Cut Loss VS Short Against Port
Cut Loss VS Short Against Port จากคุณ millionaire
บทความดีๆสำหรับตลาดตอนขาลงครับ
พักนี้มักได้ยินเรื่อง cut loss และ short against port มาบ่อยมาก ผมเจอตามเว็บบอร์ด ว่าบางคนถูกตั้งฉายาว่าเป็น เซียนคัดลอส ไปแล้ว บางคนก็บอกว่าเล่น short ดีกว่า เพราะคิดว่า โอกาสที่หุ้นจะลงยังมีอีก คำว่า short นี่ บางที่ก็หมายความว่า ให้ขายไปก่อนแล้วไปซื้อทีหลัง เรียกเต็มๆว่า short sale แต่ short against port ไม่ใช่การ short sale ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะขายเหมือนกัน แต่ เหตุผลต่างกัน
ผมไม่ได้มาขยายความหมายของคำเหล่านี้นะครับ แต่กำลังจะเสนอมุมมองว่า วิธีการเหล่านี้มันต่างกัน และมีความจำเป็นในสถานการณ์ที่ต่างกัน ด้วยเหตุผลที่ต่างกัน เพราะเห็นหลายคนพูดถึง กันบ่อยมากในช่วงนี้ อาจจะนำไปใช้กันผิดพลาด
ที่จริงเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ง่ายมากที่จะเข้าใจ ถ้ามันเป็นเรื่องของคนอื่นไม่ใช่เรื่องของเรา (ฟังดูงงหรือเปล่า ไม่ได้กวนส้นเท้า นะครับ) เพราะว่าอะไรหรือครับ เพราะมันมีเรื่องอารมณ์ในการตัดสินใจมาเกี่ยวข้องสิครับ (อะไร อารมณ์อีกแล้วหรือ) เข้าเรื่องเลยดีกว่า เริ่มต้นจากการ cut loss คำนี้มันชัดเจนอยู่แล้ว คือ ขายตัดขาดทุน คือขายแล้วขาดทุนนั่นเลย สำหรับบางคนที่เข้าใจเรื่องนี้จริงๆ จะไม่รั้งรอ ที่จะทำ เพราะถ้าขายช้าจะยิ่งขายทุนมากขึ้น ๆ จนไม่สามารถจะทำได้ ดังนั้นบางครั้งเราจึงเรียกว่า limit loss เป็นวิธีการป้องกันความเสี่ยงอย่างหนึ่ง เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับบางคนที่ยังไม่เคยรับสภาพขาดทุน เพราะมันเกี่ยวเนื่องด้วยกับอารมณ์ของความผิดพลาดล้มเหลว เป็นเรื่องทำได้ยาก แต่ต้องทำ ถ้าคิดจะเล่นหุ้นไปอย่างตลอดรอดฝั่ง (บทเรียนแรก ของผมคือ การ cut loss และอาจจะเหมือนกันกับอีกหลายๆคน) การ cut loss ถึง แม้ว่ามันจะดูเจ็บปวด แต่มันจะโล่งเบา ในเวลาต่อมา เหมือนการปลดแอก เพื่อเริ่มต้นใหม่ และทำให้การตัดสินใจครั้งต่อไปต้องระวังมากขึ้น ผมจึงเห็นประโยชน์ของการ cut loss ไม่ต่างกันกับการ let profit run ซึ่งมันเป็นการตีกรอบความเสี่ยงอย่างหนึ่ง และสำคัญมากสำหรับคนเล่นหุ้นระยะสั้น และ ระยะกลาง (ถ้าจำเป็น)
