เหตุเกิดที่ วัดพระแก้ว วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลหน่อย

ภาพเหตุการณ์นี้ถ่ายเมื่อวันที่ 5 ธันวาที่ผ่านมา

จขกท. มีภาระกิจต้องมาร่วมพิธีทางศาสนาที่วัดพระแก้ว

เนื่องจากงานเริ่มเวลา 5 โมงเย็น จขกท. เลยเดินเล่นชมวัดพระแก้ว พร้อมกับถ่ายรูปเล่นไปด้วย

พอเดินไปถึงบริเวณรูปจำลองของปราสาทนครวัด บริเวณด้านข้างของวิหารเทพบิดร

ได้พบเห็นนักท่องเที่ยวกลุ่มหนึ่ง กำลังปาเหรียญ 5 เหรียญ 10 บาทใส่ปราสาทอย่างเมามันส์ Facepalm



โดยไม่เกรงกลัวว่า โบราณสถานที่มีอายุเกือบร้อยปี จะบุบสลายแต่อย่างไร บางคนก็ปาแรงมากกกกก



ซักพักจึงเข้าใจ ว่าพวกที่เขวี้ยงเหรียญบาทใส่ ไม่ใช่คนไทย จากภาษาท่ฟังน่าจะเป็นแรงงานต่างด้าว พม่า เขมร Facepalm



จึงอยากเรียน ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาจัดการเรื่องนี้ด้วย

โหวตให้ด้วยจ้า
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 10
จริงๆ วัฒนธรรม โยนเหรียญ ใส่บ่อน้ำบ้าง อะไรบ้าง
ไม่รู้ว่าใครให้ความเชื่อว่า ได้บุญ ????

ถ้าเป็นบ่อน้ำ ที่ไม่มีปลา ก็ว่าไปอย่าง

วัดบางวัด เขาเลี้ยงปลาคาล์ฟ ยังมีคนทะลึ่ง โยนเหรียญลงไป

ปลาก็ว่า ปลาตายไปหลายตัว เอามาผ่าท้อง ดู

มีแต่เหรียญเต็มท้องปลา ถ่ายก็ไม่ออก ... มันคงทุกทรมานน่าดู


แทนที่จะได้บุญกลับได้บาป ไปแทน...



ดูภาพเขาผ่าท้องปลา นะครับ เหรียญเต็มเลย
ความคิดเห็นที่ 12
พูดก็พูดเถอะ พม่า เขมร ตอนนี้เต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด
นั่งรถเมล์เคยเห็นบ้วนน้ำลายออกทางหน้าต่างชิวๆ
(ถนนลาดพร้าวนะ ในเมืองรถเยอะๆนี่แหละ)
ระเบียบวินัยเค้าน้อยกว่าเราอ่ะ (ของเราก็ไม่ได้ดีเลิศนะ แต่มันก็พัฒนามาไกลแล้ว)
ขับมอเตอร์ไซค์มานี่ต้องระวัง ป่ายซ้ายป่ายขวา น่ากลัว บางคนก็ขับเร็วมาก เดาว่าไม่น่าจะมีใบขับขี่ด้วย
เย็นๆก็เมา เคยเห็นข่าวนะ เรื่องข่มขืนอ่ะ
ปรับตัวไม่ค่อยจะทันแต่ก็ต้องพยายามปรับตัว จะเปิด AEC แล้วนี้ คงเข้ามากันอีกตึม
ความคิดเห็นที่ 32
ใครจะว่าเหยียดเชื้อชาติ เหยียดผิว ดูถูก อะไรก็ตามแต่ แต่พูดจริงๆครับว่า

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ความคิดเห็นที่ 35
ผมก็ไปมาเมื่อวันที่ 5 ธค เหมือนกันครับ พาลูกชาย 9 ขวบไปเที่ยวสนามหลวง ท่าพระจันทร์ วัดพระแก้ว และนั้งเรือดูแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะอยากให้เขาเห็นว่าบรรพบุรุษ ของเราสร้างอะไรไว้ให้เราบ้าง

