จากตัวเลขของกรมการค้าภายใน ตอนนี้ การรับจำนำข้าว ฤดูกาล 56/57 รับจำนำมาแล้วประมาณ 1 ล้านสัญญา รับข้าวเข้ามาแล้ว 6.7 ล้านตัน ถ้าคิดเป็นมูลค่า(คิดราคาต่ำสุด 15,000 บาท) ก็มีมูลค่าประมาณ 100,000 ล้านบาท
แต่จากตัวเลขของ ธกส.จะเห็นว่า เพิ่งจ่ายไป 11,000 ล้านบาทเท่านั้น
หมายความว่า จากข้าวปริมาณที่รับจำนำมาปัจจุบัน ก็ค้างค่าข้าวยังไม่จ่ายให้ชาวนา เกือบ 100,000 ล้านบาทแล้ว
ซึ่งตอนนี้รัฐบาลไม่ได้มีการหาเงินไว้สำรอง เพื่อให้มีเงินจ่ายให้ชาวนา เพียงแต่ตั้งความหวังว่า จะนำเงินที่ได้จากการระบายข้าวมาหมุนใช้จ่ายไป
โดยมีการเตรียมการจะกู้เงินก้อนใหม่ ในปีหน้า จำนวน 140,000 ล้านบาท
สาเหตุที่ไม่กู้เลย ก็เป็นเพราะต้องการสร้างภาพ ให้ตัวเลขรวมของโครงการไม่เกิน 500,000 ล้านบาท ในปลายปีนี้เท่านั้น
แต่พอยุบสภาแล้ว ก็ทำให้การกู้เงินก้อนที่ว่า น่าจะทำไม่ได้ เพราะน่าจะขัดกับรธน.มาตรา 181 ที่กำหนดบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลรักษาการไว้
แล้วเงินของชาวนาก้อนนี้จะมาจากไหน
จะรอเลือกตั้งเสร็จ มีรัฐบาลใหม่ แล้วค่อยจ่าย จะช้าไปมั้ย
เพราะกว่าจะได้รัฐบาลที่มีอำนาจอนุมัติงบประมาณ ก็น่าจะหลังสงกรานต์
แล้วถ้ารอไปถึงตอนนั้นจริง การจำนำรอบที่ 1 ก็คงจบแล้ว รอบที่ 2 ก็เริ่มต้นไปแล้ว
ก็ไม่รู้ว่า เมื่อชาวนาจำนำแล้วไม่ได้เงิน จะกล้านำข้าวจำนำกับรัฐอีกหรือป่าว
หรือสุดท้ายก็จำเป็นต้องเอาตัวรอด ขายข้าวสดให้กับโรงสีไปแทนการจำนำกับรัฐ
แบบนี้ต้องบอกว่า ยุบสภาครั้งนี้ คนโชคร้ายสุด กลายเป็นชาวนา
ซึ่งคงเป็นคนกลุ่มเดียวกับ ที่รัฐบาลนี้ประคบประหงมมากที่สุด เพราะใช้เงินไปกับโครงการจำนำข้าวมากกว่า 7 แสนล้านบาท แล้วขาดทุนไปแล้วไม่ต่ำกว่า 4 แสนล้าน
แต่บนหน้าสุดท้ายของรัฐบาล กลับยุบสภา ทิ้งหนี้แสนล้าน ให้ชาวนาไปทวงเอากับรัฐบาลหน้าเอง
ยุบสภา หนีหนี้ชาวนา 100,000 ล้าน
จากตัวเลขของกรมการค้าภายใน ตอนนี้ การรับจำนำข้าว ฤดูกาล 56/57 รับจำนำมาแล้วประมาณ 1 ล้านสัญญา รับข้าวเข้ามาแล้ว 6.7 ล้านตัน ถ้าคิดเป็นมูลค่า(คิดราคาต่ำสุด 15,000 บาท) ก็มีมูลค่าประมาณ 100,000 ล้านบาท
แต่จากตัวเลขของ ธกส.จะเห็นว่า เพิ่งจ่ายไป 11,000 ล้านบาทเท่านั้น
หมายความว่า จากข้าวปริมาณที่รับจำนำมาปัจจุบัน ก็ค้างค่าข้าวยังไม่จ่ายให้ชาวนา เกือบ 100,000 ล้านบาทแล้ว
ซึ่งตอนนี้รัฐบาลไม่ได้มีการหาเงินไว้สำรอง เพื่อให้มีเงินจ่ายให้ชาวนา เพียงแต่ตั้งความหวังว่า จะนำเงินที่ได้จากการระบายข้าวมาหมุนใช้จ่ายไป
โดยมีการเตรียมการจะกู้เงินก้อนใหม่ ในปีหน้า จำนวน 140,000 ล้านบาท
สาเหตุที่ไม่กู้เลย ก็เป็นเพราะต้องการสร้างภาพ ให้ตัวเลขรวมของโครงการไม่เกิน 500,000 ล้านบาท ในปลายปีนี้เท่านั้น
แต่พอยุบสภาแล้ว ก็ทำให้การกู้เงินก้อนที่ว่า น่าจะทำไม่ได้ เพราะน่าจะขัดกับรธน.มาตรา 181 ที่กำหนดบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลรักษาการไว้
แล้วเงินของชาวนาก้อนนี้จะมาจากไหน
จะรอเลือกตั้งเสร็จ มีรัฐบาลใหม่ แล้วค่อยจ่าย จะช้าไปมั้ย
เพราะกว่าจะได้รัฐบาลที่มีอำนาจอนุมัติงบประมาณ ก็น่าจะหลังสงกรานต์
แล้วถ้ารอไปถึงตอนนั้นจริง การจำนำรอบที่ 1 ก็คงจบแล้ว รอบที่ 2 ก็เริ่มต้นไปแล้ว
ก็ไม่รู้ว่า เมื่อชาวนาจำนำแล้วไม่ได้เงิน จะกล้านำข้าวจำนำกับรัฐอีกหรือป่าว
หรือสุดท้ายก็จำเป็นต้องเอาตัวรอด ขายข้าวสดให้กับโรงสีไปแทนการจำนำกับรัฐ
แบบนี้ต้องบอกว่า ยุบสภาครั้งนี้ คนโชคร้ายสุด กลายเป็นชาวนา
ซึ่งคงเป็นคนกลุ่มเดียวกับ ที่รัฐบาลนี้ประคบประหงมมากที่สุด เพราะใช้เงินไปกับโครงการจำนำข้าวมากกว่า 7 แสนล้านบาท แล้วขาดทุนไปแล้วไม่ต่ำกว่า 4 แสนล้าน
แต่บนหน้าสุดท้ายของรัฐบาล กลับยุบสภา ทิ้งหนี้แสนล้าน ให้ชาวนาไปทวงเอากับรัฐบาลหน้าเอง