ตอนที่ 1 ### ฉงชิ่ง - เล่อซาน - เอ๋อเหมยซาน - เฉิงตู
http://ppantip.com/topic/31196646
ตอนที่ 2 ### +++ ความงดงามบนผืนดิน ที่ จิ่วจ้ายโกว +++ ( Jiuzhaigou )
http://ppantip.com/topic/31236341
++++++++++++++++++++++++++++++
หวัดดีครับ จากกระทู้เก่าที่ค้างคาไว้นานเลยกว่าจะได้มาเขียนต่อวันนี้จะพาไปเที่ยวหวงหลง ธารน้ำมังกร เหลืองน่ะครับ ถ้าใครมาเที่ยว จิ่วไจ้โกว แล้วไม่ได้มาหวงหลง อุทยานธารน้ำมังกรเหลืองนับว่าน่าเสียดายมากครับ เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจาก อุทยานจิ่วไจ้โกวมาก แต่ความสวยงามไม่ได้ด้อยไปกว่า ไม่ควรพลาดครับถ้ามีเวลาควรจะมาเที่ยวที่นี่
วิธีการเดินทางจาก จิ่วไจ้โกว สู่ หวงหลง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชม ระยะทางประมาณ 144 KM ใกล้ สนามบินจิ่วไจ้โกวที่สุด และ ใกล้กับเมืองชวนจู่ซื่อ ที่สุด
1.โดยรถประจำทางวิ่งเฉพาะไฮซีซั่น ที่สถานีรถบัสข้างอุทยานจิ่วไจ้โกว ออกวันล่ะ 2 รอบ คนล่ะ 45 หยวน เวลาออก 7.00 , 7.30am
2.ติดต่อเหมารถจากโรงแรม ตกคันล่ะ 400 -600 หยวน ออกเดินทาง 7โมงเช้า ออกเดินทางกลับไม่เกิน 4โมงเย็น ราคาแล้วแต่ตกลงกับทางโรงแรม ของจขกท เหมาได้ที่คันล่ะ 480 หยวน หารกันไปกับพี่คนนึงจากในบอรด์พันทิฟเรานี่แหละครับ
ประวัติความเป็นมา มรดกโลกทางธรรมชาติ Credit. manager
อุทยานแห่งชาติหวงหลงอยู่ในอำเภอซงพันในเขตปกครองตนเองของชนเผ่าทิเบตอาป้าและเผ่าเชียง ทางตอนเหนือของมณฑลซื่อชวน (เสฉวน)ของจีนติดต่อกับเขตอุทยานแห่งชาติจิ่วไจ้โกว ครอบคลุมพื้นที่กว่า 1,340 ตารางกิโลเมตร บนความสูงกว่าระดับน้ำทะเล 3,000 – 5,588 เมตร โครงสร้างทางภูมิศาสตร์ของหวงหลงมีความซับซ้อนเป็นพิเศษ โดยตั้งอยู่บนขอบวงบรรจบของพื้นที่ทางธรณีวิทยาที่แตกต่างกันถึง 3 ลักษณะ ได้แก่ เขตที่ราบสูงของลุ่มน้ำแยงซี เขตทุ่งหญ้าซงพัน และเขตเทือกเขาฉินหลิ่ง (เส้นแบ่งเหนือใต้ทางธรรมชาติของจีน) นอกจากนี้ ยังเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเขตที่ราบสูงชิงจั้งในทิเบตและที่ราบต่ำในเสฉวน ก่อให้เกิดภูมิทัศน์แบบขั้นบันได ทับซ้อนกันเป็นชั้น ลักษณะทางธรณีวิทยาดังกล่าว ส่งผลให้หวงหลงกลายเป็นช่วงแนวเขาสุดท้ายและเป็นแหล่งชุมนุมของบรรดาเทือกเขาสูงจากภาคตะวันตก ก่อนจะเข้าสู่เขตที่ราบลุ่มภาคกลางของจีน ก่อเกิดเป็นทัศนียภาพที่น่าตื่นใจของ หุบเหวลึกนับพันเมตร ยอดเขาสูงชันที่ปกคลุมด้วยหิมะตลอดปี โตรกธารน้ำแข็งนับร้อยพันสายที่เลาะเลี้ยวไปตามหุบเขาทุกหนแห่ง อันเป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญ 3 สายของจีน ได้แก่ ลำน้ำฝูเจียง หมินเจียง และเจียหลิง (ก่อนบรรจบกันเป็นแม่น้ำแยงซีเกียง)
