สลิ่มที่ไม่รู้ว่า ปชป. มีผลงานอะไรบ้างมาดูเร๊ววว

กระทู้สนทนา
โครงการถนน 4 ช่องทางจราจรระยะที่ 1 ไปทั่วทุกภูมิภาค (46,000 ล้านบาท )

อันที่จริงการสร้างถนน 4 ช่องทางจราจรหรือเรียกง่ายๆ ว่าถนน 4 เลนนั้น รัฐบาลก่อนๆก็สร้างกันมาก่อนบ้างแล้ว เพียงแต่พอสังเกตได้ว่า พอรัฐมนตรีคนไหนมีอำนาจวาสนาก็ถือโอกาสสร้างถนน 4 เลนเข้าบ้านตัวเองและเข้าจังหวัดที่ตัวเองเป็นผู้แทนอยู่ เรื่องอย่างนี้ผมแอบชิงชังไม่ชอบ เขาเห็นแก่ตัวและน่ารังเกียจ ตัวผมเองเมื่อครั้งเป็นรองผู้ว่ากรุงเทพฯ ก็เคยขออนุมติสร้างถนนอ่อนนุชเป็น 4 เลนยกคันถนนสูงเพื่อใช้เป็นคันกั้นน้ำ ไม่ให้น้ำท่วมกรุงเทพและสมัยนั้นท่านผู้ว่ากรุงเทพฯ พี่จำลอง ศรีเมืองท่านก็อนุมัติให้ผมสร้างจนประชาชนชาวกรุงเทพได้ใช้มาตราบเท่าทุกวันนี้
ผมเคยเอานโยบายของรัฐบาลชุดก่อนๆ ทั้งหมดมาเปิดค้นหาดู ไม่ปรากฏว่ามีรัฐบาลชุดไหนก่อนหน้ารัฐบาลชวน 1 มีนโยบายสร้างถนน 4 เลนไปทั่วประเทศและทุกภูมิภาค ก็รัฐบาลชวน 1 เริ่มตั้งแต่ปี พ . ศ . 2535 นี้เองที่เป็นรัฐบาลชุดแรกของประเทศไทยที่ประกาศเป็นนโยบายและแถลงต่อรัฐสภาว่าจะสร้างถนน 4 เลนไปทั่วทุกภูมิภาค คือถนน 4 เลนจะต้องไปถึงเชียงราย ( ภาคเหนือ ) ไปถึงหนองคาย ( ภาคอีสาน ) ไปถึงตราด ( ภาคตะวันออก ) และไปถึงนราธิวาส ( ภาคใต้ )


รูปที่ 1 แผนที่ถนน 4 เลน ระยะที่ 1



รูปที่ 2 กำหนดการการวางศิลาฤกษ์ ถนน 4 เลน ระยะที่ 1



รูปที่ 3 การวางศิลาฤกษ์ถนน 4 เลน ระยะที่ 1 ของนายกชวน

ย้อนหลังวันนี้ ปีนี้ พ . ศ . 2550 ไปสัก 20 ปี จะเดินทางรถยนต์ไปภาคเหนือ อีสาน ตะวันออก หรือภาคใต้ ก็ต้องใช้ถนน 2 เลนแคบ ๆ จะแซงก็ยาก จะสวนก็ยาก อันตรายบนท้องถนนมากมาย จะไปไหนมาไหนทางรถยนต์ไม่สะดวกและใช้เวลานานมากกว่าจะถึงที่หมายปลายทาง

ถนน 4 เลนคือทูตทางเศรษฐกิจ ถนน 4 เลนไปถึงไหนก็เจริญที่นั่น สายน้ำ แม่น้ำลำคลองเป็นสายทางความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคมฉันใด ถนน 4 เลนเป็นสายทางความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคมฉันนั้น ริมถนน 4 เลนเต็มไปด้วยปั๊มน้ำมัน บ้านจัดสรร ชุมชน ตลาดร้านค้า ราคาที่ดินสูงขึ้น ในยุครัฐบาลชวน 1 (2535-38) กล่าวได้ว่าเป็นยุคเศรษฐกิจรุ่งเรือง การทำมาค้าคล่อง ผมเดินทางไปตรวจงานถนน 4 เลนที่ไหน คนทั่วไปแม้กระทั่งพระสงฆ์องค์เจ้าก็เคยขอถนน 4 เลนเลย “ โยม อาตมาอยากจะให้ถนน 4 เลนผ่านวัดอาตมาบ้าง ” เป็นอย่างนั้น จริง ๆ ครับ

วันนี้การก่อสร้างถนน 4 เลนระยะที่ 1 ไปทั่วทุกภูมิภาคเสร็จเรียบร้อยแล้ว


( ตามแนวตะวันตก-ตะวันออก ตามแนวเหนือ-ใต้ตัดกันเป็นตาหมากรุก )

