สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ขอตอบแบบรวม ๆ ก็แล้วกันนะ
1. ข้าวหอมมะลิที่ยอมรับกันจะมีอยู่ 2 พันธุ์ด้วยกันคือ 1. พันธุ์กข.15 และ 2. พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ก็คือพันธุ์ที่คุณถามถึง
2. ข้าวหอมมันจะมีอีกหลายพันธุ์ที่ปลูก เช่น ปทุมธานี หอมสุพรรณ คือการจะเป็นข้าวหอมได้ เวลาหุงต้มต้องมีกลิ่นหอม
พื้นข้าวต้องนิ่มเมื่อหุงสุก มีค่าอมิโลสต่ำประมาณ 14 ลงมา (ต่ำมากจะเป็นข้าวเหนียวไป คือมันจะนิ่มจนเหนียว)
3. ข้าวหอมมะลิ ต้นกำเนิดจริง ๆ คือเป็นพันธุ์ข้าวที่เก็บมาจากพื้นที่ใน จ.ฉะเชิงเทรา ตอนกรมการข้าวรวบรวมเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมือง
โดยข้าวขาวดอกหอมมะลิถูกรวบรวมเป็นอันดับที่ 105 จึงนำมาเรียกเป็นชื่อพันธุ์ว่าขาวดอกมะลิ 105 แต่คนไทยจะเรียกย่อว่า
ข้าวหอมมะลิ 105 และกรมวิชาการเกษตรยังเอาไปดัดแปลงพันธุ์โดยการฉายรังสีได้พันธุ์ข้าวเหนียว กข.6 ซึ่งมีคุณสมบัติ
นุ่ม หอม เมล็ดใส ๆ ชาวบ้านทั่วไปยังติดปากเรียกว่าข้าวเหนียวมะลิก็ยังมีในบางพื้นที่
4. พื้นที่เพาะปลูกมาก ก็คือพื้นที่ในจังหวัดภาคอีสาน เช่นร้อยเอ็ด ยโสธร สุรินทร์ อำนาจเจริญ มหาสารคาม ฯลฯ มีเกือบทุกจังหวัด
และภาคเหนือในจังหวัดเชียงราย พะเยา เชียงใหม่ ถ้านอกเหนือจากนี้จะทางราชการจะเรียกว่าข้าวหอมจังหวัด เพราะถือว่ามีคุณสมบัติ
ที่อาจจะกลายพันธุ์ไปจากแหล่งผลิตในภาคอีสาน และ 3 จังหวัดภาคเหนือที่บอกไว้
5. ข้าวหอมมะลิเป็นพันธุ์ข้าวที่ไวแสง ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติของข้าวพื้นเมืองไทย ทำให้เพาะปลูกได้เฉพาะนาปีเท่านั้น คำว่าไวแสงคือ
ไม่ว่าคุณจะเพาะปลูกในช่วงต้นฤดูเดือนไหนก็ตาม เช่นคนที่ปลูกเดือนเมษายน กับคนที่ปลูกเดือนสิงหาคม ต้นข้าวมันจะไปออกรวง
พร้อมกันในช่วงกลางเดือนตุลาคม-กลางเดือนพฤศจิกายน เพราะมันต้องอาศัยช่วงแสงแดดที่กลางวันสั้นกว่ากลางคืน คือมืดเร็วกว่า
ช่วงเดือนก่อนหน้านี้ มันถึงจะตั้งท้องออกรวง ดังนั้น เกษตรกรบางรายดวงซวยไปเจอไฟส่องสว่างของถนนตามสี่แยกที่ส่องทั้งคืน
ทำให้ข้าวไม่ยอมออกรวงก็มี ส่วนที่มีข่าวว่าบางจังหวัดสามารถทำการปลูกข้าวหอมมะลินาปรังได้ ก็ให้รู้ไว้ว่าคุณสมบัติมันไม่ได้ตาม
เกณฑ์
6. ทำไหมคนไทยถึงบริโภคข้าวหอมมะลิราคาแพง ก็เพราะว่ามันปลูกได้แค่ปีละครั้งเท่านั้น แล้วผลผลิตต่อไร่ก็ต่ำมากคือเฉลี่ยเพียงแค่
350-450 กก./ไร่ เท่านั้น ซึ่งเป็นคุณสมบัติด้อยของพันธุ์ข้าวชนิดนี้ ถ้าต้องขายราคาถูก เกษตรกรที่ไหนจะอยากปลูก เพราะผลผลิต
ก็น้อยอยู่แล้ว ปีได้แค่ปีละครั้ง ยังมาขายได้ราคาต่ำอีก
7. รัฐบาลต้องจำนำข้าวหอมมะลิ ในราคาสูงเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ปลูกข้าวหอมมะลิให้อยู่ได้ จึงจำนำสูงกว่าข้าวชนิดอื่น ๆ ในปัจจุบัน
จำนำที่ตันละ 20,000 บาท แต่เฉลี่ยแล้วเกษตรกรจะได้รับที่ตันละ 18,000 ขึ้นไป ตามคุณภาพข้าวและระดับความชื้น สิ่งเจือปนที่มี
ซึ่งก็ถือว่าสูงกว่าราคาตลาดมาก ราคาตลาดปัจจุบันจะอยู่ที่ตันละ 14,500-16,000 บ.
