ปฏิรูปการเมือง เส้นทางผลประโยชน์ และ อำนาจต่อรองในสังคม
ความจริงข้อหนึ่งคือ สัตว์ทุกชนิดในโลก รวมทั้งมนุษย์มี selfish gene ยีนที่เห็นแก่ตัวในตัวเอง เพื่อจุดประสงค์การสืบทอดเผ่าพันธุ์ และมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ฉนั้นความเท่าเทียมที่แท้จริงจึงไม่มี แต่ในธรรมชาติซึ่งมีวิถีแห่งการปรับสมดุล จะทำให้เราพยายามปรับสมดุลเพื่อถ่วงดุลกันเอง ระบบต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้นอาจเหมาะสมในช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อถึงเวลาก็ต้องเปลี่ยนแปลง
ในบทความนี้เพื่อให้มองภาพที่ชัดเจนผมมักสมมุติว่า ผลผลิตรวมทุกอย่างในสังคมหนึ่งเป็น สมบัติ ก้อนหนึ่ง เป็นสสารก้อนหนึ่งมีเพียงก้อนเดียว ด้วยสมมุติฐานนี้ หากมีใครได้ผลประโยชน์ส่วนเกิน ต้องมีผู้เสียผลประโยชน์บางส่วน
เดิมมนุษย์อยู่เป็นสังคมเล็กๆ ปกครองด้วยผู้นำที่เข้มแข็งที่สุด สั่งการควบคุมคนที่อ่อนแอกว่า
สมบัติก้อนนี้คือ อาหารที่หามาได้ แน่นอนการแบ่งสมบัติก้อนนี้ ต้องไม่เป็นธรรม และขอหมายเหตุด้วยว่า การแบ่งสมบัติก้อนนี้ไม่ว่าสมัยใดในยุคต่อๆมา ก็ไม่เคยเป็นธรรมทั้งสิ้น
เมื่อกลุ่มคนใหญ่ขึ้น การควบคุมคนจำนวนมากซึ่งต้องแบ่งหน้าที่กัน ผู้นำเป็นผู้ตั้งกฎเกณฑ์ไว้เพื่อควบคุม สมบัติก้อนนั้นผู้นำเป็นผู้จัดสรร สังคมจะไม่มีปัญหาถ้า สมบัติพอแบ่ง เมื่อใดก็ตามถ้าเกิดเหตุการณ์เช่น ภัยธรรมชาติ โรคระบาด ทำให้ผลผลิตลดลง โดยที่ผู้นำไม่สามารถจัดการ และการแบ่งสรรยังคงไม่เป็นธรรม สังคมก็จะมีปัญหา แต่หากผู้นำสามารถจัดการหาหรือผลิตเพิ่มจนพอจัดสรรให้พอดำรงชีวิตได้ ปัญหาก็จะเบาบางลง
เมื่อหลายสังคมใหญ่ขึ้น ทรัพยากรจำกัด ผลผลิตเพิ่มได้ยากขึ้น เมื่อมีปัญหาและแก้ปัญหาภายในไม่ได้ จึงต้องทำสงครามกับสังคมอื่น เป็นการเพิ่มอาณาจักร เพื่อปล้นสมบัติ และทาสคนชั้นแรงงานเพื่อนำมาผลิต สมบัติที่ปล้นมานั้นก็เกิดจากหน่วยผลิตคนกลุ่มที่กวาดต้อนมานี้เอง
ในปัจจุบัน สังคมซับซ้อนขึ้น การแย่งชิงระหว่างสังคมเปลี่ยนรูปแบบไปแต่หากมองลึกลงไป สังคมยังอยู่ได้ด้วยหน่วยผลิตนี้ที่ผลิตสิ่งต่างๆป้อนให้สังคม จะเห็นว่ากุญแจสำคัญที่ทำให้สังคมดำรงอยู่อย่างแท้จริงคือ คนกล่มใหญ่ที่สุดที่ ไม่ว่าจะผลิต ร่วมทำสงครามแย่งชิงกับกลุ่มอื่น กลุ่มบุคคลนี้คือคนที่อยู่ล่างที่สุด จึงสำคัญที่สุด ขอย้ำอีกครั้งว่า บุคคลากรหน่วยผลิตนี้ ซึ่งก็คือกลุ่มบุคคลที่อยู่ล่างที่สุด เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดที่ช่วยแก้ปัญหาของสังคม ซึ่งคนส่วนนี้เองและส่วนอื่นๆมักไม่ค่อยตระหนักถึงความจริงข้อนี้
เส้นทางผลประโยชน์
