ยินดีที่ได้พบกันอีกครั้งครับ ^ ^
เรื่องนี้ขอลัดคิวขยะอวกาศมาก่อน เพราะเป็นข่าวปิดท้ายปี + ต้อนรับปีใหม่พอดี
สำหรับกระทู้เกี่ยวกับขยะอวกาศ ผมจะปล่อยลงหว้ากอในวันเกิดผม (13 มกราคม) ละกันนะครับทุกท่าน
เนื่องจากกระทู้นี้เป็นกระทู้ไม่ใช่กระทู้ที่ผมเขียนเองทั้งหมด ถึงจะพิมพ์เองหมดก็ตาม...
บทความที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเนื้อหาที่แปลมาจากเว็บข่าวดาราศาสตร์ประจำของผม (20%) และส่วนเสริมที่ผมเพิ่มเติมเพื่อให้ข้อมูลละเอียดขึ้น (อีก 80%) ครับ
เครดิตหลัก
http://www.universetoday.com/107628/universe-todays-top-10-or-so-stories-of-2013/
http://www.universetoday.com/107645/space-science-stories-to-watch-in-2014/
โดยเริ่มจาก
สรุปข่าวเด่นวงการดาราศาสตร์ประจำปี 2013
12 อันดับครับ
อันดับที่ว่าเป็นอันดับของทางเว็บเขา ผมไม่ได้เรียงเองแต่อย่างใด ไล่จากหลังสุดขึ้นมาเลยก็แล้วกันครับ
12. ยาน Juno บินเฉียดโลก
ก่อนอื่นขอแนะนำตัวละครก่อน ว่า Juno นี้เป็นใครกัน?
ภาพ CGI ของยาน Juno
ยาน Juno ราคาพันกว่าล้าน $ ถูกยิงขึ้นจากโลกไปตั้งแต่สิงหาคม 2011 แล้ว โดยมีเป้าหมายไปโคจรรอบดาวพฤหัสบดี และไขปริศนาที่ยานรุ่นพี่อย่างกาลิเลโอทิ้งไว้ให้เป็นภูเขาเลากา
Juno เองยังเป็นยานสำรวจดาวเคราะห์วงนอกรุ่นใหม่ที่ใช้ระบบให้พลังงานต่างไปจากยานรุ่นก่อนๆทั้งหมดด้วย
**ณ ปัจจุบัน สหรัฐเป็นชาติเดียวที่สามารถส่งยานอวกาศออกไปไกลกว่าดาวอังคารได้ นับตั้งแต่ไพโอเนียร์ 10-11 วอยเอเจอร์1-2 กาลิเลโอ แคสสินี และนิว ฮอไรซอน รวม 7 ลำ ทุกลำใช้แหล่งพลังงานเดียวกันคือ... RTG เตาพลังงานคู่ควบความร้อนจากกัมมันตรังสี
ซึ่งอาศัยหลักของคู่ควบความร้อน (ใช้โลหะสองชนิดวางไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิต่างกัน จะเกิดความต่างศักย์ระหว่างโลหะทั้งสองและให้ไฟฟ้าได้)**
Juno เขาใช้แผงเซลล์สุริยะครับ อันเนื่องมาจากวิกฤตพลูโตเนียมของ NASA ที่จะหมดคลังอยู่รอมร่อ
ดาวพฤหัสอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากกว่าโลกเกิน 5 เท่า นั่นหมายถึงความเข้มแสงอาทิตย์เหลือแค่ประมาณ 3% ของที่โลกได้รับเท่านั้น แผงโซลาเซลล์ที่ใช้จึงต้องเป็นชนิดพิเศษที่ให้ไฟฟ้าได้มาก ไม่แค่นั้น มันต้องใหญ่เอามากๆด้วย
Juno เป็น ยานอวกาศพร้อมแผงโซลาเซลล์
ยักษ์ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยส่งกันมา เลยครับ ด้วยโซลาเซลล์สามแผง พื้นที่รวมกว่า
60 ตารางเมตร (ใหญ่กว่าห้องคอนโดผมสองเท่า เหยด!)
