ขอแชร์ประสบการณ์ความผิดพลาดช่วง Subprime หน่อย เพื่อเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ที่อาจจะจัดพอร์ตคล้ายๆ กับผมในช่วงนั้นด้วยความไม่รู้หน่อยนะครับ
ช่วงก่อนซับไพร์ม เป็นช่วงที่ผมออกมาจากงานประจำมาทำธุรกิจส่วนตัว เริ่มจะมีเวลาให้กับการลงทุนมากขึ้น ช่วงนั้นเห็นเพื่อนนักลงทุนบางคนใช้ Margin แล้วร่ำรวยกันเหลือเกิน เราก็รู้สึกว่าเรามีเวลาให้กับการลงทุนมากขึ้นแล้ว มีเวลาติดตามตลาดมากขึ้น ประกอบกับความโลภที่เกินพอดี แถมช่วงนั้น Thai VI ฮิตหุ้นตัวหนึ่งมากๆ เรายิ่งไปฟัง ก็ยิ่งโดนบิ้วด์ เลยอัดจิ้นซะหวังรวยแบบเพื่อนๆ ที่รวยไปก่อนหน้ากับเค้าบ้าง
พอเข้าช่วงซับไพร์ม เราก็ปรับพอร์ต เตรียมรับวิกฤตไปเรื่อย คิดว่าปรับพร้อมที่จะรับหุ้นลงแล้ว แต่ปรับเท่าไหร่ก็ไม่พอ ตราบใดที่ยังมีมาร์จิ้นอยู่ ผลสุดท้ายไปๆ มาๆ ต้องขายหุ้นตัวอื่น ลดสัดส่วน เพื่อมาค้ำ มายัน หุ้นยอดฮิตของ Thai VI ราคาหุ้นตัวนั้นก็สาระวันเตี้ยลงๆ ยิ่งลงก็ยิ่งต้องขาย เพราะ เดี๋ยวจะโดน Call Margin จะโดน Force Sell พยายามรักษาสถานะของพอร์ตให้ดีที่สุด
ในช่วงที่ตลาดเริ่มสะเด็ดน้ำ ราคาทรงตัว วันดีคืนดีขณะที่ผมไปทำงานอยู่ที่ต่างประเทศ มาร์ฯ ผมติดต่อมาว่า ตลาดไม่ดี เค้าจะถอดหุ้นตัวนั้นออกจาก Margin List ทั้งๆ ที่ราคาหุ้นต่ำติดดิน P/E เหลือไม่ถึง 3 เท่า อัตราเงินปันผลสูงเสียดฟ้า ถ้าหากเค้าถอดหุ้นตัวนั้นออกจาก Margin หมายความว่าผมจะโดน Force Sell ก็ได้แต่อ้อนวอนว่า อย่างพึ่งรีบถอดออกจาก Margin List ได้ไหม รอให้ผมได้เงินปันผลจากหุ้นตัวนั้น แล้วจะเอาเงินปันผลมาโปะเงินกู้ ซึ่งโชคดีที่โบรกเปลี่ยนใจไม่ถอดหุ้นตัวนั้นออกจาก Margin List ถ้าถอดออก ผมคงจะโดน Force Sell และไม่มีชีวิตการลงทุนมาถึงวันนี้
ข้อคิดหนึ่งที่ผมได้มา คือ
1) อย่ามี Margin เวลาเป็นตลาดขาลง แม้ว่าเราจะคิดว่า เรากู้แค่ 10-20% แต่พอตลาดลงเอาๆๆๆๆ ไอ้ที่เราคิดว่าเรากู้นิดเดียว ก็จะทำเราโดน Force Sell หมดเนื้อหมดตัวได้เหมือนกัน
2) อย่ามี Position ที่ Concentrate อยู่ในหุ้นตัวหนึ่งมากจนเกินไป เพราะ หากหุ้นตัวนั้นไม่มีสภาพคล่องขึ้นมา โอกาสในการลงทุนหุ้นตัวอื่นๆ ที่ผ่านเข้ามาจะหายวับไปกับตา เพราะ เราไม่สามารถ Switch หุ้นได้เลย แม้จะมีโอกาสผ่านมาต่อหน้า แต่เมื่อไม่มีคนซื้อหุ้นที่เราถือ เราก็ได้แต่น้ำลายหก
3) ระวังหุ้นขนาดกลาง-เล็ก ที่ใครๆ ก็มี โดยเฉพาะหุ้นที่คนซื้อมีกรอบความคิดเดียวกัน เพราะ เวลากรอบความคิดเปลี่ยน มันจะเปลี่ยนเหมือนกันหมด กลายเป็นหุ้นที่ไม่มีสภาพคล่อง
ช่วงนั้นผมลงทุน กลายเป็นว่า ผมต้องเด็ดดอกไม้มารดน้ำวัชพืช ขายหุ้นที่ดีที่มีคุณภาพ เพราะว่ามันไม่ลงมาก มีสภาพคล่อง มาโอบอุ้มเงินกู้ที่เอาไปค้ำยันหุ้นที่เล็กๆ ไม่มีสภาพคล่อง ไม่สามารถตัด Position ทำอะไรกับมันได้
แล้วผมจัดพอร์ตอย่างไรในช่วงนี้ ขออนุญาต บังอาจ นำเสนอ และแสดงความคิดเห็นนะครับ
1) เนื่องจากตลาดในช่วงที่ผ่านมา โดยส่วนตัวผมรู้สึกว่าแพง หาหุ้นไม่ได้ ผมเลยเลือกหุ้นที่ใช้ถือแทนเงินสด กระจายไปหลายๆ ตัว หุ้นในไทยผมจะถือประมาณตัวละ 10% มีตัวที่บวมขึ้นมาเป็น 15% แต่ตอนซื้อตอนแรกก็กระจายๆ ไป
