เป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่หากมีลูกน้อยที่ซุกซนคงทำเอาเหนื่อยอกเหนื่อยใจน่าดู ก็เจ้าหนูซนแต่ละอย่างทั้งเลอะเทอะเละเทะแสนน่าปวดหัว ไหนจะต้องเก็บล้างทำความสะอาด ไหนจะต้องจับเจ้าตัวดีมาอาบน้ำใหม่อีก โอยย.. เท่านี้คุณพ่อคุณแม่ก็หมดแรง แต่ก่อนจะนอนหมดแรงเรามีข่าวดีมาบอกค่ะ นักวิจัยเขาค้นพบว่า การที่เด็กเล็กมีนิสัยเป็นเจ้าจอมจุ้นแสนซุกซนกลับเป็นการดี เพราะยิ่งซนมากก็ยิ่งเรียนรู้ได้ดีกว่า
ผลการศึกษาของดอกเตอร์ลาริสซา ซามูเอลสัน และ ลินน์ เพอร์รี่ สองผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัยไอโอวา ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Developmental Science ภายใต้หัวข้อ Highchair Philosophers หรือ นักปราชญ์บนเก้าอี้เด็ก เผยว่า เด็กซุกซนกว่ามีการเรียนรู้ได้ดีกว่าจริง ๆ
ทั้งคู่ได้ทำการทดลองความฉลาดเฉลียดของเด็กซุกซน จากเด็กวัย 16 เดือนทั้งหมด 72 คน โดยเด็ก ๆ เหล่านี้ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่นั่งบนเก้าอี้สูงสำหรับเด็ก และเด็กที่นั่งบนเก้าอี้หันเข้าโต๊ะเด็กแบบธรรมดา เด็กแต่ละคนจะได้รับวัตถุที่ไม่แข็ง (แน่นอนว่าไม่อันตรายกับเด็กด้วย) จำนวน 14 รายการ เช่น แยมสตรอว์เบอร์รี ซอสบัตเตอร์สก็อต ซอสช็อกโกแลต ชีส ข้าวโอ๊ต เป็นต้น เด็ก ๆ จะได้รับการบอกชื่อของของแต่ละอย่าง โดยเป็นชื่อสมมุติที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้เด็กเรียกได้ง่าย เช่น แทนชื่อแยมสตรอว์เบอร์รีว่า "อิ๊ก", แทนชื่อชีสว่า "ก้า" เป็นต้น จากนั้นจึงปล่อยให้เด็ก ๆ ทำอะไรกับวัตถุเหล่านั้นก็ได้ตามใจภายในเวลาที่กำหนด ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะกลับมาใหม่พร้อมกับ ตัวอย่าง 14 รายการเหมือนข้างต้น แล้วให้เด็ก ๆ แต่ละคน บอกชื่อของที่พวกเขานำมาว่าคืออะไรบ้าง
ผลการทดลองปรากฏว่า เด็ก ๆ ที่มีพฤติกรรมแบบฉบับเด็กซุกซนช่างป่วน ที่จะทั้งจิ้ม บีบ ขยำ ละเลง เอามาชิม ปาของลงกับพื้น หรืออื่น ๆ สามารถระบุชื่อของวัตถุตัวอย่างได้ถูกต้องถึง 70% เมื่อเทียบกับเด็กที่ทำแค่เอานิ้วจิ้ม ๆ แล้วก็เลิกสนใจ ที่ตอบได้ถูกอยู่ที่ 50% เท่านั้น
นอกจากนี้ยังพบอีกว่า การได้นั่งอยู่บนเก้าอี้สูงสำหรับเด็กมีส่วนช่วยให้เด็ก ๆ ตอบได้ถูกต้องมากกว่าเด็กที่นั่งบนชุดโต๊ะเก้าอี้ธรรมดาด้วย เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า เก้าอี้เด็กนั้นเป็นโต๊ะอาหารสำหรับเด็กเล็กไปในตัว และพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้บ่อยครั้งก็เกิดขึ้นยามรับประทานอาหาร ที่เด็ก ๆ ชอบที่จะเล่นกับอาหารในถาดตรงหน้าพวกเขาด้วยการจิ้ม บีบ คลำ นำเข้าปาก หรือว่าเอาอาหารมาขว้างปาเลอะเทอะ ซึ่งเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้นั่นเอง เมื่อได้ถูกนำมาวัดความสามารถในการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่คถ้นเคยเช่นนี้ เด็กกลุ่มนี้จึงมีแนวโน้มทำได้ดีกว่านั่นเอง
*** เห็นผลการวิจัยออกมาแบบนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ที่มีตัวน้อยวัยเดียวกันและแสนจะแสบซน ก็คงจะหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง เพราะ
ความแสบไซส์จิ๋วแบบนี้ก็คือตัวบ่งบอกว่าเขามีแนวโน้มจะโตไปเป็นเด็กฉลาดเฉลียวดีทีเดียวล่ะ แต่ส่วนที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับการปลูกฝังเลี้ยงดู และส่งเสริมของคุณพ่อคุณแม่ด้วยนะคะ ไหน ๆ ลูกก็ช่วยซนมาครึ่งทางแล้ว อย่าลืมช่วยเติมเต็มอีกครึ่งทางให้เขาเป็นเด็กฉลาดเรียนรู้ที่สมบูรณ์ด้วยนะจ๊ะ