เครื่องมือวิทยาศาสตร์บนยานนี้หลายชิ้นจะพยายามไขปริศนาถึงกำเนิดและพฤติกรรมของสนามแม่เหล็กขนาดมหึมาของดาวพฤหัส อันเป็นดาวเคราะห์ที่มีสนามแม่เหล็กทรงพลังที่สุดในระบบสุริยะ, ตรวจสอบธาตุและกำเนิดของดาวพฤหัส, ศึกษาระบบบรรยากาศซับซ้อนและพลวัตภายในของดาว, ตรวจมวลและแกนดาวพฤหัส
รวมไปถึงออโรร่า ผลของลมสุริยะต่อสนามแม่เหล็กของดาวพฤหัส และทดสอบทฤษฎีสัมพัทธภาพบางอย่างแถวนั้นด้วย
นอกจากเครื่องมือวิทยาศาสตร์หลายชิ้น Juno ยังเอานี่ไปด้วย
รูปซ้ายคือแผ่นป้ายพร้อมคำสดุดีต่อกาลิเลโอ บิดาแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ และนักดาราศาสตร์คนแรกที่ศึกษาดาวพฤหัสอย่างจริงจัง
ด้านขวาเป็นเลโก้... ครับ อ่านไม่ผิดหรอก เลโก้ ไล่จากบนลงล่างคือ เทพเจ้าจูปีเตอร์ ภรรเมียของท่าน Juno และกาลิเลโอ
นอกจากนี้ Juno ยังเล่นท่ายากด้วย (ไม่ๆ ผมไม่ได้หมายถึงเมียของจูปีเตอร์ ผมหมายถึงยาน) คือการเข้าวงโคจรแบบ Polar หรือโคจรผ่านขั้วเหนือ-ใต้ ซึ่งทำได้ยากกว่าเข้าวงโคจรผ่านศูนย์สูตรมากๆ
เนื่องจากการศึกษาสนามแม่เหล็กนั้นจำเป็นต้องใช้วงโคจรลักษณะนี้
เส้นทางสู่ดาวพฤหัสของ Juno จะกินเวลา 5 ปี ตามกำหนดจะเข้าวงโคจรในปี 2016 ครับ เมื่อถึงวันนั้น ยานจะเดินทางได้ร่วม 2,800 ล้านกิโลเมตร เท่ากับขับรถไป-กลับกรุงเทพเชียงใหม่
สองล้านรอบเชียวล่ะ!
เพราะดาวพฤหัสอยู่ไกลเอามากๆ ยานมวลเกือบ 4 ตันอย่าง Juno ไม่มีพลังพอจะยิงยาวทีเดียวถึงดาวพฤหัสได้ เลยจำเป็นต้องใช้กระบวนการที่เรียกเป็นภาษาวิชาการว่า
"Gravity assist" เรียกง่ายๆหน่อยก็ Slingshot หรือ Flyby ดาวซักดวงระหว่างทาง
เพื่อให้ดาวดวงนั้นเร่งความเร็วให้
เหมือนเรานั่งชิงช้าแล้วมันไกวไม่สะใจ เลยต้องให้เพื่อนช่วยผลักให้นั่นแหละครับ เพื่อนที่ว่านั้นสำหรับ Juno คือโลกของเราเอง
เส้นทางการเดินทางของ Juno ตั้งแต่โลกถึงเป้าหมาย
9 ตุลาคม 2013 Juno บินเฉียดโลก ทีมงานที่ NASA ตั้งใจจะทดสอบอุปกรณ์หลายชิ้นรวมถึงให้ยานถ่ายภาพการบินผ่านโลกอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ด้วย
แต่แล้วปัญหาที่ทำให้หัวอกหัวใจทีมงาน NASA แทบจะหล่นลงไปถึงตาตุ่มคือ... ช่วงที่ยานกำลังเฉียดโลก ตัวยานดันเข้าสู่โหมด
"standby" กะทันหันแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย
เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นแล้วหลายครั้งกับยานที่มา Flyby โลก บ้างก็ระบบดับ บ้างก็ flyby ออกมาไม่ตรงกับที่คำนวณ(ผิดไปนิดหน่อย) โดยสาเหตุนั้น.... ยังไม่มีใครรู้ มาเป็นกับโลกดวงเดียวซะด้วย และไม่ได้เกิดกับยานทุกลำ
โชคดีที่ยานทุกลำซึ่งเกิดเรื่องลึกลับนี้ขึ้นก็ออกไปจากโลกได้อย่างปลอดภัย Juno ก็เช่นกัน เฮ!!