ที่มันยากที่จะทำ เพราะว่าเราจะลังเล และต่อรองกับตัวเองที่จะ cut loss เรื่องอย่างนี้ต้องเด็ดขาด และต้องกำหนด และวางแผนมาไว้ล่วงหน้า มิฉะนั้นแล้วจะติดกับดักอารมณ์ของตนเอง คือไม่ปฏิบัติตามแผนของตน (ทุกครั้งที่จะเข้าซื้อ การวางแผนข้อแรก ที่ต้องคิดไว้ก่อน คือว่าจะ limit loss ที่จุดไหน แล้วค่อยมาเปรียบเทียบกับความเป็นไปได้ของผลกำไรที่จะตามมา)
การตัดสินใจเรื่องนี้ ยิ่งช้า ยิ่งทำได้ยากขึ้น จนทำไม่ได้เลย เพราะสัดส่วนของขาดทุนที่ต้องรับสภาพนั้น มันมากขึ้นเกินกว่าเราจะตัดสินใจได้อย่างเด็ดขาด ถ้าเทียบกับจุดขาดทุนที่เราตั้งใจจะทำในตอนแรก ผลที่ตามมาคือเราไม่สามารถจะออกจากวงล้อมอันนี้ไปได้ และมักจะมีเหตุผลต่างๆนานา เกิดขึ้นภายหลังมายืนยันกับตนเองว่า เราทำถูกแล้ว จนกระทั้งเราจะบอกกับตัวเองในครั้งสุดท้ายว่า ดีแล้วยังไงถ้าไม่ขายเราก็ไม่ขาดทุน (แต่ทำไมเรายังเครียดและนอนไม่หลับอยู่) ทีนี้คงเข้าใจแล้วนะครับว่า มันง่ายมากถ้าเป็นเรื่องของคนอื่น ไม่ใช่เรื่องของเราเอง กองทุนฝรั่งหรือแม้สถาบันในประเทศ เขาก็มี การ limit จุดขาดทุนอยู่เหมือนกันนะ แต่เมื่อถึงจุดนั้น เขาจะต้องทำตามกฎกติกานั้นอย่างไม่มีข้อต่อรอง เพราะว่ามันเป็นกฎขององค์กร ดังนั้นการตัดสินใจจึงเด็ดขาด รวดเร็ว และสามารถตีกรอบความเสียหายได้อย่างทันท่วงที กว่า นักลงทุนรายย่อยเพราะเรื่องอารมณ์ที่เข้ามาเกี่ยวเนื่องกับการตัดสินใจนั้นน้อยกว่า นั่นเอง
ทีนี้ผมจะโยงการ cut loss ว่า มันไปยุ่งอะไรกับ คำว่า short against port (SAP) สำหรับความเห็นของผมแล้ว SAP คือ การเล่น short หรือ ขายออกไปก่อนจาก หุ้นในพอร์ทที่มีอยู่ บางส่วน (ระยะสั้นๆ ) แล้วกลับมาซื้อทีหลังที่ราคาต่ำกว่า มันเหมาะสำหรับการเล่นในช่วงหุ้นขาขึ้นในช่วงที่มีการปรับฐานมากกว่า เพราะมันเป็นการเก็งกำไร ทำส่วนต่างของราคาขายสูง ซื้อต่ำ (ไม่ใช่การตีกรอบความเสี่ยงหรือเป็นเครื่องลดความเสี่ยง เหมือนกับการ cut loss) แต่มีบางคนไปใช้ SAP ในช่วงตลาดขาลง ซึ่งมันกลับเป็นการเผชิญความเสี่ยงมากขึ้น ไม่ใช่การลดความเสี่ยงเลย หรือมองอีกมุมหนึ่งก็คือ เป็นการเก็งกำไรในตลาดขาลง (ที่มีความเสี่ยงมากอยู่แล้ว) เนื่องจาก SAP มันเหมาะกับการปรับพอร์ทโดยการขาย เพื่อสร้างกำไรมากขึ้นในตลาดกระทิง เพราะว่าแนวโน้มตลาดขาขึ้นเป็นตัวแปรสำคัญในการลดความเสี่ยงตรงนี้ นั่นเอง แต่ในตลาดหมีมันไม่ใช่ ความเสี่ยงในการเล่นขึ้นในตลาดหมีมันมีมากพออยู่แล้ว สำหรับตลาดหมี ถ้าจะ short ควรเป็นการ short sale คือยืมหุ้นมาขายสูง แล้วซื้อกลับที่ราคาต่ำกว่า เป็นการปิด position ให้หมด คือสุดท้ายพอร์ทก็ว่างหมด ไม่เก็บหุ้นเอาไว้เลย แต่ตรงกันข้ามถ้าเราใช้ SAP ในตลาดขาลงเราจะเพิ่มความเสี่ยง 2 เท่า ดอกแรกคือขาดทุนจากการ short ไปแล้ว ยังซื้อกลับมาเก็บเข้าพอร์ท ทั้งๆที่ ยังอยู่ในแนวโน้มขาลง เราไม่รู้ว่ามันจะสิ้นสุดตรงจุดไหน มูลค่าหุ้นในพอร์ทก็จะลดลงได้อีก คือ มีทั้งที่ realized loss ไปแล้ว และ unrealized loss ที่จะตามมา (เว้นแต่คุณจะรู้และแน่ใจว่า bottom มันอยู่ตรงไหน แต่ข้อนี้ไม่ต้องพูดดีกว่า ถ้ารู้แล้วจะ มานั่งวางแผนบริหารความเสี่ยงกันทำไม)
ขอโทษนะครับ ว่ามาเสียยาว เลยไม่รู้ว่า cut loss และ อารมณ์ ของเรา มันโยงใยกลายมาเป็น SAP ได้อย่างไร คืออย่างนี้ครับ การที่เราไม่สามารถที่จะรับสภาพการขาดทุนจากการขาดตัดขาดทุนได้ทีเดียว เพราะจะต้องถือเงินสดที่น้อยลงจากเดิม เลยเกิดความคิดว่า ถ้าขายไปก่อนแล้วกลับมาซื้อทีหลัง หุ้นที่มีอยู่ ก็ยังมีอยู่จำนวนเท่าเดิม ไม่ได้เปลี่ยนแปลง แต่อาจจะได้ส่วนต่างแถมมา จากราคาขายที่มากกว่าที่ซื้อกลับตอนหลัง คือ มองว่าได้หุ้นมาก็ยังเท่าเดิม แถมมีเงินสดติดปลายนวมมาด้วย เป็นความสำเร็จอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ความล้มเหลวผิดพลาดแต่อย่างใด (แต่นั้นคือกับดักอารมณ์ เพราะ ไม่มีใครรู้ว่ามูลค่าหุ้นในพอร์ทที่เก็บเข้ามาจะหยุดลดลงไปเมื่อไร จึงเป็นการเปิดทางเผชิญกับความเสี่ยงในตลาดขาลงเพิ่มขึ้นอีก) บางคนก็ใช้วิธี เปลี่ยนตัวเล่นไปถือตัวอื่น ที่เป็นหุ้นแทน (คือว่า อย่างไรก็จะไม่ถือเงินสด เพราะการถือเงินสดที่น้อยลง เหมือนเป็นการรับสภาพขาดทุนไปแล้ว หมายถึงความล้มเหลว รับไม่ได้ ฉะนั้น ไม่ทำ) หารู้ไม่ว่า ตอนตลาดขาลง นั้น เขาไม่ให้มีหุ้นอยู่ในพอร์ทเลย จะเป็นการดี และการเก็งกำไรเป็นรอบๆ ก็ต้องแบ่งพอร์ทลดพอร์ทเล่น ต้องเล่นสั้นๆเล่นเร็ว ขายหมูดีกว่าขาดทุน แม้จะขาดทุนเล็กน้อย ก็ดีกว่าเก็บหุ้นไว้ต่อไป
ที่ผมฝอยมาทั้งหมดเนี่ยนะ ก็เพื่อจะให้ได้เห็นว่า กระบวนความคิดทั้งหลายที่มีอารมณ์เข้ามาโยงใยนั้น ถ้าเผลอ มันจะดักตีหัวเรา มันจะทำให้การประเมินความเสี่ยงนั้นคลาดเคลื่อน มันเป็นเรื่องเชิงจิตวิทยา ที่มาบดบังการตัดสินใจ อย่างมีหลักและเหตุผล
เครดิต: โพสต์เมื่อ 19th May 2012 โดย Chulakorn Yosakrai
ปรับกลยุทธ !!!
