การชุมนุมของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้
เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)
ตลอด 50 วัน พยายามทำทุกทาง เรียกหากองทัพให้ออกมายืนเคียงข้าง
มวลมหาประชาชน
"สุเทพ เทือกสุบรรณ" เลขาฯ กปปส.บอกว่า ถ้าเป็นสมัยก่อน รัฐบาลทำชั่วทำเลว
แบบนี้ทหารปฏิวัติไปแล้ว
แต่ ณ วันนี้ผู้นำเหล่าทัพกลับหลบหลังฉากการเมือง มิได้แสดงบทบาทตามที่ กปปส.เรียกร้อง
"สุรชาติ บำรุงสุข" นักวิชาการด้านความมั่นคง จากรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างทหารกับรัฐบาลในชั่วโมงวิกฤตการเมืองขั้นแตกหัก
ผ่าน "ประชาชาติธุรกิจ" ไว้อย่างน่าสนใจ
-ทั้งความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับกองทัพในปัจจุบัน
- ทำไมวันนี้ทหารกลายเป็นตัวกลางเจรจา ทั้งๆที่ในอดีตทหารเข้ามา
แทรกแซงการเมืองเพื่อแชร์อำนาจ
- วิกฤตครั้งนี้ทำไมทหารไม่กล้าออกมา
- สถานการณ์ต้องรุนแรงแค่ไหนถึงต้องมีการเทียบเชิญทหาร
- ถ้าเกิดวิกฤตขึ้นจริง ๆ ทหารจะออกมารูปแบบไหน
- ณ วันนี้เรายังมั่นใจได้หรือไม่ว่า กองทัพจะออกหรือไม่ออกมาปฏิวัติ ?
- มีโอกาสอีกไหมที่ทหารออกมานั่งเรียงหน้าจอทีวี
ทำไมเขาถึงบอกว่าการทำรัฐประหารวันนี้ไม่ใช่ของง่ายสำหรับทหารอีกต่อไป ?
คลิกอ่านรายละเอียดบทสัมภาษณ์ที่นี่
ดร.สุรชาติ เช็กกลิ่นรัฐประหาร วัดใจผู้บัญชาการเหล่าทัพ "ไม่มีผู้นำคนไหนอยากเป็นจำเลยรอบใหม่"
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1387425848
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1387428373&grpid=01&catid=&subcatid=
ตัวอย่าง บทสัมภาษณ์ ....
- ถ้าเกิดวิกฤตขึ้นจริง ๆ ทหารจะออกมารูปแบบไหน
เดาว่ารูปแบบการยึดอำนาจคงไม่ง่าย เพราะถ้ายึดอำนาจสุดท้ายทหารต้องเป็นคนจัดตั้ง
รัฐบาล สิ่งที่เชื่อว่าผู้นำทหารคิดมากอยู่พอสมควร ถ้ายึดแล้วเกิดกลุ่มที่ชุมนุมต่อต้าน
รัฐบาลเขาไม่ยอม ไม่เอาทหาร ไม่เอารัฐบาลทหาร ทหารก็จะกลายเป็นองค์กรที่เผชิญ
กับฝ่ายต่อต้าน 2 ส่วน กลุ่มม็อบบนถนนก็ไม่เอา กลุ่มม็อบเสื้อแดงที่อยู่ต่างจังหวัดก็ไม่เอา
ผมคิดว่าสถานการณ์อย่างนั้นผู้นำทหารไม่ต้องการ รัฐประหารรอบนี้มีความสุ่มเสี่ยงอยู่มาก
เพราะฉะนั้นบทบาทของทหารเราถึงเห็นการปรับบทบาท วันนี้ทหารจากกลายเป็นคนที่
กลัวว่าจะยึดอำนาจ ผู้นำทหารกลับเล่นบทบาทเป็นเหมือนผู้อำนวยความสะดวกให้เกิด
การพูดคุยระหว่างสองฝ่าย
- มีโอกาสอีกไหมที่ทหารออกมานั่งเรียงหน้าจอทีวีแล้วบอกว่า "ถ้าเป็นรัฐบาลลาออกไปนานแล้ว"
เหมือนที่ พล.อ.อนุพงษ์เคยทำ
ยังหวังว่าจะไม่ไปสู่จุดนั้น เนื่องจากสถานะรัฐบาลยังอยู่ อย่าลืมว่าถ้าทหารตัดสินใจทำอย่างนั้น
ทหารก็ต้องคิดถึงว่าผลสืบเนื่องในอนาคตคืออะไร ถ้าทหารเอารัฐบาลออก กลุ่ม กปปส.จะยอม
ให้ทหารตั้งรัฐบาลไหม หรือท้ายที่สุด กปปส.เองยืนยันว่าเขาต้องการตั้งรัฐบาลในแนวทางของเขา
ทหารต้องเจอ 2 แนวรบ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่แน่ ๆ
ไปอ่านกันเต็มๆ ตาม link ดีกว่า ที่เอามาให้นี่แค่ น้ำจิ้มเท่านั้น