เส้นทางการเคลื่อนที่ของ Juno ผ่านโลก
ห้าวันหลังจากผ่านโลกไป วิศวกรที่ NASA ก็ทำให้ Juno ออกจากโหมด stanby ได้ และได้รับข้อมูลซึ่งมันเก็บไว้ในหน่วยความจำมาเสียด้วย
เนื่องจากปัญหาต่อยาน การถ่ายภาพเลยไม่ได้ต่อเนื่องตามที่วางแผนไว้ แถมภาพที่ได้ก็ไม่ได้ละเอียดมากนัก... แต่เอาน่ะ นี่ก็เป็นครั้งแรกที่เราทำสำเร็จเหมือนกัน
ตัวอย่างภาพถ่ายจากยาน Juno
คลิปแสดงภาพต่อเนื่องการ Flyby โลกของ Juno
Juno ยังต้องเดินทางอีกยาวนาน จนถึงกรกฎาคม 2016 มันถึงจะไปพบกับดาวพฤหัสได้ครับ
สู้ต่อไป Cheer!
=======================================================
11. NASA จอฟ้า!, US Goverment shutdown
เว็บไซต์ NASA ปิดตัวชั่วคราว
เป็นข่าวดังกันไปทั่วโลกเลยทีเดียว กับปัญหาเพดานหนี้ ปัญหางบประมาณและการถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อนในรัฐสภาสหรัฐ อันนำมาซึ่งเหตุการณ์ Goverment shutdown นาน 16 วัน
หน่วยงานรัฐทั้งหมด และ... NASA ก็โดนหางเลขไปตามๆกัน พนักงานและลูกจ้างกว่า 18,000 คนก็ไปทำงานไม่ได้
สื่อต่างๆจาก NASA ทั้งหมดตั้งแต่ NASA TV ทวิตเตอร์ เฟสบุ๊ก และเว็บไซต์ ปิดกันระนาว
เหตุการณ์ยาวนาน 16 วัน เริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคมไป ก็ดูเหมือนไม่น่ากระทบอะไร แต่จริงๆมันกระทบอยู่เยอะทีเดียวครับ
ยาน Juno ข้างบนไง! มันจะ flyby โลกวันที่ 9 ตุลา จะให้มันเบรครอรัฐบาลแก้ปัญหาเสร็จก็ไม่ได้อีกด้วย
อีกลำที่เจอเหมือนกันคือยานสำรวจดาวอังคาร MAVEN ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นสุดท้าย ก่อนเส้นตายปล่อยยาน 18 พฤศจิกายน
ที่ร้ายแรงที่สุดคือเส้นตายนี้เลื่อนไม่ได้ เพราะหากเลยไปล่ะก็ ดาวอังคารจะอยู่ในตำแหน่งไม่เหมาะต่อการส่งยานสำรวจ และต้องรอไปอีกถึง
2 ปีเต็ม
รวมไปถึงการควบคุม รับส่ง และสั่งการยานอีกหลายลำก็ได้รับผลกระทบไปตามๆกัน
สองสามวันแรกหลัง Goverment shutdown เริ่มขึ้น บรรดานักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และลูกจ้างแขนงต่างๆของ NASA เริ่มพยายามผลักดันให้ NASA ทำงานอีกครั้ง
แม้พวกเขาจะไม่ได้ค่าจ้าง (แหงล่ะ งบประมาณไม่มีนี่นะ) คนใน NASA ทุกระดับตั้งแต่ผู้บริหารลงมาก็ตัดสินใจลุยงานกันต่อตั้งแต่ 4 ตุลาคม
ในที่สุดเมื่อวิกฤตรัฐบาลจบลง NASA ก็รับผลกระทบไปเพียงเล็กน้อย... MAVEN เสร็จทันกำหนดปล่อย และภารกิจอื่นๆดำเนินต่อไปได้ตามปกติ
แต่บทเรียน Goverment shutdown ครั้งนี้ก็สำคัญกับ NASA อยู่ไม่น้อย
ด้วยงบประมาณที่จำกัดมากขึ้นทุกที นโยบายในอนาคตของ NASA จะต้องพึ่งพารัฐบาลน้อยลง และใช้เอกชนมากขึ้น การร่วมวิจัยกับมหาวิทยาลัยและบริษัทต่างๆ(ซึ่งเดิมมีอยู่แล้ว) จะต้องมีมากขึ้นอีก
รวมถึงการตัดสินใจพัฒนาภารกิจการสำรวจอวกาศราคาต่ำ ส่งถี่ขึ้น แทนที่จะเป็นอภิมหาโปรเจ็คที่ใช้เวลาพัฒนาเป็นสิบๆปีแทนด้วย
=======================================================