8. คิดกันง่าย ๆ จากราคารับซื้อข้าวเปลือกที่ตันละ 15,000 บ. ซึ่งเมื่อสีเป็นข้าวสาร จากข้าวเปลือก 1 กก.จะได้ข้าวสารประมาณ 450 กรัม
ที่เหลือก็จะเป็นปลายข้าว รำ และแกลบไป ทำให้ราคาจำหน่ายต้องสุงตาม คือ ข้าวเปลือก 1 กก.= 15 บ. สีได้ข้าวสาร 450 กรัม = 6.75 บ.
ต้นทุนจะเป็น 15+6.75=21.75 บ. เมื่อรวมกับค่าใช้จ่าย เช่นค่ากระสอบ ค่าไฟ ค่าขนส่ง ค่าคนงาน ต้นทุนอื่น ๆ และกำไรของโรงสี
ผู้ขายส่ง ขายปลีก จนถึงคนกิน จึงออกมาเป็น กก.ละ 30 บ.ขึ้นไป นี่คิดจากราคาตลาดไม่ได้คิดจากราคารับจำนำนะ ไม่งั้นสูงกว่านี้
9. ถ้าจะซื้อข้าวหอมมะลิแท้ ไม่มีข้าวอื่นปลอมปน ต้องไปหาซื้อพวกข้าวที่ผลิตโดยสหกรณ์การเกษตรทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในแหล่งผลิต
เช่น สหกรณ์ใน จ.ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ยโสธร อุบล อำนาจเจริญ เพราะสหกรณ์เหล่านี้จะไม่ผสมข้าวอื่น ๆ ลงไปแน่นอน เนื่องจากใน
แหล่งผลิตไม่มีการปลูกข้าวเจ้าชนิดอื่น และเขาก็ไม่รู้จะผสมไปเพื่ออะไร ให้เสียชื่อเสียงของสหกรณ์เขา แต่ก็ต้องยอมรับราคาที่แพงขึ้น
กว่าข้าวถุงยี่ห้อตลาด ๆ ทั่วไปนะ
10. วิธีสังเกตุเมล็ดข้าวตอนซื้อ ให้ดูลักษณะของเมล็ดข้าว ต้องมีสีใส ไม่มีสีขาวขุ่นแบบข้าวเหนียว หรือขาวมัว ๆ ปนอยู่ในถุง เพราะข้าว
หอมมะลิต้องขาว ใส เก็บไว้นานแค่ไหน เอามาหุงต้องมีกลิ่นหอม ไม่มีกลิ่นเหม็นสาป แบบข้าวภาคกลาง ซึ่งเป็นเพราะข้าวหอมมะลิ
จะเก็บเกี่ยวตอนข้าวสุกเหลืองอร่ามเต็มทุ่ง ข้าวส่วนใหญ่จะแห้ง เพราะการเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม เป็นช่วงหน้าหนาว
น้ำจะแห้งนา แสงแดดจะจัด ช่วยให้ข้าวแห้งเร็ว ข้าวจึงไม่มีกลิ่นสาป
ถ้าอยากได้ข้าวหอมมะลิแท้ให้ขึ้นมาเที่ยวภาคอีสาน แล้วแวะหาซื้อตามร้านค้าสหกรณ์ในตัวอำเภอของจังหวัดที่กล่าวไว้ข้างต้น ส่วนผม
ไม่ได้เป็นชาวนา แต่เป็นคนกรุงเทพฯ ที่มาทำงานอยู่ภาคอีสานนานเป็น 20 ปีแล้ว จนกินข้าวภาคกลางไม่เป็น มันแข็ง ติดกินข้าวหอมมะลิ
จนชิน กลับไปบ้านกรุงเทพฯ ไม่ยอมกินข้าวที่บ้านโดนพ่อด่าประจำ เพราะกินไม่อร่อยเลย เพื่อนจากภาคใต้ขึ้นมาเที่ยว พาไปกินข้าวร้าน
ไหน ๆ โดยเฉพาะข้าวหมูแดง ข้าวมันไก่ มันบอกทำไมข้าวในภาคอีสานอร่อยทุกร้าน ทั้ง ๆ ที่เราก็ว่าไม่เห็นจะอร่อยเลยร้านนี้ พอมาคิดดู
คงเป็นเพราะเขาใช้ข้าวหอมมะลิแท้นี่เอง เอาลงไปให้ญาติเพื่อนที่ปักษ์ใต้ก็ติดใจกันทุกคน
