คนป่วยใกล้ตาย เปิดธรรมมะอะไรให้ฟังดีครับ เพื่อให้ใจเค้าสงบ

คนป่วยใกล้ตาย เปิดธรรมมะอะไรให้ฟังดีครับ เพื่อให้ใจเค้าสงบ
และไปสู่อีกภพนึงด้วยความ ไม่ทรมาน


ญาติสนิทภรรยาผม มีบุญคุณที่เลี้ยงดูมา กำลังจะตายด้วยโรคมะเร็งตับ
หมอบอกว่าอยู่ได้ไม่เกิน3วันแล้วครับ คืนนี้คืนที่สอง

อยากให้ช่วยแนะนำไฟล์ธรรมมะดีๆให้ทีครับ จะโหลดไปให้เค้าฟัง
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 14
เคยมีคนถามคำถามนี้กับหลวงปู่ครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ทางกรรมฐาน ..ถามว่า ถ้าเรารู้ตัวว่าเรากำลังจะตายแน่ๆ เราควรทำใจเตรียมใจอย่างไรในการเผชิญความตายที่กำลังจะมาถึง นั้น..

คำตอบ คือ..

(๑) ให้ทำใจปล่อยวางให้หมดทุกๆอย่าง อย่ายึดถือหรือห่วงอาลัยอะไรๆอีกเลย
(๒) ถ้าทำแบบ(๑) ไม่ได้ ก็ให้ระลึกถึงคุณงามความดีหรือกรรมดีที่สูงสุดที่เคยทำมา ที่ประทับใจที่สุด เช่น เคยฝึกจิตจนได้ฌานสมาธิ หรือ เคยบวช หรือ เคยถวายสังฆาน  หรืออื่นๆ ฯลฯ
(๓) ถ้าทำ ๒ แบบแรกไม่ได้ ก็ให้ท่องบริกรรม ระลึกสิ่งดีๆในใจ  เช่น ท่องบริกรรม  พุทโธๆๆๆ..กำกับใจไปเรื่อยๆ จนสิ้นใจ
(๔) ถ้าทำ  ๓ แบบแรกไม่ได้   ญาติๆหรือคนอื่นๆก็ต้องช่วย ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น นิมนต์พระมาสวดมนต์ มาเทศนาให้ฟัง หรือเปิดเทปธรรมะให้ฟัง  หรือให้ดูภาพพระพุทธรูป ภาพครูบาอาจารย์หลวงปู่ต่างๆ หรือภาพวัดวาอาราม ....(หลักการ คือเอาธรรมะยัดเยียด กรอก อัด ลงไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก่อนสิ้นใจ)
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
เอาพระพุทธรูปไปตั้งในที่ๆผู้ป่วยสามารถเห็นได้ง่ายๆ จิตจะได้จับภาพพระพุทธรูปได้ติดตา (เป็นพุทธานุสสติ กันตกอบายภูมิ)

ส่วนอาการคนไข้ ถ้าหนักมาก สติไม่อยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว
ก็ควรจะเปิดบทสวดมนต์ที่ึคุ้นเคยที่สุด เพื่อง่ายต่อการน้อมนำจิตให้คล้อยตามไปกับบทสวดได้ง่าย ถ้ายังมีสติเพียงเล็กน้อย

ช่วงเวลาก่อนจะสิ้นใจ ก่อนที่จิตจะออกจากร่าง สำคัญมาก จะไปนรกหรือไปสวรรค์ก็ขึ้นอยู่กับตรงนี้
ถ้าคนไข้ป่วยหนักใกล้ตายเต็มที วันที่เราคิดว่าเป็นวันสุดท้ายของเขา เราควรจะงดความวุ่นวายทั้งสิ้นออกไป
ควรจะให้สนใจแต่ฟังเทศน์ฟังธรรมฟังบทสวดและภาวนาเพียงอย่างเดียว