10. ภาพถ่ายโลกจากวงโคจรรอบดาวเสาร์ โดยแคสสินี
ผมให้ภาพนี้เป็นหนึ่งใน 10 ภาพถ่ายที่งดงามที่สุดทางดาราศาสตร์เลยล่ะ
Cassini ยานอวกาศสำรวจดาวเสาร์ ตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์จิโอวานนี แคสสินี นักดาราศาสตร์ยุคแรกที่เริ่มศึกษาดาวเสาร์ ถูกยิงขึ้นจากโลกตั้งแต่ปี 1997 และสำรวจดาวเสาร์มาแล้ว 9 ปีกว่า(นับจากปี 2004)
ยานลำนี้ทำงาน OT แบบไม่ได้ตังเพิ่มมาหลายปีแล้วจากภารกิจเดิมที่คาดไว้แค่ 4 ปี
ข้อมูลและการค้นพบของแคสสินี่ทำให้เราเข้าใจดาวเสาร์เพิ่มขึ้นอีกเยอะมากๆ ตั้งแต่ระบบวงแหวนสุดซับซ้อน, ดาวบริวารเลี้ยงแกะที่คอยต้อนเศษชิ้นส่วนในวงแหวนให้อยู่กับร่องกับรอย, ดวงจันทร์บริวารน้ำแข็งหลายดวงของดาวเสาร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอนซีลาดัสที่พ่นน้ำออกมาได้ ฯลฯ อีกมากมายมหาศาล
19 กรกฎาคม 2013 ดาวเสาร์อยู่ในตำแหน่งแนวเล็งกับโลกพอดี ไกลออกไปเกือบ 1,300 ล้านกิโลเมตร
แต่ NASA ตัดสินใจทำการถ่ายภาพ Mosiac
ที่ละเอียดที่สุดเท่าที่ยานลำนี้เคยทำมา โดยเล็งให้โลกอยู่ในภาพด้วย
หากทำสำเร็จ ภาพนี้จะกลายเป็นภาพถ่ายโลกจากห้วงอวกาศที่ไกลที่สุด เป็นรองแค่ Pale blue dot ซึ่งถ่ายไว้โดยวอยเอเจอร์ 1 ที่ระยะ 6,000 ล้านกิโลเมตรเท่านั้น
หลัง 4 ชั่วโมง และภาพถ่าย 320 ภาพตามตำแหน่งวงโคจร
ต้องอย่าลืมว่ายานนี้กำลังโคจรรอบดาวเสาร์ด้วยความเร็วสูงมากระดับ
หลายกิโลเมตรต่อวินาที ยานมีช่วงถ่ายภาพแค่
ครั้งเดียวคือตอนมันอ้อมไปด้านหลังดาวเสาร์ เพื่อให้ตัวดาวเสาร์คอยบังแสงเจิดจ้าของดวงอาทิตย์ไว้ และสัญญาณวิทยุจากยานใช้เวลาเดินทางไป-กลับโลกถึง
สองชั่วโมงครึ่ง
NASA ต้องโปรแกรมทั้งความเร็วชัดเตอร์ การแพนกล้อง และตำแหน่งถ่ายภาพอย่างแม่นยำล่วงหน้า จากนั้นก็รอ
และนี่คือภาพที่ได้
จุดฟ้าๆตรงกลางล่างของภาพนี่แหละครับคือโลกของเรา
กล้องพลังสูงของแคสสินียังสามารถแยกโลกกับดวงจันทร์ออกจากกันได้ชัดเจนด้วย ดังภาพข้างล่างนี้
ภาพนี้เลยกลายเป็นภาพถ่ายระบบโลก-ดวงจันทร์ที่ไกลที่สุดไปเรียบร้อย
ถัดไปคือภาพรวมแบบเต็มๆครับ งดงามเหลือเกิน ภาพที่ท่านเห็นเป็นภาพสีจริงที่แทบไร้การปรับแต่ง จำมีก็แค่ปรับโทนสีและคอนทราสเล็กน้อย เนื่องจากต้องเอาภาพเป็นร้อยมาต่อกัน มีภาพ 141 ภาพที่ใช้งานได้
แบบใหญ่มว้ากๆๆๆ
http://www.ciclops.org/view_media/38746/The-Day-the-Earth-Smiled?js=1
และ Label ถ่ายติดดาวอังคารกับศุกร์เสียด้วยครับ
=======================================================
End of Reply#0
[ECOS present...] ข่าวเด่นดาราศาสตร์ 2013 ...กับเรื่องน่าสนมากๆแห่งปี 2014
เรื่องนี้ขอลัดคิวขยะอวกาศมาก่อน เพราะเป็นข่าวปิดท้ายปี + ต้อนรับปีใหม่พอดี
สำหรับกระทู้เกี่ยวกับขยะอวกาศ ผมจะปล่อยลงหว้ากอในวันเกิดผม (13 มกราคม) ละกันนะครับทุกท่าน
เนื่องจากกระทู้นี้เป็นกระทู้ไม่ใช่กระทู้ที่ผมเขียนเองทั้งหมด ถึงจะพิมพ์เองหมดก็ตาม...
