http://upic.me/show/48682594
อ่านเสร็จแล้วโปรดส่งต่อเพื่อเปิดโปงออกไปให้มากที่สุด...... ขอบคุณอจ. ประพจน์ ที่ส่งเนื้อความนี้มาแชร์ คล้ายมีทิศทางเดียวกับเนื้อความนี้: "ถาม...ทำไมวงจรอุบาทว์อาจหมุนกลับมาได้อีก"
"คำตอบอยู่ข้างล่างนี้ ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนหนึ่ง"
๑.ตระกูลชิน ยึดองคาพยพ รัฐวิสาหกิจเบ็ดเสร็จ ขุมสมบัติหลาย แสนล้านของชาติ ได้ถูกแบ่งขายครั้งแรกในน้ำมือรัฐบาลพี่ชาย น.ส.ยิ่งลักษณ์ คือ ปตท.และหากมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ร้องต่อศาลปกครอง กรณีพ.ต.ท.ทักษิณเตรียมขายกฟผ.จนศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2549 ให้เพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท กฟผ.จำกัด(มหาชน) พ.ศ.2548 และหากพี่ชายน.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังอยู่ในอำนาจป่านนี้สมบัติชาติคงถูกขายกินหมดแล้ว
๒. กระนั้นก็ตาม เมื่อมาถึงยุค น.ส.ยิ่งลักษณ์เรืองอำนาจ ก็เข้ามาทำพฤติกรรมเดิมๆ สูบกินรัฐวิสา-หกิจอีกครั้งภายใต้ระบบโครงสร้าง
ความเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจ ก็ได้ค่าเบี้ยประชุม โบนัส และเงินตอบแทน ตลอดจนการจัดซื้อจัดจ้าง จากงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ที่ระดับและอำนาจการตรวจสอบจะอ่อนด้อยกว่ากระทรวง กรมต่างๆ ซ้ำร้ายกว่านั้น รัฐวิสาหกิจที่แปรรูปเป็นเอกชน ผลตอบแทนกรรมการ ตลอดจนการตรวจสอบจากรัฐในการบริหารงบลงทุนต่างๆ และการสนองตอบนโยบายสาธารณะ ก็ยิ่งน้อยลง ยกตัวอย่าง ปตท.ที่แปรรูปไป ยังเล่นแร่แปรธาตุดูดกินด้วยการถ่ายโอนผลประโยชน์ ทรัพย์สิน การลงทุนผ่านบริษัทลูกปตท. ที่อยู่นอกเขต
การตรวจสอบภายใต้อำนาจรัฐ
ออกไปเรื่อยๆ เงินไหลออกไป บริษัทลูก ทำให้บริษัทแม่ผลประกอบการไม่ดี แต่การตรวจสอบบริษัทลูก
หรือบริษัทที่ปตท.ร่วมทุน กลับยิ่งยากขึ้น และมาวันนี้ยุคน้องสาวพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็มีพฤติกรรมไม่ต่างกัน แต่คราวนี้ขยายวงกว้างกว่ามาก เกือบจะทุกรัฐวิสาหกิจ ทั้งด้านพลังงานสาธารณูปโภคและธนาคาร ที่เริ่มด้วย
(1) การตั้งคนในธุรกิจตนเอง
มาเป็นกรรมการหวังกระทำบางอย่างหรือไม่ นอกจากนี้ยังต่างตอบแทนผู้ภักดีกล้าหาญด้วย
(2) การแก้ไขกฎหมายพ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับ_กรรมการและพนักงาน
รัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....ให้คุณสมบัติต่ำลงและมีการเปิดช่องให้ผู้มาดำรงตำแหน่งมีผลประโยชน์ทับซ้อนได้ แล้วแต่รมว.คลังจะพิจารณายกเว้น และ
(3) การรวบเอาที่ดินของรัฐวิสาหกิจมาจัดสรรเองใหม่ พร้อมหลักฐานการจัดตั้งองค์กรใหม่มาจัดการเรื่องนี้โดยเฉพาะ โดย
(1) ตั้งคนใกล้ชิดเป็นกรรมการเกรดเอ รายชื่อต่อไปนี้ (อย่าได้ปฏิเสธว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ธุรกิจครอบครัวชินวัตร)
- การท่าเรือแห่งประเทศไทย มีพล.ร.อ.เกียรติศักดิ์ ดามาพงศ์ พี่ชายต่างมารดาของคุณหญิง
