ไม่ใช่ผมหรอกครับ แต่เป็นญาติผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง (อายุ 70 ปี) และ เป็นข้าราชการเกษียณอายุครับ ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าจะเบิกได้ทั้งหมดหรือไม่ รายละเอียดเป็นดังนี้ครับ // อ้อ ออกตัวก่อนเลยผมไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ครับ ดังนั้นคำอธิบายของผมอาจจะไม่ถูกต้อง 100 % ครับ แต่จะพยายามอธิบายให้ใกล้เคียง (หวังว่าพี่ๆหมอ และผู้รู้คงพอเดาได้จากบริบทหนะครับ) ศัพท์เทคนิคที่อาจจะเขียนไว้ด้านล่าง ไม่ใช่เพราะรู้หรอกครับ แต่เรียกตามเขา // เริ่มเลยนะครับ
อาการ:
1. คุณลุงแกมีอาการที่ถูกเรียกว่า กล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน ได้ยินเขาเรียกว่า myocardial infarction ครับ
2. ตอนมาถึงโรงพยาบาลก็ต้องให้ oxygen เลยครับ ต้องใช้เครื่องหายใจ เพราะ heart rate 42 ต่ำมากครับ ปัสสาวะไม่ออก ต้องสวนท่อปัสสาวะด้วยครับตอนมาถึงแรกๆ
3. อาการก่อนมาโรงพยาบาลคือหน้ามืดรุนแรง คือนั่งไม่ได้เลย ต้องนอน มีอาการเหนื่อย นี่เป็นครั้งแรกครับที่ถึงกับหามกันเข้าโรงพยาบาล (เรียกว่า เรียกรถพยาบาลไปรับที่บ้านถึงจะถูก) อาการตอนที่มาถึงโรงพยาบาล ไม่ดีเลย จะต้องเข้า ICU / CCU เลยแหละครับ แต่ห้องเต็ม เลยต้องอยู่ผู้ป่วยฉุกเฉินไปก่อน
4. ตอนนี้ คุณหมอต้องฉีดยารอบสะดือ เห็นบอกว่าเป็นยาสลายลิ่มเลือดครับ ทุก 12 ชั่วโมงครับ ต้องฉีด 12 เข็มตอนนี้ฉีดไปแล้ว 6 เข็มครับ และนอกจากนี้ ก็มียากินก่อนอาหาร หลังอาหารครับ
5. อาการปัจจุบันคือ ดีขึ้นแล้ว แต่ก็มีใช้ออกซิเจนช่วยบ้าง จะได้ไม่เหนื่อยมาก แต่ถ้าเอาออกซิเจนออก ก็หายใจได้ครับ และยังอยู่ที่โรงพยาบาลเป็นคืนที่ 4 ครับ คุณหมอให้เคลื่อนย้ายได้แล้ว ตอนนี้พักอยู่ห้องพิเศษ
คำถาม :
1. ปรึกษากับเพื่อนที่เป็นหมอ แต่อยู่คนละที่ ละทางกันครับ แกไม่ได้เป็นเจ้าของไข้หรอกครับ ไม่เห็นของจริงครับ เพื่อนบอกว่า การรักษาที่ทำอยู่ในปัจจุบันก็เป็นแค่การรักษาในระดับหนึ่ง ซึ่งอาจจะยังไม่จบ อาจจะต้องมีการสวนหัวใจ เพื่อขยายหลอดเลือด เพราะอาการนี้มันคือ myocardial infarction คือ หลอดเลือดหัวใจตีบตัน (จากการวินิจฉัยของคุณหมอเจ้าของไข้คนปัจจุบัน) // อยากทราบว่า หากทำ(การสวนหัวใจ) ต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ครับ