ขอขอบคุณ : kapook
ลูกซน..การเรียนรู้ก็จะดีกว่าลูกอยู่นิ่งๆ
ผลการศึกษาของดอกเตอร์ลาริสซา ซามูเอลสัน และ ลินน์ เพอร์รี่ สองผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัยไอโอวา ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Developmental Science ภายใต้หัวข้อ Highchair Philosophers หรือ นักปราชญ์บนเก้าอี้เด็ก เผยว่า เด็กซุกซนกว่ามีการเรียนรู้ได้ดีกว่าจริง ๆ
ทั้งคู่ได้ทำการทดลองความฉลาดเฉลียดของเด็กซุกซน จากเด็กวัย 16 เดือนทั้งหมด 72 คน โดยเด็ก ๆ เหล่านี้ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่นั่งบนเก้าอี้สูงสำหรับเด็ก และเด็กที่นั่งบนเก้าอี้หันเข้าโต๊ะเด็กแบบธรรมดา เด็กแต่ละคนจะได้รับวัตถุที่ไม่แข็ง (แน่นอนว่าไม่อันตรายกับเด็กด้วย) จำนวน 14 รายการ เช่น แยมสตรอว์เบอร์รี ซอสบัตเตอร์สก็อต ซอสช็อกโกแลต ชีส ข้าวโอ๊ต เป็นต้น เด็ก ๆ จะได้รับการบอกชื่อของของแต่ละอย่าง โดยเป็นชื่อสมมุติที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้เด็กเรียกได้ง่าย เช่น แทนชื่อแยมสตรอว์เบอร์รีว่า "อิ๊ก", แทนชื่อชีสว่า "ก้า" เป็นต้น จากนั้นจึงปล่อยให้เด็ก ๆ ทำอะไรกับวัตถุเหล่านั้นก็ได้ตามใจภายในเวลาที่กำหนด ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะกลับมาใหม่พร้อมกับ ตัวอย่าง 14 รายการเหมือนข้างต้น แล้วให้เด็ก ๆ แต่ละคน บอกชื่อของที่พวกเขานำมาว่าคืออะไรบ้าง
ผลการทดลองปรากฏว่า เด็ก ๆ ที่มีพฤติกรรมแบบฉบับเด็กซุกซนช่างป่วน ที่จะทั้งจิ้ม บีบ ขยำ ละเลง เอามาชิม ปาของลงกับพื้น หรืออื่น ๆ สามารถระบุชื่อของวัตถุตัวอย่างได้ถูกต้องถึง 70% เมื่อเทียบกับเด็กที่ทำแค่เอานิ้วจิ้ม ๆ แล้วก็เลิกสนใจ ที่ตอบได้ถูกอยู่ที่ 50% เท่านั้น
นอกจากนี้ยังพบอีกว่า การได้นั่งอยู่บนเก้าอี้สูงสำหรับเด็กมีส่วนช่วยให้เด็ก ๆ ตอบได้ถูกต้องมากกว่าเด็กที่นั่งบนชุดโต๊ะเก้าอี้ธรรมดาด้วย เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า เก้าอี้เด็กนั้นเป็นโต๊ะอาหารสำหรับเด็กเล็กไปในตัว และพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้บ่อยครั้งก็เกิดขึ้นยามรับประทานอาหาร ที่เด็ก ๆ ชอบที่จะเล่นกับอาหารในถาดตรงหน้าพวกเขาด้วยการจิ้ม บีบ คลำ นำเข้าปาก หรือว่าเอาอาหารมาขว้างปาเลอะเทอะ ซึ่งเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้นั่นเอง เมื่อได้ถูกนำมาวัดความสามารถในการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่คถ้นเคยเช่นนี้ เด็กกลุ่มนี้จึงมีแนวโน้มทำได้ดีกว่านั่นเอง
*** เห็นผลการวิจัยออกมาแบบนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ที่มีตัวน้อยวัยเดียวกันและแสนจะแสบซน ก็คงจะหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง เพราะความแสบไซส์จิ๋วแบบนี้ก็คือตัวบ่งบอกว่าเขามีแนวโน้มจะโตไปเป็นเด็กฉลาดเฉลียวดีทีเดียวล่ะ แต่ส่วนที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับการปลูกฝังเลี้ยงดู และส่งเสริมของคุณพ่อคุณแม่ด้วยนะคะ ไหน ๆ ลูกก็ช่วยซนมาครึ่งทางแล้ว อย่าลืมช่วยเติมเต็มอีกครึ่งทางให้เขาเป็นเด็กฉลาดเรียนรู้ที่สมบูรณ์ด้วยนะจ๊ะ
ขอขอบคุณ : kapook