทางเลือกหนึ่งในขณะนี้สำหรับครอบครัวชาวยุโรปหลายๆ ครอบครัวที่ต้องพิจารณาเนื่องจากช่องว่างระหว่างคุณภาพการให้บริการและราคาค่าบริการนั้นห่างมากขึ้นในประเทศของพวกเขา
ซึ่งปัญหาที่มีคือมีความต้องการของตลาดที่เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีแนวโน้มที่คนจะมีชีวิตที่ยาวนานมากขึ้นพร้อมกับมีปัญหาสุขภาพเรื้อรังเพิ่มขึ้น
โดยองค์การอนามัยโลกได้เผยตัวเลขทางสถิติชี้ว่า ก่อนปี 2050 ประชากรทั่วโลกที่มีอายุเกิน 85 ปีจะเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่าสูงถึง 395 ล้านคน ซึ่งเป็นวัยที่ 1 ใน 6 จะต้องป่วยเป็นโรคความจำเสื่อม
นอกจากนี้รายงานจากอัลไซเมอร์โซไซตี ได้ชี้ว่า มีจำนวนราว 80% ของผู้ที่พักในเนิร์สซิงโฮมนั้นป่วยด้วยโรคสมองเสื่อม หรือมีปัญหาด้ามความจำอย่างรุนแรง ดังนั้นจึงเป็นที่แน่ชัดว่าการดูแลด้านการแพทย์มีความต้องการเพิ่มขึ้นมาก
ในสวิตเซอร์แลนด์ ครอบครัวต้องจ่ายราว 5,000-10,000 ดอลลาร์ต่อเดือน สำหรับการดูแล แต่ในไทยแล้ว การดูแลที่มาพร้อมกับแพกเกจที่ครบครันนั้นตกราว 3,000 ดอลลาร์ ต่อเดือน
ส่วนในอังกฤษ ค่าใช้จ่ายตกราว 3,600 ดอลลาร์ต่อเดือนสำหรับการดูแลแบบพื้นฐาน จนถึง 5,000 ดอลลาร์ต่อเดือนที่มีให้การดูแลทางการแพทย์ด้วย และมีข่าวเป็นระยะๆ ว่าคนชราในเนิร์สซิงโฮมที่อังกฤษนั้นถูกทำร้ายหรือถูกปล่อยให้หิวจนตาย
ในขณะที่ในไทยที่ยังคงมีวัฒนธรรมดูแลผู้ใหญ่ มาร์ติน วูดทลี ผู้อำนวยการชาวสวิสที่เนิร์สซิงโฮมแคร์ในจังหวัดเชียงใหม่ให้ความเห็นว่า คนชราชาวต่างชาติที่เข้าพักในเนิร์สซิงโฮมของเขามีความสุขกับคุณภาพการดูแลที่ดี และค่าใช้จ่ายในราคานี้ที่หาไม่ได้ในประเทศบ้านเกิด
“คุณสามารถว่าจ้างผู้ดูแล 3 คนหรือ 4 คนสำหรับผู้สูงอายุ 1 คน และคุณยังสามารถจัดให้ดูแลตลอด 24 ชั่วโมงได้ ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้เลยในยุโรป” วูดทลีกล่าว
แม้กระนั้น “ลา” เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเอลิซซาเบธที่ต้องดูแลเธอทุกวัน ไม่คิดว่าการที่ผู้สูงอายุต้องอยู่ที่เนอร์สซิงโฮมนั้นเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับครอบครัวของเธอเอง “ดิฉันคิดว่าคนสูงอายุไม่จำเป็นต้องมา แต่ถ้าต้องมา ดิฉันคิดว่าคนสูงอายุเหล่านั้นคงต้องมีปัญหากับลูกสาวของเธอ” ลาเผย “ถ้าคุณมีลูกสาวที่คอยดูแลคุณได้ที่บ้าน คุณไม่จำเป็นต้องมาพักที่เนิร์สซิงโฮม เพราะคนทั้งคู่สามารถดูแลซึ่งกันและกัน และอาศัยอยู่ร่วมด้วยกัน”