2) หุ้นที่มีคุณภาพที่ถือแทนเงินสดที่ผมเลือกในช่วงที่ผ่านมา คือ ปันผลที่เรารู้สึกคุ้มค่ากว่าฝากเงิน ขอแค่ให้กิจการทำได้พอๆ กับปีที่ผ่านมา และถ้าโชคดีกิจการเติบโตได้ ก็ถือว่าถูกหวย
3) ไม่มีมาร์จิ้น มีเงินสดเหลือสำหรับการใช้จ่ายในรอบ 2 ปี เอาไว้เป็นเบาะรองรับหากเกิดวิกฤต
4) กระจายการลงทุนไปต่างประเทศ ช่วงที่ผ่านมาผมเจอหุ้นไทยแพงมาก และมองแนวโน้ม Mega Trend ที่เกิดขึ้นในเรื่องการเข้ามาของเทคโนโลยี พอมามองหุ้นไทย กิจการที่ได้ประโยชน์ ก็เป็นกิจการที่ได้ประโยชน์แค่ปลายน้ำๆ ไม่ใช่คนที่ได้ประโยชน์จริงๆ จังๆ ผมเลยมองข้ามผ่านขีดจำกัดทางด้านภาษา ทางด้านตลาด ไปลงทุนใน NASDAQ เลือกลงทุนในกิจการที่เป็นหัวกระทิที่ได้ประโยชน์จากแนวโน้มนี้ เป็นผู้นำ และอยู่ในสถานะที่แทบจะเป็น Monopoly ในอุตสาหกรรม จนตอนนี้สัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศเป็นครึ่งหนึ่งของพอร์ตลงทุนทั้งหมด
สำหรับเพื่อนๆ ที่มี Position ในหุ้นมหาชนชาววีไอ มีสัดส่วนต่อพอร์ตค่อนข้างเยอะ และมีมาร์จิ้น หรือรู้มาว่าคนอื่นมีมาร์จิ้นในตัวนี้ค่อนข้างเยอะ ผมขอย้ำอีกครั้งว่าให้ระวังหุ้นพวกนี้เอาไว้ให้ดี ลงทุนด้วยความไม่ประมาท เพราะ ถ้าเมื่อไหร่ที่พื้นฐานกิจการ สภาวะตลาดเปลี่ยน อารมณ์ของนักลงทุนเปลี่ยน จุดที่เกิด Critical Mass จะเป็นจุดที่น่าอันตราย ดุจดังเรากำลังอยู่ในงานเลี้ยงหรูหรา เต้นรำกันอย่างเพลิดเพลินและเกิดไฟไหม้ขึ้น ในสถานการณ์นั้นๆ เราต้องมีแผนฉุกเฉิน ดูทางหนีไฟเอาไว้ให้ดี ควบคุมสติ และดำเนินการตามแผน
ผมขอแนะนำให้อ่านหนังสือ เรื่อง รู้ทันสมองในยามคับขัน : The Unthinkable -ของสำนักพิมพ์ We Learn ครับ
คัดลอกโดยได้รับการอนุญาตจาก อาจารย์ picatos แล้วครับ
ที่มา
http://203.150.20.122/~thaivi/board/viewtopic.php?f=1&t=56309
สาเหตุที่ QE เริ่มเป็นอีกปัจจัยที่นักลงทุนให้ความสำคัญนั้น ก็เริ่มมาจากคราวที่ FED หรือธนาคารกลางสหรัฐฯ มีการใช้ QE ในการแก้ปัญหาวิกฤติซับไพรม์ โดยการออกมาตรการ QE1 ในช่วงปลาย พ.ย.2551 - มี.ค.2552 เพื่ออุ้มสถาบันการเงินไม่ให้ล้ม พร้อมกับเพื่อพยุงตลาดอสังหาริมทรัพย์ด้วยการรับซื้อหนี้จำนองจากพอร์ตธนาคารพาณิชย์ผ่านโครงการ TALF (Term Asset-Backed Securities Loan Facilities) รวมมูลค่าราว 1.75 ล้านล้านเหรียญ โดยหวังว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะฟื้นตัวขึ้น แต่เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ได้ฟื้นตัวขึ้นดังหวัง FED จึงประกาศใช้ QE2 ต่อ ด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวในตลาดตั้งแต่ต้นเดือน พ.ย.2553 – มิ.ย.2554 อีก 6 แสนล้านเหรียญ โดยผลจาก QE ทั้ง 2 ครั้ง กลับส่งผลเสียต่อค่าเงินดอลลาร์สรอ.