สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 10
ถึงใครจะบอกว่าปรู๊ฟไม่ใช่หน้าที่ดีเด่นอะไรมากมายนัก แต่ก็เป็นหน้าที่ที่สำคัญมากในกระบวนการทำรูปเล่มและอาร์ตเวิร์กนะ
(แต่พองานผิด งานพลาดทีไร เจ้าแม่โว้ย ปรู๊ฟซวยก่อนทุกที)
แต่ทั้งหมดนี้ที่ทำไปเพราะใจรัก ชอบอ่านและชอบจับ (คำ) ผิดล้วนๆ เลย
เท่าที่อ่านเม้นต์ข้างบนลงมา ก็จัดว่าใช่เลยล่ะ รูปแบบงานเป็นแบบที่ว่ามาเลย
ส่วนหน้าที่ปรู๊ฟประจำโรงพิมพ์ของเราที่ต้องเผชิญ เอ๊ย รับผิดชอบ ก็คือ
- ต้องเช็คการสะกดคำถูก - ผิด เว้นวรรค คำฉีกจากประโยคมั้ย ประโยคใช้คำกำกวม หรือฟุ่มเฟือยไปรึป่าว?
อ่านทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บางครั้งก็เจอภาษาเยอรมัน จีน มลายู (อันนี้เช็คให้ตรงกับงานลูกค้าพอ อ่านไม่ออกหรอก) 5555
แต่กรณีที่ต้องตัด-เพิ่มคำ ต้องโทร.แจ้งกับทางลูกค้าก่อน จะทำโดยพลการไม่ได้ หรือเจอชื่อคนที่สะกดแปลกๆ
ข้อความไม่ครบไม่ได้ประโยค ก็ต้องโทร.ถามเพื่อความชัวร์ ว่าขอแก้ได้มั้ย
- เราต้องตรวจปรู๊ฟ 2 รอบอ่ะ ตรวจจากต้นฉบับของลูกค้าอีกทีนึง แล้วตรวจใน Lay Out อีกทีนึง
เพื่อเช็คดัมมี่เลขหน้า เช็คสี เช็คว่าภาพแตกมั้ย โลโก้อยู่ครบรึป่าว? มีเส้นอะไรเกินมามั้ย อะไรหายไปจากหน้าบ้าง
รูปกับข้อความสอดคล้องกันรึป่าว ไอ้ลวดลายแปลกๆ ที่โผล่มาในหนังสือนี่เป็นลูกเล่นเป็นดีไซน์ของพวกกราฟิกใช่มั้ย อะไรทำนองนี้
จริงๆ แล้วมีรายละเอียดเยอะกว่านี้อีกนะ แต่ตอนนี้นึกได้เท่านี้เอง
เราทำมาเกือบ 3 ปีแล้วล่ะ ก็ยังไม่ถึง 15000 เลย
มันเป็นงานที่เราชอบนะ เราชอบอ่าน ชอบแก้ไขคำผิดในหนังสือที่อ่านเจออยู่แล้ว ก็เลยอยู่ได้
แต่ถ้าทำงานผิดพลาดแต่ละทีนี่ก็ตุ่มๆ ต่อมๆ เหมือนกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
(แต่พองานผิด งานพลาดทีไร เจ้าแม่โว้ย ปรู๊ฟซวยก่อนทุกที)
แต่ทั้งหมดนี้ที่ทำไปเพราะใจรัก ชอบอ่านและชอบจับ (คำ) ผิดล้วนๆ เลย
เท่าที่อ่านเม้นต์ข้างบนลงมา ก็จัดว่าใช่เลยล่ะ รูปแบบงานเป็นแบบที่ว่ามาเลย
ส่วนหน้าที่ปรู๊ฟประจำโรงพิมพ์ของเราที่ต้องเผชิญ เอ๊ย รับผิดชอบ ก็คือ
- ต้องเช็คการสะกดคำถูก - ผิด เว้นวรรค คำฉีกจากประโยคมั้ย ประโยคใช้คำกำกวม หรือฟุ่มเฟือยไปรึป่าว?