แต่ถ้ายังพอมีสติอยู่บ้าง ก็ควรจะให้ผู้ป่วยท่องคำภาวนาที่ตัวเองชอบใจ พุท-โธ , นะมะพะธะ, สัมมาอะระหัง แล้วแต่ถนัดชอบ
************************************************************************************************************************************

ถ้ามีญาติพี่น้องเิกิดเสียชีวิตขึ้นมากระทันหัน "ควรจะต้องทำการอุทิศบญแบบเฉพาะเจาะจง" ให้เร็วที่สึด
เพราะถ้าญาติของคุณตกอบายภูมิในส่วนที่ไม่สามารถโมทนาบุญได้ ก็จะรับบุญไม่ได้ ก็จะพ้นจากอบายภูมิไม่ได้  

ให้เตรียมของเหล่านี้......

1.พระพุทธรูป หน้าตัก5นิ้ว
(ใหญ่กว่าได้ แต่ห้ามเล็กกว่า) (เพราะพระพุทธรูปหน้าตัก5นิ้วขึ้นไปถือว่าเป็นพระพุทธรูปประจำบ้าน มีเทวดารักษา)
2.ผ้าไตรจีวร (ยิ่งของมีคุณภาพมากเท่าไรยิ่งดี)
3.เครื่องสังฆทานต่างๆ (ยิ่งของมีคุณภาพมากเท่าไรยิ่งดี)

แล้วหาวัดดีๆ ที่มีพระสงฆ์ที่ประพฤติปฏิบัติชอบ แล้วขออนุญาติท่านถวายสังฆทานคนเดียว และกล่าวนำคำถวายสังฆทานเอง
(ควรจะหาเวลาเหมาะๆที่มีคนน้อยๆ เพื่อที่เราจะได้ถวายคนเดียว กล่าวคำถวายสังฆทานคนเดียว ไม่รบกวนผู้อื่น)
(เพราะตามปกติแล้วถ้าเราไปที่วัด ทางวัดจะมีพระสงฆ์ที่เป็นตัวแทนรับสังฆทานอยู่เพียงรูปเดียว และกล่าวนำคำถวายสังฆทานให้)
(แต่เราไม่เอา เพราะถ้าอุทิศแบบนั้นบุญจะกระจาย ให้เทวดาประจำสังขารบ้าง,เจ้ากรรมนายเวรบ้าง,ญาิติและไม่ใช่ญาติบ้าง ฯลฯ)
(แต่เราต้องการกล่าวคำอุทิศให้แก่คนๆเดียว เพื่อจะให้พ้นจากอบายภูมิ เราจะกล่าวคำถวายเครื่องสังฆทานนั้นเอง)
(การกล่าวคำถวายเครื่องสังฆทานแบบเฉพาะเจาะจงอุทิศให้คนๆเดียว จะได้อานิสงส์สูงมาก)

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
"ข้าพเจ้าขอถวายเครื่องสังฆทานเหล่านี้ โดยมีพระพุทธรูป, ผ้าไตรจีวร, และเครื่องสังฆทานเหล่านี้ เพื่อบำรุงแก่พระศาสนา
อานิสงส์จะมีแก่ข้าพเจ้าเพียงใด ข้าพเจ้าขออุทิศให้แก่ ................. (เอ่ยชื่อจริง นามสกุลจริง)
ขอพระยายมราช ได้โปรดช่วยตาม ................(เอ่ยชื่อจริง นามสกุลจริง) มาโมทนาบุญในครั้งนี้ด้วยเถิด
ถ้าบุคคลผู้นี้ยังไม่มีโอกาสโมทนาบุญเพียงใด
ขอให้พระยายมได้โปรดช่วยเป็นพยาน ถ้าหากว่าพบเธอเมื่อใด ขอให้บอกเธอโมทนาเมื่อนั้น"
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่เสียชิวิตไป ควรจะต้องขอพระยายมราช ให้ช่วยเ็ป็นพยานให้ด้วยทุกครั้ง
เพราะท่านจะได้ช่วยตามคนๆนั้น ขึ้นมาโมทนารับผลบุญได้เมื่อมีโอกาส (ท่านมาบอกวิธีนี้เอง)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่