2. ทราบมาว่า อาจต้องมีการใส่โครงลวดเหล็ก (stent) หลังจากที่ ขยายหลอดเลือดแล้ว มีแบบเคลือบยา กับไม่เคลือบยา ค่าใช้จ่ายมันจุดละเท่าไหร่เหรอครับ และกรณีของผู้ป่วยที่เป็นข้าราชการเบิกได้หรือไม่ครับ
3. พอทราบมาครับว่า ข้าราชการเบิกได้ แต่ต้องเป็นโรงพยาบาลรัฐ หรือ ศูนย์โรคหัวใจของรัฐบาล ซึ่งสามารถเบิกจ่ายตรงได้ แต่……. ปกติ คิวจะยาวมากเลย ใช่ไหมครับ (เปิด google ดูแล้วมีข่าวร้องเรียนกันมากมาย เรื่องคิวคนไข้ จนปล่อยให้คนไข้เสียชีวิต โอยเครียด เข้าเรื่องนะครับ ) // แล้วอย่างนี้ ปกติโรงพยาบาลรัฐหรือศูนย์โรคหัวใจที่เป็นของรัฐ เราจะให้คุณหมอท่านมาทำการรักษา (ผ่าตัด/สวนหัวใจ/บอลลูนหลอดเลือดหัวใจ/ ฯลฯ ) นอกเวลาได้ไหมครับ ซึ่งเข้าใจว่า อาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แต่ให้ท่านมาทำนอกเวลาของท่านหนะครับ อันนี้ทำได้ไหมครับ โดย….. ใช้สิทธิของข้าราชการเบิกในส่วนที่เบิกได้ และ จ่ายเพิ่มเติม อื่นๆ สำหรับการทำนอกเวลา (แต่ก็ทำที่ศูนย์โรคหัวใจ หรือโรงพยาบาล ของรัฐหนะที่ใช้สิทธิได้หนะครับ ) ทำได้ไหมครับ และหากทำได้ คิดว่า กรณีนี้ ต้องเสียเพิ่มเท่าไหร่ครับ
4. เรื่องโรงพยาบาล เนื่องจากจังหวัด ไม่มีศูนย์โรคหัวใจครับ ดังนั้น การรักษาที่เขาเรียกว่า การทำ PCI (Percutaneous Coronary Intervention หรือ PBMV (Percutaneous Balloon Mitral Valvoloplasty) จะไม่มีครับ (แต่ผมไม่รู้ว่านะครับ ว่าคุณลุงผมจะไปรับการรักษาแบบไหน หรือ แบบอื่น เห็นเพื่อนบอกว่าต้องให้หมอดู EKG (คลื่นไฟฟ้าหัวใจ) ก่อน) / ผู้ป่วยสูงวัยแล้ว (70ปี) ใจจริงไม่อยากให้มีการเคลื่อนย้ายมากไปไหนไกลอะครับ เอาเข้ากรุงเทพก็ยังคิดหนักอยู่ (แต่สุดท้ายก็จะเชื่อหมอแหละครับ) ใกล้ที่สุดคือ ไม่ ศูนย์โรคหัวใจขอนแก่น หรือไม่ก็ ศูนย์พิษณุโลก หนะครับ // อยากทราบว่า หากต้องเข้ากรุงเทพ จะมีแนะนำที่ไหน ไหมครับเรื่องโรงพยาบาล ที่ใช้สิทธิข้าราชการเบิกได้
5. ผมไม่แน่ใจว่า อาการคุณลุง ลึกๆทางเทคนิคเป็นอย่างไรบ้างรอได้กี่มากน้อย หากจะต้องทำการรักษาสวนหัวใจแล้วต้องรอคิวนานๆ …. (แต่ปัจจุบันพ้นขีดอันตรายแล้ว) ในกรณีที่รอไม่ได้จริงๆ และต้องทำการรักษา แบบเร่งด่วน มีงบประมาณ 200,000 บาทอะครับ มันพอมีที่ไหนแนะนำไหมครับ จะกรุงเทพ หรือ พิษณุโลก หรือ ขอนแก่นใกล้ๆ บ้านก็ดีครับ ขอบคุณครับ