Cut Loss VS Short Against Port จากคุณ millionaire
บทความดีๆสำหรับตลาดตอนขาลงครับ
พักนี้มักได้ยินเรื่อง cut loss และ short against port มาบ่อยมาก ผมเจอตามเว็บบอร์ด ว่าบางคนถูกตั้งฉายาว่าเป็น เซียนคัดลอส ไปแล้ว บางคนก็บอกว่าเล่น short ดีกว่า เพราะคิดว่า โอกาสที่หุ้นจะลงยังมีอีก คำว่า short นี่ บางที่ก็หมายความว่า ให้ขายไปก่อนแล้วไปซื้อทีหลัง เรียกเต็มๆว่า short sale แต่ short against port ไม่ใช่การ short sale ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะขายเหมือนกัน แต่ เหตุผลต่างกัน
ผมไม่ได้มาขยายความหมายของคำเหล่านี้นะครับ แต่กำลังจะเสนอมุมมองว่า วิธีการเหล่านี้มันต่างกัน และมีความจำเป็นในสถานการณ์ที่ต่างกัน ด้วยเหตุผลที่ต่างกัน เพราะเห็นหลายคนพูดถึง กันบ่อยมากในช่วงนี้ อาจจะนำไปใช้กันผิดพลาด
ที่จริงเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ง่ายมากที่จะเข้าใจ ถ้ามันเป็นเรื่องของคนอื่นไม่ใช่เรื่องของเรา (ฟังดูงงหรือเปล่า ไม่ได้กวนส้นเท้า นะครับ) เพราะว่าอะไรหรือครับ เพราะมันมีเรื่องอารมณ์ในการตัดสินใจมาเกี่ยวข้องสิครับ (อะไร อารมณ์อีกแล้วหรือ) เข้าเรื่องเลยดีกว่า เริ่มต้นจากการ cut loss คำนี้มันชัดเจนอยู่แล้ว คือ ขายตัดขาดทุน คือขายแล้วขาดทุนนั่นเลย สำหรับบางคนที่เข้าใจเรื่องนี้จริงๆ จะไม่รั้งรอ ที่จะทำ เพราะถ้าขายช้าจะยิ่งขายทุนมากขึ้น ๆ จนไม่สามารถจะทำได้ ดังนั้นบางครั้งเราจึงเรียกว่า limit loss เป็นวิธีการป้องกันความเสี่ยงอย่างหนึ่ง เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับบางคนที่ยังไม่เคยรับสภาพขาดทุน เพราะมันเกี่ยวเนื่องด้วยกับอารมณ์ของความผิดพลาดล้มเหลว เป็นเรื่องทำได้ยาก แต่ต้องทำ ถ้าคิดจะเล่นหุ้นไปอย่างตลอดรอดฝั่ง (บทเรียนแรก ของผมคือ การ cut loss และอาจจะเหมือนกันกับอีกหลายๆคน) การ cut loss ถึง แม้ว่ามันจะดูเจ็บปวด แต่มันจะโล่งเบา ในเวลาต่อมา เหมือนการปลดแอก เพื่อเริ่มต้นใหม่ และทำให้การตัดสินใจครั้งต่อไปต้องระวังมากขึ้น ผมจึงเห็นประโยชน์ของการ cut loss ไม่ต่างกันกับการ let profit run ซึ่งมันเป็นการตีกรอบความเสี่ยงอย่างหนึ่ง และสำคัญมากสำหรับคนเล่นหุ้นระยะสั้น และ ระยะกลาง (ถ้าจำเป็น)
