เรื่องที่ผมจะกล่าวมีอยู่ว่า ผมไม่เห็นด้วยกับการที่กระทรวงการคลัง หรือหน่วยงานไหนไม่ทราบ ที่บังคับให้ข้าราชการนำเงินเดือนที่ได้รับ ต้องเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยแต่เพียงธนาคารเดียว อย่างนี้ถือว่าเป็นการลิดรอนสิทธิของเหล่าข้าราชการหรือไม่ ผมอยากถามว่าหน่วยงานดังกล่าวที่ออกคำสั่ง หรือ ฯลฯ ดังกล่าว (ที่บังคับให้ข้าราชการนำเงินเข้าธนาคารกรุงไทยเพียงธนาคารเดียว) เพื่อมุ่งหวังอะไร มีจุดมุ่งหมายอะไร (นอกจากการเข้าสู่ระบบเงินกู้ธนวัฏ) และในการกระทำดังกล่าวยังทำให้เหล่าข้าราชการเสียสิทธิอย่างอื่นอีกมากมาย
โดยเฉพาะในการเสียสิทธิการทำเงินกู้สำหรับข้าราชการ (วงเงินธนวัฏ) ซึ่งการที่ธนาคารกรุงไทยทำได้ธนาคารเดียวก็เนื่องมาจากการที่รัฐ บังคับให้ข้าราชการต้องนำเงินเดือนเข้าธนาคารกรุงไทยเพียงธนาคารเดียวนั่นเอง เช่นนี้จะเห็นได้ว่าเป็นการผูกขาดทางด้านธุรกิจ ซึ่งไม่มีคู่แข่งขันอื่นหรือธนาคารอื่นเป็นคู่ค้า ที่จะแข่งขันได้
ดังนั้นข้าราชการจึงถูกเอาเปรียบจากธนาคารผู้ทำธุรกิจเพียงธนาคารเดียว สิ่งที่เสียไปมีมากมาย เช่น
1. สิ่งสำคัญที่สุดนั่นคือตัวดอกเบี้ย ซึ่งธนาคารกรุงไทยผูกขาดเพียงธนาคารเดียว
ดังนั้นจะกำหนดดอกเบี้ยเท่าใดก็ได้ ซึ่งถ้ามีธนาคารอื่นมาทำการแข่งขัน อาจจะมีการแข่งขันกันทางด้านดอกเบี้ย ซึ่งข้าราชการผู้กู้ก็จะได้ผลประโยชน์ตรงนี้ เพราะผลประโยชน์ตรงนี้มากมาย ผมจะคิดแบบคราว ๆ ให้ท่านเห็น สมมุติข้าราชการทั่วประเทศมีทั้งหมด สามล้านคน เสียดอกเบี้ยเฉลี่ยเดือนละต่อคนเอาแบบจิ๋ม ๆ คนละ สามร้อยบาท จำนวนเงินคูณดอกเบี้ยตกเดือนละ เก้าร้อยล้านบาทคูณสิบสองเดือน ตกประมาณ หนึ่งหมื่นหนึ่งพันล้านบาท นี่ตัวเลขคราว ๆ น่ะครับ คิดดูว่าตัวเลขขนาดนี้ธนาคารอื่นอยากปล่อยกู้ให้แก่ข้าราชการไหมครับ เขาอยากจะแข่งขันเพื่อแย่งลูกค้ากับธนาคารกรุงไทยหรือไม่ครับ แต่ที่ทำไม่ได้เพราะรัฐบังคับให้ข้าราชการนำเงินเดือนผ่านธนาคารกรุงไทยเท่านั้น เพราะอะไร ก็เพราะปลัดกระทรวงการคลังเป็นบอร์ดธนาคารกรุงไทย หรือนักการเมืองแต่งตั้งคนของตนเป็นบอร์ดธนาคารกรุงไทย ผมเชื่อว่าเมื่อผมเขียนข้อความนี้ธนาคารอื่นอาจจะเสนอดอกเบี้ยเงินกู้แก่ข้าราชการ (แบบเดียวกับธนวัฏ) อาจจะเสนอดอกเบี้ยต่ำกว่ากรุงไทย หนึ่งหรือสองเปอร์เซ็นต์ก็ได้ คุณคิดว่าจะเป็นไปได้ไหม ในเมื่อรายได้ต่อปีมากมายขนาดนี้