อ่านทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บางครั้งก็เจอภาษาเยอรมัน จีน มลายู (อันนี้เช็คให้ตรงกับงานลูกค้าพอ อ่านไม่ออกหรอก) 5555
แต่กรณีที่ต้องตัด-เพิ่มคำ ต้องโทร.แจ้งกับทางลูกค้าก่อน จะทำโดยพลการไม่ได้ หรือเจอชื่อคนที่สะกดแปลกๆ
ข้อความไม่ครบไม่ได้ประโยค ก็ต้องโทร.ถามเพื่อความชัวร์ ว่าขอแก้ได้มั้ย
- เราต้องตรวจปรู๊ฟ 2 รอบอ่ะ ตรวจจากต้นฉบับของลูกค้าอีกทีนึง แล้วตรวจใน Lay Out อีกทีนึง
เพื่อเช็คดัมมี่เลขหน้า เช็คสี เช็คว่าภาพแตกมั้ย โลโก้อยู่ครบรึป่าว? มีเส้นอะไรเกินมามั้ย อะไรหายไปจากหน้าบ้าง
รูปกับข้อความสอดคล้องกันรึป่าว ไอ้ลวดลายแปลกๆ ที่โผล่มาในหนังสือนี่เป็นลูกเล่นเป็นดีไซน์ของพวกกราฟิกใช่มั้ย อะไรทำนองนี้
จริงๆ แล้วมีรายละเอียดเยอะกว่านี้อีกนะ แต่ตอนนี้นึกได้เท่านี้เอง
เราทำมาเกือบ 3 ปีแล้วล่ะ ก็ยังไม่ถึง 15000 เลย
มันเป็นงานที่เราชอบนะ เราชอบอ่าน ชอบแก้ไขคำผิดในหนังสือที่อ่านเจออยู่แล้ว ก็เลยอยู่ได้
แต่ถ้าทำงานผิดพลาดแต่ละทีนี่ก็ตุ่มๆ ต่อมๆ เหมือนกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ความคิดเห็นที่ 1
ก่อนอื่นขอชึ้แจงก่อนว่า
proofreader คือคนพิสูจน์อักษร ทำหน้าที่แค่ตรวจตัวสะกด
แต่
editor คือบรรณาธิการ ทำหน้าที่ขัดเกลาภาษา
ส่วนใหญ่แล้ว proofreaders สำนักพิมพ์มักจะจ้างคนภายใน เพราะจริงๆแล้วใช้ proofing tool ที่ให้มากับโปรแกรม Word ก็ทำได้ ไม่ต้องจ้างทีมงานอะไรให้เสียเงินมากมาย
แต่ในกรณีของ editors นั้นถ้าตรวจแก้ภาษาไทย สนพ ก็คงต้องใช้คนทำงานรับเงินเดือนนั่นแหละ (ซึ่งเงินเดือนก็ไม่มากนักหรอก) แต่ในกรณีของ editors ที่ สนพ ต้องจ้างคนนอกก็คือ editors ที่เป็นบรรณาธิการต้นฉบับหนังสือแปลไทยเป็นอังกฤษ ซึ่งคนที่จะทำหน้าที่นี้ได้ต้องแตกฉานทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย และเชี่ยวชาญด้านการแปล สนพ ใหญ่ๆที่มีงานแปลล้นมือจำเป็นต้องจ้าง freelance editors ค่อนข้างมาก (ค่าจ้างก็แล้วแต่สนพ ดีบ้างไม่ดีบ้าง) บางที editor ถึงคราวซวยไปเจอนักแปลนรกเข้า editor ต้องแก้คำแปลเกือบทุกบรรทัดก็มี แต่นักแปลกลายเป็นได้เงินมากกว่า editor!
แต่ editors ที่ทำเงินได้มากที่สุดก็คือคนที่ตรวจแก้ภาษาอังกฤษให้สวยๆก่อนเอาไปตีพิมพ์ ใครก็ตามที่เขียนภาษาอังกฤษได้สวยหรูแล้วแก้ภาษาอังกฤษ (ที่คนอื่นเขียน) ให้สวยๆก่อนเอาไปตีพิมพ์ได้ จะทำเงินจากการเป็น editor หรือ subeditor ในหนังสือพิมพ์ฝรั่งหรือ สนพ ที่พิมพ์หนังสือภาษาอังกฤษได้เงินมหาศาล ค่าตัวแพงมากๆ ถ้าเก่งมากๆมีทางทำได้เดือนหนึ่งเป็นแสนบาท!
แต่ถ้า จขกท คิดแค่อยากทำงานพิสูจน์อักษร = แก้ตัวสะกด ถ้าทำภาษาไทย (หรือแม้กระทั่งภาษาอังกฤษ) นะ มันไม่ใช่อาชีพที่ดีเด่นอะไรนักหรอก แล้วก็ไม่ค่อยมีงานให้ทำมากนักหรอก เพราะอย่างที่บอกแล้วก็คือว่า
"สมัยนี้เค้าใช้ proofing tool ทำแทนมนุษย์ซะแล้วหละ"
จึงเรียนมาเพื่อทราบาเผื่อว่าท่านจะได้ไปหางานอื่นทำที่ดีกว่านี้
proofreader คือคนพิสูจน์อักษร ทำหน้าที่แค่ตรวจตัวสะกด
แต่
editor คือบรรณาธิการ ทำหน้าที่ขัดเกลาภาษา
ส่วนใหญ่แล้ว proofreaders สำนักพิมพ์มักจะจ้างคนภายใน เพราะจริงๆแล้วใช้ proofing tool ที่ให้มากับโปรแกรม Word ก็ทำได้ ไม่ต้องจ้างทีมงานอะไรให้เสียเงินมากมาย
แต่ในกรณีของ editors นั้นถ้าตรวจแก้ภาษาไทย สนพ ก็คงต้องใช้คนทำงานรับเงินเดือนนั่นแหละ (ซึ่งเงินเดือนก็ไม่มากนักหรอก) แต่ในกรณีของ editors ที่ สนพ ต้องจ้างคนนอกก็คือ editors ที่เป็นบรรณาธิการต้นฉบับหนังสือแปลไทยเป็นอังกฤษ ซึ่งคนที่จะทำหน้าที่นี้ได้ต้องแตกฉานทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย และเชี่ยวชาญด้านการแปล สนพ ใหญ่ๆที่มีงานแปลล้นมือจำเป็นต้องจ้าง freelance editors ค่อนข้างมาก (ค่าจ้างก็แล้วแต่สนพ ดีบ้างไม่ดีบ้าง) บางที editor ถึงคราวซวยไปเจอนักแปลนรกเข้า editor ต้องแก้คำแปลเกือบทุกบรรทัดก็มี แต่นักแปลกลายเป็นได้เงินมากกว่า editor!
แต่ editors ที่ทำเงินได้มากที่สุดก็คือคนที่ตรวจแก้ภาษาอังกฤษให้สวยๆก่อนเอาไปตีพิมพ์ ใครก็ตามที่เขียนภาษาอังกฤษได้สวยหรูแล้วแก้ภาษาอังกฤษ (ที่คนอื่นเขียน) ให้สวยๆก่อนเอาไปตีพิมพ์ได้ จะทำเงินจากการเป็น editor หรือ subeditor ในหนังสือพิมพ์ฝรั่งหรือ สนพ ที่พิมพ์หนังสือภาษาอังกฤษได้เงินมหาศาล ค่าตัวแพงมากๆ ถ้าเก่งมากๆมีทางทำได้เดือนหนึ่งเป็นแสนบาท!
แต่ถ้า จขกท คิดแค่อยากทำงานพิสูจน์อักษร = แก้ตัวสะกด ถ้าทำภาษาไทย (หรือแม้กระทั่งภาษาอังกฤษ) นะ มันไม่ใช่อาชีพที่ดีเด่นอะไรนักหรอก แล้วก็ไม่ค่อยมีงานให้ทำมากนักหรอก เพราะอย่างที่บอกแล้วก็คือว่า
"สมัยนี้เค้าใช้ proofing tool ทำแทนมนุษย์ซะแล้วหละ"
จึงเรียนมาเพื่อทราบาเผื่อว่าท่านจะได้ไปหางานอื่นทำที่ดีกว่านี้
แสดงความคิดเห็น
ขอสอบถามคนทำอาชีพ "นักพิสูจน์อักษร"
เงินเดือนดีไหม?
ผมพอจะรู้คร่าวๆ แต่อยากให้ผู้รู้จริงมาบอกเล่าประสบการณ์กับอาชีพนี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้