ซีเบิล วีดเมอร์ นั้นที่ผ่านมาได้พยายามที่จะดูแลแม่ แต่เพราะต้องดูแลคนป่วยด้วยโรคสมองเสื่อมนั้นทำให้เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ “ ดิฉันใช้เวลาส่วนใหญ่ดูแลเธอทุกวัน แต่ถ้าคุณต้องอยู่ใกล้ชิดกับใครซักคนมากๆ เข้าแบบที่ดิฉันเคยเป็น แม่ของดิฉันได้กลายเป็นคนก้าวร้าวไป ซึ่งทำให้สถานการณ์แย่มาก และลำบากมากที่สุดที่ต้องคอยรองรับอารมณ์ใครสักคน”
และถึงแม้ใครหลายคนต่างรู้สึกผิดที่ต้องส่งญาติอันเป็นที่รักไปยังเนิร์สซิงโฮม คริส ควิน จากอัลไซเมอร์โซไซตีกล่าวว่า “การตัดสินใจในการดูแลรักษาไม่ได้อยู่กับพวกเขาอีกต่อไป “มีหลายคนที่ยังต้องการที่จะดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ต่อไปที่บ้าน แต่พวกเขาก็ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้” ควินเผยกับบีบีซี “ทางเลือกที่ต้องส่งไปยังเนอร์สซิงโฮมนั้นจริงๆ ไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นเพราะญาติผู้สูงอาวัยพวกนั้นไม่สามารถที่จะปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้อีกต่อไป หรือได้รับอุบัติเหตุ หรือล้มป่วยลง”
แต่ถึงแม้ว่าวีดเมอร์จะอยู่ที่ซูริก และแม่ของเธออยู่เชียงใหม่ กระนั้นคนทั้งคู่ยังคุยกันเกือบทุกวันผ่านโปรแกรมสนทนาสไกป์ทางคอมพิวเตอร์ และเธอได้เดินทางมาเยี่ยมแม่ของเธอที่เมืองไทยอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี
แต่อย่างไรก็ตาม มาคัส เลสเซอร์ แห่งสมาคมเนิร์สซิงโฮมของสวิตเซอร์แลนด์ ไม่เห็นด้วยที่ต้องส่งญาติไปยังเนิร์สซิงโฮมในต่างแดน “การที่ต้องส่งญาติตัวเองไปยังเนิร์สซิงโฮมถือเป็นก้าวสำคัญ และยิ่งต้องส่งไปไกลถึงประเทศไทยนับว่าเป็นก้าวที่สำคัญยิ่งกว่าเพราะปัญหาด้านภาษา คุณต้องถูกพรากจากครอบครัวของคุณ”
นอกจากนี้ เลสเซอร์ยังกล่าวต่อไปว่า “แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายต้องถูกกว่าถ้าส่งไปประเทศไทย แต่การตัดสินใจสำหรับพ่อหรือแม่ของผมแล้ว ผมคิดว่าไม่ควรนำเรื่องเงินมาเป็นประเด็น”