1. ข้าวหอมมะลิที่ยอมรับกันจะมีอยู่ 2 พันธุ์ด้วยกันคือ 1. พันธุ์กข.15 และ 2. พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ก็คือพันธุ์ที่คุณถามถึง
2. ข้าวหอมมันจะมีอีกหลายพันธุ์ที่ปลูก เช่น ปทุมธานี หอมสุพรรณ คือการจะเป็นข้าวหอมได้ เวลาหุงต้มต้องมีกลิ่นหอม
พื้นข้าวต้องนิ่มเมื่อหุงสุก มีค่าอมิโลสต่ำประมาณ 14 ลงมา (ต่ำมากจะเป็นข้าวเหนียวไป คือมันจะนิ่มจนเหนียว)
3. ข้าวหอมมะลิ ต้นกำเนิดจริง ๆ คือเป็นพันธุ์ข้าวที่เก็บมาจากพื้นที่ใน จ.ฉะเชิงเทรา ตอนกรมการข้าวรวบรวมเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมือง
โดยข้าวขาวดอกหอมมะลิถูกรวบรวมเป็นอันดับที่ 105 จึงนำมาเรียกเป็นชื่อพันธุ์ว่าขาวดอกมะลิ 105 แต่คนไทยจะเรียกย่อว่า
ข้าวหอมมะลิ 105 และกรมวิชาการเกษตรยังเอาไปดัดแปลงพันธุ์โดยการฉายรังสีได้พันธุ์ข้าวเหนียว กข.6 ซึ่งมีคุณสมบัติ
นุ่ม หอม เมล็ดใส ๆ ชาวบ้านทั่วไปยังติดปากเรียกว่าข้าวเหนียวมะลิก็ยังมีในบางพื้นที่
4. พื้นที่เพาะปลูกมาก ก็คือพื้นที่ในจังหวัดภาคอีสาน เช่นร้อยเอ็ด ยโสธร สุรินทร์ อำนาจเจริญ มหาสารคาม ฯลฯ มีเกือบทุกจังหวัด
และภาคเหนือในจังหวัดเชียงราย พะเยา เชียงใหม่ ถ้านอกเหนือจากนี้จะทางราชการจะเรียกว่าข้าวหอมจังหวัด เพราะถือว่ามีคุณสมบัติ
ที่อาจจะกลายพันธุ์ไปจากแหล่งผลิตในภาคอีสาน และ 3 จังหวัดภาคเหนือที่บอกไว้
5. ข้าวหอมมะลิเป็นพันธุ์ข้าวที่ไวแสง ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติของข้าวพื้นเมืองไทย ทำให้เพาะปลูกได้เฉพาะนาปีเท่านั้น คำว่าไวแสงคือ
ไม่ว่าคุณจะเพาะปลูกในช่วงต้นฤดูเดือนไหนก็ตาม เช่นคนที่ปลูกเดือนเมษายน กับคนที่ปลูกเดือนสิงหาคม ต้นข้าวมันจะไปออกรวง
พร้อมกันในช่วงกลางเดือนตุลาคม-กลางเดือนพฤศจิกายน เพราะมันต้องอาศัยช่วงแสงแดดที่กลางวันสั้นกว่ากลางคืน คือมืดเร็วกว่า
ช่วงเดือนก่อนหน้านี้ มันถึงจะตั้งท้องออกรวง ดังนั้น เกษตรกรบางรายดวงซวยไปเจอไฟส่องสว่างของถนนตามสี่แยกที่ส่องทั้งคืน
ทำให้ข้าวไม่ยอมออกรวงก็มี ส่วนที่มีข่าวว่าบางจังหวัดสามารถทำการปลูกข้าวหอมมะลินาปรังได้ ก็ให้รู้ไว้ว่าคุณสมบัติมันไม่ได้ตาม
เกณฑ์
6. ทำไหมคนไทยถึงบริโภคข้าวหอมมะลิราคาแพง ก็เพราะว่ามันปลูกได้แค่ปีละครั้งเท่านั้น แล้วผลผลิตต่อไร่ก็ต่ำมากคือเฉลี่ยเพียงแค่