เมื่อท่านนายกชวนอนุมัติให้กระทรวงคมนาคมสร้างถนน 4 เลนระยะที่ 1 ซึ่งเป็นรัศมีจากกรุงเทพฯ ไปภาคเหนือถึงเชียงราย จากกรุงเทพฯ ไปภาคอีสานถึงหนองคาย จากกรุงเทพฯ ไปภาคตะวันออกถึงตราด และจากกรุงเทพฯ ไปภาคใต้ถึงนราธิวาส ( รอบ ๆ กทม . หรือในช่วงต้น ๆ ของถนน 4 เลนระยะที่ 1 รัฐบาลก่อนหน้านี้ได้อนุมัติให้สร้างอยู่ก่อนบ้างแล้ว เพียงแต่ยังไม่มีนโยบายผลักดันให้ถนน 4 เลนไปเหนือสุด อีสานสุด ตะวันออกสุด และใต้สุด เหมือนรัฐบาลชวน 1) ผมและคณะผู้บริหารกระทรวงคมนาคมโดยเฉพาะกรมทางหลวงได้ขะมักเขม้นออกไปกำกับดูแลการก่อสร้าง ไปเร่งรัดงาน ติดตามผลงานทุกวันเสาร์วันอาทิตย์ เฉลี่ยไปทุกภาค วันเสาร์ไปตรวจงานภาคหนึ่ง วันรุ่งขึ้นอาทิตย์ก็ไปตรวจงานอีกภาคหนึ่ง การก่อสร้างสายทางยาว ๆ ก็ใช้ผู้รับเหมาหลาย ๆ รายแบ่งกันทำการก่อสร้างเป็นช่วง ๆ เพื่อให้ถนน 4 เลนเสร็จเร็ว ถ้าสายทางยาว ๆ ใช้ผู้รับเหมาเจ้าเดียวก็เสร็จช้า

วันหนึ่งผมและคณะไปตรวจงานสร้างถนน 4 เลนภาคเหนือ ผมและคณะแวะไปจังหวัดตากและเลยไปอำเภอแม่สอด ผมและคณะไปยืนริมแม่น้ำเมย ดูเรือแพที่ถ่อข้ามฟากไปมาระหว่างฝั่งไทย - พม่า ผมเห็นรถสิบล้อมากมายบรรทุกสินค้าเต็มคัน ผมเห็นจับกังลำเลียงสินค้าจากฝั่งไทยลงเรือลงแพจนเต็มลำแล้วก็ข้ามแม่น้ำเมยไปขนถ่ายลงฝั่งพม่าแล้วเรือแพเปล่าก็กลับมารับสินค้าจากฝั่งไทยนำไปส่งฝั่งพม่าอีกครั้งแล้วครั้งเล่า

ผมหารือกับท่านอธิบดีกรมทางหลวงที่ไปกับผมวันนั้น ท่านอธิบดีสนั่น ศรีรุ่งโรจน์ ว่าผมอยากสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเมย ตรงที่ผมยืนอยู่ตรงนี้ เพื่อเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าจากฝั่งไทยไปพม่า และสินค้าไทยอาจจะเลยไปถึงประเทศบังคลาเทศโน่น

ผมเรียนกับท่านอธิบดีกรมทางหลวง ( ท่านสนั่น ศรีรุ่งโรจน์ ) ว่าให้เตรียมเสาเข็มก่อสร้างสะพาน เตรียมงานวางศิลาฤกษ์ เตรียมออกแบบสะพาน ประสานงานกับเจ้าหน้าที่การทางประเทศพม่าเรื่องสะพาน เตรียมโอนงบประมาณเหลือจ่ายมาไว้สำหรับโครงการนี้ ส่วนผมจะประสานกับท่านประสงค์ สุ่นศิริ และท่านสุรินทร์ พิศสุวรรณ ซึ่งในสมัยนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่อหารือกับประเทศพม่า ( ซึ่งท่านทั้งสองให้ความกรุณาอนุเคราะห์เป็นอย่างดีจนได้เริ่มลงมือวางศิลาฤกษ์และก่อสร้างสร้างสะพานได้ )



รูปที่ 4 กำหนดการการวางศิลาฤกษ์สะพานข้ามแม่น้ำเมย



รูปที่ 5 การวางศิลาฤกษ์สะพานข้ามแม่น้ำเมย


และผมได้บอกกับท่านอธิบดีกรมท่านหลวงอีกว่า สะพานสร้างตรงนี้จากสะพานนี้ให้สร้างถนน 4 เลน ไปทางทิศตะวันออกจนไปถึงจังหวัดมุกดาหาร ที่มุกดาหารจะต้องมีสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่สอง สะพานข้ามแม่น้ำโขงที่จังหวัดมุกดาหารจะไปเชื่อมถนนหมายเลข 9 ในประเทศลาวไปทางตะวันออกเรื่อยๆจนไปถึงท่าเรือดานัง ประเทศเวียดนาม

