ในครั้งพุทธกาล มีอาจารย์ที่เรียกว่า "เดียรถีย์" (ผู้ข้ามไม่ถูกท่า) ก็ตกอยู่ในฐานะมีความเห็นผิดทั้ง ๓ ประการนี้ ได้แก่
อาจารย์อชิตตเกสกัมพล มีความเห็นผิดชนิดที่เป็น นัตถิกทิฏฐิ เห็นว่าการเวียนว่ายตายเกิดไม่มี
อาจารย์มักขลิโคศาล มีความเห็นผิดชนิดที่เป็น อเหตุกทิฏฐิ เห็นว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นไปโดยมิได้อาศัยเหตุ
อาจารย์ปูรณกัสสป มีความเห็นผิดชนิดที่เป็น อกิริยทิฏฐิ เห็นว่าการกระทำทั้งหลายไม่สำเร็จเป็นบุญหรือเป็นบาปได้
บุคคลผู้มีความเห็นผิดชั้นอาจารย์ ย่อมมีความเห็นผิดที่หนักแน่นมากที่สุด และบรรดาศิษย์ทั้งหลายก็หนักแน่นมากบ้างน้อยบ้างรองๆ กันลงมา บรรดาอาจารย์และศิษย์ทั้งหลายผู้ไม่เปลี่ยนใจเหล่านี้จะหลีกหนี นรก ไปไม่พ้นอย่างแน่นอนภายหลังจากจุติ คือดับหรือตายโดยไม่มีอะไรมาคั่น
แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะได้ทรงทรมานอาจารย์เหล่านี้ด้วยวิธีการต่างๆเพื่อจะได้ละ ได้ถอนความเห็นที่แสนร้ายนี้ ออกไปจากจิตใจเสียแต่อาจารย์เหล่านี้ก็รับไม่ได้ ยกเว้นศิษย์ของอาจารย์เหล่านี้บางคนที่มีความเห็นผิดยังไม่เข้าขั้นหนักรุนแรง
บรรดาบุคคลผู้มีความเห็นผิดดังกล่าวนี้ นอกจากจะไม่มีหนทางเดินไปสู่ความพ้นทุกข์ เพราะขาดปัญญาในปัญหาของชีวิตแล้ว ยังขึ้นๆลงๆ นรก ดังได้กล่าวมาแล้วอีก อาจจะมากครั้งทีเดียว จึงถือว่ามีโทษร้ายยิ่งกว่า อนันตริยกรรม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ในอังคุตตรพระบาลีว่า
" ปรมานิ ภิกฺขเว วชฺชานิ" แปลความว่า " ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเห็นผิดชนิดที่เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐินี้มีโทษอันยิ่งใหญ่ที่สุด"
แม้ว่าอนันตริยกรรมที่หนักที่สุด เช่น ฆ่าพ่อ หรือ ฆ่าแม่ เป็นต้น อนันตริยกรรมจะนำไปเกิดในนรกแล้ว กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกเป็นต้น ก็คงจะไม่ได้ทำอนันตริยกรรมซ้ำๆอีก แต่ความเห็นผิดนั้นยากนักที่จะเปลี่ยนความคิดให้เป็นเห็นถูกได้ แม้จะเกิดเป็นมนุษย์หรือเกิดเป็นเทวดา ความเห็นผิดก็ยังติดตามตัวไป ดังนั้น จึงขึ้นๆลงๆ นรก ครั้งแล้วครั้งเล่าจึงน่ากลัวอย่างจะสุดพรรณา
สมัยหนึ่ง พราหมณ์ผู้หนึ่งได้เข้ามาเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วถามปัญหาเรื่องกรรม เรื่องการตายการเกิดเป็นสัตว์ในภพภูมิต่างๆ เช่น เป็นผีสางเทวดาได้ เป็นต้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงหลับพระเนตรเสียไม่ตอบ พราหมณ์ถามอยู่หลายครั้งไม่ได้รับคำตอบ จึงได้หลีกไป พระอานนท์จึงได้ถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า คำถามก็ดีๆทั้งสิ้น เหตุใดพระองค์จึงไม่ตอบเขา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสว่า อานนท์เธอยังไม่รู้ว่าพราหมณ์ผู้นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ที่มีกำลังความเห็นผิดเหนียวแน่นมาก ผ่านนรกมาหลายชาติแล้ว ที่เข้ามาถามวันนี้ ก็มิได้ปรารถนาจะมาหาความรู้ หากแต่ต้องการจะมาโต้คารมแสดงความคิดเห็น จะได้ไปโอ้อวดกับคนทั้งหลายว่า ได้มาโต้กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ต้องการสร้างพยานหลักฐานเพื่อจะให้คนทั้งหลายเชื่อในความคิดเห็นผิดๆ ของตน