ที่อ่อนค่าลงมาก ในขณะที่สภาพคล่องล้นระบบธนาคาร เนื่องจากสถาบันการเงินกังวลต่อการชำระหนี้คืนของภาคธุรกิจและประชาชน จึงไม่มีการปล่อยกู้ไปกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่ FED คาดการณ์และต้องการให้เป็น แต่ผลจาก QE ทั้ง 2 ครั้งกลับส่งผลดีอย่างมากต่อราคาหลักทรัพย์ทั่วโลก ทั้งพันธบัตร, หุ้น, น้ำมัน รวมไปถึงทองคำด้วย และจากการที่วานิชธนกิจเหล่านั้นนำเงินไปลงทุนต่อ จึงทำให้เกิดเงินเฟ้อขึ้นทั่วโลกจากการเก็งกำไรดังกล่าว พร้อมกันนั้น ยังได้สร้างปัญหาให้กับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่(Emerging Market)ในเอเชียที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูงด้วยการที่มีเงินทุนไหลเข้าประเทศในจำนวนมหาศาล เพื่อแสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่าและป้องกันตัวเองจากเงินเฟ้อในเงินดอลลาร์ไปในตัว ซึ่งก็ยิ่งทำให้เงินสกุลเอเชียแข็งค่าและเงินสกุลดอลลาร์อ่อนค่ามากยิ่งขึ้นไปอีก
และเนื่องจากการเติมสภาพคล่องเข้าไปในระบบ มักจะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ดังนั้น ก่อนที่ธนาคารกลางแต่ละประเทศจะออกมาตรการ QE ก็จำเป็นต้องวางแนวทางเรื่อง Exit Strategy ในการดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบ (Sterilization Process) เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง(Hyperinflation)ในกรณีที่ธนาคารกลางไม่สามารถควบคุมได้ แต่เนื่องจาก FED ยังคงรอความชัดเจนในสัญญาณการฟื้นตัวอย่างแข็งแรงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จนทำให้บัดนี้ ยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ เกี่ยวกับแผนการดึงเงินเหล่านั้นกลับคืน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของสหรัฐฯ, การชะลอตัวลงของกลุ่ม BRICS และวิกฤติใน EU ที่อาจลุกลามสู่เศรษฐกิจโลก QE จึงกลายเป็นสิ่งที่นักลงทุนทั่วโลกต่างมุ่งหวังให้เกิดขึ้น ตั้งแต่กลางปี 25554 ที่แล้ว ในขณะที่ประธานของธนาคารกลางสหรัฐฯ เบน เบอร์นันเก้เอง ก็ยังไม่แสดงท่าทีที่ชัดเจนหรือแม้แต่การตอบคำถามใดๆ ที่เกี่ยวกับ QE3 แต่ทว่ากระแสข่าวลือกลับมีออกมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ภาวะวิกฤติในยูโรโซนกำลังทวีความรุนแรง จนอาจจะกลายเป็นหายนะของเศรษฐกิจโลกได้ในไม่ช้านี้ ก็ยิ่งทำให้ความคาดหวังต่อ QE3 เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะยาขนานเอกที่จะช่วยให้ทุกคนรอดพ้นจากสถานการณ์เลวร้ายนี้ไปได้ เพราะทุกครั้งที่ยุโรปมีข่าวร้าย ไม่ว่าจะเป็นตลาดอิตาลี, กรีซ หรือล่าสุด ตลาดสเปนเอง ก็มักมีข่าวลือว่า FED จะออกมาตรการ QE3 แต่สุดท้ายก็ต้องผิดหวังกับถ้อยแถลงของประธาน FED ทุกครั้งที่ไม่ได้เผยความเห็นในเรื่องนี้แต่อย่างใด ซึ่งการที่ เบน เบอร์นันเก้ ไม่ยอมพูดถึง QE3 มาเกือบปีแล้ว ก็น่ามาจาก 2 ประเด็น คือ
ในฐานะผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ ทุกคำพูดที่ออกสู่สาธารณชนจะมีอิทธิพลต่อทิศทางเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจทำให้เกิดความผันผวนจากการเก็งกำไรในตลาดได้ ดังนั้น เขาจึงเลือกไม่พูดอะไรเลยแทนที่จะให้สัมภาษณ์ออกไปแล้วนักลงทุนนำไปตีความผิดจากที่เขาตั้งใจไว้ เป็นการส่งสัญญาณผิดให้กับตลาด ซึ่งเป็นอยู่บ่อยครั้งในช่วงแรกของการเข้ารับตำแหน่งปธ.ธนาคารกลางสหรัฐฯ