บทความที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเนื้อหาที่แปลมาจากเว็บข่าวดาราศาสตร์ประจำของผม (20%) และส่วนเสริมที่ผมเพิ่มเติมเพื่อให้ข้อมูลละเอียดขึ้น (อีก 80%) ครับ
เครดิตหลัก
http://www.universetoday.com/107628/universe-todays-top-10-or-so-stories-of-2013/
http://www.universetoday.com/107645/space-science-stories-to-watch-in-2014/
โดยเริ่มจาก
สรุปข่าวเด่นวงการดาราศาสตร์ประจำปี 2013
12 อันดับครับ
อันดับที่ว่าเป็นอันดับของทางเว็บเขา ผมไม่ได้เรียงเองแต่อย่างใด ไล่จากหลังสุดขึ้นมาเลยก็แล้วกันครับ
12. ยาน Juno บินเฉียดโลก
ก่อนอื่นขอแนะนำตัวละครก่อน ว่า Juno นี้เป็นใครกัน?
ภาพ CGI ของยาน Juno
ยาน Juno ราคาพันกว่าล้าน $ ถูกยิงขึ้นจากโลกไปตั้งแต่สิงหาคม 2011 แล้ว โดยมีเป้าหมายไปโคจรรอบดาวพฤหัสบดี และไขปริศนาที่ยานรุ่นพี่อย่างกาลิเลโอทิ้งไว้ให้เป็นภูเขาเลากา
Juno เองยังเป็นยานสำรวจดาวเคราะห์วงนอกรุ่นใหม่ที่ใช้ระบบให้พลังงานต่างไปจากยานรุ่นก่อนๆทั้งหมดด้วย
**ณ ปัจจุบัน สหรัฐเป็นชาติเดียวที่สามารถส่งยานอวกาศออกไปไกลกว่าดาวอังคารได้ นับตั้งแต่ไพโอเนียร์ 10-11 วอยเอเจอร์1-2 กาลิเลโอ แคสสินี และนิว ฮอไรซอน รวม 7 ลำ ทุกลำใช้แหล่งพลังงานเดียวกันคือ... RTG เตาพลังงานคู่ควบความร้อนจากกัมมันตรังสี
ซึ่งอาศัยหลักของคู่ควบความร้อน (ใช้โลหะสองชนิดวางไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิต่างกัน จะเกิดความต่างศักย์ระหว่างโลหะทั้งสองและให้ไฟฟ้าได้)**
Juno เขาใช้แผงเซลล์สุริยะครับ อันเนื่องมาจากวิกฤตพลูโตเนียมของ NASA ที่จะหมดคลังอยู่รอมร่อ
ดาวพฤหัสอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากกว่าโลกเกิน 5 เท่า นั่นหมายถึงความเข้มแสงอาทิตย์เหลือแค่ประมาณ 3% ของที่โลกได้รับเท่านั้น แผงโซลาเซลล์ที่ใช้จึงต้องเป็นชนิดพิเศษที่ให้ไฟฟ้าได้มาก ไม่แค่นั้น มันต้องใหญ่เอามากๆด้วย
Juno เป็น ยานอวกาศพร้อมแผงโซลาเซลล์ยักษ์ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยส่งกันมา เลยครับ ด้วยโซลาเซลล์สามแผง พื้นที่รวมกว่า 60 ตารางเมตร (ใหญ่กว่าห้องคอนโดผมสองเท่า เหยด!)