ความเห็นผิดชนิดที่ล่วงอกุศลกรรมบทคือ นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ นั้นมีกำลังของการให้ผลมากจริงๆ ผู้ที่มิได้ศึกษาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และมิได้มีความคิดพิจารณาในปัญหาของชีวิตให้ลึกซึ้งแล้วจะเข้าถึงความจริงของการให้ผลไม่ได้ เป็นเรื่องที่น่าหวั่นไหวเกรงอันตรายที่ร้ายแรงนี้เหลือเกิน เพราะความเห็นผิดที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจ มันจะแสดงออกไปซึ่งความเห็นผิดนั้นอยู่เสมอในแต่ละชาติที่เกิดขึ้นมา ผลร้ายแรงที่จะได้รับจึงได้เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า คือตกนรกบ่อยครั้งจนจะมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นกับชีวิตแล้วจึงจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงกลับเป็นตรงกันข้ามได้ เช่น เกิดเป็นมนุษย์แล้ว เพราะความยากจนมากจึงมัวยุ่งแต่การทำมาหากิน หรือเจ็บป่วยมากอยู่เสมอ มัวแต่ยุ่งเรื่องการรักษาพยาบาลตัวเอง หรือมีเรื่องเศร้าหมองเร่าร้อนอยู่ไม่สร่างซาจนไม่มีเวลาที่จะครุ่นคิดถึงปัญหาชีวิตอันลึกซึ้งที่ตนมีความเห็นผิดติดมา และเมื่อได้พบบัณฑิตย์ที่มีความสามารถเสนอความรู้ให้ ทั้งได้เกิดมาหลายชาติมิได้แสดงความเห็นผิดมากมายออกไป และกุศลของตนเพิ่มขึ้นจึงได้มีโอกาสเปลี่ยนความคิดเสียใหม่
อันตรายร้ายแรงที่เกิดจากความเห็นผิด
อาจารย์อชิตตเกสกัมพล มีความเห็นผิดชนิดที่เป็น นัตถิกทิฏฐิ เห็นว่าการเวียนว่ายตายเกิดไม่มี
อาจารย์มักขลิโคศาล มีความเห็นผิดชนิดที่เป็น อเหตุกทิฏฐิ เห็นว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นไปโดยมิได้อาศัยเหตุ
อาจารย์ปูรณกัสสป มีความเห็นผิดชนิดที่เป็น อกิริยทิฏฐิ เห็นว่าการกระทำทั้งหลายไม่สำเร็จเป็นบุญหรือเป็นบาปได้
บุคคลผู้มีความเห็นผิดชั้นอาจารย์ ย่อมมีความเห็นผิดที่หนักแน่นมากที่สุด และบรรดาศิษย์ทั้งหลายก็หนักแน่นมากบ้างน้อยบ้างรองๆ กันลงมา บรรดาอาจารย์และศิษย์ทั้งหลายผู้ไม่เปลี่ยนใจเหล่านี้จะหลีกหนี นรก ไปไม่พ้นอย่างแน่นอนภายหลังจากจุติ คือดับหรือตายโดยไม่มีอะไรมาคั่น
แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะได้ทรงทรมานอาจารย์เหล่านี้ด้วยวิธีการต่างๆเพื่อจะได้ละ ได้ถอนความเห็นที่แสนร้ายนี้ ออกไปจากจิตใจเสียแต่อาจารย์เหล่านี้ก็รับไม่ได้ ยกเว้นศิษย์ของอาจารย์เหล่านี้บางคนที่มีความเห็นผิดยังไม่เข้าขั้นหนักรุนแรง
บรรดาบุคคลผู้มีความเห็นผิดดังกล่าวนี้ นอกจากจะไม่มีหนทางเดินไปสู่ความพ้นทุกข์ เพราะขาดปัญญาในปัญหาของชีวิตแล้ว ยังขึ้นๆลงๆ นรก ดังได้กล่าวมาแล้วอีก อาจจะมากครั้งทีเดียว จึงถือว่ามีโทษร้ายยิ่งกว่า อนันตริยกรรม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ในอังคุตตรพระบาลีว่า