มาตรการที่ FED ใช้มีอยู่ไม่มากนัก นอกจากการปรับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงแล้ว ก็มีเพียงการควบคุมปริมาณเงินดอลลาร์ในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งการที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับ 0-0.25% ก็เรียกว่า FED ไม่สามารถลดดอกเบี้ยได้อีกแล้ว ดังนั้น มาตรการที่ใช้ได้ในขณะนี้จึงมีแต่การเพิ่มหรือลดปริมาณเงินเท่านั้น ซึ่งก็ได้มีการนำออกมาใช้แล้วในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ Operation Twist, TALF, การสว๊อปเงินดอลลาร์โดยตรงระหว่างธนาคารกลางในหลายประเทศ และ QE ซึ่งนับว่าเป็นมาตรการที่มีขนาดใหญ่และใช้เงินจำนวนมาก แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับไม่รวดเร็วเท่ากับการใช้มาตรการทางการคลัง เนื่องจากต้องผ่านกระบวนการปล่อยสินเชื่อของภาคธนาคาร และเป็นตัวการทำให้ค่าเงินดอลล่าร์สรอ.อ่อนค่าลง นอกจากนี้ยังถูกกล่าวโทษจากประเทศอื่นๆว่า QE เป็นตัวการให้เงินเฟ้อแพร่กระจาย และค่าเงินของประเทศแข็งค่าขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นเอาเปรียบประเทศอื่นๆ
แน่นอนว่ามูลค่าของเงินดอลลาร์ ย่อมหมายถึงมั่นคงของสหรัฐฯ เพราะเป็นความมั่งคั่งของประเทศส่วนใหญ่ในโลก เนื่องด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ถูกใช้เป็นตัวหลักในสัดส่วนเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ฉะนั้น การที่เงินเหรียญสหรัฐฯด้อยค่าก็จะทำให้สินทรัพย์ของแทบทุกประเทศด้อยค่าลงไปด้วย
ดังนั้น เมื่อคาดว่าจะเกิดเงินเฟ้อในสกุลดอลลาร์ นักลงทุนและแบงค์ชาติทั่วโลกจึงหันไปหาสินทรัพย์ในรูปเงินสกุลอื่นแทน ทำให้สถานะของเงินสกุลดอลลาร์สั่นคลอนในสายตาชาวโลก รวมทั้งอาจถูกพิจารณาปรับลดอันดับเครดิตลงอีกจากบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้านการลงทุนชั้นนำทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็น S&P, Moody หรือ Fitch ซึ่งก็เท่ากับยิ่งจะทำให้สถานการณ์เศรษฐกิจไม่ดีมากขึ้น ทั้งๆที่ตัวเลขหลายตัวได้บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวช้าๆ อย่างต่อเนื่อง แต่นั่นก็ยังไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นการฟื้นตัวที่ยั่งยืนแค่ไหน
เมื่อ QE ถูกมองว่า เป็นยาขนานเอกในการเยียวยาให้ระบบการเงินสหรัฐและของโลกรอดพ้นจากภาวะวิกฤต แต่ในขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบในด้านลบต่อความน่าเชื่อถือของเงินสกุลดอลล่าร์และการเกิดภาวะเงินเฟ้อไปทั่วโลก รวมถึงไม่สามารถปล่อยเงินไปสู่ภาคธุรกิจที่แท้จริงได้อย่างเต็มที่ จึงเป็นเรื่องที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องประเมินผลได้และผลเสียให้รอบคอบ และเก็บมาตรการนี้ไว้ใช้เมื่อคราวจำเป็นเท่านั้น การมี QE อีกรอบ อาจแสดงถึงการที่โลกจะต้องเผชิญกับภาวะที่เลวร้ายมากที่สุด หรือก็คือการเกิด The Great Depression อีกรอบ .... เมื่อถึงตอนนั้น เราจะยังหวังให้มี QE อีกหรือไม่?