เครื่องมือวิทยาศาสตร์บนยานนี้หลายชิ้นจะพยายามไขปริศนาถึงกำเนิดและพฤติกรรมของสนามแม่เหล็กขนาดมหึมาของดาวพฤหัส อันเป็นดาวเคราะห์ที่มีสนามแม่เหล็กทรงพลังที่สุดในระบบสุริยะ, ตรวจสอบธาตุและกำเนิดของดาวพฤหัส, ศึกษาระบบบรรยากาศซับซ้อนและพลวัตภายในของดาว, ตรวจมวลและแกนดาวพฤหัส
รวมไปถึงออโรร่า ผลของลมสุริยะต่อสนามแม่เหล็กของดาวพฤหัส และทดสอบทฤษฎีสัมพัทธภาพบางอย่างแถวนั้นด้วย
นอกจากเครื่องมือวิทยาศาสตร์หลายชิ้น Juno ยังเอานี่ไปด้วย
รูปซ้ายคือแผ่นป้ายพร้อมคำสดุดีต่อกาลิเลโอ บิดาแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ และนักดาราศาสตร์คนแรกที่ศึกษาดาวพฤหัสอย่างจริงจัง
ด้านขวาเป็นเลโก้... ครับ อ่านไม่ผิดหรอก เลโก้ ไล่จากบนลงล่างคือ เทพเจ้าจูปีเตอร์ ภรรเมียของท่าน Juno และกาลิเลโอ
นอกจากนี้ Juno ยังเล่นท่ายากด้วย (ไม่ๆ ผมไม่ได้หมายถึงเมียของจูปีเตอร์ ผมหมายถึงยาน) คือการเข้าวงโคจรแบบ Polar หรือโคจรผ่านขั้วเหนือ-ใต้ ซึ่งทำได้ยากกว่าเข้าวงโคจรผ่านศูนย์สูตรมากๆ
เนื่องจากการศึกษาสนามแม่เหล็กนั้นจำเป็นต้องใช้วงโคจรลักษณะนี้
เส้นทางสู่ดาวพฤหัสของ Juno จะกินเวลา 5 ปี ตามกำหนดจะเข้าวงโคจรในปี 2016 ครับ เมื่อถึงวันนั้น ยานจะเดินทางได้ร่วม 2,800 ล้านกิโลเมตร เท่ากับขับรถไป-กลับกรุงเทพเชียงใหม่สองล้านรอบเชียวล่ะ!
เพราะดาวพฤหัสอยู่ไกลเอามากๆ ยานมวลเกือบ 4 ตันอย่าง Juno ไม่มีพลังพอจะยิงยาวทีเดียวถึงดาวพฤหัสได้ เลยจำเป็นต้องใช้กระบวนการที่เรียกเป็นภาษาวิชาการว่า "Gravity assist" เรียกง่ายๆหน่อยก็ Slingshot หรือ Flyby ดาวซักดวงระหว่างทาง
เพื่อให้ดาวดวงนั้นเร่งความเร็วให้
เหมือนเรานั่งชิงช้าแล้วมันไกวไม่สะใจ เลยต้องให้เพื่อนช่วยผลักให้นั่นแหละครับ เพื่อนที่ว่านั้นสำหรับ Juno คือโลกของเราเอง
เส้นทางการเดินทางของ Juno ตั้งแต่โลกถึงเป้าหมาย
9 ตุลาคม 2013 Juno บินเฉียดโลก ทีมงานที่ NASA ตั้งใจจะทดสอบอุปกรณ์หลายชิ้นรวมถึงให้ยานถ่ายภาพการบินผ่านโลกอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ด้วย
แต่แล้วปัญหาที่ทำให้หัวอกหัวใจทีมงาน NASA แทบจะหล่นลงไปถึงตาตุ่มคือ... ช่วงที่ยานกำลังเฉียดโลก ตัวยานดันเข้าสู่โหมด "standby" กะทันหันแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย
เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นแล้วหลายครั้งกับยานที่มา Flyby โลก บ้างก็ระบบดับ บ้างก็ flyby ออกมาไม่ตรงกับที่คำนวณ(ผิดไปนิดหน่อย) โดยสาเหตุนั้น.... ยังไม่มีใครรู้ มาเป็นกับโลกดวงเดียวซะด้วย และไม่ได้เกิดกับยานทุกลำ
โชคดีที่ยานทุกลำซึ่งเกิดเรื่องลึกลับนี้ขึ้นก็ออกไปจากโลกได้อย่างปลอดภัย Juno ก็เช่นกัน เฮ!!