350-450 กก./ไร่ เท่านั้น ซึ่งเป็นคุณสมบัติด้อยของพันธุ์ข้าวชนิดนี้ ถ้าต้องขายราคาถูก เกษตรกรที่ไหนจะอยากปลูก เพราะผลผลิต
ก็น้อยอยู่แล้ว ปีได้แค่ปีละครั้ง ยังมาขายได้ราคาต่ำอีก
7. รัฐบาลต้องจำนำข้าวหอมมะลิ ในราคาสูงเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ปลูกข้าวหอมมะลิให้อยู่ได้ จึงจำนำสูงกว่าข้าวชนิดอื่น ๆ ในปัจจุบัน
จำนำที่ตันละ 20,000 บาท แต่เฉลี่ยแล้วเกษตรกรจะได้รับที่ตันละ 18,000 ขึ้นไป ตามคุณภาพข้าวและระดับความชื้น สิ่งเจือปนที่มี
ซึ่งก็ถือว่าสูงกว่าราคาตลาดมาก ราคาตลาดปัจจุบันจะอยู่ที่ตันละ 14,500-16,000 บ.
8. คิดกันง่าย ๆ จากราคารับซื้อข้าวเปลือกที่ตันละ 15,000 บ. ซึ่งเมื่อสีเป็นข้าวสาร จากข้าวเปลือก 1 กก.จะได้ข้าวสารประมาณ 450 กรัม
ที่เหลือก็จะเป็นปลายข้าว รำ และแกลบไป ทำให้ราคาจำหน่ายต้องสุงตาม คือ ข้าวเปลือก 1 กก.= 15 บ. สีได้ข้าวสาร 450 กรัม = 6.75 บ.
ต้นทุนจะเป็น 15+6.75=21.75 บ. เมื่อรวมกับค่าใช้จ่าย เช่นค่ากระสอบ ค่าไฟ ค่าขนส่ง ค่าคนงาน ต้นทุนอื่น ๆ และกำไรของโรงสี
ผู้ขายส่ง ขายปลีก จนถึงคนกิน จึงออกมาเป็น กก.ละ 30 บ.ขึ้นไป นี่คิดจากราคาตลาดไม่ได้คิดจากราคารับจำนำนะ ไม่งั้นสูงกว่านี้
9. ถ้าจะซื้อข้าวหอมมะลิแท้ ไม่มีข้าวอื่นปลอมปน ต้องไปหาซื้อพวกข้าวที่ผลิตโดยสหกรณ์การเกษตรทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในแหล่งผลิต
เช่น สหกรณ์ใน จ.ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ยโสธร อุบล อำนาจเจริญ เพราะสหกรณ์เหล่านี้จะไม่ผสมข้าวอื่น ๆ ลงไปแน่นอน เนื่องจากใน
แหล่งผลิตไม่มีการปลูกข้าวเจ้าชนิดอื่น และเขาก็ไม่รู้จะผสมไปเพื่ออะไร ให้เสียชื่อเสียงของสหกรณ์เขา แต่ก็ต้องยอมรับราคาที่แพงขึ้น
กว่าข้าวถุงยี่ห้อตลาด ๆ ทั่วไปนะ
10. วิธีสังเกตุเมล็ดข้าวตอนซื้อ ให้ดูลักษณะของเมล็ดข้าว ต้องมีสีใส ไม่มีสีขาวขุ่นแบบข้าวเหนียว หรือขาวมัว ๆ ปนอยู่ในถุง เพราะข้าว
หอมมะลิต้องขาว ใส เก็บไว้นานแค่ไหน เอามาหุงต้องมีกลิ่นหอม ไม่มีกลิ่นเหม็นสาป แบบข้าวภาคกลาง ซึ่งเป็นเพราะข้าวหอมมะลิ
จะเก็บเกี่ยวตอนข้าวสุกเหลืองอร่ามเต็มทุ่ง ข้าวส่วนใหญ่จะแห้ง เพราะการเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม เป็นช่วงหน้าหนาว
น้ำจะแห้งนา แสงแดดจะจัด ช่วยให้ข้าวแห้งเร็ว ข้าวจึงไม่มีกลิ่นสาป