เมื่อสังคมใหญ่ขึ้น การควบคุมจากผู้นำ ต้องอาศัยคนอีกกลุ่ม การจัดสรรหน้าที่ต่างๆ ทำให้เกิดชนชั้นต่างๆซับซ้อนมากขึ้น ผลประโยชน์ถูกกระจายไปยังระดับต่างๆลดหลั่นลงไป สมมุติฐานที่ว่าสมบัติก้อนเดียวกันถูกแบ่งเป็นชั้นๆ การยักยอก corruption มีมากขึ้น ชนชั้นล่างยังคงได้ส่วนที่พอประทังชีวิตเท่าเดิม ฉะนั้นส่วนของใครที่หายไป ส่วนของผู้นำนั่นเอง เกิดการหวาดระแวง ระหว่าง ชนชั้นนำและขุนนาง และเพราะผู้นำยังต้องการคงสถานะเดิมซึ่งอยู่สูงสุดไว้ ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง จึงมักตั้งคนของตน หรือผู้ไว้ใจได้ดำรงตำแหน่งขุนนาง
เมื่อสภาพแวดล้อมอำนวย ผลผลิตดี สามารถแบ่งปันผลผลิตส่วนเกินมากขึ้นขุนนางจะสะสมแรงงานเพื่อผลิต อิทธิพลและอำนาจต่อรองมากขึ้น สมบัติส่วนเกินจึงอยู่ในคลังของสองกลุ่มบนนี้
ต่อมาเมื่อสังคมขยายและไม่สามารถขยายอาณาเขตได้อีก เมื่อส่วนแบ่งชนชั้นผลิตลดลง จนยากลำบากในการดำรงชีวิต ปัญหาสังคมของคนจำนวนที่มากที่สุดจึงเกิดขึ้น เกิดการปฎิวัติ ระบอบการปกครองใหม่ เช่น
ระบอบคอมมิวนิสต์ (ชนชั้นล่างชนะเด็ดขาด ซึ่งบอกว่าจะไม่มีชนชั้นอีกต่อไป ระบบนี้ไม่เหมาะกับ selfish gene ที่มีในมนุษย์ )
ระบอบประชาธิปไตย (ชนชั้นล่างและชนชั้นขุนนางบางส่วนชนะ ซึ่งบอกว่าคนทุกคนจะมีส่วนร่วม ที่ได้รับความนิยมเพราะมันตอบสนองต่อกับ selfish gene ที่มีในมนุษย์)
ส่วนระบอบสังคมนิยมนั้นก็พอมองได้ว่าเป็นประชาธิปไตยแบบที่มีการจัดการแบบหนึ่ง
อยากเสนอแนวทางปฎิรูปสังคมครับ (ยาวหน่อยนะครับ)
ความจริงข้อหนึ่งคือ สัตว์ทุกชนิดในโลก รวมทั้งมนุษย์มี selfish gene ยีนที่เห็นแก่ตัวในตัวเอง เพื่อจุดประสงค์การสืบทอดเผ่าพันธุ์ และมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ฉนั้นความเท่าเทียมที่แท้จริงจึงไม่มี แต่ในธรรมชาติซึ่งมีวิถีแห่งการปรับสมดุล จะทำให้เราพยายามปรับสมดุลเพื่อถ่วงดุลกันเอง ระบบต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้นอาจเหมาะสมในช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อถึงเวลาก็ต้องเปลี่ยนแปลง
ในบทความนี้เพื่อให้มองภาพที่ชัดเจนผมมักสมมุติว่า ผลผลิตรวมทุกอย่างในสังคมหนึ่งเป็น สมบัติ ก้อนหนึ่ง เป็นสสารก้อนหนึ่งมีเพียงก้อนเดียว ด้วยสมมุติฐานนี้ หากมีใครได้ผลประโยชน์ส่วนเกิน ต้องมีผู้เสียผลประโยชน์บางส่วน
เดิมมนุษย์อยู่เป็นสังคมเล็กๆ ปกครองด้วยผู้นำที่เข้มแข็งที่สุด สั่งการควบคุมคนที่อ่อนแอกว่า
สมบัติก้อนนี้คือ อาหารที่หามาได้ แน่นอนการแบ่งสมบัติก้อนนี้ ต้องไม่เป็นธรรม และขอหมายเหตุด้วยว่า การแบ่งสมบัติก้อนนี้ไม่ว่าสมัยใดในยุคต่อๆมา ก็ไม่เคยเป็นธรรมทั้งสิ้น