2. เสียสิทธิในการได้รับบริการที่ดี หากมีการแข่งขันเพื่อนข้าราชการอาจจะได้รับบริการที่ดี เพราะ ผมไปใช้บริการธนาคารกรุงไทย บริการแม่นมันโครตห่วย จะกู้เงินมันแทบจะกราบมัน ดอกเบี้ยก็แพง แต่ถ้าเป็นพนักงานของมันกันเองกู้ ดอกเบี้ยก็ถูกกว่าคนทั่วไป เราก็ แปดเก้าเปอร์เซ็นต์ต่อปี พนักงานของมันกันเอง ดอกเบี้ยสองสามเปอร์เซ็นต์ต่อปี ปล่อยกู้ได้ยังไงก็ไม่รู้ต่ำกว่าต้นทุนเสียอีก พนักงานมันสารพัดจะกู้ กู้ซื้อสากกะเบือยันเรือรบ กระดาษเช็ดก้นที่บ้านมันยังกู้เงินแบงค์คิดดู พนักงานมันกันเองยื่นแบบกู้ก็สองสามวันก็อนุมัติแล้ว ไอ้เราลูกค้ารอไปซิ เดือน ก็แล้ว สองเดือนก็แล้ว โอ้อนาถใจ
3. เสียสิทธิตัวเลือก ถ้ามีการแข่งขันเราก็จะมีตัวเลือก ไม่ต้องง้อผู้ให้บริการ
4. วงเงินสินเชื่อสำหรับข้าราชการ ซึ่งถ้ามีคู่แข่งขันทางด้านธุรกิจกับธนาคารกรุงไทย ธนาคารที่ไม่ใช่กรุงไทย อาจจะให้วงเงินกู้สำหรับข้าราชการสูงกว่าธนาคารกรุงไทยก็ได้
เปรียบเสมือนเรามีมีที่นาอยู่หนึ่งผืน จะเอาไปจำนอง ถ้ามีธนาคารอยู่ธนาคารเดียวมันก็เล่นเล่ห์เพทุบายกับเรามั่วไปหมดน่ะซิ เพราะมันรู้ว่าเราไม่มีตัวเลือก ต้องพึ่งมันที่เดียวเสร็จมันไหมล่ะ ข้าราชการเราถือว่าเป็นคนมีเครดิตทางสังคมน่ะครับ แล้วการงานค่อนข้างจะมั่นคง มีบำเหน็จบำนาญ
5. และเหตุผลอื่น ฯลฯ อีกมากมาย และอีกประการหนึ่ง ถ้าต่อไปในอนาคต ถ้าเอกชนมีระบบเดียวกับข้าราชการ คือมีระบบบำเหน็จบำนาญเหมือนกัน ซึ่งจะต้องมีแน่นอนต่อไปในอนาคต แล้วเกิดรัฐบังคับให้ลูกจ้างของเอกชน ต้องนำเงินเดือนเข้าแบงค์กรุงไทยอีก เพื่อจะได้กู้วงเงินธนวัฏแบบเดียวกับข้าราชการจำอย่างไร
ดังนั้นผมจึงเขียนข้อความนี้เพื่อให้เพื่อน ๆ ข้าราชการช่วยกันพิจารณาครับ ไม่ได้หวังผลอะไร ส่วนเรื่องที่จะมีผู้บริหารหรือหน่วยงานรัฐออกมาบอกว่าทำไม่ได้ แก้ไขไม่ได้แล้ว คงจะเป็นเพียงข้อแก้ตัวเท่านั้นเองครับ วิธีการมีมากมาย ถ้าจะทำจริง ๆ ขึ้นอยู่ว่ารัฐจะทำหรือไม่ (เพราะการผูกขาดทางด้านธุรกิจ เป็นการขัดขวางการค้าเสรี ปล่อยให้ทำได้ยังไงก็ไม่รู้) ตอนนี้ถ้ามีผู้กล้า นำเรื่องไปฟ้องศาลปกครองเท่านั้นก็จบครับ (โดยมีธนาคารที่ต้องการทำธุรกิจทางด้านนี้เป็นผู้สนับสนุนทุนให้ข้าราชการที่จะทำการฟ้องก็จะดีเน้อ) โดยยึดเอาคำสั่ง หรือฯลฯที่กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ มีหนังสือถึงตัวข้าราชการบังคับให้เปิดบัญชีธนาคารกรุงไทย หรือ ฯลฯ โดยฟ้องว่าเป็นคำสั่งทางปกครองที่มิชอบ เพราะเป็นการลิดลอนสิทธิของตัวข้าราชการ (หรือเหตุผลอื่นตามกฏหมาย เหตุผลผมแค่เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวครับ เสนอไว้เพื่อพิจารณา)
ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ มีประโยชน์บ้างเล็กน้อยก็พอใจแล้วครับ ส่วนถ้าเป็นที่ไม่โปรดแก่ผู้ใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยน่ะครับ
เรียนเพื่อนข้าราชการทุกท่านช่วยกันพิจารณา
โดยเฉพาะในการเสียสิทธิการทำเงินกู้สำหรับข้าราชการ (วงเงินธนวัฏ) ซึ่งการที่ธนาคารกรุงไทยทำได้ธนาคารเดียวก็เนื่องมาจากการที่รัฐ บังคับให้ข้าราชการต้องนำเงินเดือนเข้าธนาคารกรุงไทยเพียงธนาคารเดียวนั่นเอง เช่นนี้จะเห็นได้ว่าเป็นการผูกขาดทางด้านธุรกิจ ซึ่งไม่มีคู่แข่งขันอื่นหรือธนาคารอื่นเป็นคู่ค้า ที่จะแข่งขันได้
ดังนั้นข้าราชการจึงถูกเอาเปรียบจากธนาคารผู้ทำธุรกิจเพียงธนาคารเดียว สิ่งที่เสียไปมีมากมาย เช่น
1. สิ่งสำคัญที่สุดนั่นคือตัวดอกเบี้ย ซึ่งธนาคารกรุงไทยผูกขาดเพียงธนาคารเดียว
ดังนั้นจะกำหนดดอกเบี้ยเท่าใดก็ได้ ซึ่งถ้ามีธนาคารอื่นมาทำการแข่งขัน อาจจะมีการแข่งขันกันทางด้านดอกเบี้ย ซึ่งข้าราชการผู้กู้ก็จะได้ผลประโยชน์ตรงนี้ เพราะผลประโยชน์ตรงนี้มากมาย ผมจะคิดแบบคราว ๆ ให้ท่านเห็น สมมุติข้าราชการทั่วประเทศมีทั้งหมด สามล้านคน เสียดอกเบี้ยเฉลี่ยเดือนละต่อคนเอาแบบจิ๋ม ๆ คนละ สามร้อยบาท จำนวนเงินคูณดอกเบี้ยตกเดือนละ เก้าร้อยล้านบาทคูณสิบสองเดือน ตกประมาณ หนึ่งหมื่นหนึ่งพันล้านบาท นี่ตัวเลขคราว ๆ น่ะครับ คิดดูว่าตัวเลขขนาดนี้ธนาคารอื่นอยากปล่อยกู้ให้แก่ข้าราชการไหมครับ เขาอยากจะแข่งขันเพื่อแย่งลูกค้ากับธนาคารกรุงไทยหรือไม่ครับ แต่ที่ทำไม่ได้เพราะรัฐบังคับให้ข้าราชการนำเงินเดือนผ่านธนาคารกรุงไทยเท่านั้น เพราะอะไร ก็เพราะปลัดกระทรวงการคลังเป็นบอร์ดธนาคารกรุงไทย หรือนักการเมืองแต่งตั้งคนของตนเป็นบอร์ดธนาคารกรุงไทย ผมเชื่อว่าเมื่อผมเขียนข้อความนี้ธนาคารอื่นอาจจะเสนอดอกเบี้ยเงินกู้แก่ข้าราชการ (แบบเดียวกับธนวัฏ) อาจจะเสนอดอกเบี้ยต่ำกว่ากรุงไทย หนึ่งหรือสองเปอร์เซ็นต์ก็ได้ คุณคิดว่าจะเป็นไปได้ไหม ในเมื่อรายได้ต่อปีมากมายขนาดนี้
2. เสียสิทธิในการได้รับบริการที่ดี หากมีการแข่งขันเพื่อนข้าราชการอาจจะได้รับบริการที่ดี เพราะ ผมไปใช้บริการธนาคารกรุงไทย บริการแม่นมันโครตห่วย จะกู้เงินมันแทบจะกราบมัน ดอกเบี้ยก็แพง แต่ถ้าเป็นพนักงานของมันกันเองกู้ ดอกเบี้ยก็ถูกกว่าคนทั่วไป เราก็ แปดเก้าเปอร์เซ็นต์ต่อปี พนักงานของมันกันเอง ดอกเบี้ยสองสามเปอร์เซ็นต์ต่อปี ปล่อยกู้ได้ยังไงก็ไม่รู้ต่ำกว่าต้นทุนเสียอีก พนักงานมันสารพัดจะกู้ กู้ซื้อสากกะเบือยันเรือรบ กระดาษเช็ดก้นที่บ้านมันยังกู้เงินแบงค์คิดดู พนักงานมันกันเองยื่นแบบกู้ก็สองสามวันก็อนุมัติแล้ว ไอ้เราลูกค้ารอไปซิ เดือน ก็แล้ว สองเดือนก็แล้ว โอ้อนาถใจ