- เริ่มตั้งแต่นั้งรถเมล์สาย 44 ที่หน้าบ้าน ไปลงสนามหลวง ผู้โดยสารที่สุดทาง 13 คนเป็น ต่างด้าว 8 คน (เคยเจอแบบนี้หลายครั้ง)
- ลงสนามหลวง มีอาหารเลี้ยงฟรีให้ประชาชน พาลูกไปเดินดูอย่างภูมิใจว่าคนไทยมีในใจให้กันเสมอ แต่เดินเข้าไปใกล้ๆ ฟังเสียงพูดกันแล้ว
มากกว่า 80%  เป็นต่างด้าว
- พาลูกไปดูภาพเขียนสีรามเกียร์ติ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ตามศาลารอบๆ เดินเจอแต่(แรงงาน)ต่างด้าวซะมากกว่า 80% เหมือนเดิม ที่แปลกใจคือพบเห็นหอบลูกจูงหลาน กันมาเที่ยวเหมือนกันด้วย

ประเด็นที่ผมอยากนำเสนอคือ

1.แรงงานต่างด้าวทั้งหลายนี้ สามารถมีสิทธิในการใช้ประโยชน์จากนโยบายสาธารณะได้เหมือนกันกับคนไทยไหม เช่น รถเมลฟรี รถไฟฟรี การเข้าชมบางสถานที่ฟรี

2. แรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยสร้างครอบครัว มาจับคู่อยู่กันมีลูกหลานเกิดในไทยมากมาย เด็กเหล่านี้ เป็นประชากรของชาติไหน?
และจะมีวิธีการจัดระเบียบอย่างไร  ยิ่งนานวันปัญหาจะยิ่งมากขึน ถึงตอนนั้นอาจจะแก้ไม่ได้แล้วก็ได้
ความคิดเห็นที่ 18
เห็นที่เมืองจีนเขานิยมโยนเหรียญหรือธนบัตรใส่โบราณวัตถุกันจัง ทั้งประเภทมีน้ำและไม่มีน้ำ  เห็นมีอยู่เกือบทุกวัด เพราะเขาเชื่อกันว่าเป็นวิธีการทำบุญอย่างหนึ่ง ซึ่งที่จริงอยากทำเอาไปใส่ตู้รับบริจาคดีกว่า ความเชื่อนี้เลยเผยแพร่เข้ามาในเมืองไทย

นครวัดจำลองนี้ ถือเป็นโบราณสถานสำคัญชิ้นหนึ่งของชาติเลย มีประวัติศาสตร์น่าสนใจมาก เป็นการแสดงแสนยานุภาพของไทย ซึ่งขณะนั้นยังปกครองเมืองเสียมราฐที่ตั้งนครวัด ดังนั้นไม่ควรให้ใครมาโยนเหรียญใส่ ซึ่งทำให้โบราณสถานแห่งนี้เสียหายได้