แม้กระนั้น คนในวัยกลางคนเช่น 40 และ 50 ปีเหล่านี้ที่กำลังประสบปัญหาวิกฤตการเงินโลกในขณะที่ต้องเลี้ยงดูครอบครัวตนเองและพ่อแม่ที่ชรา ดังนั้นจึงหมายความว่าคงมีอีกหลายคนที่เป็นเหมือนเอลิซซาเบธที่ต้องอยู่ในเนิร์สซิงโฮมที่ห่างจากบ้านไกลมาก
ทำใจยากมั้ย?? ส่งญาติผู้ใหญ่อายุเฉียดร้อย ตีตั๋วเที่ยวเดียวบินตรงจากสวิตเซอร์แลนด์ เข้า “เนิร์สซิงโฮม” ใน “ไทย”
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000001402
เอเจนซีส์ - บีบีซี สื่ออังกฤษรายงานว่าในดินแดนโลกตะวันตกที่มีระบบสาธารณสุขที่แพงหูฉี่ และทุกอย่างที่ดูแพงไปหมด กระนั้นยังเป็นการยากที่จะทำใจสำหรับลูกหลานที่ต้องซื้อตั๋วโดยสารเครื่องบินเที่ยวเดียวสำหรับญาติที่มีอายุมากเพื่อส่งไปยังบ้านพักเนิร์สซิงโฮมสำหรับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะที่ต้องห่างบ้านไกลจากสวิตเซอร์แลนด์ไปยังไทยที่ตั้งอยู่ห่างกว่า 8,000 ไมล์
ซีเบิล วีดเมอร์ เป็นชาวเมืองซูริก สวิตเซอร์แลนด์ และกำลังจัดกระเป๋าเดินทางส่วนตัวของเธอเพื่อการเดินทางไปยังประเทศไทย แต่นี่ไม่ใช่การพักผ่อนที่ธรรมดาในช่วงวันหยุด เพราะเธอต้องการเดินทางเพื่อไปเยี่ยมแม่ที่ขณะนี้อยู่ในบ้านพักเนิร์สซิงโฮมในเชียงใหม่ ที่อยู่ทางภาคเหนือของไทย
“ในตอนแรกคนที่รู้เรื่องนี้ต่างพากันตกใจกันหมดและกล่าวว่า “คุณทำอย่างนี้ได้อย่างไร? คุณกล้าที่จะทำถึงขนาดนี้เหรอ คุณไปเยี่ยมเธอไม่ได้นะ!” วีดเมอร์กล่าว
และวีดเมอร์ได้กล่าวต่อว่า “ดิฉันเลยตอบกลับไปว่าถ้าหากดิฉันไปเยี่ยมแม่ซึ่งพักในซูริก อีกครึ่งชั่วโมงต่อมาแม่ก็ไม่รู้อะไรแล้ว เธอจำอะไรไม่ได้แล้ว”
เอลิซซาเบธ แม่ของวีดเมอร์ที่มีอายุสูงถึง 91 ปี และยังป่วยด้วยโรคสมองเสื่อมได้พักอยู่ในเนิร์สซิงโฮมที่เชียงใหม่พร้อมกับกลุ่มผู้สูงวัยชาวสวิสและเยอรมันอีกหลายสิบคนมากว่า 4 ปีแล้ว กระนั้นเธอยังพยายามที่จะจำเหตุการณ์ในปัจจุบันให้ได้
“ดิฉันเพิ่งมาอยู่ที่นี่ได้ไม่นาน แต่ทุกอย่างดีไปหมด และเจ้าหน้าที่ดูแลนิสัยดีมากๆ แต่ดิฉันยังต่ออยู่ที่นี่อีกนานเท่าไร? ”เอลิซซาเบธกล่าว และเมื่อเธอรู้ว่าเธออยู่ที่เชียงใหม่มาเป็นเวลาถึง 4 ปี แล้ว เอลิซซาเบธกล่าวด้วยความแปลกใจว่า “ดิฉันอยู่ที่นี่นานขนาดนั้นเชียวเหรอ? โอ้ 4 ปี ครึ่ง! ดิฉันแก่ขึ้นแล้วหรือนี่!”