เมื่อกลุ่มคนใหญ่ขึ้น การควบคุมคนจำนวนมากซึ่งต้องแบ่งหน้าที่กัน ผู้นำเป็นผู้ตั้งกฎเกณฑ์ไว้เพื่อควบคุม สมบัติก้อนนั้นผู้นำเป็นผู้จัดสรร สังคมจะไม่มีปัญหาถ้า สมบัติพอแบ่ง เมื่อใดก็ตามถ้าเกิดเหตุการณ์เช่น ภัยธรรมชาติ โรคระบาด ทำให้ผลผลิตลดลง โดยที่ผู้นำไม่สามารถจัดการ และการแบ่งสรรยังคงไม่เป็นธรรม สังคมก็จะมีปัญหา แต่หากผู้นำสามารถจัดการหาหรือผลิตเพิ่มจนพอจัดสรรให้พอดำรงชีวิตได้ ปัญหาก็จะเบาบางลง
เมื่อหลายสังคมใหญ่ขึ้น ทรัพยากรจำกัด ผลผลิตเพิ่มได้ยากขึ้น เมื่อมีปัญหาและแก้ปัญหาภายในไม่ได้ จึงต้องทำสงครามกับสังคมอื่น เป็นการเพิ่มอาณาจักร เพื่อปล้นสมบัติ และทาสคนชั้นแรงงานเพื่อนำมาผลิต สมบัติที่ปล้นมานั้นก็เกิดจากหน่วยผลิตคนกลุ่มที่กวาดต้อนมานี้เอง
ในปัจจุบัน สังคมซับซ้อนขึ้น การแย่งชิงระหว่างสังคมเปลี่ยนรูปแบบไปแต่หากมองลึกลงไป สังคมยังอยู่ได้ด้วยหน่วยผลิตนี้ที่ผลิตสิ่งต่างๆป้อนให้สังคม จะเห็นว่ากุญแจสำคัญที่ทำให้สังคมดำรงอยู่อย่างแท้จริงคือ คนกล่มใหญ่ที่สุดที่ ไม่ว่าจะผลิต ร่วมทำสงครามแย่งชิงกับกลุ่มอื่น กลุ่มบุคคลนี้คือคนที่อยู่ล่างที่สุด จึงสำคัญที่สุด ขอย้ำอีกครั้งว่า บุคคลากรหน่วยผลิตนี้ ซึ่งก็คือกลุ่มบุคคลที่อยู่ล่างที่สุด เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดที่ช่วยแก้ปัญหาของสังคม ซึ่งคนส่วนนี้เองและส่วนอื่นๆมักไม่ค่อยตระหนักถึงความจริงข้อนี้
เส้นทางผลประโยชน์
เมื่อสังคมใหญ่ขึ้น การควบคุมจากผู้นำ ต้องอาศัยคนอีกกลุ่ม การจัดสรรหน้าที่ต่างๆ ทำให้เกิดชนชั้นต่างๆซับซ้อนมากขึ้น ผลประโยชน์ถูกกระจายไปยังระดับต่างๆลดหลั่นลงไป สมมุติฐานที่ว่าสมบัติก้อนเดียวกันถูกแบ่งเป็นชั้นๆ การยักยอก corruption มีมากขึ้น ชนชั้นล่างยังคงได้ส่วนที่พอประทังชีวิตเท่าเดิม ฉะนั้นส่วนของใครที่หายไป ส่วนของผู้นำนั่นเอง เกิดการหวาดระแวง ระหว่าง ชนชั้นนำและขุนนาง และเพราะผู้นำยังต้องการคงสถานะเดิมซึ่งอยู่สูงสุดไว้ ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง จึงมักตั้งคนของตน หรือผู้ไว้ใจได้ดำรงตำแหน่งขุนนาง
เมื่อสภาพแวดล้อมอำนวย ผลผลิตดี สามารถแบ่งปันผลผลิตส่วนเกินมากขึ้นขุนนางจะสะสมแรงงานเพื่อผลิต อิทธิพลและอำนาจต่อรองมากขึ้น สมบัติส่วนเกินจึงอยู่ในคลังของสองกลุ่มบนนี้
ต่อมาเมื่อสังคมขยายและไม่สามารถขยายอาณาเขตได้อีก เมื่อส่วนแบ่งชนชั้นผลิตลดลง จนยากลำบากในการดำรงชีวิต ปัญหาสังคมของคนจำนวนที่มากที่สุดจึงเกิดขึ้น เกิดการปฎิวัติ ระบอบการปกครองใหม่ เช่น
ระบอบคอมมิวนิสต์ (ชนชั้นล่างชนะเด็ดขาด ซึ่งบอกว่าจะไม่มีชนชั้นอีกต่อไป ระบบนี้ไม่เหมาะกับ selfish gene ที่มีในมนุษย์ )
ระบอบประชาธิปไตย (ชนชั้นล่างและชนชั้นขุนนางบางส่วนชนะ ซึ่งบอกว่าคนทุกคนจะมีส่วนร่วม ที่ได้รับความนิยมเพราะมันตอบสนองต่อกับ selfish gene ที่มีในมนุษย์)
ส่วนระบอบสังคมนิยมนั้นก็พอมองได้ว่าเป็นประชาธิปไตยแบบที่มีการจัดการแบบหนึ่ง