[CR] ++++ อุทยานธารน้ำมังกรเหลือง HuangLong ตอนที่ 3 ++++
ตอนที่ 2 ### +++ ความงดงามบนผืนดิน ที่ จิ่วจ้ายโกว +++ ( Jiuzhaigou ) http://ppantip.com/topic/31236341
++++++++++++++++++++++++++++++
หวัดดีครับ จากกระทู้เก่าที่ค้างคาไว้นานเลยกว่าจะได้มาเขียนต่อวันนี้จะพาไปเที่ยวหวงหลง ธารน้ำมังกร เหลืองน่ะครับ ถ้าใครมาเที่ยว จิ่วไจ้โกว แล้วไม่ได้มาหวงหลง อุทยานธารน้ำมังกรเหลืองนับว่าน่าเสียดายมากครับ เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจาก อุทยานจิ่วไจ้โกวมาก แต่ความสวยงามไม่ได้ด้อยไปกว่า ไม่ควรพลาดครับถ้ามีเวลาควรจะมาเที่ยวที่นี่
วิธีการเดินทางจาก จิ่วไจ้โกว สู่ หวงหลง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชม ระยะทางประมาณ 144 KM ใกล้ สนามบินจิ่วไจ้โกวที่สุด และ ใกล้กับเมืองชวนจู่ซื่อ ที่สุด
1.โดยรถประจำทางวิ่งเฉพาะไฮซีซั่น ที่สถานีรถบัสข้างอุทยานจิ่วไจ้โกว ออกวันล่ะ 2 รอบ คนล่ะ 45 หยวน เวลาออก 7.00 , 7.30am
2.ติดต่อเหมารถจากโรงแรม ตกคันล่ะ 400 -600 หยวน ออกเดินทาง 7โมงเช้า ออกเดินทางกลับไม่เกิน 4โมงเย็น ราคาแล้วแต่ตกลงกับทางโรงแรม ของจขกท เหมาได้ที่คันล่ะ 480 หยวน หารกันไปกับพี่คนนึงจากในบอรด์พันทิฟเรานี่แหละครับ
ประวัติความเป็นมา มรดกโลกทางธรรมชาติ Credit. manager
อุทยานแห่งชาติหวงหลงอยู่ในอำเภอซงพันในเขตปกครองตนเองของชนเผ่าทิเบตอาป้าและเผ่าเชียง ทางตอนเหนือของมณฑลซื่อชวน (เสฉวน)ของจีนติดต่อกับเขตอุทยานแห่งชาติจิ่วไจ้โกว ครอบคลุมพื้นที่กว่า 1,340 ตารางกิโลเมตร บนความสูงกว่าระดับน้ำทะเล 3,000 – 5,588 เมตร โครงสร้างทางภูมิศาสตร์ของหวงหลงมีความซับซ้อนเป็นพิเศษ โดยตั้งอยู่บนขอบวงบรรจบของพื้นที่ทางธรณีวิทยาที่แตกต่างกันถึง 3 ลักษณะ ได้แก่ เขตที่ราบสูงของลุ่มน้ำแยงซี เขตทุ่งหญ้าซงพัน และเขตเทือกเขาฉินหลิ่ง (เส้นแบ่งเหนือใต้ทางธรรมชาติของจีน) นอกจากนี้ ยังเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเขตที่ราบสูงชิงจั้งในทิเบตและที่ราบต่ำในเสฉวน ก่อให้เกิดภูมิทัศน์แบบขั้นบันได ทับซ้อนกันเป็นชั้น ลักษณะทางธรณีวิทยาดังกล่าว ส่งผลให้หวงหลงกลายเป็นช่วงแนวเขาสุดท้ายและเป็นแหล่งชุมนุมของบรรดาเทือกเขาสูงจากภาคตะวันตก ก่อนจะเข้าสู่เขตที่ราบลุ่มภาคกลางของจีน ก่อเกิดเป็นทัศนียภาพที่น่าตื่นใจของ หุบเหวลึกนับพันเมตร ยอดเขาสูงชันที่ปกคลุมด้วยหิมะตลอดปี โตรกธารน้ำแข็งนับร้อยพันสายที่เลาะเลี้ยวไปตามหุบเขาทุกหนแห่ง อันเป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญ 3 สายของจีน ได้แก่ ลำน้ำฝูเจียง หมินเจียง และเจียหลิง (ก่อนบรรจบกันเป็นแม่น้ำแยงซีเกียง)