พจมาน ชินวัตร เป็นกรรมการและมีน้องรักพ.ต.ท.ทักษิณ อย่างพล.ต.ท. คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเป็นประธานกรรมการ
- การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ตั้งนายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล รองกก.ผู้อำนวยการบริษัท ไทยคม จำกัด(มหาชน) และนายสุนทร ทรัพย์ตันติกุล ทนายความพ.ต.ท. ทักษิณ เป็นกรรมการไปคุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ก็ตั้ง ดร.นงลักษณ์ พินัยนิติศาสตร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ด้านการตลาด บมจ.ไทยคม ธุรกิจครอบครัวน.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นประธานคณะกรรมการ
- บริษัทท่าอากาศยานไทย
จำกัด ขุมสมบัติอีกแห่งที่ตั้ง
น.ต.ศิธา ทิวารี อดีตสส.ไทยรักไทย และเพื่อนสนิทพานทองแท้ ไปเป็นประธานกรรมการ ส่วนนายธานินทร์ อังสุวรังษี กรรมการอิสระ มาจากผู้บริหารบริษัทแคปปิตอลโอเค และบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ลูกน้องธุรกิจครอบครัว
น.ส.ยิ่งลักษณ์และยังได้เป็น กก.ผู้จัดการ ธนาคารอิสลามฯ ก่อนจะมีคดี แล้วต้องเปลี่ยนตัวไม่นานนี้
- นอกจากนี้ยังตั้ง นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อัยการอาวุโสเป็นกรรมการ แต่พอไปดู เหตุใดน.ส.ยิ่งลักษณ์ถึงใจป้ำตั้งนายธนพิชญ์ เป็น กรรมการรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง ได้แก่ บ.ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน),บ. ขนส่ง จำกัด และการท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้รับค่าตอบแทนรวมทั้งหมด 1,348,825.81 บาท อัยการอาวุโสท่านนี้มีประวัติอย่างไร เป็นอัยการที่รับผิดชอบคดีทุจริตจัด ซื้อเครื่องซีทีเอ็กซ์ ที่ไม่ยอมสั่งฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯและพวกรวม 25 คน ในคดีซีทีเอ็กซ์ และสั่งไม่ฟ้องคดีการอนุมัติเงินกู้ธนาคารกรุงไทยให้บริษัทเอกชน เช่น กลุ่มเครือกฤษดามหานคร วงเงินหลายร้อยล้านบาท ทั้งที่คตส.และป.ป.ช.ตั้งข้อหา นี่หรือไม่คือสาเหตุ
-ขณะที่นายวัฒนา เตียงกูล ทนายความพรรคเพื่อไทย ก็เปลี่ยนเป็นมารับเงินเดือนในบอร์ดทอท.แทน
- ในขณะที่ปตท.นอกจากจะตั้งเบญจา หลุยเจริญ ที่ช่วยให้คดีขายหุ้นชินคอร์ป ไม่ต้องเสียภาษีสมัยเป็นรองอธิบดีกรมสรรพากร ก่อนไปเป็นประธานกรุงไทยและเป็นรมช.คลัง
- ก็ยังตั้ง อัยการคนเก่งอย่างนาย จุลสิงห์ วสันตสิงห์ ผู้สั่งไม่ฟ้องคดีเลี่ยงภาษีของครอบครัวชินวัตร
- ในเหตุผลเดียวกัน ก็ยังพ่วงนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ผู้เร่งดำเนินการคืนพาสปอร์ตให้พ.ต.ท.ทักษิณได้เป็นกรรมการ
- แต่ก็ยังไม่น่าสนใจเท่าการส่งนาย วรุณเทพ วัชราภรณ์ ผู้บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ฯ จำกัด (มหาชน) ลูกน้องตนเองในธุรกิจ
ครอบครัว มานั่งกุมขุมทรัพย์
ที่ปตท. ส่วนบริษัทลูกของปตท. อย่าง บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด ก็มีคำสั่งให้นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ทนายความไทยรักไทย ไปคุม
