กล่าวไว้เมื่อ 17 พฤษภาคม 2556
http://www.thairath.co.th/content/pol/345360
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ฟันธง ปลายปีนี้ยุบสภา เหตุรัฐหวังสร้างความชอบธรรมในการผลักดันนิรโทษกรรม และบรรดาบ้านเลขที่ 111 ต้องการคืนเก้าอี้...
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเรื่องการปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์ ว่า เพื่อให้การปฏิรูปนั้นนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ไม่ตกเป็นเหยื่อของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด จึงขอให้ทุกคนระมัดระวังเกี่ยวกับเรื่องการที่จะให้ข่าว เพราะตอนนี้อยู่ในช่วงที่กำลังทำงาน โดยได้มอบหมายให้คณะทำงานไปทำ และจะได้มีข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมภายใน 30 วัน โดยมีเป้าหมายในการที่จะชนะการเลือกตั้ง สานต่อยึดมั่นนำอุดมการณ์ของพรรคไปสู่การปฏิบัติ ขั้นตอนจากนี้คือ การสามารถแสดงความคิดเห็นต่างๆ ผ่านมายังสมาชิกพรรค สมาชิกก็จะเอาสิ่งต่างๆ ไปบอกกับคณะทำงาน คณะทำงานก็จะเสนอกรรมการบริหาร เสนอ ส.ส.เมื่อเสร็จสิ้นแล้วก็จะผลักดันออกมาในฐานะเป็นพรรคการเมือง ที่มุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเอง เป็นสถาบันทางการเมืองที่จะมุ่งมั่นให้เห็นการเมืองไทยเป็นระดับสากล ยืนยันว่าไม่ใช่ความขัดแย้งในพรรคตามหลักประชาธิปไตยซึ่งแสดงออกได้ ถ้าเราตั้งใจที่จะให้การปฏิรูปสำเร็จ ก็ต้องช่วยกันขับเคลื่อนเป็นเอกภาพ เพื่อเราจะสามารถรวมพลังกันได้ แล้วก็เดินไปข้างหน้า
ชี้การเมืองไทยอยู่ในภาวะไม่ปกติ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า แต่น่าเสียดายว่า สภาพการณ์ทางการเมืองไทยหลายอย่างมันไม่เป็นสากล เช่น ปัญหาของการแทรกแซงสื่อที่เกิดขึ้น แต่คนทั่วไปในสังคมที่ต้องการแสดงความคิดต่างนั้นถูกปิดพื้นที่ ซึ่งก็เลยทำให้เกิดปัญหาความอึดอัดขึ้นมา อีกทั้งมีการกระทำหลายเรื่องที่เราวิพากษ์วิจารณ์ในขณะนี้ว่า ถ้ารัฐบาลทำแต่เรื่องนโยบาย ทุกคนก็จะได้สามารถมาพูดคุยกัน พื้นที่ทางการเมืองก็จะได้เต็มไปด้วยในเรื่องของการเปรียบเทียบนโยบาย แต่ว่าขณะนี้รัฐบาลทำหลายเรื่อง ซึ่งมันยังวนเวียนอยู่กับเรื่องการควบอำนาจ กับปัญหาของอดีตนายกฯ กับการใช้อำนาจในทางไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะเมื่อรัฐใช้อำนาจในทางไม่ถูกต้อง แทนที่จะมุ่งในเรื่องนโยบายแก้ไขปัญหาของประชาชน และฝ่ายค้านหรือฝ่ายต่างๆ ในสังคมมีหน้าที่ในการที่จะต้องตรวจสอบทัดทาน รักษาความถูกต้อง การเมืองก็เลยถูกมองไปเป็นเรื่องอื่น ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย
เผย 3 เหตุหลัก วิเคราะห์อาจมีเลือกตั้งสิ้นปีนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่าที่วิเคราะห์ว่าอาจมีการยุบสภาภายในปลายปีนี้จากเหตุอะไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นการประมวลทั้งจากข้อมูล และการแลกเปลี่ยนความเห็นของคณะกรรมการบริหาร และเป็นสิ่งที่ซุบซิบกันอยู่ในหมู่ ส.ส.ในสภามาตลอดว่า มันมีสัญญาณหลายอย่างเกี่ยวกับการจัดการการเลือกตั้งของพรรคฝ่ายรัฐบาลในหลายพื้นที่ และวิเคราะห์ในหลายปัจจัยคือ 1. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเอง พูดถึงการยุบสภามาเป็นระยะๆ ในระยะหลังจะเห็นอย่างนั้น จะขู่หรือจะพูดจริงก็สุดแล้วแต่ แต่แสดงให้เห็นว่า มันยังอยู่ในความคิดของฝ่ายพรรคเพื่อไทย 2. ต้องยอมรับว่านโยบายของรัฐบาลที่พยายามที่จะผลักดันในช่วงของการหาเสียง แต่เมื่อเข้าไปบริหาร การแก้ปัญหาของประชาชนกลับไม่เข้าเป้า กลายเป็นปัญหาสะสมมากขึ้น เช่น โครงการจำนำ ซึ่งอาจมีการพิจารณาในทางการเมืองของเขาว่าถ้าอยู่ต่อไปอย่างนี้เรื่อยๆ ผลกระทบจะเป็นอย่างไร และถ้ามองว่ายังมีความได้เปรียบอยู่ จะช่วงชิงจังหวะหรือไม่
3. ปลายปีนี้จะครบกำหนดของนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ์ 5 ปี ฉะนั้น แรงกดดันของคนเหล่านี้ที่อยากจะกลับเข้ามามีสถานะ มีตำแหน่งทางการเมือง ก็คงไม่สามารถจะใช้วิธีการเดียวกับเชียงใหม่ คือให้คนลาออก แล้วก็ให้ทั้ง 100 กว่าคนกลับมาเลือกตั้งได้ จึงอาจเป็นปัจจัยส่งผลให้เกิดการยุบสภา ไม่รวมถึงปัญหาที่รัฐบาลผลักดันเรื่องนิรโทษกรรม การแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรืออาจจะไปเจอปัญหาที่จัดการไม่ได้ อาจจะใช้วิธีการในการพยายามปลุกกระแสในช่วงที่มีการยุบสภาเลือกตั้ง เพื่อที่จะสร้างความชอบธรรมตรงนี้มากขึ้น.
โครตแม่น!!! นักการเมืองตัวจริง อ่านเกมได้เฉียบขาด
http://www.thairath.co.th/content/pol/345360
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ฟันธง ปลายปีนี้ยุบสภา เหตุรัฐหวังสร้างความชอบธรรมในการผลักดันนิรโทษกรรม และบรรดาบ้านเลขที่ 111 ต้องการคืนเก้าอี้...
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเรื่องการปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์ ว่า เพื่อให้การปฏิรูปนั้นนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ไม่ตกเป็นเหยื่อของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด จึงขอให้ทุกคนระมัดระวังเกี่ยวกับเรื่องการที่จะให้ข่าว เพราะตอนนี้อยู่ในช่วงที่กำลังทำงาน โดยได้มอบหมายให้คณะทำงานไปทำ และจะได้มีข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมภายใน 30 วัน โดยมีเป้าหมายในการที่จะชนะการเลือกตั้ง สานต่อยึดมั่นนำอุดมการณ์ของพรรคไปสู่การปฏิบัติ ขั้นตอนจากนี้คือ การสามารถแสดงความคิดเห็นต่างๆ ผ่านมายังสมาชิกพรรค สมาชิกก็จะเอาสิ่งต่างๆ ไปบอกกับคณะทำงาน คณะทำงานก็จะเสนอกรรมการบริหาร เสนอ ส.ส.เมื่อเสร็จสิ้นแล้วก็จะผลักดันออกมาในฐานะเป็นพรรคการเมือง ที่มุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเอง เป็นสถาบันทางการเมืองที่จะมุ่งมั่นให้เห็นการเมืองไทยเป็นระดับสากล ยืนยันว่าไม่ใช่ความขัดแย้งในพรรคตามหลักประชาธิปไตยซึ่งแสดงออกได้ ถ้าเราตั้งใจที่จะให้การปฏิรูปสำเร็จ ก็ต้องช่วยกันขับเคลื่อนเป็นเอกภาพ เพื่อเราจะสามารถรวมพลังกันได้ แล้วก็เดินไปข้างหน้า