′ดร.สุรชาติ บำรุงสุข′ เช็กกลิ่นรัฐประหาร วัดใจผู้บัญชาการเหล่าทัพ ... !! มติชนออนไลน์
เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)
ตลอด 50 วัน พยายามทำทุกทาง เรียกหากองทัพให้ออกมายืนเคียงข้าง
มวลมหาประชาชน
"สุเทพ เทือกสุบรรณ" เลขาฯ กปปส.บอกว่า ถ้าเป็นสมัยก่อน รัฐบาลทำชั่วทำเลว
แบบนี้ทหารปฏิวัติไปแล้ว
แต่ ณ วันนี้ผู้นำเหล่าทัพกลับหลบหลังฉากการเมือง มิได้แสดงบทบาทตามที่ กปปส.เรียกร้อง
"สุรชาติ บำรุงสุข" นักวิชาการด้านความมั่นคง จากรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างทหารกับรัฐบาลในชั่วโมงวิกฤตการเมืองขั้นแตกหัก
ผ่าน "ประชาชาติธุรกิจ" ไว้อย่างน่าสนใจ
-ทั้งความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับกองทัพในปัจจุบัน
- ทำไมวันนี้ทหารกลายเป็นตัวกลางเจรจา ทั้งๆที่ในอดีตทหารเข้ามา
แทรกแซงการเมืองเพื่อแชร์อำนาจ
- วิกฤตครั้งนี้ทำไมทหารไม่กล้าออกมา
- สถานการณ์ต้องรุนแรงแค่ไหนถึงต้องมีการเทียบเชิญทหาร
- ถ้าเกิดวิกฤตขึ้นจริง ๆ ทหารจะออกมารูปแบบไหน
- ณ วันนี้เรายังมั่นใจได้หรือไม่ว่า กองทัพจะออกหรือไม่ออกมาปฏิวัติ ?
- มีโอกาสอีกไหมที่ทหารออกมานั่งเรียงหน้าจอทีวี
ทำไมเขาถึงบอกว่าการทำรัฐประหารวันนี้ไม่ใช่ของง่ายสำหรับทหารอีกต่อไป ?
คลิกอ่านรายละเอียดบทสัมภาษณ์ที่นี่
ดร.สุรชาติ เช็กกลิ่นรัฐประหาร วัดใจผู้บัญชาการเหล่าทัพ "ไม่มีผู้นำคนไหนอยากเป็นจำเลยรอบใหม่"
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1387425848
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1387428373&grpid=01&catid=&subcatid=
ตัวอย่าง บทสัมภาษณ์ ....
- ถ้าเกิดวิกฤตขึ้นจริง ๆ ทหารจะออกมารูปแบบไหน
เดาว่ารูปแบบการยึดอำนาจคงไม่ง่าย เพราะถ้ายึดอำนาจสุดท้ายทหารต้องเป็นคนจัดตั้ง
รัฐบาล สิ่งที่เชื่อว่าผู้นำทหารคิดมากอยู่พอสมควร ถ้ายึดแล้วเกิดกลุ่มที่ชุมนุมต่อต้าน
รัฐบาลเขาไม่ยอม ไม่เอาทหาร ไม่เอารัฐบาลทหาร ทหารก็จะกลายเป็นองค์กรที่เผชิญ
กับฝ่ายต่อต้าน 2 ส่วน กลุ่มม็อบบนถนนก็ไม่เอา กลุ่มม็อบเสื้อแดงที่อยู่ต่างจังหวัดก็ไม่เอา
ผมคิดว่าสถานการณ์อย่างนั้นผู้นำทหารไม่ต้องการ รัฐประหารรอบนี้มีความสุ่มเสี่ยงอยู่มาก
เพราะฉะนั้นบทบาทของทหารเราถึงเห็นการปรับบทบาท วันนี้ทหารจากกลายเป็นคนที่
กลัวว่าจะยึดอำนาจ ผู้นำทหารกลับเล่นบทบาทเป็นเหมือนผู้อำนวยความสะดวกให้เกิด
การพูดคุยระหว่างสองฝ่าย
- มีโอกาสอีกไหมที่ทหารออกมานั่งเรียงหน้าจอทีวีแล้วบอกว่า "ถ้าเป็นรัฐบาลลาออกไปนานแล้ว"
เหมือนที่ พล.อ.อนุพงษ์เคยทำ
ยังหวังว่าจะไม่ไปสู่จุดนั้น เนื่องจากสถานะรัฐบาลยังอยู่ อย่าลืมว่าถ้าทหารตัดสินใจทำอย่างนั้น
ทหารก็ต้องคิดถึงว่าผลสืบเนื่องในอนาคตคืออะไร ถ้าทหารเอารัฐบาลออก กลุ่ม กปปส.จะยอม
ให้ทหารตั้งรัฐบาลไหม หรือท้ายที่สุด กปปส.เองยืนยันว่าเขาต้องการตั้งรัฐบาลในแนวทางของเขา
ทหารต้องเจอ 2 แนวรบ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่แน่ ๆ
ไปอ่านกันเต็มๆ ตาม link ดีกว่า ที่เอามาให้นี่แค่ น้ำจิ้มเท่านั้น