ประวัตินครวัดจำลอง
ปราสาทจำลองนครวัดดังกล่าวตั้งเด่นตระหง่านอยู่ที่ปราสาทพระเทพบิดา ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จำลองนครวัดมาไว้ที่วัดพระแก้วเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2410 หรือเมื่อ 146 ปีที่แล้วนั่นเอง
    ทั้งนี้ เป็นพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จะให้คนไทยได้เห็นความมหัศจรรย์ของปราสาทขอมที่ทำด้วยศิลาล้วนไม่มีสิ่งใดเจือปน
    หากย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ไทยในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 4 เมืองเสียมราฐ เขมร อันเป็นที่ตั้งของนครวัด เป็นเมืองขึ้นกับสยามประเทศ รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำริว่า เมืองพระนคร เขมรมีปราสาทหินมากมายและเป็นของแปลก หากจะรื้อปราสาทหลังย่อมๆ มาไว้ที่เขามหาสวรรค์หนึ่งแห่งและวัดปทุมอีกหนึ่งแห่ง ก็จะเป็นเกียรติยศไปในภายหน้า    
    รัชกาลที่ 4 ทรงให้พระสุพรรณพิศาล ขุนนางไทยที่ปกครองดูแลเมืองพระตะบองไปสำรวจปราสาทนครวัดเพื่อที่จะรื้อถอนย้ายเข้ามาประกอบขึ้นใหม่ไว้ในแผ่นดินสยาม พระสุพรรณพิศาล ขุนชาติวิชา ออกไปเที่ยวดูที่เมืองหลวง พระนครธมพระนครวัด กลับมากราบทูลว่า มีแต่ปราสาทใหญ่ๆ ทั้งนั้น จะรื้อเอาเข้ามาเป็นจะไม่ได้ "ตกลงก็เลยทรงรับสั่งให้รื้อ "ปราสาทตาพรหม" ซึ่งมีขนาดย่อมกว่า ท่านก็เลยทรงสั่งให้ย้ายปราสาทเล็กๆ สัก 2 แห่ง ซึ่งก็คือปราสาทตาพรหม และปราสาทพระขรรค์ เอามาไว้ที่เขามหาสวรรค์ และวัดปทุมวัน
    เหตุการณ์โยกย้ายปราสาทเขมรดังกล่าวปรากฏใน "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 4" ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ และเป็นเหตุการณ์ใน พ.ศ.2403 ก่อนหน้าที่สยามจะเสีย "ประเทศราช" กัมพูชาไปเป็นของฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2410
    คราวนี้ไม่ใช่แค่การสำรวจ แต่ถึงกับลงมือรื้อกันเลย จับความตามพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ได้ว่าเป็นปี พ.ศ.2403 ตั้งพลีกรรมบวงสรวง ได้ลงมือรื้อปราสาทเมื่อ ณ วันเดือน 6 ขึ้น 9 ค่ำ โดยส่งคนออกไป 4 ผลัด ผลัดละ 500 คน ให้แบ่งเป็นกองชักลากบ้าง กองส่งบ้าง
    แต่ที่น่าสนใจก็คือ การรื้อถอนครั้งนั้นล้มเหลว เพราะ "มีเขมรประมาณ 300 คนออกมาแต่ป่า เข้ายิงฟันพวกรื้อปราสาท ฆ่าพระสุพรรณพิศาลตายคน 1 พระวังตายคน 1 บุตรพระสุพรรณพิศาลตายคน 1 ไล่แทงฟันพระมหาดไทย พระยกกระบัตร ป่วยเจ็บหลายคน แต่ไพร่นั้น ไม่ทำอันตราย แล้วหนีเข้าป่าไป"
    ขณะเดียวกันบรรดาขุนนางผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯ ก็กราบทูลให้ทรงทบทวน เพราะเป็นการยากที่จะรื้อปราสาททั้งหลัง หรือถึงรื้อได้ขนย้ายมาแล้วจะประกอบกลับเข้าไปให้เป็นปราสาทเหมือนเดิมก็ยิ่งเป็นเรื่องที่ยากมากกว่า
    ในที่สุดรัชกาลที่ 4 ท่านก็ได้ทรงสั่งให้ระงับการดำเนินการดังกล่าว ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2410 เมื่อท่านทรงเห็นว่าคงจะรักษาเขมรไว้ในปกครองอีกไม่ได้นานแล้ว ก็ได้ทรงสั่งให้พระสามภพพ่ายไปทำการลอกแบบปราสาทนครวัดมา ซึ่งใช้เวลาเกือบ 4 เดือน สร้างจำลองไว้ที่วัดพระแก้วเพื่อให้คนไทยที่ไม่ได้มีโอกาสไปเมืองเขมรได้เห็นกัน โดยใช้ซีเมนต์เป็นวัสดุก่อสร้างด้วยฝีมืออันประณีตยิ่ง แต่การก่อสร้างยังไม่ทันแล้วเสร็จ พระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมารัชกาลที่ 5 ได้โปรดให้ดำเนินการก่อสร้างต่อจนเสร็จทันการเฉลิมฉลองกรุงเทพฯ 100 ปี
    นครวัดจำลอง เป็นสิ่งเตือนใจให้คนไทยรำลึกว่า นครวัดเป็นสิ่งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ที่คนไทยควรศึกษา ผู้ที่ไม่มีโอกาสไปชมถึงประเทศกัมพูชา ก็สามารถชมนครวัดจำลองได้ที่วัดพระแก้วได้แทนเช่นกัน.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่