คณะกรรมการสลากกินแบ่งรับาล นายวีรภัทร ศรีไชยา ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณในคดีเลี่ยงภาษี 1.2 หมื่นล้านบาท ของพานทองแท้ และพินทองทา ชินวัตร และเป็นทนายความพรรคเพื่อไทย ที่ยื่นคำร้องขอให้ตุลาการทั้ง 8 คน เพิกถอนมติรับคำร้องและคำสั่งที่ให้รัฐสภารอการดำเนินการลงมติวาระ 3 ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 และตั้งพล.ต.ต.สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ เพื่อนสนิท พ.ต.ท.ทักษิณ
- ที่น่าตะลึงพึงเพริดคือ การตั้ง พล.ต.ต.อรรถกฤษณ์ ธารีฉัตร อดีตหัวหน้าชุดรักษาความปลอดภัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นกรรมการและผู้อำนวยการกองสลาก ถามว่า หน่วยงานนี้พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นเจ้าของหรือ ?? ธนาคารกรุงไทย ที่นอกจากจะตั้งนายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ เป็นกรรมการแล้ว ยังตั้งลูกน้องในเครือชินคอร์ป อย่าง นางอรุณภรณ์ ลิ่มสกุล ที่ใครๆก็รู้ว่าคือผู้บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และ
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ที่มีอีกตำแหน่งในฐานะ กรรมการบมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น
- ธนาคารออมสิน นอกจากจะตั้ง ดร.นงลักษณ์ พินัยนิติศาสตร์ ผู้บริหารระดับสูง ไทยคมอย่างที่กล่าวแล้ว ยังตั้งนายชัยธวัช เสาวพนธ์ กรรมการบริษัท วินโคสท์อินดัสเทรียล พาร์ค จำกัด (มหาชน)ให้ไปเป็น
กรรมการออมสินเพื่อหวังทำอะไร
- องค์การเภสัชกรรมเหตุใด
จึงตั้งเอานายสมชัย โกวิทเจริญกุล
พี่เขยนายกฯเอง (สามี นางมณฑาทิพย์ โกวิทเจริญกุล (ชินวัตร) กรรมการและผู้ถือหุ้น บริษัท เอ็มลิ้งค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ธุรกิจในครอบครัว น.ส.ยิ่งลักษณ์
- แต่ที่น่าสนใจคือ นายสมชัย โกวิทเจริญกุล คือ ผู้ถือหุ้นในบริษัท ฮัวถอ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจนำเข้าอุปกรณ์การแพทย์ จากประเทศจีน จึงน่าคิดว่าตั้งให้เข้าไปทำอะไรในองค์การเภสัชกรรม ??
- การประปานครหลวง ตั้งนายเอกราช ช่างเหลา ที่เคยถูกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) สั่งอายัดเงินและการทำธุรกรรมการเงินในช่วงชุมนุมคนเสื้อแดงปี 2553 เนื่องจากศอฉ.เชื่อว่า
เป็นท่อน้ำเลี้ยงกลุ่มคนเสื้อแดง เพราะพบเงินหมุนเวียนในบัญชีร่วม 1,200 ล้านบาท
- ขณะที่การประปาส่วนภูมิภาค ตั้ง พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ แกนนำนปช.และกลุ่มคนเสื้อแดงผู้ถูกออกหมายจับในคดีก่อความวุ่นวายปี’53 ไปนั่งคุม
- นอกจากนี้ยังตั้ง นางอัมพร นิติสิริ ที่เป็นภรรยา ของ นายชัยเกษม นิติสิริ รมว.ยุติธรรม ไปเป็นกรรมการคุมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ทั้งหมดกระทำภายใต้อำนาจ น.ส.ยิ่งลักษณ์เองโดยตรง ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ
(กนร.) ประธานคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ (กนท.)