ที่มา
http://www.goldsothai.com/index.php?lite=article&qid=42034103
ข้อคิดดี ๆ จาก subprime / บทความ QE1-3
ช่วงก่อนซับไพร์ม เป็นช่วงที่ผมออกมาจากงานประจำมาทำธุรกิจส่วนตัว เริ่มจะมีเวลาให้กับการลงทุนมากขึ้น ช่วงนั้นเห็นเพื่อนนักลงทุนบางคนใช้ Margin แล้วร่ำรวยกันเหลือเกิน เราก็รู้สึกว่าเรามีเวลาให้กับการลงทุนมากขึ้นแล้ว มีเวลาติดตามตลาดมากขึ้น ประกอบกับความโลภที่เกินพอดี แถมช่วงนั้น Thai VI ฮิตหุ้นตัวหนึ่งมากๆ เรายิ่งไปฟัง ก็ยิ่งโดนบิ้วด์ เลยอัดจิ้นซะหวังรวยแบบเพื่อนๆ ที่รวยไปก่อนหน้ากับเค้าบ้าง
พอเข้าช่วงซับไพร์ม เราก็ปรับพอร์ต เตรียมรับวิกฤตไปเรื่อย คิดว่าปรับพร้อมที่จะรับหุ้นลงแล้ว แต่ปรับเท่าไหร่ก็ไม่พอ ตราบใดที่ยังมีมาร์จิ้นอยู่ ผลสุดท้ายไปๆ มาๆ ต้องขายหุ้นตัวอื่น ลดสัดส่วน เพื่อมาค้ำ มายัน หุ้นยอดฮิตของ Thai VI ราคาหุ้นตัวนั้นก็สาระวันเตี้ยลงๆ ยิ่งลงก็ยิ่งต้องขาย เพราะ เดี๋ยวจะโดน Call Margin จะโดน Force Sell พยายามรักษาสถานะของพอร์ตให้ดีที่สุด
ในช่วงที่ตลาดเริ่มสะเด็ดน้ำ ราคาทรงตัว วันดีคืนดีขณะที่ผมไปทำงานอยู่ที่ต่างประเทศ มาร์ฯ ผมติดต่อมาว่า ตลาดไม่ดี เค้าจะถอดหุ้นตัวนั้นออกจาก Margin List ทั้งๆ ที่ราคาหุ้นต่ำติดดิน P/E เหลือไม่ถึง 3 เท่า อัตราเงินปันผลสูงเสียดฟ้า ถ้าหากเค้าถอดหุ้นตัวนั้นออกจาก Margin หมายความว่าผมจะโดน Force Sell ก็ได้แต่อ้อนวอนว่า อย่างพึ่งรีบถอดออกจาก Margin List ได้ไหม รอให้ผมได้เงินปันผลจากหุ้นตัวนั้น แล้วจะเอาเงินปันผลมาโปะเงินกู้ ซึ่งโชคดีที่โบรกเปลี่ยนใจไม่ถอดหุ้นตัวนั้นออกจาก Margin List ถ้าถอดออก ผมคงจะโดน Force Sell และไม่มีชีวิตการลงทุนมาถึงวันนี้
ข้อคิดหนึ่งที่ผมได้มา คือ
1) อย่ามี Margin เวลาเป็นตลาดขาลง แม้ว่าเราจะคิดว่า เรากู้แค่ 10-20% แต่พอตลาดลงเอาๆๆๆๆ ไอ้ที่เราคิดว่าเรากู้นิดเดียว ก็จะทำเราโดน Force Sell หมดเนื้อหมดตัวได้เหมือนกัน
2) อย่ามี Position ที่ Concentrate อยู่ในหุ้นตัวหนึ่งมากจนเกินไป เพราะ หากหุ้นตัวนั้นไม่มีสภาพคล่องขึ้นมา โอกาสในการลงทุนหุ้นตัวอื่นๆ ที่ผ่านเข้ามาจะหายวับไปกับตา เพราะ เราไม่สามารถ Switch หุ้นได้เลย แม้จะมีโอกาสผ่านมาต่อหน้า แต่เมื่อไม่มีคนซื้อหุ้นที่เราถือ เราก็ได้แต่น้ำลายหก
3) ระวังหุ้นขนาดกลาง-เล็ก ที่ใครๆ ก็มี โดยเฉพาะหุ้นที่คนซื้อมีกรอบความคิดเดียวกัน เพราะ เวลากรอบความคิดเปลี่ยน มันจะเปลี่ยนเหมือนกันหมด กลายเป็นหุ้นที่ไม่มีสภาพคล่อง
ช่วงนั้นผมลงทุน กลายเป็นว่า ผมต้องเด็ดดอกไม้มารดน้ำวัชพืช ขายหุ้นที่ดีที่มีคุณภาพ เพราะว่ามันไม่ลงมาก มีสภาพคล่อง มาโอบอุ้มเงินกู้ที่เอาไปค้ำยันหุ้นที่เล็กๆ ไม่มีสภาพคล่อง ไม่สามารถตัด Position ทำอะไรกับมันได้
แล้วผมจัดพอร์ตอย่างไรในช่วงนี้ ขออนุญาต บังอาจ นำเสนอ และแสดงความคิดเห็นนะครับ
1) เนื่องจากตลาดในช่วงที่ผ่านมา โดยส่วนตัวผมรู้สึกว่าแพง หาหุ้นไม่ได้ ผมเลยเลือกหุ้นที่ใช้ถือแทนเงินสด กระจายไปหลายๆ ตัว หุ้นในไทยผมจะถือประมาณตัวละ 10% มีตัวที่บวมขึ้นมาเป็น 15% แต่ตอนซื้อตอนแรกก็กระจายๆ ไป