ชี้การเมืองไทยอยู่ในภาวะไม่ปกติ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า แต่น่าเสียดายว่า สภาพการณ์ทางการเมืองไทยหลายอย่างมันไม่เป็นสากล เช่น ปัญหาของการแทรกแซงสื่อที่เกิดขึ้น แต่คนทั่วไปในสังคมที่ต้องการแสดงความคิดต่างนั้นถูกปิดพื้นที่ ซึ่งก็เลยทำให้เกิดปัญหาความอึดอัดขึ้นมา อีกทั้งมีการกระทำหลายเรื่องที่เราวิพากษ์วิจารณ์ในขณะนี้ว่า ถ้ารัฐบาลทำแต่เรื่องนโยบาย ทุกคนก็จะได้สามารถมาพูดคุยกัน พื้นที่ทางการเมืองก็จะได้เต็มไปด้วยในเรื่องของการเปรียบเทียบนโยบาย แต่ว่าขณะนี้รัฐบาลทำหลายเรื่อง ซึ่งมันยังวนเวียนอยู่กับเรื่องการควบอำนาจ กับปัญหาของอดีตนายกฯ กับการใช้อำนาจในทางไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะเมื่อรัฐใช้อำนาจในทางไม่ถูกต้อง แทนที่จะมุ่งในเรื่องนโยบายแก้ไขปัญหาของประชาชน และฝ่ายค้านหรือฝ่ายต่างๆ ในสังคมมีหน้าที่ในการที่จะต้องตรวจสอบทัดทาน รักษาความถูกต้อง การเมืองก็เลยถูกมองไปเป็นเรื่องอื่น ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย
เผย 3 เหตุหลัก วิเคราะห์อาจมีเลือกตั้งสิ้นปีนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่าที่วิเคราะห์ว่าอาจมีการยุบสภาภายในปลายปีนี้จากเหตุอะไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นการประมวลทั้งจากข้อมูล และการแลกเปลี่ยนความเห็นของคณะกรรมการบริหาร และเป็นสิ่งที่ซุบซิบกันอยู่ในหมู่ ส.ส.ในสภามาตลอดว่า มันมีสัญญาณหลายอย่างเกี่ยวกับการจัดการการเลือกตั้งของพรรคฝ่ายรัฐบาลในหลายพื้นที่ และวิเคราะห์ในหลายปัจจัยคือ 1. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเอง พูดถึงการยุบสภามาเป็นระยะๆ ในระยะหลังจะเห็นอย่างนั้น จะขู่หรือจะพูดจริงก็สุดแล้วแต่ แต่แสดงให้เห็นว่า มันยังอยู่ในความคิดของฝ่ายพรรคเพื่อไทย 2. ต้องยอมรับว่านโยบายของรัฐบาลที่พยายามที่จะผลักดันในช่วงของการหาเสียง แต่เมื่อเข้าไปบริหาร การแก้ปัญหาของประชาชนกลับไม่เข้าเป้า กลายเป็นปัญหาสะสมมากขึ้น เช่น โครงการจำนำ ซึ่งอาจมีการพิจารณาในทางการเมืองของเขาว่าถ้าอยู่ต่อไปอย่างนี้เรื่อยๆ ผลกระทบจะเป็นอย่างไร และถ้ามองว่ายังมีความได้เปรียบอยู่ จะช่วงชิงจังหวะหรือไม่
3. ปลายปีนี้จะครบกำหนดของนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ์ 5 ปี ฉะนั้น แรงกดดันของคนเหล่านี้ที่อยากจะกลับเข้ามามีสถานะ มีตำแหน่งทางการเมือง ก็คงไม่สามารถจะใช้วิธีการเดียวกับเชียงใหม่ คือให้คนลาออก แล้วก็ให้ทั้ง 100 กว่าคนกลับมาเลือกตั้งได้ จึงอาจเป็นปัจจัยส่งผลให้เกิดการยุบสภา ไม่รวมถึงปัญหาที่รัฐบาลผลักดันเรื่องนิรโทษกรรม การแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรืออาจจะไปเจอปัญหาที่จัดการไม่ได้ อาจจะใช้วิธีการในการพยายามปลุกกระแสในช่วงที่มีการยุบสภาเลือกตั้ง เพื่อที่จะสร้างความชอบธรรมตรงนี้มากขึ้น.