หลังจากที่พิจารณาค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้วจะเข้าใจได้ทันทีว่าทำไมหลายๆ ครอบครัวในยุโรปต่างมองหาการรักษาพยาบาลด้านต่างๆ เพิ่มเติมในไทย
ค่าใช้จ่ายผู้ดูแลด้านการแพทย์สำหรับการดูแลผู้สูงอายุในไทยนั้นต่ำมากเมื่อเทียบกับโลกตะวันตก แต่ชื่อเสียงและคุณภาพบริการนั้นอยู่ในระดับเวิลด์คลาส
ในกรณีของเอลิซซาเบธนั้น ทางครอบครัวเจาะจงเลือกเมืองไทยเป็นพิเศษ เพราะเอลิซซาเบธได้เคยใช้ชีวิตในแถบเอเชียร่วมกับสามีของเธอที่เสียชีวิตไปก่อนหน้านั้น ดังนั้นการที่ต้องอยู่ที่เชียงใหม่จึงไม่ถึงกับกล่าวได้ว่าเป็นความแปลกใหม่แต่อย่างใด
แต่สำหรับลูกสาว วีดเมอร์กล่าวว่า เหตุผลสำคัญที่เธอเจาะจงเลือกเนอร์สซิงโฮมสำหรับแม่ของเธอในไทยคือ “ลักษณะของการดูแลที่แม่ของเธอจะได้รับ”
“การดูแลที่เอลิซซาเบธได้รับนั้นจะได้เป็นแบบส่วนตัว และจะให้ดิฉันพูดอย่างไรดี...และแม่ได้รับการปรนนิบัติด้วยความรัก ดิฉันไม่ลังเลเลยที่จะแนะนำให้คนอื่นนำญาติมาได้รับการดูแลที่นี่” วีดเมอร์กล่าว
การส่งญาติสูงอายุมายังเนิร์สซิงโฮมในต่างประเทศอาจเป็นทางเลือกหนึ่งในขณะนี้สำหรับครอบครัวชาวยุโรปหลายๆ ครอบครัวที่ต้องพิจารณาเนื่องจากช่องว่างระหว่างคุณภาพการให้บริการและราคาค่าบริการนั้นห่างมากขึ้นในประเทศของพวกเขา
ซึ่งปัญหาที่มีคือมีความต้องการของตลาดที่เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีแนวโน้มที่คนจะมีชีวิตที่ยาวนานมากขึ้นพร้อมกับมีปัญหาสุขภาพเรื้อรังเพิ่มขึ้น
โดยองค์การอนามัยโลกได้เผยตัวเลขทางสถิติชี้ว่า ก่อนปี 2050 ประชากรทั่วโลกที่มีอายุเกิน 85 ปีจะเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่าสูงถึง 395 ล้านคน ซึ่งเป็นวัยที่ 1 ใน 6 จะต้องป่วยเป็นโรคความจำเสื่อม
นอกจากนี้รายงานจากอัลไซเมอร์โซไซตี ได้ชี้ว่า มีจำนวนราว 80% ของผู้ที่พักในเนิร์สซิงโฮมนั้นป่วยด้วยโรคสมองเสื่อม หรือมีปัญหาด้ามความจำอย่างรุนแรง ดังนั้นจึงเป็นที่แน่ชัดว่าการดูแลด้านการแพทย์มีความต้องการเพิ่มขึ้นมาก
ในสวิตเซอร์แลนด์ ครอบครัวต้องจ่ายราว 5,000-10,000 ดอลลาร์ต่อเดือน สำหรับการดูแล แต่ในไทยแล้ว การดูแลที่มาพร้อมกับแพกเกจที่ครบครันนั้นตกราว 3,000 ดอลลาร์ ต่อเดือน
ส่วนในอังกฤษ ค่าใช้จ่ายตกราว 3,600 ดอลลาร์ต่อเดือนสำหรับการดูแลแบบพื้นฐาน จนถึง 5,000 ดอลลาร์ต่อเดือนที่มีให้การดูแลทางการแพทย์ด้วย และมีข่าวเป็นระยะๆ ว่าคนชราในเนิร์สซิงโฮมที่อังกฤษนั้นถูกทำร้ายหรือถูกปล่อยให้หิวจนตาย
ในขณะที่ในไทยที่ยังคงมีวัฒนธรรมดูแลผู้ใหญ่ มาร์ติน วูดทลี ผู้อำนวยการชาวสวิสที่เนิร์สซิงโฮมแคร์ในจังหวัดเชียงใหม่ให้ความเห็นว่า คนชราชาวต่างชาติที่เข้าพักในเนิร์สซิงโฮมของเขามีความสุขกับคุณภาพการดูแลที่ดี และค่าใช้จ่ายในราคานี้ที่หาไม่ได้ในประเทศบ้านเกิด
“คุณสามารถว่าจ้างผู้ดูแล 3 คนหรือ 4 คนสำหรับผู้สูงอายุ 1 คน และคุณยังสามารถจัดให้ดูแลตลอด 24 ชั่วโมงได้ ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้เลยในยุโรป” วูดทลีกล่าว