2) หุ้นที่มีคุณภาพที่ถือแทนเงินสดที่ผมเลือกในช่วงที่ผ่านมา คือ ปันผลที่เรารู้สึกคุ้มค่ากว่าฝากเงิน ขอแค่ให้กิจการทำได้พอๆ กับปีที่ผ่านมา และถ้าโชคดีกิจการเติบโตได้ ก็ถือว่าถูกหวย
3) ไม่มีมาร์จิ้น มีเงินสดเหลือสำหรับการใช้จ่ายในรอบ 2 ปี เอาไว้เป็นเบาะรองรับหากเกิดวิกฤต
4) กระจายการลงทุนไปต่างประเทศ ช่วงที่ผ่านมาผมเจอหุ้นไทยแพงมาก และมองแนวโน้ม Mega Trend ที่เกิดขึ้นในเรื่องการเข้ามาของเทคโนโลยี พอมามองหุ้นไทย กิจการที่ได้ประโยชน์ ก็เป็นกิจการที่ได้ประโยชน์แค่ปลายน้ำๆ ไม่ใช่คนที่ได้ประโยชน์จริงๆ จังๆ ผมเลยมองข้ามผ่านขีดจำกัดทางด้านภาษา ทางด้านตลาด ไปลงทุนใน NASDAQ เลือกลงทุนในกิจการที่เป็นหัวกระทิที่ได้ประโยชน์จากแนวโน้มนี้ เป็นผู้นำ และอยู่ในสถานะที่แทบจะเป็น Monopoly ในอุตสาหกรรม จนตอนนี้สัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศเป็นครึ่งหนึ่งของพอร์ตลงทุนทั้งหมด
สำหรับเพื่อนๆ ที่มี Position ในหุ้นมหาชนชาววีไอ มีสัดส่วนต่อพอร์ตค่อนข้างเยอะ และมีมาร์จิ้น หรือรู้มาว่าคนอื่นมีมาร์จิ้นในตัวนี้ค่อนข้างเยอะ ผมขอย้ำอีกครั้งว่าให้ระวังหุ้นพวกนี้เอาไว้ให้ดี ลงทุนด้วยความไม่ประมาท เพราะ ถ้าเมื่อไหร่ที่พื้นฐานกิจการ สภาวะตลาดเปลี่ยน อารมณ์ของนักลงทุนเปลี่ยน จุดที่เกิด Critical Mass จะเป็นจุดที่น่าอันตราย ดุจดังเรากำลังอยู่ในงานเลี้ยงหรูหรา เต้นรำกันอย่างเพลิดเพลินและเกิดไฟไหม้ขึ้น ในสถานการณ์นั้นๆ เราต้องมีแผนฉุกเฉิน ดูทางหนีไฟเอาไว้ให้ดี ควบคุมสติ และดำเนินการตามแผน
ผมขอแนะนำให้อ่านหนังสือ เรื่อง รู้ทันสมองในยามคับขัน : The Unthinkable -ของสำนักพิมพ์ We Learn ครับ
คัดลอกโดยได้รับการอนุญาตจาก อาจารย์ picatos แล้วครับ
ที่มา http://203.150.20.122/~thaivi/board/viewtopic.php?f=1&t=56309
สาเหตุที่ QE เริ่มเป็นอีกปัจจัยที่นักลงทุนให้ความสำคัญนั้น ก็เริ่มมาจากคราวที่ FED หรือธนาคารกลางสหรัฐฯ มีการใช้ QE ในการแก้ปัญหาวิกฤติซับไพรม์ โดยการออกมาตรการ QE1 ในช่วงปลาย พ.ย.2551 - มี.ค.2552 เพื่ออุ้มสถาบันการเงินไม่ให้ล้ม พร้อมกับเพื่อพยุงตลาดอสังหาริมทรัพย์ด้วยการรับซื้อหนี้จำนองจากพอร์ตธนาคารพาณิชย์ผ่านโครงการ TALF (Term Asset-Backed Securities Loan Facilities) รวมมูลค่าราว 1.75 ล้านล้านเหรียญ โดยหวังว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะฟื้นตัวขึ้น แต่เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ได้ฟื้นตัวขึ้นดังหวัง FED จึงประกาศใช้ QE2 ต่อ ด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวในตลาดตั้งแต่ต้นเดือน พ.ย.2553 – มิ.ย.2554 อีก 6 แสนล้านเหรียญ โดยผลจาก QE ทั้ง 2 ครั้ง กลับส่งผลเสียต่อค่าเงินดอลลาร์สรอ.