เส้นทางการเคลื่อนที่ของ Juno ผ่านโลก
ห้าวันหลังจากผ่านโลกไป วิศวกรที่ NASA ก็ทำให้ Juno ออกจากโหมด stanby ได้ และได้รับข้อมูลซึ่งมันเก็บไว้ในหน่วยความจำมาเสียด้วย
เนื่องจากปัญหาต่อยาน การถ่ายภาพเลยไม่ได้ต่อเนื่องตามที่วางแผนไว้ แถมภาพที่ได้ก็ไม่ได้ละเอียดมากนัก... แต่เอาน่ะ นี่ก็เป็นครั้งแรกที่เราทำสำเร็จเหมือนกัน
ตัวอย่างภาพถ่ายจากยาน Juno
Juno ยังต้องเดินทางอีกยาวนาน จนถึงกรกฎาคม 2016 มันถึงจะไปพบกับดาวพฤหัสได้ครับ
สู้ต่อไป Cheer!
11. NASA จอฟ้า!, US Goverment shutdown
เว็บไซต์ NASA ปิดตัวชั่วคราว
เป็นข่าวดังกันไปทั่วโลกเลยทีเดียว กับปัญหาเพดานหนี้ ปัญหางบประมาณและการถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อนในรัฐสภาสหรัฐ อันนำมาซึ่งเหตุการณ์ Goverment shutdown นาน 16 วัน
หน่วยงานรัฐทั้งหมด และ... NASA ก็โดนหางเลขไปตามๆกัน พนักงานและลูกจ้างกว่า 18,000 คนก็ไปทำงานไม่ได้
สื่อต่างๆจาก NASA ทั้งหมดตั้งแต่ NASA TV ทวิตเตอร์ เฟสบุ๊ก และเว็บไซต์ ปิดกันระนาว
เหตุการณ์ยาวนาน 16 วัน เริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคมไป ก็ดูเหมือนไม่น่ากระทบอะไร แต่จริงๆมันกระทบอยู่เยอะทีเดียวครับ
ยาน Juno ข้างบนไง! มันจะ flyby โลกวันที่ 9 ตุลา จะให้มันเบรครอรัฐบาลแก้ปัญหาเสร็จก็ไม่ได้อีกด้วย
อีกลำที่เจอเหมือนกันคือยานสำรวจดาวอังคาร MAVEN ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นสุดท้าย ก่อนเส้นตายปล่อยยาน 18 พฤศจิกายน
ที่ร้ายแรงที่สุดคือเส้นตายนี้เลื่อนไม่ได้ เพราะหากเลยไปล่ะก็ ดาวอังคารจะอยู่ในตำแหน่งไม่เหมาะต่อการส่งยานสำรวจ และต้องรอไปอีกถึง 2 ปีเต็ม
รวมไปถึงการควบคุม รับส่ง และสั่งการยานอีกหลายลำก็ได้รับผลกระทบไปตามๆกัน
สองสามวันแรกหลัง Goverment shutdown เริ่มขึ้น บรรดานักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และลูกจ้างแขนงต่างๆของ NASA เริ่มพยายามผลักดันให้ NASA ทำงานอีกครั้ง
แม้พวกเขาจะไม่ได้ค่าจ้าง (แหงล่ะ งบประมาณไม่มีนี่นะ) คนใน NASA ทุกระดับตั้งแต่ผู้บริหารลงมาก็ตัดสินใจลุยงานกันต่อตั้งแต่ 4 ตุลาคม
ในที่สุดเมื่อวิกฤตรัฐบาลจบลง NASA ก็รับผลกระทบไปเพียงเล็กน้อย... MAVEN เสร็จทันกำหนดปล่อย และภารกิจอื่นๆดำเนินต่อไปได้ตามปกติ
แต่บทเรียน Goverment shutdown ครั้งนี้ก็สำคัญกับ NASA อยู่ไม่น้อย
ด้วยงบประมาณที่จำกัดมากขึ้นทุกที นโยบายในอนาคตของ NASA จะต้องพึ่งพารัฐบาลน้อยลง และใช้เอกชนมากขึ้น การร่วมวิจัยกับมหาวิทยาลัยและบริษัทต่างๆ(ซึ่งเดิมมีอยู่แล้ว) จะต้องมีมากขึ้นอีก