ถนน 4 เลนที่เชื่อม อ . แม่สอด จังหวัดตาก ไปถึงจังหวัดมุกดาหารเป็นแนวตะวันตก - ตะวันออกถือว่าเป็นแกนหลัก ผมขอให้กรมทางหลวงไปออกแบบถนนแนวตะวันตก - ตะวันออกอีกหลาย ๆ เส้น ให้ขนานกัน แล้วให้ออกแบบแนวถนนเหนือใต้อีกหลาย ๆ เส้น ถนนแนวตะวันตก - ตะวันออกจะตัดกับแนวถนนเหนือใต้เป็นตาหมากรุก ผมมีความมุ่งหมายอยากให้ทุกจังหวัดมีถนน 4 เลน ผ่านทุกจังหวัด

กรมทางหลวงก็ไปออกแบบทำแผนการก่อสร้างมาเร็วทันใจ ( ผมเป็นคนติดตามงานนี้อย่างใกล้ชิด ) กรมทางหลวงเสนอแบบมาตามรูป


และผมได้บอกกับท่านอธิบดีกรมท่านหลวงอีกว่า สะพานสร้างตรงนี้จากสะพานนี้ให้สร้างถนน 4 เลน ไปทางทิศตะวันออกจนไปถึงจังหวัดมุกดาหาร ที่มุกดาหารจะต้องมีสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่สอง สะพานข้ามแม่น้ำโขงที่จังหวัดมุกดาหารจะไปเชื่อมถนนหมายเลข 9 ในประเทศลาวไปทางตะวันออกเรื่อยๆจนไปถึงท่าเรือดานัง ประเทศเวียดนาม

ถนน 4 เลนที่เชื่อม อ . แม่สอด จังหวัดตาก ไปถึงจังหวัดมุกดาหารเป็นแนวตะวันตก - ตะวันออกถือว่าเป็นแกนหลัก ผมขอให้กรมทางหลวงไปออกแบบถนนแนวตะวันตก - ตะวันออกอีกหลาย ๆ เส้น ให้ขนานกัน แล้วให้ออกแบบแนวถนนเหนือใต้อีกหลาย ๆ เส้น ถนนแนวตะวันตก - ตะวันออกจะตัดกับแนวถนนเหนือใต้เป็นตาหมากรุก ผมมีความมุ่งหมายอยากให้ทุกจังหวัดมีถนน 4 เลน ผ่านทุกจังหวัด

กรมทางหลวงก็ไปออกแบบทำแผนการก่อสร้างมาเร็วทันใจ ( ผมเป็นคนติดตามงานนี้อย่างใกล้ชิด ) กรมทางหลวงเสนอแบบมาตามรูป



รูปที่ 6 แผนที่ถนน 4 เลน ระยะที่ 2


ผมเสนอรัฐบาลชวน 1 พิจารณาอนุมัติโครงการถนน 4 เลนระยะที่ 2 แนวตะวันตก - ตะ วันออก ตัดกับแนวเหนือ - ใต้ เป็นตาหมากรุก ระยะทาง 4,366 กม . งบก่อสร้าง 103,300 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาก่อสร้างตั้งแต่ปี 2539-2549 รวมเวลาทั้งหมด 10 ปี แล้วท่านนายกชวน และ ครม . ของท่านก็อนุมัติ ผมยังเก็บลายเซ็นอนุมัติของท่านนายกชวนไว้เป็นอนุสรณ์ ท่านกล้าอนุมัติอภิมหาโครงการ ท่านมองไกล ท่านกระจายความเจริญไปทั่วทุกภูมิภาค ทุกจังหวัด

เมื่อท่านอนุมัติโครงการ 4 เลน ระยะที่ 2 แล้ว ต่อมาช่วงประมาณต้นปี 38 ท่านก็ยังอนุมัติโครงการถนน 4 เลน ตาหมากรุกเพิ่มเติมอีกบ้าง เพื่อให้การเชื่อมโยงไทยไปได้อย่างทั่วถึง ซึ่งการอนุมัติเพิ่มเติมนี้ผมได้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีแล้ว การเมืองมีมาแล้วก็มีไป แต่แนวความคิดยังเป็นมรดกให้มีการต่อยอดเติมเต็มไปเรื่อยๆ

มาถึงวันนี้ ถนน 4 เลน ระยะที่ 1 สร้างเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อย คนใช้เป็นประโยชน์ไปแล้ว บางเส้นทางก็พังไปแล้ว ซ่อมแล้วซ่อมอีก แต่ถึงอย่างไรการเชื่อมโยงไทยไปเหนือ ใต้ ออก ตก ก็สะดวกกว่าสมัยเมื่อ 20 ปี ก่อนหน้านี้มากโขทีเดียว

ส่วนถนน 4 เลน ระยะที่ 2 สร้างเสร็จไปแล้วประมาณ 50 % และควรจะเสร็จสมบูรณ์ 100 % ตั้งแต่ปี 2549 มาถึงวันนี้ ความคืบหน้าการก่อสร้างถนน 4 เลน ระยะที่ 2 คืบหน้าไปแค่ไหนก็ขอแสดงให้ดูตามรูป



รูปที่ 7 ความคืบหน้าการก่อสร้างถนน 4 เลน ระยะที่ 2
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่