สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
น่าจะมีคนสงสัยกันไม่น้อยว่าช่างภาพเทพๆระดับช่างภาพ NG เนี่ย เค้ามีวิธีคัดตัวกันยังไง และคนที่จะไปเสนอตัวควรจะต้องฝึกฝนหรือทำให้ตัวเองมีคุณสมบัติอะไรบ้างเค้าถึงจะเลือกเรา คนที่จะมาไขข้อสงสัยนี้ก็คืออดีตบรรณาธิการภาพ director of photography for National Geographic Magazine ชื่อว่าคุณ Kent Kobersteen ซึ่งเคยอยู่ในตำแหน่งนี้เมื่อปี 1998-2005 ก็ราวๆ 7 ปี แกเคยเป็น picture editor มาตั้งแต่ปี 1983 ด้วยครับ เรียกว่าทำงานนี้ตั้งแต่ก่อนหลายๆคนเกิดเลยแหละ อ่อ ในประเทศไทยเรามีอยู่ท่านหนึ่งนะครับที่ทำงานกับ National Geographic ฉบับภาษาไทยชื่อคุณ ยุทธนา อัจฉริยวิญญู เค้าเคยพูดถึงงานนี้ในการให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร open ครั้งหนึ่งว่า
“ช่างภาพ NG ทุกคนต้องมุ่งมั่น อดทน ทำให้ดีที่สุด ไม่ดีที่สุด คุณหมดสิทธิ์ เพราะเขาเน้นทุกเฟรม แมกกาซีนไทยส่วนใหญ่ใส่ใจแค่ภาพเปิด แต่ที่นี่ทุกรูป และไม่ใช่แค่เรื่องรูป อย่างมาทำงานที่เขาใหญ่วันนี้ พวกแผนที่ กราฟ สถิติต่างๆ หาอะไรได้ ต้องทำ เพื่อให้เนื้อเรื่องสมบูรณ์ที่สุด” (http://www.onopen.com/2006/editor-spaces/591)
กลับมาที่ คุณ Kent Kobersteen แกสรุปบอกว่า คนที่แกอยากร่วมงานด้วย ต้องมี 4 อย่างอยู่ในตัวครับ คือ intellect, passion, maturity drive
สี่อย่างนี้ครับ คือสิ่งที่ช่างภาพ NG ทุกคนต้องมีในตัว นอกเหนือจากฝีมือการถ่ายภาพระดับศาสตราจารย์ดอกเตอร์ ที่ต้องมีติดตัวกันมาทุกคนอยู่แล้ว และทำไมจะต้องมองหาสิ่งเหล่านี้ในตัวช่างภาพที่จะมาทำงานให้ NG ด้วยล่ะ แกอธิบายแบบนี้ครับ
Intellect หรือสติปัญญา สิ่งนี้ต้องมีมากๆเพราะภาพถ่ายคือทั้งหมดทั้งมวลขององค์กร ช่างภาพจะต้องทำงานด้วยความฉลาดเฉลียว มีการวางแผนด้านต่างๆ และต้องแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงทีตลอดเวลา เอาง่ายๆแค่เราจัดทริปถ่ายภาพซักทริปหนึ่งยังรู้สึกว่ามันยุ่งยากและต้องจัดการอะไรหลายๆอย่าง แล้วถ้าต้องวางแผนเดินทางไปไนจีเรียเพื่อถ่ายชนเผ่าในป่าดงดิบซํกแห่ง จะวางแผนจัดการมันยังไง
Passion หรือความหลงใหล สิ่งนี้ถ้าไม่มีหมดสิทธิ์ทำงาน ความหลงใหลในงานที่ทำสำคัญมาก เพราะช่างภาพ NG แต่ละคนคือ Specialist ในสิ่งที่เขาออกไปถ่ายภาพ บางคนคือนักปีนเขาระดับโลก บางคนเป็นนักดำน้ำลึกที่เชี่ยวชาญ บ้างก็เป็นผู้รู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตทะเลสาปน้ำจืด และบางคนรู้จักแม่น้ำแยงซีดียิ่งกว่าคนจีนเจ้าของประเทศซะอีก แล้วถ้าเราไม่มีความชอบหรือถึงขั้น passion ในสิ่งนั้นแล้ว การจะนั่งมอง ทำงานกับมันเป็นเวลาหลายๆสัปดาห์หรือหลายๆเดือน แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยครับ
Maturity หรือวุฒิภาวะ คุณต้องทำงานกับคนมากมาย ต้องจัดการและติดต่อประสานงานกับคนพวกนั้น ต้องทำงานกับนักเขียนที่บางทีก็ทำงานขัดแย้งกัน และต้องทำทุกอย่างเพื่อให้เรื่องราวสารคดีที่ออกไปทำมันเสร็จตามเวลา งบประมาณ ความคาดหวังที่สูงลิบลิ่วจะคอยกดดันให้คุณทำงานพลาดในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้คนที่คอยแต่จะน้ำตาซึมตอนทำงานพลาด หมดสิทธิ์ที่จะได้เข้าไปทำงานที่นี่ครับ
Drive หรือ แรงขับในการทำงาน ช่างภาพ NG ทุกคนมีอยู่สูงสุดเท่าที่มนุษย์ซักคนจะพึงมี Kent บอกว่า ถ้าให้เลือกระหว่าง ช่างภาพที่มีสายตาอันเฉียบคม (ฝีมือสุดยอดนั่นแหละ) แต่ขี้เกียจ กับช่างภาพที่โคตรขยัน แต่ฝีมือทั่วไป เขาจะเลือกคนที่มีทั้งสองอย่าง ต้องสุดยอดฝีมือและขยันบ้างานสุดๆเท่านั้นที่เขาจะเลือกมาทำงาน