- และล่าสุดประธานคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ แม้จะมอบให้ใครดูแลแต่ด้วยตามกฎหมายการกำกับรัฐวิสาหกิจทุกฉบับ ก็สั่งให้มาเคาะครั้งสุดท้ายบนโต๊ะครม.ที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ผู้บริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั่งที่หัวโต๊ะ
ขณะที่ การกระทำตาม (2) การแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ และ. 3) การจัดตั้งองค์กรใหม่มาจัดการเรื่อง
อสังหาริมทรัพย์รัฐวิสาหกิจ นั้นจะได้กล่าวเจาะในตอนต่อไป
โครต ของ โครต ทักษิณ
อ่านเสร็จแล้วโปรดส่งต่อเพื่อเปิดโปงออกไปให้มากที่สุด...... ขอบคุณอจ. ประพจน์ ที่ส่งเนื้อความนี้มาแชร์ คล้ายมีทิศทางเดียวกับเนื้อความนี้: "ถาม...ทำไมวงจรอุบาทว์อาจหมุนกลับมาได้อีก"
"คำตอบอยู่ข้างล่างนี้ ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนหนึ่ง"
๑.ตระกูลชิน ยึดองคาพยพ รัฐวิสาหกิจเบ็ดเสร็จ ขุมสมบัติหลาย แสนล้านของชาติ ได้ถูกแบ่งขายครั้งแรกในน้ำมือรัฐบาลพี่ชาย น.ส.ยิ่งลักษณ์ คือ ปตท.และหากมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ร้องต่อศาลปกครอง กรณีพ.ต.ท.ทักษิณเตรียมขายกฟผ.จนศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2549 ให้เพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท กฟผ.จำกัด(มหาชน) พ.ศ.2548 และหากพี่ชายน.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังอยู่ในอำนาจป่านนี้สมบัติชาติคงถูกขายกินหมดแล้ว
๒. กระนั้นก็ตาม เมื่อมาถึงยุค น.ส.ยิ่งลักษณ์เรืองอำนาจ ก็เข้ามาทำพฤติกรรมเดิมๆ สูบกินรัฐวิสา-หกิจอีกครั้งภายใต้ระบบโครงสร้าง
ความเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจ ก็ได้ค่าเบี้ยประชุม โบนัส และเงินตอบแทน ตลอดจนการจัดซื้อจัดจ้าง จากงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ที่ระดับและอำนาจการตรวจสอบจะอ่อนด้อยกว่ากระทรวง กรมต่างๆ ซ้ำร้ายกว่านั้น รัฐวิสาหกิจที่แปรรูปเป็นเอกชน ผลตอบแทนกรรมการ ตลอดจนการตรวจสอบจากรัฐในการบริหารงบลงทุนต่างๆ และการสนองตอบนโยบายสาธารณะ ก็ยิ่งน้อยลง ยกตัวอย่าง ปตท.ที่แปรรูปไป ยังเล่นแร่แปรธาตุดูดกินด้วยการถ่ายโอนผลประโยชน์ ทรัพย์สิน การลงทุนผ่านบริษัทลูกปตท. ที่อยู่นอกเขต
การตรวจสอบภายใต้อำนาจรัฐ
ออกไปเรื่อยๆ เงินไหลออกไป บริษัทลูก ทำให้บริษัทแม่ผลประกอบการไม่ดี แต่การตรวจสอบบริษัทลูก
หรือบริษัทที่ปตท.ร่วมทุน กลับยิ่งยากขึ้น และมาวันนี้ยุคน้องสาวพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็มีพฤติกรรมไม่ต่างกัน แต่คราวนี้ขยายวงกว้างกว่ามาก เกือบจะทุกรัฐวิสาหกิจ ทั้งด้านพลังงานสาธารณูปโภคและธนาคาร ที่เริ่มด้วย
(1) การตั้งคนในธุรกิจตนเอง
มาเป็นกรรมการหวังกระทำบางอย่างหรือไม่ นอกจากนี้ยังต่างตอบแทนผู้ภักดีกล้าหาญด้วย
(2) การแก้ไขกฎหมายพ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับ_กรรมการและพนักงาน
รัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....ให้คุณสมบัติต่ำลงและมีการเปิดช่องให้ผู้มาดำรงตำแหน่งมีผลประโยชน์ทับซ้อนได้ แล้วแต่รมว.คลังจะพิจารณายกเว้น และ
(3) การรวบเอาที่ดินของรัฐวิสาหกิจมาจัดสรรเองใหม่ พร้อมหลักฐานการจัดตั้งองค์กรใหม่มาจัดการเรื่องนี้โดยเฉพาะ โดย
(1) ตั้งคนใกล้ชิดเป็นกรรมการเกรดเอ รายชื่อต่อไปนี้ (อย่าได้ปฏิเสธว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ธุรกิจครอบครัวชินวัตร)