ป.ล. คุณลุงโดยปกติ ก็ไปหาหมอเป็นประจำตามกำหนด //และ ผู้สูงวัยเค้าเป็นอะไรกัน ....แกเป็นหมดเลยครับ (ตลกไม่ออกเลยครับ) ดังนั้นปกติ ก็ทานยารักษา โรคความดัน เบาหวาน อยู่ แต่โรคหัวใจนี่ยังไม่ได้ทาน คงต้องได้ทานแล้วแหละครับ // รบกวน คุณหมอ คุณพยาบาลและผู้รู้ทุกท่าน ตามคำถามที่แนบด้านบนด้วยครับ
เฮ้อ...สดๆร้อนๆ ต้องทำขยายหลอดเลือดหัวใจ (PCI / Ballooning) ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ครับ มีรายละเอียดด้านในครับ
อาการ:
1. คุณลุงแกมีอาการที่ถูกเรียกว่า กล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน ได้ยินเขาเรียกว่า myocardial infarction ครับ
2. ตอนมาถึงโรงพยาบาลก็ต้องให้ oxygen เลยครับ ต้องใช้เครื่องหายใจ เพราะ heart rate 42 ต่ำมากครับ ปัสสาวะไม่ออก ต้องสวนท่อปัสสาวะด้วยครับตอนมาถึงแรกๆ
3. อาการก่อนมาโรงพยาบาลคือหน้ามืดรุนแรง คือนั่งไม่ได้เลย ต้องนอน มีอาการเหนื่อย นี่เป็นครั้งแรกครับที่ถึงกับหามกันเข้าโรงพยาบาล (เรียกว่า เรียกรถพยาบาลไปรับที่บ้านถึงจะถูก) อาการตอนที่มาถึงโรงพยาบาล ไม่ดีเลย จะต้องเข้า ICU / CCU เลยแหละครับ แต่ห้องเต็ม เลยต้องอยู่ผู้ป่วยฉุกเฉินไปก่อน
4. ตอนนี้ คุณหมอต้องฉีดยารอบสะดือ เห็นบอกว่าเป็นยาสลายลิ่มเลือดครับ ทุก 12 ชั่วโมงครับ ต้องฉีด 12 เข็มตอนนี้ฉีดไปแล้ว 6 เข็มครับ และนอกจากนี้ ก็มียากินก่อนอาหาร หลังอาหารครับ
5. อาการปัจจุบันคือ ดีขึ้นแล้ว แต่ก็มีใช้ออกซิเจนช่วยบ้าง จะได้ไม่เหนื่อยมาก แต่ถ้าเอาออกซิเจนออก ก็หายใจได้ครับ และยังอยู่ที่โรงพยาบาลเป็นคืนที่ 4 ครับ คุณหมอให้เคลื่อนย้ายได้แล้ว ตอนนี้พักอยู่ห้องพิเศษ
คำถาม :
1. ปรึกษากับเพื่อนที่เป็นหมอ แต่อยู่คนละที่ ละทางกันครับ แกไม่ได้เป็นเจ้าของไข้หรอกครับ ไม่เห็นของจริงครับ เพื่อนบอกว่า การรักษาที่ทำอยู่ในปัจจุบันก็เป็นแค่การรักษาในระดับหนึ่ง ซึ่งอาจจะยังไม่จบ อาจจะต้องมีการสวนหัวใจ เพื่อขยายหลอดเลือด เพราะอาการนี้มันคือ myocardial infarction คือ หลอดเลือดหัวใจตีบตัน (จากการวินิจฉัยของคุณหมอเจ้าของไข้คนปัจจุบัน) // อยากทราบว่า หากทำ(การสวนหัวใจ) ต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ครับ
2. ทราบมาว่า อาจต้องมีการใส่โครงลวดเหล็ก (stent) หลังจากที่ ขยายหลอดเลือดแล้ว มีแบบเคลือบยา กับไม่เคลือบยา ค่าใช้จ่ายมันจุดละเท่าไหร่เหรอครับ และกรณีของผู้ป่วยที่เป็นข้าราชการเบิกได้หรือไม่ครับ