แม้กระนั้น “ลา” เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเอลิซซาเบธที่ต้องดูแลเธอทุกวัน ไม่คิดว่าการที่ผู้สูงอายุต้องอยู่ที่เนอร์สซิงโฮมนั้นเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับครอบครัวของเธอเอง “ดิฉันคิดว่าคนสูงอายุไม่จำเป็นต้องมา แต่ถ้าต้องมา ดิฉันคิดว่าคนสูงอายุเหล่านั้นคงต้องมีปัญหากับลูกสาวของเธอ” ลาเผย “ถ้าคุณมีลูกสาวที่คอยดูแลคุณได้ที่บ้าน คุณไม่จำเป็นต้องมาพักที่เนิร์สซิงโฮม เพราะคนทั้งคู่สามารถดูแลซึ่งกันและกัน และอาศัยอยู่ร่วมด้วยกัน”
ซีเบิล วีดเมอร์ นั้นที่ผ่านมาได้พยายามที่จะดูแลแม่ แต่เพราะต้องดูแลคนป่วยด้วยโรคสมองเสื่อมนั้นทำให้เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ “ ดิฉันใช้เวลาส่วนใหญ่ดูแลเธอทุกวัน แต่ถ้าคุณต้องอยู่ใกล้ชิดกับใครซักคนมากๆ เข้าแบบที่ดิฉันเคยเป็น แม่ของดิฉันได้กลายเป็นคนก้าวร้าวไป ซึ่งทำให้สถานการณ์แย่มาก และลำบากมากที่สุดที่ต้องคอยรองรับอารมณ์ใครสักคน”
และถึงแม้ใครหลายคนต่างรู้สึกผิดที่ต้องส่งญาติอันเป็นที่รักไปยังเนิร์สซิงโฮม คริส ควิน จากอัลไซเมอร์โซไซตีกล่าวว่า “การตัดสินใจในการดูแลรักษาไม่ได้อยู่กับพวกเขาอีกต่อไป “มีหลายคนที่ยังต้องการที่จะดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ต่อไปที่บ้าน แต่พวกเขาก็ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้” ควินเผยกับบีบีซี “ทางเลือกที่ต้องส่งไปยังเนอร์สซิงโฮมนั้นจริงๆ ไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นเพราะญาติผู้สูงอาวัยพวกนั้นไม่สามารถที่จะปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้อีกต่อไป หรือได้รับอุบัติเหตุ หรือล้มป่วยลง”
แต่ถึงแม้ว่าวีดเมอร์จะอยู่ที่ซูริก และแม่ของเธออยู่เชียงใหม่ กระนั้นคนทั้งคู่ยังคุยกันเกือบทุกวันผ่านโปรแกรมสนทนาสไกป์ทางคอมพิวเตอร์ และเธอได้เดินทางมาเยี่ยมแม่ของเธอที่เมืองไทยอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี
แต่อย่างไรก็ตาม มาคัส เลสเซอร์ แห่งสมาคมเนิร์สซิงโฮมของสวิตเซอร์แลนด์ ไม่เห็นด้วยที่ต้องส่งญาติไปยังเนิร์สซิงโฮมในต่างแดน “การที่ต้องส่งญาติตัวเองไปยังเนิร์สซิงโฮมถือเป็นก้าวสำคัญ และยิ่งต้องส่งไปไกลถึงประเทศไทยนับว่าเป็นก้าวที่สำคัญยิ่งกว่าเพราะปัญหาด้านภาษา คุณต้องถูกพรากจากครอบครัวของคุณ”
นอกจากนี้ เลสเซอร์ยังกล่าวต่อไปว่า “แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายต้องถูกกว่าถ้าส่งไปประเทศไทย แต่การตัดสินใจสำหรับพ่อหรือแม่ของผมแล้ว ผมคิดว่าไม่ควรนำเรื่องเงินมาเป็นประเด็น”
แม้กระนั้น คนในวัยกลางคนเช่น 40 และ 50 ปีเหล่านี้ที่กำลังประสบปัญหาวิกฤตการเงินโลกในขณะที่ต้องเลี้ยงดูครอบครัวตนเองและพ่อแม่ที่ชรา ดังนั้นจึงหมายความว่าคงมีอีกหลายคนที่เป็นเหมือนเอลิซซาเบธที่ต้องอยู่ในเนิร์สซิงโฮมที่ห่างจากบ้านไกลมาก