- การท่าเรือแห่งประเทศไทย มีพล.ร.อ.เกียรติศักดิ์ ดามาพงศ์ พี่ชายต่างมารดาของคุณหญิง
พจมาน ชินวัตร เป็นกรรมการและมีน้องรักพ.ต.ท.ทักษิณ อย่างพล.ต.ท. คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเป็นประธานกรรมการ
- การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ตั้งนายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล รองกก.ผู้อำนวยการบริษัท ไทยคม จำกัด(มหาชน) และนายสุนทร ทรัพย์ตันติกุล ทนายความพ.ต.ท. ทักษิณ เป็นกรรมการไปคุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ก็ตั้ง ดร.นงลักษณ์ พินัยนิติศาสตร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ด้านการตลาด บมจ.ไทยคม ธุรกิจครอบครัวน.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นประธานคณะกรรมการ
- บริษัทท่าอากาศยานไทย
จำกัด ขุมสมบัติอีกแห่งที่ตั้ง
น.ต.ศิธา ทิวารี อดีตสส.ไทยรักไทย และเพื่อนสนิทพานทองแท้ ไปเป็นประธานกรรมการ ส่วนนายธานินทร์ อังสุวรังษี กรรมการอิสระ มาจากผู้บริหารบริษัทแคปปิตอลโอเค และบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ลูกน้องธุรกิจครอบครัว
น.ส.ยิ่งลักษณ์และยังได้เป็น กก.ผู้จัดการ ธนาคารอิสลามฯ ก่อนจะมีคดี แล้วต้องเปลี่ยนตัวไม่นานนี้
- นอกจากนี้ยังตั้ง นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อัยการอาวุโสเป็นกรรมการ แต่พอไปดู เหตุใดน.ส.ยิ่งลักษณ์ถึงใจป้ำตั้งนายธนพิชญ์ เป็น กรรมการรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง ได้แก่ บ.ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน),บ. ขนส่ง จำกัด และการท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้รับค่าตอบแทนรวมทั้งหมด 1,348,825.81 บาท อัยการอาวุโสท่านนี้มีประวัติอย่างไร เป็นอัยการที่รับผิดชอบคดีทุจริตจัด ซื้อเครื่องซีทีเอ็กซ์ ที่ไม่ยอมสั่งฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯและพวกรวม 25 คน ในคดีซีทีเอ็กซ์ และสั่งไม่ฟ้องคดีการอนุมัติเงินกู้ธนาคารกรุงไทยให้บริษัทเอกชน เช่น กลุ่มเครือกฤษดามหานคร วงเงินหลายร้อยล้านบาท ทั้งที่คตส.และป.ป.ช.ตั้งข้อหา นี่หรือไม่คือสาเหตุ
-ขณะที่นายวัฒนา เตียงกูล ทนายความพรรคเพื่อไทย ก็เปลี่ยนเป็นมารับเงินเดือนในบอร์ดทอท.แทน
- ในขณะที่ปตท.นอกจากจะตั้งเบญจา หลุยเจริญ ที่ช่วยให้คดีขายหุ้นชินคอร์ป ไม่ต้องเสียภาษีสมัยเป็นรองอธิบดีกรมสรรพากร ก่อนไปเป็นประธานกรุงไทยและเป็นรมช.คลัง
- ก็ยังตั้ง อัยการคนเก่งอย่างนาย จุลสิงห์ วสันตสิงห์ ผู้สั่งไม่ฟ้องคดีเลี่ยงภาษีของครอบครัวชินวัตร
- ในเหตุผลเดียวกัน ก็ยังพ่วงนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ผู้เร่งดำเนินการคืนพาสปอร์ตให้พ.ต.ท.ทักษิณได้เป็นกรรมการ
- แต่ก็ยังไม่น่าสนใจเท่าการส่งนาย วรุณเทพ วัชราภรณ์ ผู้บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ฯ จำกัด (มหาชน) ลูกน้องตนเองในธุรกิจ
ครอบครัว มานั่งกุมขุมทรัพย์
ที่ปตท. ส่วนบริษัทลูกของปตท. อย่าง บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด ก็มีคำสั่งให้นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ทนายความไทยรักไทย ไปคุม