3. พอทราบมาครับว่า ข้าราชการเบิกได้ แต่ต้องเป็นโรงพยาบาลรัฐ หรือ ศูนย์โรคหัวใจของรัฐบาล ซึ่งสามารถเบิกจ่ายตรงได้ แต่……. ปกติ คิวจะยาวมากเลย ใช่ไหมครับ (เปิด google ดูแล้วมีข่าวร้องเรียนกันมากมาย เรื่องคิวคนไข้ จนปล่อยให้คนไข้เสียชีวิต โอยเครียด เข้าเรื่องนะครับ ) // แล้วอย่างนี้ ปกติโรงพยาบาลรัฐหรือศูนย์โรคหัวใจที่เป็นของรัฐ เราจะให้คุณหมอท่านมาทำการรักษา (ผ่าตัด/สวนหัวใจ/บอลลูนหลอดเลือดหัวใจ/ ฯลฯ ) นอกเวลาได้ไหมครับ ซึ่งเข้าใจว่า อาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แต่ให้ท่านมาทำนอกเวลาของท่านหนะครับ อันนี้ทำได้ไหมครับ โดย….. ใช้สิทธิของข้าราชการเบิกในส่วนที่เบิกได้ และ จ่ายเพิ่มเติม อื่นๆ สำหรับการทำนอกเวลา (แต่ก็ทำที่ศูนย์โรคหัวใจ หรือโรงพยาบาล ของรัฐหนะที่ใช้สิทธิได้หนะครับ ) ทำได้ไหมครับ และหากทำได้ คิดว่า กรณีนี้ ต้องเสียเพิ่มเท่าไหร่ครับ
4. เรื่องโรงพยาบาล เนื่องจากจังหวัด ไม่มีศูนย์โรคหัวใจครับ ดังนั้น การรักษาที่เขาเรียกว่า การทำ PCI (Percutaneous Coronary Intervention หรือ PBMV (Percutaneous Balloon Mitral Valvoloplasty) จะไม่มีครับ (แต่ผมไม่รู้ว่านะครับ ว่าคุณลุงผมจะไปรับการรักษาแบบไหน หรือ แบบอื่น เห็นเพื่อนบอกว่าต้องให้หมอดู EKG (คลื่นไฟฟ้าหัวใจ) ก่อน) / ผู้ป่วยสูงวัยแล้ว (70ปี) ใจจริงไม่อยากให้มีการเคลื่อนย้ายมากไปไหนไกลอะครับ เอาเข้ากรุงเทพก็ยังคิดหนักอยู่ (แต่สุดท้ายก็จะเชื่อหมอแหละครับ) ใกล้ที่สุดคือ ไม่ ศูนย์โรคหัวใจขอนแก่น หรือไม่ก็ ศูนย์พิษณุโลก หนะครับ // อยากทราบว่า หากต้องเข้ากรุงเทพ จะมีแนะนำที่ไหน ไหมครับเรื่องโรงพยาบาล ที่ใช้สิทธิข้าราชการเบิกได้
5. ผมไม่แน่ใจว่า อาการคุณลุง ลึกๆทางเทคนิคเป็นอย่างไรบ้างรอได้กี่มากน้อย หากจะต้องทำการรักษาสวนหัวใจแล้วต้องรอคิวนานๆ …. (แต่ปัจจุบันพ้นขีดอันตรายแล้ว) ในกรณีที่รอไม่ได้จริงๆ และต้องทำการรักษา แบบเร่งด่วน มีงบประมาณ 200,000 บาทอะครับ มันพอมีที่ไหนแนะนำไหมครับ จะกรุงเทพ หรือ พิษณุโลก หรือ ขอนแก่นใกล้ๆ บ้านก็ดีครับ ขอบคุณครับ
ป.ล. คุณลุงโดยปกติ ก็ไปหาหมอเป็นประจำตามกำหนด //และ ผู้สูงวัยเค้าเป็นอะไรกัน ....แกเป็นหมดเลยครับ (ตลกไม่ออกเลยครับ) ดังนั้นปกติ ก็ทานยารักษา โรคความดัน เบาหวาน อยู่ แต่โรคหัวใจนี่ยังไม่ได้ทาน คงต้องได้ทานแล้วแหละครับ // รบกวน คุณหมอ คุณพยาบาลและผู้รู้ทุกท่าน ตามคำถามที่แนบด้านบนด้วยครับ