อ.วันชัย พรหมภา พูดถึง อ.ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
บทบาทของประเสริฐที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในยุคหลังนั้น ก็คือการเป็น “อาจารย์เสริฐ” ของ “กลุ่มทหารประชาธิปไตย” ซึ่งผู้นำกลุ่ม คือ พลตรี ระวี วันเพ็ญ โดยประเสริฐเสนอแนวความคิด เรื่องการปฏิวัติไทยโดยสันติตามระบอบประชาธิปไตย หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ปฏิวัติประชาธิปไตย” ซึ่ง เป็นการเดินตามแนวทางรัฐสภาคัดค้านการเปลี่ยนแปลงด้วยอาวุธ ว่ากันว่า พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ รับอิทธิพลทางความคิดจาก “อาจารย์เสริฐ” ในช่วงเวลานั้น และนอกจากมีอิทธิพลในหมู่ทหาร และ ตำรวจแล้ว ประเสริฐก็ยังเผยแพร่แนวความคิดในหมู่ผู้นำแรงงานจำนวนหนึ่งด้วย
บทบาทหนึ่งของ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงก็คือ เขาเคยเป็นที่ปรึกษาใน การร่างธรรมนูญของพรรคสหประชาไทย ซึ่งตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2511 โดยมี จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าพรรค ซึ่งธรรมนูญของพรรคดังกล่าวถูก พลเอก สุจินดา คราประยูร ระบุในคำแถลงเมื่อ วันที่ 19 พฤษภาคม 2535 ว่า “สมาชิกพรรค (สหประชาไทย) หลายท่านดูแล้วเห็นว่าธรรมนูญพรรค นี้นั้น คือธรรมนูญของพรรคคอมมิวนิสต์ ไม่มีอะไรที่แตกต่างผิดเพี้ยนกันเลย”
ผู้ที่ชักนำให้ประเสริฐไปทำงานให้แก่พรรคสหประชาไทย ก็คือพลเอก แสวง เสนาณรงค์ ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี ระหว่างปี พ.ศ. 2502-2505
นอกจากนั้น ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ยังถูกมองอีกด้วยว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังคำสั่งสำนักนายก รัฐมนตรีที่ 66/2523 เรื่องนโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ ในสมัยที่พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี มีพลตรี ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นเจ้ากรมยุทธการทหารบก (ยศและ ตำแหน่งในขณะนั้น)
สำหรับ “สภาปฏิวัติแห่งชาติ” ประเสริฐและคณะได้สถาปนาขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2530 และดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการสภาปฏิวัติแห่งชาติคนแรก เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2531
ประเสริฐเคยทำงานเผยแพร่ความคิดแบบไม่ขาดสาย โดยเฉพาะการเขียนบทความเผยแพร่ ใช้ชื่อจริงบ้าง ใช้นามปากกาบ้าง โดยเฉพาะนามปากกา “สุริยา” ที่ใช้ในการเขียนเรื่อง “ลัทธิ ประชาธิปไตย” ตีพิมพ์ในนิตยสาร “ตะวันใหม่” ของกลุ่ม “ทหารประชาธิปไตย”
ประเสริฐเสียชีวิตอย่างกะทันหันด้วยโรคเส้นโลหิตในหัวใจตีบตัน เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2537 ขณะอายุได้ 81 ปี
ลูกศิษย์รุ่นหลังจำนวนหนึ่งยังคงเดินหน้าชูธงความคิดของ “อาจารย์เสริฐ” อย่างเหนียวแน่น แม้ว่า “ศาสดา” ของพวกเขาจะล่วงลับไปแล้วก็ตาม
อาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร บุคคลที่ปิดทองหลังพระให้กับการเมืองไทย
อ.วันชัย พรหมภา พูดถึง อ.ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
บทบาทของประเสริฐที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในยุคหลังนั้น ก็คือการเป็น “อาจารย์เสริฐ” ของ “กลุ่มทหารประชาธิปไตย” ซึ่งผู้นำกลุ่ม คือ พลตรี ระวี วันเพ็ญ โดยประเสริฐเสนอแนวความคิด เรื่องการปฏิวัติไทยโดยสันติตามระบอบประชาธิปไตย หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ปฏิวัติประชาธิปไตย” ซึ่ง เป็นการเดินตามแนวทางรัฐสภาคัดค้านการเปลี่ยนแปลงด้วยอาวุธ ว่ากันว่า พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ รับอิทธิพลทางความคิดจาก “อาจารย์เสริฐ” ในช่วงเวลานั้น และนอกจากมีอิทธิพลในหมู่ทหาร และ ตำรวจแล้ว ประเสริฐก็ยังเผยแพร่แนวความคิดในหมู่ผู้นำแรงงานจำนวนหนึ่งด้วย
บทบาทหนึ่งของ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงก็คือ เขาเคยเป็นที่ปรึกษาใน การร่างธรรมนูญของพรรคสหประชาไทย ซึ่งตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2511 โดยมี จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าพรรค ซึ่งธรรมนูญของพรรคดังกล่าวถูก พลเอก สุจินดา คราประยูร ระบุในคำแถลงเมื่อ วันที่ 19 พฤษภาคม 2535 ว่า “สมาชิกพรรค (สหประชาไทย) หลายท่านดูแล้วเห็นว่าธรรมนูญพรรค นี้นั้น คือธรรมนูญของพรรคคอมมิวนิสต์ ไม่มีอะไรที่แตกต่างผิดเพี้ยนกันเลย”
ผู้ที่ชักนำให้ประเสริฐไปทำงานให้แก่พรรคสหประชาไทย ก็คือพลเอก แสวง เสนาณรงค์ ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี ระหว่างปี พ.ศ. 2502-2505
นอกจากนั้น ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ยังถูกมองอีกด้วยว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังคำสั่งสำนักนายก รัฐมนตรีที่ 66/2523 เรื่องนโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ ในสมัยที่พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี มีพลตรี ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นเจ้ากรมยุทธการทหารบก (ยศและ ตำแหน่งในขณะนั้น)
สำหรับ “สภาปฏิวัติแห่งชาติ” ประเสริฐและคณะได้สถาปนาขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2530 และดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการสภาปฏิวัติแห่งชาติคนแรก เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2531
ประเสริฐเคยทำงานเผยแพร่ความคิดแบบไม่ขาดสาย โดยเฉพาะการเขียนบทความเผยแพร่ ใช้ชื่อจริงบ้าง ใช้นามปากกาบ้าง โดยเฉพาะนามปากกา “สุริยา” ที่ใช้ในการเขียนเรื่อง “ลัทธิ ประชาธิปไตย” ตีพิมพ์ในนิตยสาร “ตะวันใหม่” ของกลุ่ม “ทหารประชาธิปไตย”
ประเสริฐเสียชีวิตอย่างกะทันหันด้วยโรคเส้นโลหิตในหัวใจตีบตัน เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2537 ขณะอายุได้ 81 ปี
ลูกศิษย์รุ่นหลังจำนวนหนึ่งยังคงเดินหน้าชูธงความคิดของ “อาจารย์เสริฐ” อย่างเหนียวแน่น แม้ว่า “ศาสดา” ของพวกเขาจะล่วงลับไปแล้วก็ตาม