" ปรมานิ ภิกฺขเว วชฺชานิ" แปลความว่า " ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเห็นผิดชนิดที่เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐินี้มีโทษอันยิ่งใหญ่ที่สุด"
แม้ว่าอนันตริยกรรมที่หนักที่สุด เช่น ฆ่าพ่อ หรือ ฆ่าแม่ เป็นต้น อนันตริยกรรมจะนำไปเกิดในนรกแล้ว กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกเป็นต้น ก็คงจะไม่ได้ทำอนันตริยกรรมซ้ำๆอีก แต่ความเห็นผิดนั้นยากนักที่จะเปลี่ยนความคิดให้เป็นเห็นถูกได้ แม้จะเกิดเป็นมนุษย์หรือเกิดเป็นเทวดา ความเห็นผิดก็ยังติดตามตัวไป ดังนั้น จึงขึ้นๆลงๆ นรก ครั้งแล้วครั้งเล่าจึงน่ากลัวอย่างจะสุดพรรณา
สมัยหนึ่ง พราหมณ์ผู้หนึ่งได้เข้ามาเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วถามปัญหาเรื่องกรรม เรื่องการตายการเกิดเป็นสัตว์ในภพภูมิต่างๆ เช่น เป็นผีสางเทวดาได้ เป็นต้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงหลับพระเนตรเสียไม่ตอบ พราหมณ์ถามอยู่หลายครั้งไม่ได้รับคำตอบ จึงได้หลีกไป พระอานนท์จึงได้ถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า คำถามก็ดีๆทั้งสิ้น เหตุใดพระองค์จึงไม่ตอบเขา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสว่า อานนท์เธอยังไม่รู้ว่าพราหมณ์ผู้นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ที่มีกำลังความเห็นผิดเหนียวแน่นมาก ผ่านนรกมาหลายชาติแล้ว ที่เข้ามาถามวันนี้ ก็มิได้ปรารถนาจะมาหาความรู้ หากแต่ต้องการจะมาโต้คารมแสดงความคิดเห็น จะได้ไปโอ้อวดกับคนทั้งหลายว่า ได้มาโต้กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ต้องการสร้างพยานหลักฐานเพื่อจะให้คนทั้งหลายเชื่อในความคิดเห็นผิดๆ ของตน
ความเห็นผิดชนิดที่ล่วงอกุศลกรรมบทคือ นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ นั้นมีกำลังของการให้ผลมากจริงๆ ผู้ที่มิได้ศึกษาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และมิได้มีความคิดพิจารณาในปัญหาของชีวิตให้ลึกซึ้งแล้วจะเข้าถึงความจริงของการให้ผลไม่ได้ เป็นเรื่องที่น่าหวั่นไหวเกรงอันตรายที่ร้ายแรงนี้เหลือเกิน เพราะความเห็นผิดที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจ มันจะแสดงออกไปซึ่งความเห็นผิดนั้นอยู่เสมอในแต่ละชาติที่เกิดขึ้นมา ผลร้ายแรงที่จะได้รับจึงได้เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า คือตกนรกบ่อยครั้งจนจะมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นกับชีวิตแล้วจึงจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงกลับเป็นตรงกันข้ามได้ เช่น เกิดเป็นมนุษย์แล้ว เพราะความยากจนมากจึงมัวยุ่งแต่การทำมาหากิน หรือเจ็บป่วยมากอยู่เสมอ มัวแต่ยุ่งเรื่องการรักษาพยาบาลตัวเอง หรือมีเรื่องเศร้าหมองเร่าร้อนอยู่ไม่สร่างซาจนไม่มีเวลาที่จะครุ่นคิดถึงปัญหาชีวิตอันลึกซึ้งที่ตนมีความเห็นผิดติดมา และเมื่อได้พบบัณฑิตย์ที่มีความสามารถเสนอความรู้ให้ ทั้งได้เกิดมาหลายชาติมิได้แสดงความเห็นผิดมากมายออกไป และกุศลของตนเพิ่มขึ้นจึงได้มีโอกาสเปลี่ยนความคิดเสียใหม่