ที่อ่อนค่าลงมาก ในขณะที่สภาพคล่องล้นระบบธนาคาร เนื่องจากสถาบันการเงินกังวลต่อการชำระหนี้คืนของภาคธุรกิจและประชาชน จึงไม่มีการปล่อยกู้ไปกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่ FED คาดการณ์และต้องการให้เป็น แต่ผลจาก QE ทั้ง 2 ครั้งกลับส่งผลดีอย่างมากต่อราคาหลักทรัพย์ทั่วโลก ทั้งพันธบัตร, หุ้น, น้ำมัน รวมไปถึงทองคำด้วย และจากการที่วานิชธนกิจเหล่านั้นนำเงินไปลงทุนต่อ จึงทำให้เกิดเงินเฟ้อขึ้นทั่วโลกจากการเก็งกำไรดังกล่าว พร้อมกันนั้น ยังได้สร้างปัญหาให้กับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่(Emerging Market)ในเอเชียที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูงด้วยการที่มีเงินทุนไหลเข้าประเทศในจำนวนมหาศาล เพื่อแสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่าและป้องกันตัวเองจากเงินเฟ้อในเงินดอลลาร์ไปในตัว ซึ่งก็ยิ่งทำให้เงินสกุลเอเชียแข็งค่าและเงินสกุลดอลลาร์อ่อนค่ามากยิ่งขึ้นไปอีก
และเนื่องจากการเติมสภาพคล่องเข้าไปในระบบ มักจะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ดังนั้น ก่อนที่ธนาคารกลางแต่ละประเทศจะออกมาตรการ QE ก็จำเป็นต้องวางแนวทางเรื่อง Exit Strategy ในการดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบ (Sterilization Process) เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง(Hyperinflation)ในกรณีที่ธนาคารกลางไม่สามารถควบคุมได้ แต่เนื่องจาก FED ยังคงรอความชัดเจนในสัญญาณการฟื้นตัวอย่างแข็งแรงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จนทำให้บัดนี้ ยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ เกี่ยวกับแผนการดึงเงินเหล่านั้นกลับคืน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของสหรัฐฯ, การชะลอตัวลงของกลุ่ม BRICS และวิกฤติใน EU ที่อาจลุกลามสู่เศรษฐกิจโลก QE จึงกลายเป็นสิ่งที่นักลงทุนทั่วโลกต่างมุ่งหวังให้เกิดขึ้น ตั้งแต่กลางปี 25554 ที่แล้ว ในขณะที่ประธานของธนาคารกลางสหรัฐฯ เบน เบอร์นันเก้เอง ก็ยังไม่แสดงท่าทีที่ชัดเจนหรือแม้แต่การตอบคำถามใดๆ ที่เกี่ยวกับ QE3 แต่ทว่ากระแสข่าวลือกลับมีออกมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ภาวะวิกฤติในยูโรโซนกำลังทวีความรุนแรง จนอาจจะกลายเป็นหายนะของเศรษฐกิจโลกได้ในไม่ช้านี้ ก็ยิ่งทำให้ความคาดหวังต่อ QE3 เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะยาขนานเอกที่จะช่วยให้ทุกคนรอดพ้นจากสถานการณ์เลวร้ายนี้ไปได้ เพราะทุกครั้งที่ยุโรปมีข่าวร้าย ไม่ว่าจะเป็นตลาดอิตาลี, กรีซ หรือล่าสุด ตลาดสเปนเอง ก็มักมีข่าวลือว่า FED จะออกมาตรการ QE3 แต่สุดท้ายก็ต้องผิดหวังกับถ้อยแถลงของประธาน FED ทุกครั้งที่ไม่ได้เผยความเห็นในเรื่องนี้แต่อย่างใด ซึ่งการที่ เบน เบอร์นันเก้ ไม่ยอมพูดถึง QE3 มาเกือบปีแล้ว ก็น่ามาจาก 2 ประเด็น คือ
ในฐานะผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ ทุกคำพูดที่ออกสู่สาธารณชนจะมีอิทธิพลต่อทิศทางเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจทำให้เกิดความผันผวนจากการเก็งกำไรในตลาดได้ ดังนั้น เขาจึงเลือกไม่พูดอะไรเลยแทนที่จะให้สัมภาษณ์ออกไปแล้วนักลงทุนนำไปตีความผิดจากที่เขาตั้งใจไว้ เป็นการส่งสัญญาณผิดให้กับตลาด ซึ่งเป็นอยู่บ่อยครั้งในช่วงแรกของการเข้ารับตำแหน่งปธ.ธนาคารกลางสหรัฐฯ