3. เสียสิทธิตัวเลือก ถ้ามีการแข่งขันเราก็จะมีตัวเลือก ไม่ต้องง้อผู้ให้บริการ
4. วงเงินสินเชื่อสำหรับข้าราชการ ซึ่งถ้ามีคู่แข่งขันทางด้านธุรกิจกับธนาคารกรุงไทย ธนาคารที่ไม่ใช่กรุงไทย อาจจะให้วงเงินกู้สำหรับข้าราชการสูงกว่าธนาคารกรุงไทยก็ได้
เปรียบเสมือนเรามีมีที่นาอยู่หนึ่งผืน จะเอาไปจำนอง ถ้ามีธนาคารอยู่ธนาคารเดียวมันก็เล่นเล่ห์เพทุบายกับเรามั่วไปหมดน่ะซิ เพราะมันรู้ว่าเราไม่มีตัวเลือก ต้องพึ่งมันที่เดียวเสร็จมันไหมล่ะ ข้าราชการเราถือว่าเป็นคนมีเครดิตทางสังคมน่ะครับ แล้วการงานค่อนข้างจะมั่นคง มีบำเหน็จบำนาญ
5. และเหตุผลอื่น ฯลฯ อีกมากมาย และอีกประการหนึ่ง ถ้าต่อไปในอนาคต ถ้าเอกชนมีระบบเดียวกับข้าราชการ คือมีระบบบำเหน็จบำนาญเหมือนกัน ซึ่งจะต้องมีแน่นอนต่อไปในอนาคต แล้วเกิดรัฐบังคับให้ลูกจ้างของเอกชน ต้องนำเงินเดือนเข้าแบงค์กรุงไทยอีก เพื่อจะได้กู้วงเงินธนวัฏแบบเดียวกับข้าราชการจำอย่างไร
ดังนั้นผมจึงเขียนข้อความนี้เพื่อให้เพื่อน ๆ ข้าราชการช่วยกันพิจารณาครับ ไม่ได้หวังผลอะไร ส่วนเรื่องที่จะมีผู้บริหารหรือหน่วยงานรัฐออกมาบอกว่าทำไม่ได้ แก้ไขไม่ได้แล้ว คงจะเป็นเพียงข้อแก้ตัวเท่านั้นเองครับ วิธีการมีมากมาย ถ้าจะทำจริง ๆ ขึ้นอยู่ว่ารัฐจะทำหรือไม่ (เพราะการผูกขาดทางด้านธุรกิจ เป็นการขัดขวางการค้าเสรี ปล่อยให้ทำได้ยังไงก็ไม่รู้) ตอนนี้ถ้ามีผู้กล้า นำเรื่องไปฟ้องศาลปกครองเท่านั้นก็จบครับ (โดยมีธนาคารที่ต้องการทำธุรกิจทางด้านนี้เป็นผู้สนับสนุนทุนให้ข้าราชการที่จะทำการฟ้องก็จะดีเน้อ) โดยยึดเอาคำสั่ง หรือฯลฯที่กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ มีหนังสือถึงตัวข้าราชการบังคับให้เปิดบัญชีธนาคารกรุงไทย หรือ ฯลฯ โดยฟ้องว่าเป็นคำสั่งทางปกครองที่มิชอบ เพราะเป็นการลิดลอนสิทธิของตัวข้าราชการ (หรือเหตุผลอื่นตามกฏหมาย เหตุผลผมแค่เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวครับ เสนอไว้เพื่อพิจารณา)
ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ มีประโยชน์บ้างเล็กน้อยก็พอใจแล้วครับ ส่วนถ้าเป็นที่ไม่โปรดแก่ผู้ใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยน่ะครับ