ฟัง อาจารย์คนหนึ่ง จากพิษณุโลก ณ ราชดำเนิน เมื่อ เที่ยงคืน 14 ธันวาคม 56 บอกว่า การเลือกตั้ง เป็นเงื่อนไขระดับต่ำสุดในระบอบประชาธิปไตย ก้อชักสงสัยว่าตรรกะการคิดของเราผิดอีกแล้วหรือนี่ ประชาธิปไตยที่ทุกคนบอกว่า เป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ที่เราเข้าใจ มันน่าจะ เกิดจากสิ่งนี้ (ถ้าผิดรบกวนชี้แนะครับ)
เมื่อคนจำนวนมากกว่าหนึ่งมาอยู่ร่วมกัน อาศัยพื้นที่ และทรัพยากรร่วมกัน บนความต้องการที่หลากหลายและแตกต่างกัน บนพื้นฐานความคิดที่ไม่เหมือนกัน บางคนคิดแบ่งปัน บางท่านคิดเห็นแก่ตัว บางคนหวาดกลัว (ไม่มีกำลัง) บางคนเสียงดัง (อิทธิพล) ถ้าปล่อยให้เป็นเสรีชนโดยไร้หลัก ก้อจะเป็นแดนของ คนเสียงดัง หน้าด้าน รุกพื้นที่ และทรัพยากรเอาไปไว้ฝ่ายตนฝ่ายเดียว สังคมวุ่นวายจนต้องหาทางสร้างความสงบเรียบร้อย โดยกำหนดให้มีหลักในการอยู่ร่วมกัน มีข้อปฏิบัติและข้อห้าม สิทธิที่จะได้ และหน้าที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งเกิดจากการตกลงร่วมกันของคนทั้งหมด (ไม่ใช่กลุ่มเสียงดังฝ่ายเดียว) กล่าวได้ว่า กฎ เป็นเรื่องแรกที่ประชาธิปไตยหรือการอยู่ร่วมต้องมี แต่ใครเป็นคนร่างกฎ ตรงนี้ต่างหากที่ ตรรกะของเราสงสัย มันต้องมีคน ถ้าคนมากถึงเป็นล้านคน (และอยากพูดถึงคำว่าประชาธิปไตย) คุยกันเองเพื่อหากฎอยู่ร่วม ก้อคงไม่อาจเกิดได้ ก้อต้องหาตัวแทน ก้อคือ การเลือกตั้งโดยประชาชน เพื่อมอบอำนาจการตัดสินใจให้ หลักคิด ทีผมคิดว่าน่าจะใช่ก้อคือ ประชาธิปไตย มีเป้าหมายคือ ประชาชนเป็นสุข มีเครื่องมือ คือกฎหมาย และการบริหาร มีวิธีการคือการเลือกตั้ง ซึ่งการกระทำให้ไปถึงเป้าหมายจะต้องเริ่มต้น จากวิธีการ เหมือนกับ หลักอริยะสัจ ที่บอกว่าเป้าหมาย คือนิโรธ คือความดับแห่งทุกข์ มรรคา คือ หนทางหรือวิธีการดับทุกข์ ถ้าบอกว่าการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นวิธีการไปสู่ เพื่อประชาชนเป็นสุข เป็นเงื่อนไขที่อยู่ในขั้นต่ำสุดของประชาธิปไตย ก้อเหมือนอยาก ถึงนิโรธ โดยพูดถึงมรรค อยากมีเงิน โดยไม่ทำงาน อยากเป็นประชาธิปไตย โดยไม่ต้องเลือกตั้ง แล้ว ประชาธิปไตย มันจะมีได้อย่างไร เมื่อละทิ้ง วิธีการเป็นประชาธิปไตย หรือว่า .เรา ตรรกะเพี้ยน ไม่ทันสมัย เหมือนอาจารย์ท่านนั้น (สงสัย และอยากแลกเปลี่ยน เผื่อฉลาดขึ้นน่ะครับ)
ของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน
เมื่อคนจำนวนมากกว่าหนึ่งมาอยู่ร่วมกัน อาศัยพื้นที่ และทรัพยากรร่วมกัน บนความต้องการที่หลากหลายและแตกต่างกัน บนพื้นฐานความคิดที่ไม่เหมือนกัน บางคนคิดแบ่งปัน บางท่านคิดเห็นแก่ตัว บางคนหวาดกลัว (ไม่มีกำลัง) บางคนเสียงดัง (อิทธิพล) ถ้าปล่อยให้เป็นเสรีชนโดยไร้หลัก ก้อจะเป็นแดนของ คนเสียงดัง หน้าด้าน รุกพื้นที่ และทรัพยากรเอาไปไว้ฝ่ายตนฝ่ายเดียว สังคมวุ่นวายจนต้องหาทางสร้างความสงบเรียบร้อย โดยกำหนดให้มีหลักในการอยู่ร่วมกัน มีข้อปฏิบัติและข้อห้าม สิทธิที่จะได้ และหน้าที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งเกิดจากการตกลงร่วมกันของคนทั้งหมด (ไม่ใช่กลุ่มเสียงดังฝ่ายเดียว) กล่าวได้ว่า กฎ เป็นเรื่องแรกที่ประชาธิปไตยหรือการอยู่ร่วมต้องมี แต่ใครเป็นคนร่างกฎ ตรงนี้ต่างหากที่ ตรรกะของเราสงสัย มันต้องมีคน ถ้าคนมากถึงเป็นล้านคน (และอยากพูดถึงคำว่าประชาธิปไตย) คุยกันเองเพื่อหากฎอยู่ร่วม ก้อคงไม่อาจเกิดได้ ก้อต้องหาตัวแทน ก้อคือ การเลือกตั้งโดยประชาชน เพื่อมอบอำนาจการตัดสินใจให้ หลักคิด ทีผมคิดว่าน่าจะใช่ก้อคือ ประชาธิปไตย มีเป้าหมายคือ ประชาชนเป็นสุข มีเครื่องมือ คือกฎหมาย และการบริหาร มีวิธีการคือการเลือกตั้ง ซึ่งการกระทำให้ไปถึงเป้าหมายจะต้องเริ่มต้น จากวิธีการ เหมือนกับ หลักอริยะสัจ ที่บอกว่าเป้าหมาย คือนิโรธ คือความดับแห่งทุกข์ มรรคา คือ หนทางหรือวิธีการดับทุกข์ ถ้าบอกว่าการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นวิธีการไปสู่ เพื่อประชาชนเป็นสุข เป็นเงื่อนไขที่อยู่ในขั้นต่ำสุดของประชาธิปไตย ก้อเหมือนอยาก ถึงนิโรธ โดยพูดถึงมรรค อยากมีเงิน โดยไม่ทำงาน อยากเป็นประชาธิปไตย โดยไม่ต้องเลือกตั้ง แล้ว ประชาธิปไตย มันจะมีได้อย่างไร เมื่อละทิ้ง วิธีการเป็นประชาธิปไตย หรือว่า .เรา ตรรกะเพี้ยน ไม่ทันสมัย เหมือนอาจารย์ท่านนั้น (สงสัย และอยากแลกเปลี่ยน เผื่อฉลาดขึ้นน่ะครับ)