มาตรการที่ FED ใช้มีอยู่ไม่มากนัก นอกจากการปรับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงแล้ว ก็มีเพียงการควบคุมปริมาณเงินดอลลาร์ในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งการที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับ 0-0.25% ก็เรียกว่า FED ไม่สามารถลดดอกเบี้ยได้อีกแล้ว ดังนั้น มาตรการที่ใช้ได้ในขณะนี้จึงมีแต่การเพิ่มหรือลดปริมาณเงินเท่านั้น ซึ่งก็ได้มีการนำออกมาใช้แล้วในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ Operation Twist, TALF, การสว๊อปเงินดอลลาร์โดยตรงระหว่างธนาคารกลางในหลายประเทศ และ QE ซึ่งนับว่าเป็นมาตรการที่มีขนาดใหญ่และใช้เงินจำนวนมาก แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับไม่รวดเร็วเท่ากับการใช้มาตรการทางการคลัง เนื่องจากต้องผ่านกระบวนการปล่อยสินเชื่อของภาคธนาคาร และเป็นตัวการทำให้ค่าเงินดอลล่าร์สรอ.อ่อนค่าลง นอกจากนี้ยังถูกกล่าวโทษจากประเทศอื่นๆว่า QE เป็นตัวการให้เงินเฟ้อแพร่กระจาย และค่าเงินของประเทศแข็งค่าขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นเอาเปรียบประเทศอื่นๆ
แน่นอนว่ามูลค่าของเงินดอลลาร์ ย่อมหมายถึงมั่นคงของสหรัฐฯ เพราะเป็นความมั่งคั่งของประเทศส่วนใหญ่ในโลก เนื่องด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ถูกใช้เป็นตัวหลักในสัดส่วนเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ฉะนั้น การที่เงินเหรียญสหรัฐฯด้อยค่าก็จะทำให้สินทรัพย์ของแทบทุกประเทศด้อยค่าลงไปด้วย
ดังนั้น เมื่อคาดว่าจะเกิดเงินเฟ้อในสกุลดอลลาร์ นักลงทุนและแบงค์ชาติทั่วโลกจึงหันไปหาสินทรัพย์ในรูปเงินสกุลอื่นแทน ทำให้สถานะของเงินสกุลดอลลาร์สั่นคลอนในสายตาชาวโลก รวมทั้งอาจถูกพิจารณาปรับลดอันดับเครดิตลงอีกจากบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้านการลงทุนชั้นนำทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็น S&P, Moody หรือ Fitch ซึ่งก็เท่ากับยิ่งจะทำให้สถานการณ์เศรษฐกิจไม่ดีมากขึ้น ทั้งๆที่ตัวเลขหลายตัวได้บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวช้าๆ อย่างต่อเนื่อง แต่นั่นก็ยังไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นการฟื้นตัวที่ยั่งยืนแค่ไหน
เมื่อ QE ถูกมองว่า เป็นยาขนานเอกในการเยียวยาให้ระบบการเงินสหรัฐและของโลกรอดพ้นจากภาวะวิกฤต แต่ในขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบในด้านลบต่อความน่าเชื่อถือของเงินสกุลดอลล่าร์และการเกิดภาวะเงินเฟ้อไปทั่วโลก รวมถึงไม่สามารถปล่อยเงินไปสู่ภาคธุรกิจที่แท้จริงได้อย่างเต็มที่ จึงเป็นเรื่องที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องประเมินผลได้และผลเสียให้รอบคอบ และเก็บมาตรการนี้ไว้ใช้เมื่อคราวจำเป็นเท่านั้น การมี QE อีกรอบ อาจแสดงถึงการที่โลกจะต้องเผชิญกับภาวะที่เลวร้ายมากที่สุด หรือก็คือการเกิด The Great Depression อีกรอบ .... เมื่อถึงตอนนั้น เราจะยังหวังให้มี QE อีกหรือไม่?
ที่มา http://www.goldsothai.com/index.php?lite=article&qid=42034103