คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
การรับรองบุตร เป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้บุตรนอกสมรสเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาได้ ซึ่งวิธีการนี้บิดาสามารถจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรของตนโดยไม่ต้องจดทะเบียนสมรสกับมารดาของเด็ก โดยบิดาสามารถจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรของตนได้ แต่กฎหมายกำหนดเงื่อนไขในการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรต้องได้รับความยินยอมจากเด็กและมารดาของเด็ก โดยทั้งสองคนต้องไปให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียนแต่หากบุคคลทั้งสองไม่อาจให้ความยินยอมได้ เช่น มารดาถึงแก่ความตายแล้ว หรือกรณีเด็กไม่อาจแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้ เช่น อายุยังน้อยเกินไป การรับรองบุตรนั้นผู้ร้อง (บิดา) จะต้องมาร้องขอให้ศาลมีคำสั่งรับรองบุตร
ดังนั้น ผู้ร้อง(บิดา) จึงสามารถยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาตศาลให้ความยินยอมแทนผู้เยาว์หรือแทนมารดา ในการที่ผู้ร้องจะจดทะเบียนรับรองบุตรต่อนายทะเบียนต่อไป ทั้งนี้เพื่อเป็นการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้ร้องและบุตรตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป
เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนรับรองบุตร
(นำต้นฉบับเอกสารให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพร้อมสำเนา 2 ชุด)
1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง(บิดา)
2. ทะเบียนบ้านของผู้ร้อง,มารดา และผู้เยาว์
3. สูติบัตรของผู้เยาว์ หรือบุตร
4. ใบมรณบัตรของมารดาผู้เยาว์ (กรณีมารดาผู้เยาว์เสียชีวิต)
5. ใบเปลี่ยนชื่อตัว / ชื่อสกุล (ถ้ามี) ของผู้ร้อง,ผู้เยาว์,มารดาของบุตร
6. หนังสือให้ความยินยอมของมารดาผู้เยาว์และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีมารดายังมีชีวิต)
ค่าใช้จ่ายในการยื่นคำร้อง
1. ค่าขึ้นศาล 200 บาท
2. ค่าประกาศหนังสือพิมพ์ 500 บาท
นับแต่วันที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร ศาลจะนัดไต่สวนคำร้องไม่น้อยกว่า 45 วันนับแต่วันยื่นคำร้อง และภายในเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องแล้ว ผู้ร้องจักต้องนำบุตรและมารดาของบุตรไปให้ถ้อยคำต่อผู้อำนวยการสถานพินิจฯกรุงเทพเพื่อประมวลและรายงานข้อเท็จจริงเสนอความเห็นต่อศาลประกอบในการพิจารณาคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร (ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 117)
อนึ่ง ในวันนัดไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องพร้อมมารดาผู้เยาว์ และผู้เยาว์ต้องมาศาลและนำเอกสารพยานหลักฐานต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในบัญชีพยานมาศาลเพื่อทำการไต่สวนคำร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง ผู้ร้องสามารถขอคัดถ่ายคำสั่งศาลโดยให้เจ้าหน้าที่รับรองสำเนาถูกต้องและขอหนังสือสำคัญแสดงคดีถึงที่สุด แล้วนำเอกสารดังกล่าว ไปดำเนินการตามความประสงค์ต่อไป.
ดังนั้น ผู้ร้อง(บิดา) จึงสามารถยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาตศาลให้ความยินยอมแทนผู้เยาว์หรือแทนมารดา ในการที่ผู้ร้องจะจดทะเบียนรับรองบุตรต่อนายทะเบียนต่อไป ทั้งนี้เพื่อเป็นการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้ร้องและบุตรตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป
เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนรับรองบุตร
(นำต้นฉบับเอกสารให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพร้อมสำเนา 2 ชุด)
1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง(บิดา)
2. ทะเบียนบ้านของผู้ร้อง,มารดา และผู้เยาว์
3. สูติบัตรของผู้เยาว์ หรือบุตร
4. ใบมรณบัตรของมารดาผู้เยาว์ (กรณีมารดาผู้เยาว์เสียชีวิต)
5. ใบเปลี่ยนชื่อตัว / ชื่อสกุล (ถ้ามี) ของผู้ร้อง,ผู้เยาว์,มารดาของบุตร
6. หนังสือให้ความยินยอมของมารดาผู้เยาว์และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีมารดายังมีชีวิต)
ค่าใช้จ่ายในการยื่นคำร้อง
1. ค่าขึ้นศาล 200 บาท
2. ค่าประกาศหนังสือพิมพ์ 500 บาท
นับแต่วันที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร ศาลจะนัดไต่สวนคำร้องไม่น้อยกว่า 45 วันนับแต่วันยื่นคำร้อง และภายในเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องแล้ว ผู้ร้องจักต้องนำบุตรและมารดาของบุตรไปให้ถ้อยคำต่อผู้อำนวยการสถานพินิจฯกรุงเทพเพื่อประมวลและรายงานข้อเท็จจริงเสนอความเห็นต่อศาลประกอบในการพิจารณาคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร (ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 117)
อนึ่ง ในวันนัดไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องพร้อมมารดาผู้เยาว์ และผู้เยาว์ต้องมาศาลและนำเอกสารพยานหลักฐานต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในบัญชีพยานมาศาลเพื่อทำการไต่สวนคำร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง ผู้ร้องสามารถขอคัดถ่ายคำสั่งศาลโดยให้เจ้าหน้าที่รับรองสำเนาถูกต้องและขอหนังสือสำคัญแสดงคดีถึงที่สุด แล้วนำเอกสารดังกล่าว ไปดำเนินการตามความประสงค์ต่อไป.
แสดงความคิดเห็น
สอบถามเรื่องการจดทะเบียนให้ผู้เป็นบิดารับรองบุตร กรณีที่เด็กบุตรบรรลุนิติภาวะแล้วแต่มารดาเสียชีวิต