เป็นไงบ้างครับ ใครบ้างที่พอจะมีคุณสมบัติครบตามที่ลุงแกอยากได้บ้าง บอกกันตามตรงว่าช่างภาพคนไทยฝีมือดีมากมาย แต่ไอ้เจ้าสี่เรื่องที่ว่านี่แหละ น่าจะเป็นข้อจำกัดอย่างสูงสุดที่คอยบล็อกไม่ให้คนไทยได้เข้าไปทำงานในองค์กรแห่งนี้ครับ
เอามาจาก http://www.soccersuck.com/boards/topic/942580
“ช่างภาพ NG ทุกคนต้องมุ่งมั่น อดทน ทำให้ดีที่สุด ไม่ดีที่สุด คุณหมดสิทธิ์ เพราะเขาเน้นทุกเฟรม แมกกาซีนไทยส่วนใหญ่ใส่ใจแค่ภาพเปิด แต่ที่นี่ทุกรูป และไม่ใช่แค่เรื่องรูป อย่างมาทำงานที่เขาใหญ่วันนี้ พวกแผนที่ กราฟ สถิติต่างๆ หาอะไรได้ ต้องทำ เพื่อให้เนื้อเรื่องสมบูรณ์ที่สุด” (http://www.onopen.com/2006/editor-spaces/591)
กลับมาที่ คุณ Kent Kobersteen แกสรุปบอกว่า คนที่แกอยากร่วมงานด้วย ต้องมี 4 อย่างอยู่ในตัวครับ คือ intellect, passion, maturity drive
สี่อย่างนี้ครับ คือสิ่งที่ช่างภาพ NG ทุกคนต้องมีในตัว นอกเหนือจากฝีมือการถ่ายภาพระดับศาสตราจารย์ดอกเตอร์ ที่ต้องมีติดตัวกันมาทุกคนอยู่แล้ว และทำไมจะต้องมองหาสิ่งเหล่านี้ในตัวช่างภาพที่จะมาทำงานให้ NG ด้วยล่ะ แกอธิบายแบบนี้ครับ
Intellect หรือสติปัญญา สิ่งนี้ต้องมีมากๆเพราะภาพถ่ายคือทั้งหมดทั้งมวลขององค์กร ช่างภาพจะต้องทำงานด้วยความฉลาดเฉลียว มีการวางแผนด้านต่างๆ และต้องแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงทีตลอดเวลา เอาง่ายๆแค่เราจัดทริปถ่ายภาพซักทริปหนึ่งยังรู้สึกว่ามันยุ่งยากและต้องจัดการอะไรหลายๆอย่าง แล้วถ้าต้องวางแผนเดินทางไปไนจีเรียเพื่อถ่ายชนเผ่าในป่าดงดิบซํกแห่ง จะวางแผนจัดการมันยังไง
Passion หรือความหลงใหล สิ่งนี้ถ้าไม่มีหมดสิทธิ์ทำงาน ความหลงใหลในงานที่ทำสำคัญมาก เพราะช่างภาพ NG แต่ละคนคือ Specialist ในสิ่งที่เขาออกไปถ่ายภาพ บางคนคือนักปีนเขาระดับโลก บางคนเป็นนักดำน้ำลึกที่เชี่ยวชาญ บ้างก็เป็นผู้รู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตทะเลสาปน้ำจืด และบางคนรู้จักแม่น้ำแยงซีดียิ่งกว่าคนจีนเจ้าของประเทศซะอีก แล้วถ้าเราไม่มีความชอบหรือถึงขั้น passion ในสิ่งนั้นแล้ว การจะนั่งมอง ทำงานกับมันเป็นเวลาหลายๆสัปดาห์หรือหลายๆเดือน แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยครับ
Maturity หรือวุฒิภาวะ คุณต้องทำงานกับคนมากมาย ต้องจัดการและติดต่อประสานงานกับคนพวกนั้น ต้องทำงานกับนักเขียนที่บางทีก็ทำงานขัดแย้งกัน และต้องทำทุกอย่างเพื่อให้เรื่องราวสารคดีที่ออกไปทำมันเสร็จตามเวลา งบประมาณ ความคาดหวังที่สูงลิบลิ่วจะคอยกดดันให้คุณทำงานพลาดในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้คนที่คอยแต่จะน้ำตาซึมตอนทำงานพลาด หมดสิทธิ์ที่จะได้เข้าไปทำงานที่นี่ครับ
Drive หรือ แรงขับในการทำงาน ช่างภาพ NG ทุกคนมีอยู่สูงสุดเท่าที่มนุษย์ซักคนจะพึงมี Kent บอกว่า ถ้าให้เลือกระหว่าง ช่างภาพที่มีสายตาอันเฉียบคม (ฝีมือสุดยอดนั่นแหละ) แต่ขี้เกียจ กับช่างภาพที่โคตรขยัน แต่ฝีมือทั่วไป เขาจะเลือกคนที่มีทั้งสองอย่าง ต้องสุดยอดฝีมือและขยันบ้างานสุดๆเท่านั้นที่เขาจะเลือกมาทำงาน
เป็นไงบ้างครับ ใครบ้างที่พอจะมีคุณสมบัติครบตามที่ลุงแกอยากได้บ้าง บอกกันตามตรงว่าช่างภาพคนไทยฝีมือดีมากมาย แต่ไอ้เจ้าสี่เรื่องที่ว่านี่แหละ น่าจะเป็นข้อจำกัดอย่างสูงสุดที่คอยบล็อกไม่ให้คนไทยได้เข้าไปทำงานในองค์กรแห่งนี้ครับ
เอามาจาก http://www.soccersuck.com/boards/topic/942580
แสดงความคิดเห็น
ทำยังไงถึงจะได้ไปทำงานกับ National Geographic ครับ