คณะกรรมการสลากกินแบ่งรับาล นายวีรภัทร ศรีไชยา ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณในคดีเลี่ยงภาษี 1.2 หมื่นล้านบาท ของพานทองแท้ และพินทองทา ชินวัตร และเป็นทนายความพรรคเพื่อไทย ที่ยื่นคำร้องขอให้ตุลาการทั้ง 8 คน เพิกถอนมติรับคำร้องและคำสั่งที่ให้รัฐสภารอการดำเนินการลงมติวาระ 3 ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 และตั้งพล.ต.ต.สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ เพื่อนสนิท พ.ต.ท.ทักษิณ
- ที่น่าตะลึงพึงเพริดคือ การตั้ง พล.ต.ต.อรรถกฤษณ์ ธารีฉัตร อดีตหัวหน้าชุดรักษาความปลอดภัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นกรรมการและผู้อำนวยการกองสลาก ถามว่า หน่วยงานนี้พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นเจ้าของหรือ ?? ธนาคารกรุงไทย ที่นอกจากจะตั้งนายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ เป็นกรรมการแล้ว ยังตั้งลูกน้องในเครือชินคอร์ป อย่าง นางอรุณภรณ์ ลิ่มสกุล ที่ใครๆก็รู้ว่าคือผู้บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และ
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ที่มีอีกตำแหน่งในฐานะ กรรมการบมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น
- ธนาคารออมสิน นอกจากจะตั้ง ดร.นงลักษณ์ พินัยนิติศาสตร์ ผู้บริหารระดับสูง ไทยคมอย่างที่กล่าวแล้ว ยังตั้งนายชัยธวัช เสาวพนธ์ กรรมการบริษัท วินโคสท์อินดัสเทรียล พาร์ค จำกัด (มหาชน)ให้ไปเป็น
กรรมการออมสินเพื่อหวังทำอะไร
- องค์การเภสัชกรรมเหตุใด
จึงตั้งเอานายสมชัย โกวิทเจริญกุล
พี่เขยนายกฯเอง (สามี นางมณฑาทิพย์ โกวิทเจริญกุล (ชินวัตร) กรรมการและผู้ถือหุ้น บริษัท เอ็มลิ้งค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ธุรกิจในครอบครัว น.ส.ยิ่งลักษณ์
- แต่ที่น่าสนใจคือ นายสมชัย โกวิทเจริญกุล คือ ผู้ถือหุ้นในบริษัท ฮัวถอ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจนำเข้าอุปกรณ์การแพทย์ จากประเทศจีน จึงน่าคิดว่าตั้งให้เข้าไปทำอะไรในองค์การเภสัชกรรม ??
- การประปานครหลวง ตั้งนายเอกราช ช่างเหลา ที่เคยถูกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) สั่งอายัดเงินและการทำธุรกรรมการเงินในช่วงชุมนุมคนเสื้อแดงปี 2553 เนื่องจากศอฉ.เชื่อว่า
เป็นท่อน้ำเลี้ยงกลุ่มคนเสื้อแดง เพราะพบเงินหมุนเวียนในบัญชีร่วม 1,200 ล้านบาท
- ขณะที่การประปาส่วนภูมิภาค ตั้ง พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ แกนนำนปช.และกลุ่มคนเสื้อแดงผู้ถูกออกหมายจับในคดีก่อความวุ่นวายปี’53 ไปนั่งคุม
- นอกจากนี้ยังตั้ง นางอัมพร นิติสิริ ที่เป็นภรรยา ของ นายชัยเกษม นิติสิริ รมว.ยุติธรรม ไปเป็นกรรมการคุมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ทั้งหมดกระทำภายใต้อำนาจ น.ส.ยิ่งลักษณ์เองโดยตรง ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ
(กนร.) ประธานคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ (กนท.)
- และล่าสุดประธานคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ แม้จะมอบให้ใครดูแลแต่ด้วยตามกฎหมายการกำกับรัฐวิสาหกิจทุกฉบับ ก็สั่งให้มาเคาะครั้งสุดท้ายบนโต๊ะครม.ที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ผู้บริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั่งที่หัวโต๊ะ
ขณะที่ การกระทำตาม (2) การแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ และ. 3) การจัดตั้งองค์กรใหม่มาจัดการเรื่อง
อสังหาริมทรัพย์รัฐวิสาหกิจ นั้นจะได้กล่าวเจาะในตอนต่อไป