รวมถึงการตัดสินใจพัฒนาภารกิจการสำรวจอวกาศราคาต่ำ ส่งถี่ขึ้น แทนที่จะเป็นอภิมหาโปรเจ็คที่ใช้เวลาพัฒนาเป็นสิบๆปีแทนด้วย
10. ภาพถ่ายโลกจากวงโคจรรอบดาวเสาร์ โดยแคสสินี
ผมให้ภาพนี้เป็นหนึ่งใน 10 ภาพถ่ายที่งดงามที่สุดทางดาราศาสตร์เลยล่ะ
Cassini ยานอวกาศสำรวจดาวเสาร์ ตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์จิโอวานนี แคสสินี นักดาราศาสตร์ยุคแรกที่เริ่มศึกษาดาวเสาร์ ถูกยิงขึ้นจากโลกตั้งแต่ปี 1997 และสำรวจดาวเสาร์มาแล้ว 9 ปีกว่า(นับจากปี 2004)
ยานลำนี้ทำงาน OT แบบไม่ได้ตังเพิ่มมาหลายปีแล้วจากภารกิจเดิมที่คาดไว้แค่ 4 ปี
ข้อมูลและการค้นพบของแคสสินี่ทำให้เราเข้าใจดาวเสาร์เพิ่มขึ้นอีกเยอะมากๆ ตั้งแต่ระบบวงแหวนสุดซับซ้อน, ดาวบริวารเลี้ยงแกะที่คอยต้อนเศษชิ้นส่วนในวงแหวนให้อยู่กับร่องกับรอย, ดวงจันทร์บริวารน้ำแข็งหลายดวงของดาวเสาร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอนซีลาดัสที่พ่นน้ำออกมาได้ ฯลฯ อีกมากมายมหาศาล
19 กรกฎาคม 2013 ดาวเสาร์อยู่ในตำแหน่งแนวเล็งกับโลกพอดี ไกลออกไปเกือบ 1,300 ล้านกิโลเมตร
แต่ NASA ตัดสินใจทำการถ่ายภาพ Mosiac ที่ละเอียดที่สุดเท่าที่ยานลำนี้เคยทำมา โดยเล็งให้โลกอยู่ในภาพด้วย
หากทำสำเร็จ ภาพนี้จะกลายเป็นภาพถ่ายโลกจากห้วงอวกาศที่ไกลที่สุด เป็นรองแค่ Pale blue dot ซึ่งถ่ายไว้โดยวอยเอเจอร์ 1 ที่ระยะ 6,000 ล้านกิโลเมตรเท่านั้น
หลัง 4 ชั่วโมง และภาพถ่าย 320 ภาพตามตำแหน่งวงโคจร
ต้องอย่าลืมว่ายานนี้กำลังโคจรรอบดาวเสาร์ด้วยความเร็วสูงมากระดับหลายกิโลเมตรต่อวินาที ยานมีช่วงถ่ายภาพแค่ครั้งเดียวคือตอนมันอ้อมไปด้านหลังดาวเสาร์ เพื่อให้ตัวดาวเสาร์คอยบังแสงเจิดจ้าของดวงอาทิตย์ไว้ และสัญญาณวิทยุจากยานใช้เวลาเดินทางไป-กลับโลกถึงสองชั่วโมงครึ่ง
NASA ต้องโปรแกรมทั้งความเร็วชัดเตอร์ การแพนกล้อง และตำแหน่งถ่ายภาพอย่างแม่นยำล่วงหน้า จากนั้นก็รอ
และนี่คือภาพที่ได้
จุดฟ้าๆตรงกลางล่างของภาพนี่แหละครับคือโลกของเรา
กล้องพลังสูงของแคสสินียังสามารถแยกโลกกับดวงจันทร์ออกจากกันได้ชัดเจนด้วย ดังภาพข้างล่างนี้
ภาพนี้เลยกลายเป็นภาพถ่ายระบบโลก-ดวงจันทร์ที่ไกลที่สุดไปเรียบร้อย
ถัดไปคือภาพรวมแบบเต็มๆครับ งดงามเหลือเกิน ภาพที่ท่านเห็นเป็นภาพสีจริงที่แทบไร้การปรับแต่ง จำมีก็แค่ปรับโทนสีและคอนทราสเล็กน้อย เนื่องจากต้องเอาภาพเป็นร้อยมาต่อกัน มีภาพ 141 ภาพที่ใช้งานได้
แบบใหญ่มว้ากๆๆๆ
http://www.ciclops.org/view_media/38746/The-Day-the-Earth-Smiled?js=1
และ Label ถ่ายติดดาวอังคารกับศุกร์เสียด้วยครับ
End of Reply#0