ที่มันยากที่จะทำ เพราะว่าเราจะลังเล และต่อรองกับตัวเองที่จะ cut loss เรื่องอย่างนี้ต้องเด็ดขาด และต้องกำหนด และวางแผนมาไว้ล่วงหน้า มิฉะนั้นแล้วจะติดกับดักอารมณ์ของตนเอง คือไม่ปฏิบัติตามแผนของตน (ทุกครั้งที่จะเข้าซื้อ การวางแผนข้อแรก ที่ต้องคิดไว้ก่อน คือว่าจะ limit loss ที่จุดไหน แล้วค่อยมาเปรียบเทียบกับความเป็นไปได้ของผลกำไรที่จะตามมา)
การตัดสินใจเรื่องนี้ ยิ่งช้า ยิ่งทำได้ยากขึ้น จนทำไม่ได้เลย เพราะสัดส่วนของขาดทุนที่ต้องรับสภาพนั้น มันมากขึ้นเกินกว่าเราจะตัดสินใจได้อย่างเด็ดขาด ถ้าเทียบกับจุดขาดทุนที่เราตั้งใจจะทำในตอนแรก ผลที่ตามมาคือเราไม่สามารถจะออกจากวงล้อมอันนี้ไปได้ และมักจะมีเหตุผลต่างๆนานา เกิดขึ้นภายหลังมายืนยันกับตนเองว่า เราทำถูกแล้ว จนกระทั้งเราจะบอกกับตัวเองในครั้งสุดท้ายว่า ดีแล้วยังไงถ้าไม่ขายเราก็ไม่ขาดทุน (แต่ทำไมเรายังเครียดและนอนไม่หลับอยู่) ทีนี้คงเข้าใจแล้วนะครับว่า มันง่ายมากถ้าเป็นเรื่องของคนอื่น ไม่ใช่เรื่องของเราเอง กองทุนฝรั่งหรือแม้สถาบันในประเทศ เขาก็มี การ limit จุดขาดทุนอยู่เหมือนกันนะ แต่เมื่อถึงจุดนั้น เขาจะต้องทำตามกฎกติกานั้นอย่างไม่มีข้อต่อรอง เพราะว่ามันเป็นกฎขององค์กร ดังนั้นการตัดสินใจจึงเด็ดขาด รวดเร็ว และสามารถตีกรอบความเสียหายได้อย่างทันท่วงที กว่า นักลงทุนรายย่อยเพราะเรื่องอารมณ์ที่เข้ามาเกี่ยวเนื่องกับการตัดสินใจนั้นน้อยกว่า นั่นเอง
ทีนี้ผมจะโยงการ cut loss ว่า มันไปยุ่งอะไรกับ คำว่า short against port (SAP) สำหรับความเห็นของผมแล้ว SAP คือ การเล่น short หรือ ขายออกไปก่อนจาก หุ้นในพอร์ทที่มีอยู่ บางส่วน (ระยะสั้นๆ ) แล้วกลับมาซื้อทีหลังที่ราคาต่ำกว่า มันเหมาะสำหรับการเล่นในช่วงหุ้นขาขึ้นในช่วงที่มีการปรับฐานมากกว่า เพราะมันเป็นการเก็งกำไร ทำส่วนต่างของราคาขายสูง ซื้อต่ำ (ไม่ใช่การตีกรอบความเสี่ยงหรือเป็นเครื่องลดความเสี่ยง เหมือนกับการ cut loss) แต่มีบางคนไปใช้ SAP ในช่วงตลาดขาลง ซึ่งมันกลับเป็นการเผชิญความเสี่ยงมากขึ้น ไม่ใช่การลดความเสี่ยงเลย หรือมองอีกมุมหนึ่งก็คือ เป็นการเก็งกำไรในตลาดขาลง (ที่มีความเสี่ยงมากอยู่แล้ว) เนื่องจาก SAP มันเหมาะกับการปรับพอร์ทโดยการขาย เพื่อสร้างกำไรมากขึ้นในตลาดกระทิง เพราะว่าแนวโน้มตลาดขาขึ้นเป็นตัวแปรสำคัญในการลดความเสี่ยงตรงนี้ นั่นเอง แต่ในตลาดหมีมันไม่ใช่ ความเสี่ยงในการเล่นขึ้นในตลาดหมีมันมีมากพออยู่แล้ว สำหรับตลาดหมี ถ้าจะ short ควรเป็นการ short sale คือยืมหุ้นมาขายสูง แล้วซื้อกลับที่ราคาต่ำกว่า เป็นการปิด position ให้หมด คือสุดท้ายพอร์ทก็ว่างหมด ไม่เก็บหุ้นเอาไว้เลย แต่ตรงกันข้ามถ้าเราใช้ SAP ในตลาดขาลงเราจะเพิ่มความเสี่ยง 2 เท่า ดอกแรกคือขาดทุนจากการ short ไปแล้ว ยังซื้อกลับมาเก็บเข้าพอร์ท ทั้งๆที่ ยังอยู่ในแนวโน้มขาลง เราไม่รู้ว่ามันจะสิ้นสุดตรงจุดไหน มูลค่าหุ้นในพอร์ทก็จะลดลงได้อีก คือ มีทั้งที่ realized loss ไปแล้ว และ unrealized loss ที่จะตามมา (เว้นแต่คุณจะรู้และแน่ใจว่า bottom มันอยู่ตรงไหน แต่ข้อนี้ไม่ต้องพูดดีกว่า ถ้ารู้แล้วจะ มานั่งวางแผนบริหารความเสี่ยงกันทำไม)
ขอโทษนะครับ ว่ามาเสียยาว เลยไม่รู้ว่า cut loss และ อารมณ์ ของเรา มันโยงใยกลายมาเป็น SAP ได้อย่างไร คืออย่างนี้ครับ การที่เราไม่สามารถที่จะรับสภาพการขาดทุนจากการขาดตัดขาดทุนได้ทีเดียว เพราะจะต้องถือเงินสดที่น้อยลงจากเดิม เลยเกิดความคิดว่า ถ้าขายไปก่อนแล้วกลับมาซื้อทีหลัง หุ้นที่มีอยู่ ก็ยังมีอยู่จำนวนเท่าเดิม ไม่ได้เปลี่ยนแปลง แต่อาจจะได้ส่วนต่างแถมมา จากราคาขายที่มากกว่าที่ซื้อกลับตอนหลัง คือ มองว่าได้หุ้นมาก็ยังเท่าเดิม แถมมีเงินสดติดปลายนวมมาด้วย เป็นความสำเร็จอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ความล้มเหลวผิดพลาดแต่อย่างใด (แต่นั้นคือกับดักอารมณ์ เพราะ ไม่มีใครรู้ว่ามูลค่าหุ้นในพอร์ทที่เก็บเข้ามาจะหยุดลดลงไปเมื่อไร จึงเป็นการเปิดทางเผชิญกับความเสี่ยงในตลาดขาลงเพิ่มขึ้นอีก) บางคนก็ใช้วิธี เปลี่ยนตัวเล่นไปถือตัวอื่น ที่เป็นหุ้นแทน (คือว่า อย่างไรก็จะไม่ถือเงินสด เพราะการถือเงินสดที่น้อยลง เหมือนเป็นการรับสภาพขาดทุนไปแล้ว หมายถึงความล้มเหลว รับไม่ได้ ฉะนั้น ไม่ทำ) หารู้ไม่ว่า ตอนตลาดขาลง นั้น เขาไม่ให้มีหุ้นอยู่ในพอร์ทเลย จะเป็นการดี และการเก็งกำไรเป็นรอบๆ ก็ต้องแบ่งพอร์ทลดพอร์ทเล่น ต้องเล่นสั้นๆเล่นเร็ว ขายหมูดีกว่าขาดทุน แม้จะขาดทุนเล็กน้อย ก็ดีกว่าเก็บหุ้นไว้ต่อไป
ที่ผมฝอยมาทั้งหมดเนี่ยนะ ก็เพื่อจะให้ได้เห็นว่า กระบวนความคิดทั้งหลายที่มีอารมณ์เข้ามาโยงใยนั้น ถ้าเผลอ มันจะดักตีหัวเรา มันจะทำให้การประเมินความเสี่ยงนั้นคลาดเคลื่อน มันเป็นเรื่องเชิงจิตวิทยา ที่มาบดบังการตัดสินใจ อย่างมีหลักและเหตุผล
เครดิต: โพสต์เมื่อ 19th May 2012 โดย Chulakorn Yosakrai