ถ้าอยากได้ข้าวหอมมะลิแท้ให้ขึ้นมาเที่ยวภาคอีสาน แล้วแวะหาซื้อตามร้านค้าสหกรณ์ในตัวอำเภอของจังหวัดที่กล่าวไว้ข้างต้น ส่วนผม
ไม่ได้เป็นชาวนา แต่เป็นคนกรุงเทพฯ ที่มาทำงานอยู่ภาคอีสานนานเป็น 20 ปีแล้ว จนกินข้าวภาคกลางไม่เป็น มันแข็ง ติดกินข้าวหอมมะลิ
จนชิน กลับไปบ้านกรุงเทพฯ ไม่ยอมกินข้าวที่บ้านโดนพ่อด่าประจำ เพราะกินไม่อร่อยเลย เพื่อนจากภาคใต้ขึ้นมาเที่ยว พาไปกินข้าวร้าน
ไหน ๆ โดยเฉพาะข้าวหมูแดง ข้าวมันไก่ มันบอกทำไมข้าวในภาคอีสานอร่อยทุกร้าน ทั้ง ๆ ที่เราก็ว่าไม่เห็นจะอร่อยเลยร้านนี้ พอมาคิดดู
คงเป็นเพราะเขาใช้ข้าวหอมมะลิแท้นี่เอง เอาลงไปให้ญาติเพื่อนที่ปักษ์ใต้ก็ติดใจกันทุกคน
แสดงความคิดเห็น
เรื่องข้าวหอมมะลิ 105 บ้างครับ
ในฐานะที่ผมเกิดเป็นคนไทย จะให้พูดจริงๆแล้วผมยังไม่แน่ใจเลยครับว่าข้าวที่ขายอยู่ตามห้างที่ว่าแพงที่สุด
5 กิโล 250 บาท ที่ผมเคยเจอไม่รู้ว่านั้นใช่ข้าวหอมมะลิ 105 ไหมครับ ถ้าใช่ก็ถือว่าผมโชคดีที่ได้กินข้าวที่เคยดีที่สุดในโลก
ปัจจุบัน ดีที่สุดน่าจะเป็นของเขมร ข้าวดอกมะลิ หรือ “ผกามะลิ” (Phka Malis)
มีคำถามอยู่ 8 ข้อครับ
1. ข้าวที่ขายตามห้างที่แพงที่สุด ถุง 5 กิโลกรัม 250 บาทขึ้นไป นั้นคือข้าวอะไรหรอครับ แล้วใช่พันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 ไหมครับ
2. ในฐานะเป็นคนไทยมีใครในที่นี่เคยได้กินข้าวหอมมะลิ 105 บ้างครับ
3.ทำไมประเทศไทยปลูกข้าวส่งออกได้ติดอันดับ 1-3 เคยอยู่อันดับ 1 ของโลก มูลค่าข้าวของเราแพงที่สุดในโลก
ประชากรส่วนใหญ่ทำนาเป็นอาชีพที่ถือว่ามากที่สุด แต่ทำไมเราจึงซื้อข้าวกิโลละไม่ต่ำกว่า 30 บาททั้งๆที่มันผลิตได้ในประเทศเราเอง ถ้าเทียบกับ น้ำมันกับประเทศที่มีบ่อน้ำมันเอง คนประเทศเขาได้ใช้น้ำมัน ลิตรละไม่ถึง 10 บาทล่ะครับ
4. บอกตามตรงนะผมเป็นคนไทยผมยังไม่รู้เลยว่าข้าวที่ดีดี สามารถซื้อได้จากที่ไหนหรอครับหรือซื้อตามร้านขายข้าวทั่วๆไป ห้าง Big c แมคโคร โลตัสอย่างเดียวครับ
5. ข้าวหอมมะลิ 105 ที่ว่าดีนั้นปัจจุบันจังหวัดใดตอนนี้ปลูกกันมากที่สุดครับ
6. ผมจะซื้อข้าวหอมมะลิ 105 ได้จากที่ไหนครับที่ว่าเป็นของแท้ๆเลยไม่มั่วนิ่ม
7.ข้าวหอมมะลิ 105 ที่ว่าดีนั้นเราให้แต่ฝรั่งกินกันหรอครับส่วนตัวผมเองยังไม่เคยได้กินเลย
8. ทำไมไม่ทำข้าวหอมมะลิ 105 ใส่ถุงและเขียนข้างถุงไปเลยว่านี่คือ หอมมะลิ 105 แท้
มันอาจจะเยอะไปแต่ผมไม่ทราบจริงๆนะครับ
ขอบพระคุณผู้ที่ช่วยแวะเข้ามาตอบนะครับ